หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นม

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-HACI-497A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7513 ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิต โดยจะต้องสามารถปฏิบัติงานในส่วนของการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ โดยวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางในการ ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จัดทำแผนการทวนสอบย้อนกลับของการรับตัวอย่างที่ส่งคืนมาจากลูกค้าและจัดเก็บให้ถูกวิธี ตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่รับคืนตามวิธีมาตรฐานที่กำหนด จัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ตัวอย่าง และรายงานผลการสอบย้อนกลับแก่ผู้บริหารได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์นม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 - ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: น้ำนมโคดิบ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 6003-2553)     - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร    - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 298) พ.ศ. 2549 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ้นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์    - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 351) พ.ศ. 2556 เรื่อง นมปรุงแต่ง    - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2556 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ของนม    - ISO/IEC 17025 หรือมาตรฐานสากลซึ่งเป็นการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B3031

วางแผนและวิเคราะห์การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตที่กำหนดไว้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

1. วางแผนกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด 

B3031.01 205529
B3031

วางแผนและวิเคราะห์การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตที่กำหนดไว้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

2. วิเคราะห์ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

B3031.02 205530
B3031

วางแผนและวิเคราะห์การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตที่กำหนดไว้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

3. สามารถดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

B3031.03 205531
B3032

ดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามแผนการประกันคุณภาพ และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นมที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. วิเคราะห์หาแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิต

B3032.01 205532
B3032

ดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามแผนการประกันคุณภาพ และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นมที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

B3032.02 205533
B3033

ลงบันทึกข้อมูลลูกค้าและข้อมูลผลิตภัณฑ์

1. ลงบันทึกข้อมูลลูกค้าและข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้องครบถ้วน

B3033.01 205537
B3033

ลงบันทึกข้อมูลลูกค้าและข้อมูลผลิตภัณฑ์

2. ลงบันทึกข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

B3033.02 205538
B3034

รับตัวอย่างจากลูกค้ามาส่งห้องปฏิบัติการ

1. นำสินค้าที่ได้รับจากลูกค้ามาส่งต่อให้ห้องปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการต่อไปได้อย่างถูกวิธี

B3034.01 205539
B3034

รับตัวอย่างจากลูกค้ามาส่งห้องปฏิบัติการ

2. ดำเนินงานตามขั้นตอนการรับตัวอย่างที่ได้รับการร้องเรียนมาจากลูกค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

B3034.02 205540
B3035

บริหารจัดการข้อร้องเรียนจากลูกค้าตามแผนการตัดสินใจ

1. ปฏิบัติงานตามขั้นตอนของ Product complaint ตามวิธีขั้นตอนที่กำหนดไว้

B3035.01 205541
B3035

บริหารจัดการข้อร้องเรียนจากลูกค้าตามแผนการตัดสินใจ

2. ปฏิบัติงานตามขั้นตอนของ Product recall ตามวิธีขั้นตอนที่กำหนดไว้

B3035.02 205542
B3035

บริหารจัดการข้อร้องเรียนจากลูกค้าตามแผนการตัดสินใจ

3. ปฏิบัติงานตามขั้นตอนของ Traceability ตามวิธีขั้นตอนที่กำหนดไว้

B3035.03 205543
B3036

รายงานผลการจัดการข้อร้องเรียนให้แก่ลูกค้า

1. จัดทำรายงานผลการจัดการข้อเรียกร้องได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนทุกขั้นตอน

B3036.01 205544
B3036

รายงานผลการจัดการข้อร้องเรียนให้แก่ลูกค้า

2. นำผลรายงานการจัดการข้อเรียกร้องไปดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า

B3036.02 205545
B3036

รายงานผลการจัดการข้อร้องเรียนให้แก่ลูกค้า

3. ดำเนินการชดเชยผลิตภัณฑ์หรือค่าเสียหายตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

B3036.03 205546
B3037

รับฟังข้อมูลย้อนกลับและสื่อสารเกี่ยวกับการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า

1. มีทัศนคติเชิงบวก และทักษะการสื่อสารที่ดีในการจัดการข้อร้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

B3037.01 205547
B3037

รับฟังข้อมูลย้อนกลับและสื่อสารเกี่ยวกับการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า

2. ใช้เทคนิคการเจรจาต่อรองที่ดีและมีประสิทธิภาพ

B3037.02 205548
B3037

รับฟังข้อมูลย้อนกลับและสื่อสารเกี่ยวกับการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า

3. สามารถนำผลข้อมูลย้อนกลับไปปรับปรุงและจัดการข้อร้องเรียนให้ดียิ่งขึ้นได้

B3037.03 205549

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-  ความรู้และทักษะในการควบคุมคุณภาพ

-  ความรู้และทักษะในการควบคุมการผลิต

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ทักษะและความชำนาญเฉพาะด้านสายการผลิตและตรวจสอบคุณภาพ

2.ทักษะด้านการสังเกต ความละเอียด รอบคอบ 

3.ทักษะด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงานที่มีประสิทธิภาพ

4.ทักษะด้านการอ่าน ตีความและแปลความหมายแบบฟอร์มบันทึกการปฏิบัติงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านการประกันคุณภาพ

2. ความรู้ด้านกระบวนการผลิต

3.ความรู้ด้านมาตรฐานกระบวนการผลิต และมาตรฐานคุณภาพสินค้า

4.ความรู้ด้านระบบ HACCP ISO 9001 และ GMP

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)    

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ไม่มี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ไม่มี

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     N/A



(ง) วิธีการประเมิน

    1. ข้อสอบข้อเขียน

    2. ข้อสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

(ก) คำแนะนำ

     หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิต หมายถึง การตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ โดยวิเคราะห์หาสาเหตุ แนวทางในการ ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

    2. Product complaint หมายถึง การร้องเรียน ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น คำชมเชย การสอบถามหรือร้องขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

    3. Product recall หมายถึง กระบวนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากผู้บริโภคเพื่อนำกลับมาทำลาย      โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของผลิตภัณฑ์อันเนื่องมาจากการกระบวนการผลิต เช่น มีสารเคมีปนเปื้อนเกินกำหนด ภาชนะบรรจุเกิดปัญหา มีสารก่อถูมิแพ้

    4. Traceability หมายถึง กลไกเพื่อติดตามที่มาของสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงผู้บริโภค

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน

2. ข้อสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ