หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างโค้ชและผู้รับการโค้ชเพื่อช่วยเหลือให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างยั่งยืน

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-FGTM-338A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างโค้ชและผู้รับการโค้ชเพื่อช่วยเหลือให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างยั่งยืน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 08 Code 1345 Title EN Education managers 

ISCO 08 Code 1345 ผู้บริหารด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอน การศึกษา การฝึกอบรม 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างโค้ชและผู้รับการโค้ชเพื่อช่วยเหลือให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) และเคารพ (respect) ระหว่างโค้ชและผู้รับการโค้ชวิเคราะห์จุดเด่น จุดอ่อนและศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองใช้พลังคำถาม(power questions)กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดขั้นสูงด้วยตนเองโดยการใช้คำถามชี้แนะการรู้คิดถอดบทเรียน(lesson learned)เพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถวางแผนพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
วิทยากร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ๓)พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 มาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๖ เป็นมาตราที่กำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของนักขาย ผู้จำหน่ายอิสระ ที่ว่าด้วยเรื่องการนำเสนอการขายให้กับลูกค้าตามเงื่อนไขและแผนการขายที่ผู้ประกอบการขายตรงได้กำหนดไว้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ว่าด้วยเรื่องการโฆษณา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
404321

สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) และเคารพ (respect) ระหว่างโค้ชและผู้รับการโค้ช

1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจในผู้ให้การโค้ช 

404321.01 204461
404321

สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) และเคารพ (respect) ระหว่างโค้ชและผู้รับการโค้ช

2.ส่งเสริมให้ผู้เรียนยอมรับและเคารพในการสอนของผู้ให้การโค้ช

404321.02 204462
404322

วิเคราะห์จุดเด่น จุดอ่อนและศักยภาพที่จะพัฒนาตนเอง

1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจจุดอ่อนของตนเองและสามารถปรับปรุงได้  

404322.01 204463
404322

วิเคราะห์จุดเด่น จุดอ่อนและศักยภาพที่จะพัฒนาตนเอง

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจจุดแข็งของตนเองและสามารถนำจุดแข็งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ 

404322.02 204464
404323

ใช้พลังคำถาม (power questions) กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดขั้นสูงด้วยตนเองโดยการใช้คำถามชี้แนะการรู้คิด


1. ใช้คำถามในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดด้วยตนเอง 

404323.01 204465
404323

ใช้พลังคำถาม (power questions) กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดขั้นสูงด้วยตนเองโดยการใช้คำถามชี้แนะการรู้คิด


2. ใช้คำถามชี้นำในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่ผู้เรียน 

404323.02 204466
404324

ถอดบทเรียน (lesson learned)เพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถวางแผนพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้


1. นำบทเรียนที่เป็นประโยชน์มาสอนให้ผู้รับการโค้ชได้ฝึกแก้ปัญหาเอง 

404324.01 204467
404324

ถอดบทเรียน (lesson learned)เพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถวางแผนพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้


2. ถอดบทเรียนให้ผู้เข้ารับการโค้ชเรียนรู้และวางแผนการได้ด้วยตนเอง 

404324.02 204468

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทักษะการสอน ทักษะการถ่ายทอด เทคนิคการสอน ทักษะการสาธิตสินค้า  ทักษะการทำความเข้าใจผู้เรียน  


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการถ่ายทอด ทักษะการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้เกี่ยวกับการสอน (teaching) และการเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (facilitator) มีองค์ประกอบสำคัญได้แก่การให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ การตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน การใช้พลังคำถาม การให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ และการให้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ต่อยอด ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทักษะการรู้คิดของผู้เรียน ในปัจจุบัน ดังนั้นการโค้ชจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สอนทุกคนควรเรียนรู้ ฝึกฝน และนำไปโค้ชผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    - มีเอกสารแสดงการผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับสินค้าก่อนทำการสอน 

    - มีเอกสารแสดงการผ่านการอบรมความรู้ด้านกฎหมายของภาครัฐก่อนทำการสอน 

    - มีเอกสารแสดงการผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับภาษีอากรก่อนทำการสอน  

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     ความรู้เกี่ยวกับการเป็นโค้ช                

วิธีการประเมิน

    1 การสอบข้อเชียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 

    2. การสัมภาษณ์   

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  

    (ก) คำแนะนำ 

           N/A

    (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

        ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจจุดอ่อนของตนเองและสามารถปรับปรุงได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจจุดแข็งของตนเองและสามารถนำจุดแข็งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ การเป็นโค้ชเพื่อสร้างให้ผู้จำหน่ายอิสระสามารถขยายธุรกิจต่อไปได้ สร้างนักขายให้เป็นผู้จำหน่ายอิสระ สร้างแรงบันดาลใจให้บรรลุเป้าหมายได้ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1 การสอบข้อเชียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 

2. การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ