หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการตามแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นม

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-HPMF-343A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการตามแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3122 หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต

8160 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปนม จะต้องสามารถปฏิบัติงานในส่วนของการกำหนดกิจกรรมตามแผนการซ่อมบำรุง จัดสรรบุคลากรที่รับผิดชอบ  และจัดตารางซ่อมบำรุงที่เหมาะสม จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นม และดำเนินการจัดทำการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมในกรณีฉุกเฉิน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์นม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: น้ำนมโคดิบ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 6003-2553)     - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร    - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 298) พ.ศ. 2549 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดย วิธีพาสเจอร์ไรส์    - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 351) พ.ศ. 2556 เรื่อง นมปรุงแต่ง    - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2556 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ของนม 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
D1021 กำหนดกิจกรรมตามแผนการซ่อมบำรุงบุคลากรที่รับผิดชอบ และตารางซ่อมบำรุงที่เหมาะสม 102101 จัดสรรบุคลากรในการดำเนินการซ่อมบำรุงได้อย่างเหมาะสม D1021.01 205086
D1021 กำหนดกิจกรรมตามแผนการซ่อมบำรุงบุคลากรที่รับผิดชอบ และตารางซ่อมบำรุงที่เหมาะสม 102102 จัดตารางกิจกรรมการซ่อมบำรุงให้สอดคล้องกับแผนการผลิตและนโยบายขององค์กร D1021.02 205087
D1022 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นม 102201 เลือกใช้แบบฟอร์มและเอกสารที่เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงให้เหมาะสมกับลักษณะเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ต้องการซ่อมบำรุง 205088
D1022 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นม 102202 จัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงเพื่อประสานงานการซ่อมบำรุงแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง 205089
D1022 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นม 102203 ส่งเอกสารการซ่อมบำรุงให้แก่ผู้เกี่ยวข้องได้ทันตามระยะเวลาของการซ่อมบำรุงและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์นม 205090
D1023 ดำเนินการจัดทำการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมในกรณีฉุกเฉิน 102301ปฏิบัติงานด้านการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมในกรณีฉุกเฉินให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้องภายใต้ข้อกำหนดหรือข้อจำกัดของเครื่องจักรแต่ละประเภทเครื่อง 205091
D1023 ดำเนินการจัดทำการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมในกรณีฉุกเฉิน 102302 ตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมหลังการดำเนินงานในกรณีฉุกเฉินให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ตามวิธีการซ่อมบำรุงที่กำหนด 205092
D1023 ดำเนินการจัดทำการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมในกรณีฉุกเฉิน 102303 ตรวจสอบความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยหลังจากการซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นม 205093

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    -  ความรู้และทักษะพื้นฐานด้านวงจรไฟฟ้า และ/หรืออิเล็กทรอนิกส์

    -  ความรู้และทักษะพื้นฐานด้านเครื่องกล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1.  ทักษะด้านการใช้งานอุปกรณ์สำนักงาน

    2.  ทักษะด้านการใช้งานเครื่องมือช่างทั่วไปและเฉพาะทาง

    3.  ทักษะด้านการควบคุมเครื่องจักร

    4.  ทักษะด้านการอ่านแบบและคู่มือการทำงาน

    5.  ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร    

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1.  ความรู้ด้านหลักการและกระบวนการทำงานของเครื่องจักร

    2.  ความรู้ด้านน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม

    3.  ความรู้ด้านระบบควบคุมทางไฟฟ้า

    4.  ความรู้ด้านการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์

    5.  ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)    

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ไม่มี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ไม่มี         

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     N/A

 (ง) วิธีการประเมิน

    1. ข้อสอบข้อเขียน

    2. ข้อสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

(ก) คำแนะนำ

     หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1.  การจัดทำเอกสารการซ่อมบำรุง จะต้องมีความถูกต้อง และสามารถระบุได้ว่าการปฏิบัติงานการซ่อมบำรุงนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง ภายใต้ข้อกำหนดหรือข้อจำกัดของเครื่องจักรแต่ละประเภทได้  รวมถึงการการเบิกอะไหล่และอุปกรณ์ วิธีการถอดและประกอบ พร้อมทั้งการวิเคราะห์หาสาเหตุของอุปกรณ์ที่มีความเสียหาย รวมทั้งการบันทึกประวัติการซ่อมบำรุงให้มีความครบถ้วน

    2.  การซ่อมบำรุงในกรณีฉุกเฉิน คือ ในกรณีฉุกเฉินจะต้องมีการตรวจสอบการซ่อมบำรุงหลังจากดำเนินงาน พร้อมทั้งตรวจสอบความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยหลังจากการซ่อมบำรุงตามแผนที่กำหนด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน

2. ข้อสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ