หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมใหม่และแนวโน้มของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์นมเดิม

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-STXA-341A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมใหม่และแนวโน้มของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์นมเดิม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3122 หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต

7513 ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม

7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับระดับคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมใหม่และแนวโน้มของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์นมเดิม จะต้องสามารถปฏิบัติงานในส่วนของการวิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาดของผลิตภัณฑ์นมแปรรูปใหม่ที่ได้จากการทดลอง กำหนดวิธีการและขั้นตอนของการทบทวนและปรับปรุงแผน  การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ ทำรายงานและสรุปผลรายงานเพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์นมกับผู้บังคับบัญชา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์นม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: น้ำนมโคดิบ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 6003-2553)     - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร    - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 298) พ.ศ. 2549 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ้านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์    - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 351) พ.ศ. 2556 เรื่อง นมปรุงแต่ง    - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2556 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ของนม 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C3021 วิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาดของผลิตภัณฑ์นมใหม่ที่ได้จากการทดลอง 302101 วิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มทางการตลาดเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์นม C3021.01 205076
C3021 วิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาดของผลิตภัณฑ์นมใหม่ที่ได้จากการทดลอง 302102 เสนอแนวทางในการส่งเสริมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์นมกับผู้บังคับบัญชา C3021.02 205077
C3022 ทบทวนและปรับปรุงแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์นม 302201 วางแผนการทบทวนแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมได้ตามกรอบของระยะเวลาขององค์กร C3022.01 205078
C3022 ทบทวนและปรับปรุงแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์นม 302202 กำหนดวิธีการและขั้นตอนของการทบทวนแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมได้อย่างมีประสิทธิภาพ C3022.02 205079

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-  ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์อาหาร เทคโนโลยีอาหาร หรือวิศวกรรมอาหาร 

-  ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการอาหารทั้งในและต่างประเทศ 

-  ความรู้ด้านเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  ทักษะด้านการตีความและการวิเคราะห์ข้อมูล

2.  ทักษะด้านการใช้ศัพท์เฉพาะทาง 

3.  ทักษะด้านคอมพิวเตอร์  

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้ด้านข้อมูลกระบวนการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้    

2.  ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร    

3.  ความรู้ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทำการทดลอง

4.  ความรู้ด้านการทดสอบทางประสาทสัมผัส

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)    

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ไม่มี

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ไม่มี

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     N/A

(ง) วิธีการประเมิน

    1. ข้อสอบข้อเขียน

    2. ข้อสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

(ก) คำแนะนำ

     หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    การวิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มของการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน

2. ข้อสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ