หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดวิธีการเพื่อค้นหาผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายถึงความสอดคล้อง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยใช้ Business Model Canvas

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-EWTN-286A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดวิธีการเพื่อค้นหาผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายถึงความสอดคล้อง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยใช้ Business Model Canvas

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

-



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
-

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
-

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓ พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3)พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342 มาตรา 343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558  พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
203221

ใช้รูปแบบ Business Model Canvas  วิเคราะห์สถานการณ์ โอกาสหรือความเสี่ยงขององค์กรที่ได้รับมอบหมายจากการทำกิจกรรมกลุ่มและออกภาคสนาม

1. สามารถสร้างธุรกิจเอง new start up ได้จากการวิเคราะห์โอกาส Model Canvas 

203221.01 204248
203221

ใช้รูปแบบ Business Model Canvas  วิเคราะห์สถานการณ์ โอกาสหรือความเสี่ยงขององค์กรที่ได้รับมอบหมายจากการทำกิจกรรมกลุ่มและออกภาคสนาม

2. บริหารธุรกิจใหม่ new start up ให้ประสบความสำเร็จ

203221.02 204249
203222

ประเมินผลเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นและนำมาใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ

1. ประเมินผลการดำเนินการธุรกิจรายใหม่ 

203222.01 204250
203222

ประเมินผลเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นและนำมาใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ

2. บริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ

203222.02 204251

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เรื่องการทำธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการสร้างธุรกิจใหม่และการบริหารงานรวมทั้งการปรับตัวให้สอดคล้องกับผู้ประกอบการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ด้านBusiness Model Canvas  

Business Model Canvas เป็น เครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจผ่านปัจจัยทั้ง 9 ด้านที่ถูกมองว่าครอบคลุมส่วนสำคัญๆ ต่อธุรกิจทุกประเภท โดยผู้ต้นคิดคือ Alexander Osterwalder ในหนังสือชื่อ Business Model Generation 

Business Plan 

    แผนธุรกิจ (Business Plan) คือ แผนการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายอันเป็นผลสำเร็จ โดยผ่านการวิเคราะห์รายละเอียดต่าง ๆ มาแล้วอย่างถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็น จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ของสินค้าและบริการ รวมถึงอุปสรรคและทิศทางการแก้ไข ที่จะเป็นแรงส่งให้กิจการของคุณสามารถประสบความสำเร็จได้นั่นเองโดย SME Development Bank ได้เปรียบแผนธุรกิจเสมือน “เข็มทิศหรือแผนที่นำทางให้กิจการไปสู่จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายได้สำเร็จ”เนื่องจากธนาคารจะนำแผนธุรกิจไปใช้เพื่อพิจารณาโครงการว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เหมาะสมหรือไม่ และธนาคารจะสามารถสนับสนุนสินเชื่อได้หรือไม่ เป็นประเภทสินเชื่อใด และเป็นวงเงินสินเชื่อเท่าไร พร้อมทั้งพิจารณาด้วยว่าโครงการสามารถชำระหนี้คืนธนาคารได้เมื่อใด ควรมีเงื่อนไขและแผนการชำระหนี้คืนเป็นอย่างไร มีระยะเวลาเป็นเท่าใด เพื่อให้สอดคล้องกับประเภทธุรกิจ ลักษณะการดำเนินงาน และความต้องการใช้เงินทุนที่แท้จริง

    โดยในแผนธุรกิจต้องประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ความเป็นมาของกิจการ เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยละเอียด บทสรุปผู้บริหาร  แนวความคิด การวิเคราะห์ SWOT แผนการตลาด แผนการผลิต และแผนการบริหารจัดการ แผนการเงินการลงทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 

แผนธุรกิจ  หรือ Business Plan หรือ นั้นเป็นเสมือนกรอบแนวทางที่ทำให้การดำเนินการธุรกิจเป็นไปตามแผนงานที่วาง เอาไว้ ทำให้ผู้ประกอบการทั่วไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหม่มีความคิดและเป้าหมายที่ ชัดเจนขึ้น ในขณะเดียวกันสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังคิดจะขยายกิจการ แผนธุรกิจก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้ร่วมทุน หรือสถาบันการเงินที่คุณต้องกู้ยืมเงินอีกด้วยการเริ่มธุรกิจนั้น จะต้องประกอบไปด้วยทักษะ 4 ส่วนหลักๆ

1.ความพร้อมในเรื่องคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบการ

2.ความรู้ในเรื่องของสินค้าและบริการที่จะทำ

3.ความรู้ในเรื่องการบริหารคน เงิน และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ

4.ความรู้ในเรื่องการวางแผนฯ 

การประเมินธุรกิจของ Business Model Canvas มี 9 ประการคือ

1. Value Propositions คุณค่าของธุรกิจเรา

2. Customer Segment ลูกค้าของเราเป็นคนแบบไหน

3. Customer Relationships การสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้า

4. Channels ช่องทางการเข้าถึง

5. Key Activities สิ่งที่ต้องทำเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจนี้

6. Key Partners พาร์ทเนอร์หลักของเรา

7. Key Resource ทรัพยากรที่จำเป็นของบริษัท

8. Cost Structure ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไร

9. Revenue Streams รายได้ของเรามีอะไรบ้าง

Business Model Canvas

Value Propositions : เริ่มจากช่องแรกด้านบนตรงกลาง คือValue Propositions หมายถึง‘เราทำอะไรให้ลูกค้าบ้าง? นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยดีไซน์ และขายความคิดสร้างสรรค์  

Customer Segments : ต่อไปทางขวามือจะเป็นฝั่งของลูกค้า โดยในช่องขวาสุดที่เป็น Customer Segments นั้น คือการอธิบายว่าเราจะสร้าง Value นี้ไปเพื่อใครบ้างลักษณะการใช้ชีวิตและบุคลิกก็ได้  

Customer Relationships และ Channels : ระหว่างช่อง Value Proposition กับ Customer Segments จะถูกเชื่อมด้วยอีกสองช่องคือ Customer Relationships (การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า) และ Channels (ช่องทางการขายวิธีขายและรับเงิน รวมถึงที่ตั้งร้าน) โดยในส่วนนี้จะมีหัวข้อย่อยลงไปอีก เช่น Awareness คือการอธิบายว่าลูกค้าจะรู้จักเราได้ทางไหนอย่างไร, Purchase ลูกค้าจะซื้อสินค้าหรือบริการของเราจากที่ไหนได้บ้าง จ่ายเงินอย่างไร, Delivery คือเราจะส่งสินค้าไปให้ลูกค้าทางไหน รวมไปถึงเรื่อง After-Sales หรือบริการหลังการขายด้วย

Key Partners, Key Activities และ Key Resources : ด้านซ้ายมือของ Value Propositions ก็จะเป็นเรื่องของคู่ค้าในธุรกิจและกิจกรรมในธุรกิจทั้งหมด โดย Partners ของเราจะแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มหลักๆ คือ 

    1) “ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง” แต่มีวิธีคิดหรือขายสินค้าคล้ายๆ กับเรา 

    2) “เป็นคู่แข่งแต่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน” 

     3) “ร่วมมือกันแล้วจึงเกิดเป็นธุรกิจ”  

    4) “พึ่งพากันจึงอยู่รอด” หมายถึงการที่ธุรกิจคนละแบบต้องอยู่ร่วมกัน 

    ขั้นต่อไปด้านล่างของแคนวาสก็จะพบกับเรื่องการเงินล้วนๆ ซึ่งจะแบ่งเป็นสองส่วนคือ

Cost Structure – s,kpถึงเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายทุกอย่างในการดำเนินธุรกิจ อาทิเช่น 

1) Fixed Cost ซึ่งก็คือรายจ่ายคงที่ตอนเริ่มกิจการ รวมไปถึงรายจ่ายประจำเช่น ค่าเช่าเครื่องจักร เงินเดือนพนักงาน ฯลฯ

2) Variable Cost ระบุถึงรายจ่ายที่อาจมากน้อยต่างกันในแต่ละเดือน เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง

3) Economy of Scale อธิบายถึงการลดต้นทุนจากปริมาณการผลิต ถ้าสั่งผลิตคราวละมากๆ ต้นทุนต่อหน่วยจะลดลงได้แค่ไหน อย่างไร

• Economy of Scope หมายถึงการลดต้นทุนต่อหน่วยจากการสั่งผลิตสินค้าหลายชนิดไปพร้อมๆ กัน โดยอาจใช้เครื่องจักรร่วมกัน หรือแชร์ปัจจัยการผลิตบางอย่างร่วมกันได้

Revenue Streams : สุดท้ายแต่สำคัญที่สุดคือเรื่องของรายได้ รายรับของธุรกิจนี้จะมาจากทางไหนได้บ้าง เพราะในบางธุรกิจก็มีรายรับจากหลายแหล่ง เช่น การขายสินค้ากลยุทธ์ในการกระจายวิธีสร้างรายได้นี้ สามารถจะเพิ่มความมั่นคง ลดความเสี่ยง ให้กับธุรกิจได้อย่างไรฯลฯ

ที่มา http://www.bmcthailand.com/business-model-canvas/

เครดิตภาพ : businessmodelcompetition.com , zebramc.com , blog.bizzdesign.com

ความรู้ด้านการลดความเสี่ยงทางธุรกิจ 

ธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่มีองค์ประกอบของธุรกิจให้เป็นไปตามแนวคิดของตนเองได้ แต่การก่อตั้งธุรกิจขึ้นมาใหม่จะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ดังนั้นเราควรมีวิธีดำเนินการที่ถูกต้องและรอบคอบก็จะ ช่วยลดความเสี่ยงนั้นลงได้ดังต่อไปนี้

1. ต้องแน่ใจว่าสินค้าและบริการที่จะนำเสนอแก่ลูกค้าสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมายได้จริง และขนาดของตลาดใหญ่พอที่จะลงทุนแล้วมีกำไรอยู่รอดได้

2. อัตรากำไรจากการดำเนินงานมีมากพอสมควรแก่การลงทุน 

3. ธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่จะต้องมีความได้เปรียบเชิงแข่งขัน ( Competitive Advantage)เหนือกว่าคู่แข่งที่มีอยู่แล้ว 

4. การบริหารงานแบบเป็นทีม ซึ่งแต่ละคนในทีมมีความสามารถเฉพาะด้านมากพอที่จะจัดการกิจการอย่างถูกต้องตามหลักการ เช่นเป็นแม่ทีม 

5. ผู้บริหารธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ควรเป็นผู้มีประสบการณ์ในสิ่งที่ต้องทำ

6. มีเงินทุนดำเนินงานที่พอเพียง  

7. ลักษณะของการดำเนินงานเป็นแบบพึ่งพาอาศัยกับธุรกิจอื่น หรือเป็นพันธมิตรซึ่งกันและกันที่จะสามารถร่วมมือกันผลิตสินค้าและบริการ แล้วขยายตลาด ให้กว้างไกลกว่าท้องถิ่นเดิม จนอาจกลายเป็นธุรกิจข้ามชาติก็ได้ในระยะยาว 

8. ธุรกิจกับผู้ประกอบการ มีความเหมาะสมลงตัวกันพอดี

 



 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     เอกสารแสดงการเป็นผู้จำหน่ายอิสระ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

เอกสารการผ่านการอบรมเป็นแม่ทีม หรือผู้จำหน่ายอิสระ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    N/A

วิธีการประเมิน

1. ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสัมภาษณ์

 (ง) 15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

     N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    สามารถสร้างธุรกิจใหม่ start up โดยมีผู้ประกอบการให้การสนับสนุน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

-


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
1. ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก2. การสัมภาษณ์รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน     

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
N/A


ยินดีต้อนรับ