หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดคุณค่า เนื้อหา ขั้นตอนวิธีการแสวงหาผู้มุ่งหวังรายใหม่

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-HKCC-263A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดคุณค่า เนื้อหา ขั้นตอนวิธีการแสวงหาผู้มุ่งหวังรายใหม่

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้จำหน่ายอิสระ 

อาชีพตัวแทนขายตรง 

อาชีพนักธุรกิจอิสระ 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความสามารถในการขยายธุรกิจอิสระให้กว้างขวางออกไป แสวงหาผู้มุ่งหวังรายใหม่  มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความรู้ด้านการบริหารงาน มึความรู้ด้านการวางแผน  มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าเป็นอย่างดี  กำหนดขั้นตอนสำหรับวิธีการเปิดใจ ผู้มุ่งหวังรายใหม่ เพื่อศึกษาความต้องการที่แท้จริงของผู้มุ่งหวังรายใหม่ โดยใช้การเปิดใจด้วยส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือ  7Ps สร้างความมั่นใจต่อผู้มุ่งหวังรายใหม่ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบการธุรกิจขายตรง 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3)พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 มาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๖ เป็นมาตราที่กำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของนักขาย ผู้จำหน่ายอิสระ ที่ว่าด้วยเรื่องการนำเสนอการขายให้กับลูกค้าตามเงื่อนไขและแผนการขายที่ผู้ประกอบการขายตรงได้กำหนดไว้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342           มาตรา 343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558  พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
201111

ปฎิบัติตามขั้นตอนสำหรับวิธีการเชิญ ผู้มุ่งหวังรายใหม่ ทั้งทาง Online และ Offline

1. ใช้เทคนิคการเชิญผู้มุ่งหวังรายใหม่ด้วยระบบออนไลน์ 

201111.01 204194
201111

ปฎิบัติตามขั้นตอนสำหรับวิธีการเชิญ ผู้มุ่งหวังรายใหม่ ทั้งทาง Online และ Offline

2. ใช้เทคนิคการเชิญผู้มุ่งหวังรายใหม่ด้วยระบบออฟไลน์ 

201111.02 204195
201112

ปฎิบัติตามขั้นตอนสำหรับวิธีการเปิดใจ ผู้มุ่งหวังรายใหม่ เพื่อศึกษาความต้องการที่แท้จริงของผู้มุ่งหวังรายใหม่ โดยใช้ทฤษฎี 7Ps เปิดใจด้วยส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือ  7Ps

1. เรียนรู้วิธีการเปิดใจโดยใช้ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด 7 P 

201112.01 204196
201112

ปฎิบัติตามขั้นตอนสำหรับวิธีการเปิดใจ ผู้มุ่งหวังรายใหม่ เพื่อศึกษาความต้องการที่แท้จริงของผู้มุ่งหวังรายใหม่ โดยใช้ทฤษฎี 7Ps เปิดใจด้วยส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือ  7Ps

2. ทำการเปิดใจด้วยส่วนประสมทางการตลาด 7 P 

201112.02 204197
201113

ปฎิบัติตามขั้นตอนสำหรับวิธีการสร้างความมั่นใจต่อผู้มุ่งหวังรายใหม่ ที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเข้าร่วมธุรกิจ อันประกอบด้วยทฤษฎี 7S

1.กำหนดขั้นตอนการสร้างความมั่นใจต่อผู้มุ่งหวังรายใหม่ 

201113.01 204198
201113

ปฎิบัติตามขั้นตอนสำหรับวิธีการสร้างความมั่นใจต่อผู้มุ่งหวังรายใหม่ ที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเข้าร่วมธุรกิจ อันประกอบด้วยทฤษฎี 7S

2.สร้างความเข้าใจด้วยทฤษฎี 7 S

201113.02 204199

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะและความรู้เรื่องวิธีการแสวงหาผู้มุ่งหวัง 

วิธีการแสวงหาผู้มุ่งหวัง

ผู้มุ่งหวังมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ ความสนใจ เป็นต้น สินค้าหรือบริการที่พนักงานขายนำไปเสนอขายกับผู้มุ่งหวังนั้นก็มีความแตกต่างกันไปด้วย เช่น แตกต่างกัน ด้านราคา รูปแบบ สีสัน ความจำเป็นที่จะต้องใช้ แรงจูงใจในการซื้อ เป็นต้น ดังนั้นวิธีการแสวงหาผู้มุ่งหวังจึงมีหลายวิธี พนักงานขายจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสม กับโอกาสของสินค้าและชนิดของสินค้า รวมทั้งความต้องการของผู้มุ่งหวังในแต่ละรายที่ต้องการ

การแสวงหาผู้มุ่งหวังมีหลายวิธีดังต่อไปนี้

1. วิธีโซ่ไม่มีปลาย (The Endless Chain) เป็นการหารายชื่อผู้มุ่งหวังรายใหม่จากลูกค้ารายเก่า เหมาะกับผลิตภัณฑ์ประเภทบริการ ราคาสูง เช่น แพ็กเกจท่องเที่ยว ที่พัก บัตรเครดิต กรมธรรม์ประกันภัยการขายการลงทุน รวมถึงการขายสินค้าอุตสาหกรรมด้วย วิธีโซ่ไม่มีปลาย เป็นวิธีที่อาศัยการแนะนำต่อๆกันจากลูกค้ารายเก่า ไปยังผู้มุ่งหวังรายใหม่ ซึ่งจากการแนะนำของลูกค้ารายเก่าทำให้พนักงานขายได้รับการยอมรับจากผู้มุ่งหวังรายใหม่มากขึ้น ส่วนตัวพนักงานขายจะเกิดความมั่นใจมากขึ้นด้วย เนื่องจากได้ทราบข้อมูลของผู้มุ่งหวังรายใหม่ จึงได้มีการเตรียมข้อมูลและเตรียมความพร้อมมากขึ้น

2. ศูนย์อิทธิพล (Center of Influence Method) เป็นวิธีการแสวงหาผู้มุ่งหวังโดยอาศัยการแนะนำจากศูนย์อิทธิพล ซึ่งได้แก่ผู้ที่เป็นผู้นำหรือเป็นผู้มีชื่อเสียงในกลุ่มนั้น เช่น ครู แพทย์ ผู้ใหญ่บ้าน กำนันผู้จัดการธนาคาร ดารา นักร้อง นักกีฬา พิธีกร ผู้ประกาศข่าว เป็นต้น ศูนย์อิทธิพลเหล่านี้จะช่วยสร้างความเชื่อถือ ค่านิยม ช่วยให้พนักงานขายใช้เวลาเสนอขายน้อยลง

3. เพื่อนและคนรู้จัก (Friend and Acquaintances) เพื่อนและคนรู้จักเป็กลุ่มผู้มุ่งหวังกลุ่มแรกที่พนักงานขายควรนึกถึง เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เริ่มตั้งแต่สมาชิกในครอบครัวและเพื่อนๆรวมทั้งเพื่อนเก่าและเพื่อนปัจจุบันการเข้าพบผู้ใกล้ชิดเหล่านี้ ถึงแม้บางครั้งจะขายไม่ได้แต่อย่างน้อยที่สุดก็ได้มีการฝึกคำพูดขาย ซึ่งทำให้พนักงานขาายเกิดความชำนาญมากขึ้น

4. ลูกค้าเก่าที่ภักดี (Loyal Customers) ผู้ที่เป็นลูกค้าของกิจการและมีความพึงพอใจหลังจากที่ได้ใช้สินค้าแล้วเป็นผู้ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะบุคคลเหล่านี้จะเข้าใจสินค้าและรับรู้ถึงประโยชน์ของสินค้าเป็นอย่างดีเขาจะช่วยบอกต่อแบบปากต่อปากไปยังบุคคลใกล้ชิด เขาเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า ผู้สนับสนุน

ทักษะและความรู้เรื่องส่วนประสมทางการตลาด 7P 

          หลักส่วนประสมทางการตลาด 7Ps เป็นแนวคิดสำหรับการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของสินค้าและบริการในด้านการตลาดโดยพิจารณาจากปัจจัย 7 ประการคือ

1. Product - สินค้า หรือบริการ โดยพิจารณาจากการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2. Price - ความเมาะสมของราคา กับคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันอื่นๆ

3. Place - สถานที่จัดจำหน่าย หรือช่องทางในการจัดจำหน่าย ซึ่งจะพิจารณาจากความสะดวกและปริมาณของลูกค้า

4. Promotion - การส่งเสริมการขาย ที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการซื้อสินค้า

5. People - ความรู้ความสามารถ และความน่าเชื่อถือของบุคลกร

6. Physical Evidence - สิ่งที่ปรากฎต่อสายตาลูกค้า เช่น สี รูปร่าง แพ็คเกจ บรรยากาศภายในร้าน เป็นต้น

7. Process - กระบวนการในการจัดการด้านการบริการ ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และเกิดความภักดีในตัวสินค้า

หลัก 7P แต่ละข้อ สามารถเป็นได้ทั้ง Strength และ Weakness ในเวลาเดียวกัน

 ที่มา http://mba.sorrawut.com/wiki

ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับผู้มุ่งหวัง เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้มุ่งหวัง หากรวบรวมได้มากเท่าใด ก็จะทำให้มีโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในการขาบมากขึ้นเท่านั้น ข้อมูลที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1. ข้อมูลส่วนตัวของผู้มุ่งหวัง (Personal Information) การที่พนักงานขายมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้มุ่งหวังทำให้กระบวนการในการเสนอขายเป็นไปด้วยความราบรื่น ผู้มุ่งหวังเกิดความประทับใจพนักงานขายด้วย ข้อมูลส่วนตัวของผู้มุ่งหวัง มีดังนี้

• ชื่อ/นามสกุล สะกดและอ่านออกเสียงอย่างไร

• สถานภาพทางครอบครัว โสด สมรส มีบุตร ไม่มีบุตร

• การศึกษา ระดับการศึกษาที่จบ หากทราบถึงสาขาที่จบการศึกษา จะทำให้ทราบถึงความต้องการของผู้มุ่งหวังได้มากขึ้น

• งานอดิเรก เช่น การเล่นกีฬา กีฬาประเภทใด อ่านหนังสือ สะสมสิ่งของต่างๆ

• ความสนใจพิเศษ

• อำนาจการตัดสินใจ

• ฐานะทางสังคม

• เป็นสมาชิกขององค์กร หรือสโมสรใด

1.ข้อมูลส่วนตัวของผู้มุ่งหวังสามารถนำมาใช้ในการเชื่อมความสัมพันธ์ในการเข้าพบครั้งแรกและทำให้สามารถเสนอขายได้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้แล้วการทราบข้อมูลส่วนตัวของผู้มุ่งหวัง ยังทำให้ทราบถึงลักษณะของข้อโต้แย้งของผู้มุ่งหวังได้อีกด้วย

2.ข้อมูลในกิจการของผู้มุ่งหวัง (Business Information) เนื่องจากผู้บริหารธุรกิจ หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม จะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับองค์การธุรกิจในบางครั้งอำนาจการตัดสินใจมิได้อยู่ที่บุคคลเพียงคนเดียว แต่ต้องอาศัยการพิจารณาร่วมกันของคณะผู้บริหาร ดังนั้นพนักงานขายควรหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจการดังนี้

ความต้องการด้านทักษะ 

ทักษะเข้าใจประเภทของผู้มุ่งหวัง ผู้มุ่งหวังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้        

1. ผู้มุ่งหวังที่ดีหรือผู้มุ่งหวังที่แท้จริง หมายถึง ผู้มุ่งหวังที่มีโอกาสเปลี่ยนเป็นลูกค้าได้มากที่สุด คือมีทั้งเงิน อำนาจในการตัดสินใจมีความต้องการสินค้าและสามารถเข้าพบได้ไม่ยากนัก ผู้มุ่งหวังประเภทนี้พนักงานขายจะให้ความสำคัญมากที่สุด จัดเป็นบุคคลที่มีค่าที่พนักงานขายจะต้องรีบเสนอขายทันที ไม่เช่นนั้นจะทำให้เสียโอกาสให้กับพนักงานขายรายอื่นได้ผู้มุ่งหวังประเภทนี้อาจเรียกว่า ผู้นำ

2. ผู้มุ่งหวังที่อยู่ในข่ายสงสัย เป็นผู้มุ่งหวังที่มีโอกาสเปลี่ยนเป็นลูกค้าได้แต่ไม่ใช่ขณะนี้ อาจเป็นเพราะว่ายังมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน

3. ผู้มุ่งหวังประเภทไข่หลอกหรือพวกไม้ตาย เป็นผู้มุ่งหวังที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะกลายเป็นลูกค้าได้เลย อาจเป็นเพราะไม่มีเงิน ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อและไม่มีความต้องการ ผู้มุ่งหวังประเภทนี้จะทำให้พนักงานขายเสียเวลามากที่สุดในการเสนอขาย ดังนั้นพนักงานขายจึงไม่ควรให้ความสนใจกับผู้มุ่งหวังประเภทนี้ ความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาด 7s กรอบแนวคิดของ McKinsey

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสมทางการตลาด 7 P

ความรู้เกี่ยวกับการเชิญผู้คาดหวังรายใหม่

ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นใจด้วย 7 S

1.กลยุทธ์ (Strategy) คือ การวางแผนกิจกรรมภายในองค์กรโดยให้แผนที่วางขึ้นมานั้นได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก  และภายในองค์กร  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ช่วยสนับสนุนให้องค์กรมีขีดความสามารถเหนือคู่แข่งขัน

2.โครงสร้างองค์กร (Structure) หมายถึง ลักษณะโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจของผู้บริหาร การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้า ตามภูมิภาคได้อย่างเหมาะสม

3.สไตล์ (Style) สไตล์ในการทำงานของผู้บริหารนั้น  มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง จะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของพนักงานภายในองค์กร  มากกว่าคำพูดของผู้บริหาร

4.ระบบ (System) เป็นการวิเคราะห์ถึงระบบงานขององค์กรในทุก ๆ เรื่อง ทั้งเรื่องระบบการบริหารจัดการ ระบบการปฏิบัติงาน  เช่น  ระบบสารสนเทศ ระบบการวางแผน  ระบบงบประมาณ ระบบการควบคุม  ระบบการจัดซื้อ ระบบในการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน  ระบบในการฝึกอบรม  ตลอดจนระบบในการจ่ายผลตอบแทน

5.บุคลากร (Staff) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลากรอย่างต่อเนื่อง

6.ทักษะ (Skill)  เป็นการพิจารณาถึงทักษะหรือความเชี่ยวชาญขององค์กรโดยรวม  ว่ามีความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญในด้านใด

7.ค่านิยม (Shared Value) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

องค์ประกอบของ  7s McKinsey มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ส่วนที่จับต้องได้ สามารถนำมาประยุกต์ลอกเลียนแบบหรือปรับใช้ได้ ส่วนลักษณะที่2 ไม่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วิธีคิดของคน วัฒนธรรมของแต่ละองค์กร  และทักษะในการทำงานรูปแบบแนวคิด 7s McKinsey  เป็นการวิเคราะห์ที่สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายสถานการณ์ อาทิเช่น ใช้ในส่วนของการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ตรวจสอบปัจจัยภายในที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต จัดเพิ่มหรือลดหน่วยงานที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงใช้ในการกำหนดวิธีที่ดีที่สุดที่จะใช้กลยุทธ์นำเสนอ เป็นการปรับกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสอดคล้องกับการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นว่าค่านิยมที่กำหนดนี้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทุกองค์ประกอบที่สำคัญขององค์กร

สรุป 7s McKinsey ก็คือกรอบแนวคิดพื้นฐานที่นำมาใช้วิเคราะห์ตัวแปรทั้ง 7 ประการซึ่งมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ โดยนำผลการวิเคราะห์มากำหนดกลยุทธ์เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดต่อการบริหารองค์กรนั้นเอง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    เอกสารการติดต่อกับผู้มุ่งหวัง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    เอกสารแสดงการศึกษาหรือการอบรมความรู้เกี่ยวกับการติดต่อผู้คาดหวัง การตลาด 7 P และการบริหาร 7 S

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    N/A

(ง) วิธีการประเมิน

1. ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ก. คำแนะนำ

    N/A

ข. คำอธิบายรายละเอียด

1.ขั้นตอนสำหรับวิธีการเชิญ ผู้มุ่งหวังรายใหม่ ทั้งทาง Online เช่นทาง facebook youtube และ Offline เช่นการพบปะพูดคุย face to face

2.ขั้นตอนสำหรับวิธีการเปิดใจ ผู้มุ่งหวังรายใหม่ เพื่อศึกษาความต้องการที่แท้จริงของผู้มุ่งหวังรายใหม่ โดยใช้ทฤษฎี 7Ps เปิดใจด้วยส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือ  7Psขั้นตอนสำหรับวิธีการสร้างความมั่นใจต่อผู้มุ่งหวังรายใหม่ ที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเข้าร่วมธุรกิจ อันประกอบด้วยทฤษฎี 7S

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสัมภาษณ์

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน    

 



ยินดีต้อนรับ