หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างกลยุทธ์เจริญเติบโตแบบกระจายธุรกิจ (Diversification)

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-BCYC-262A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างกลยุทธ์เจริญเติบโตแบบกระจายธุรกิจ (Diversification)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการและการพาณิชย์ 

ISCO 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล 

ISCO 1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน 

ISCO 1221 ผู้จัดการด้านการขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจ 

ISCO 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 

ISCO 1223 ผู้จัดการด้านการวิจัยและพัฒนา 

ISCO 1420 ผู้จัดการด้านการค้าปลีกและค้าส่ง

ISCO 2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผน  การบริหารจัดการ  วางแผนกลยุทธ์ สร้างกลยุทธ์เจริญเติบโตด้วยการขยายด้วยกลยุทธ์การกระจายธุรกิจ ที่เกี่ยวข้อง หรือธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
-

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342 มาตรา 343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยพ.ศ.2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
108331

สร้างกลยุทธ์การขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่ยังมีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิม  (Concentric diversification)

1. ศึกษาข้อดีข้อเสียของการขยายธุรกิจที่สัมพันธ์กับธุรกิจเดิม 

108331.01 204190
108331

สร้างกลยุทธ์การขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่ยังมีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิม  (Concentric diversification)

2. ตัดสินใจทำการขยายธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิมในกรณีที่ได้ประโยชน์และสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันได้

108331.02 204191
108332

สร้างกลยุทธ์การขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ที่ไม่มีความสัมพันธ์ใดกับธุรกิจเดิม (Conglomerate diversification)

1. พิจารณาการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ที่ไม่สัมพันธ์กับธุรกิจเดิมเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ 

108332.01 204192
108332

สร้างกลยุทธ์การขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ที่ไม่มีความสัมพันธ์ใดกับธุรกิจเดิม (Conglomerate diversification)

2. ตัดสินใจทำการขยายธุรกิจที่ไม่ความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิมในกรณีที่ได้ประโยชน์และสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันได้

108332.02 204193

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-

(ข) ความต้องการด้านความรู้

กลยุทธ์การกระจายธุรกิจ (Diversification strategies) การตัดสินใจที่จะกระจายธุรกิจ ต้องพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่จะกระจายนั้นเป็นธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กัน (Related businesses) หรือไม่มีความสัมพันธ์ (Unrelated businesses) กับธุรกิจที่มีอยู่เดิม ธุรกิจมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายการสร้างคุณค่า จะมีความสัมพันธ์กันเมื่อมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ธุรกิจที่ไม่มีความสัมพันธ์กันจะไม่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายการสร้างคุณค่า การกระจายธุรกิจให้ประสบความสำเร็จทำได้โดย การรวมหลายบริษัทเป็นบริษัทเดียว (Acquistion/merger) การเริ่มธุรกิจของตัวเองใหม่ (Start-up of own new businesses from scratch) หรือร่วมลงทุนกับหุ้นส่วน (joint venture partnerships) การซื้อกิจการ (Acquistion) การเริ่มต้นใหม่ (Start-up) และการร่วมลงทุน (Joint ventures) กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน (Related businesses)กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (Unrelated businesses) กลยุทธ์การกระจายเป็นธุรกิจข้ามชาติ (Multinational) เป็นวิธีการกระจายธุรกิจ เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน (Related diversification strategies) เป็นธุรกิจที่สามารถสร้างคุณค่าทางทางการแข่งขัน (Competitive value) ของหน่วยธุรกิจ ให้สอดคล้องกันกับเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chains) มีการใช้เทคโนโลยีร่วมกัน มีอำนาจการต่อรองกับผู้ขายปัจจัยการผลิตมากขึ้น มีการร่วมการผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนประกอบ การใช้กำลังแรงงานรวมกัน การใช้ความสะดวกในการจัดจำหน่าย โดยผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีกรายเดียวกัน การเชื่อมโยงกิจกรรมการบริการหลังการขาย การแสวงหาประโยชน์จากชื่อตราสินค้าหนึ่งสู่อีกธุรกิจหนึ่ง หรือการเชื่อมโยงเครือข่ายการสร้างคุณค่าที่คล้ายกันเพื่อให้เกิดต้นทุนต่ำ กลยุทธ์นี้ทำให้เกิดประโยชน์จากเครือข่ายการสร้างคุณค่า ด้านความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต กิจกรรมการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยี การผลิต การขายและการตลาด หรือการจัดจำหน่าย

สิ่งที่ทำให้เกิดการกระจายธุรกิจสัมพันธ์กันเป็นกลยุทธ์ที่น่าดึงดูดใจ เนื่องจากสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยสามารถสร้างโอกาสได้ดังนี้

1) ส่งมอบความเชี่ยวชาญ ขีดความสามารถหรือเทคโนโลยีจากธุรกิจหนึ่งสู่อีกธุรกิจหนึ่ง

2) เชื่อมโยงกิจกรรมที่สัมพันธ์กันของธุรกิจที่แยกกันเข้าสู่การดำเนินงานเดียวเพื่อลดต้นทุน

3) สร้างชื่อเสียงตราสินค้าของบริษัทในธุรกิจใหม่

4) สร้างกิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่าที่สัมพันธ์กันเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน

การกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน (Related diversification in actual practice) มีดังนี้

1) การเข้าสู่ธุรกิจที่มีหน่วยงานการขาย การโฆษณา ชื่อตราสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดจำหน่าย ซึ่งสามารถใช้ร่วมกันได้

2) การได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีและความชำนาญที่สัมพันธ์ ผู้สร้างซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ กระจายสู่ซอฟแวร์สำหรับการทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PCs) สำหรับอิทราเน็ตของบริษัท

3) การถ่ายโอนความรู้และความเชี่ยวชาญจากธุรกิจหนึ่งสู่อีกธุรกิจหนึ่ง เช่น ผู้ปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จของร้านอาหาร Italian ต้องการลูกโซ่ความชำนาญเฉพาะด้านอาหาร Mexican

4) การถ่ายโอนชื่อตราสินค้าและชื่อเสียงขององค์การไปยังผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เช่นผู้ผลิตยางรถยนต์ได้ลูกโซ่ศูนย์การดูแลรักษารถยนต์ที่มีความชำนาญในการซ่อมเบรคและเครื่องเก็บเสียง เป็นต้น

5) การซื้อธุรกิจใหม่จะช่วยสร้างตำแหน่งทางการแข่งขันของธุรกิจเดิมให้เป็นเอกลักษณ์ยิ่งขึ้น

กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (Unrelated diversification strategies)

กลยุทธ์นี้จะเกี่ยวข้องกับการกระจายอุตสาหกรรมและธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ซึ่งเน้นถึงประโยชน์ทางการเงินที่ดึงดูดใจเป็นสำคัญ การกระจายเข้าสู่อุตสาหกรรมใด ๆ ด้วยโอกาสของกำไรที่ดีจากกลยุทธ์นี้ เกณฑ์ที่ใช้การค้นหาและคัดเลือกธุรกิจที่ต้องการกระจายบริษัทที่จะเข้ามาร่วมกิจการ มีดังนี้คือ

1) ธุรกิจสามารถสร้างกำไรและผลตอบแทนจากการลงทุนได้ตามเป้าหมายหรือไม่

2) ธุรกิจใหม่ต้องการเงินทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์คงที่ การขยายเงินทุน และการหาเงินทุนหรือไม่

3) ธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตหรือไม่

4) ธุรกิจใหญ่พอที่จะสร้างประโยชน์ที่เพียงพอให้กับบริษัทแม่ได้หรือไม่

5) มีข้อกำหนดหรือกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ หรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคหรือไม่

6) อุตสาหกรรมมีอุปสรรคจากเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยสูง หรือนโยบายของรัฐบาลหรือไม่

ข้อดีและข้อเสียของการกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (The pros and cons of unrelated diversification) มีหลายประการดังนี้

1) ความเสี่ยงของธุรกิจจะกระจายตามอุตสาหกรรมต่าง ๆกัน ซึ่งเป็นการดีสำหรับการกระจายความเสี่ยงด้านการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับการกระจายธุรกิจแบบสัมพันธ์กัน เนื่องจากการลงทุนของบริษัทสามารถขยายสู่ธุรกิจที่มีเทคโนโลยี การแข่งขัน ลักษณะตลาด และฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน

2) ทรัพยากรด้านการเงินของบริษัท เป็นข้อได้เปรียบสูงสุดจากการลงทุนในอุตสาหกรรมที่คาดหวังว่าจะมีกำไรดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสเงินสดจากธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตช้ากว่า สู่ธุรกิจที่เติบโตเร็ว และมีศักยภาพด้านกำไร

3) ความสามารถในการสร้างกำไรของบริษัทเป็นข้อพิสูจน์ว่าบริษัทมีความมั่นคงมากขึ้น

การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กันและการสร้างคุณค่าให้ผุ้ถือหุ้น (Unrelated diversification and shareholder value) การกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันในทัศนะด้านการเงินคือ การสร้างคุณค่าให้ผู้ถือหุ้น (Share holder value) เนื่องจากต้องใช้เครือข่ายการสร้างคุณค่าในธุรกิจต่าง ๆ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า การถ่ายโอนทักษะ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และเพิ่มผลประโยชน์กลยุทธ์ที่เหมาะสมอื่น ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนกลยุทธ์ที่เหมาะสมระหว่างธุรกิจของบริษัท เข้าสู่ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่จะไปสู่ธุรกิจสาขาที่สามารถบรรลุความสำเร็จได้ ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่เพิ่มเข้ามา จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จโดยวิธีการกระจายธุรกิจแบบสัมพันธ์กันซึ่งเป็นสิ่งที่ผลักดันสู่การสร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น หลักของการกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันเป็นพื้นฐานการสร้างคุณค่าให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งนอกเหนือจากการใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมและการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันแล้ว จะต้องมีกำไรที่เพียงพอจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ที่ผู้จัดการระดับธุรกิจสร้างขึ้นมาได้ ดังนั้นกลยุทธ์การกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันจึงไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหมาะสม ถ้าผู้สร้างกลยุทธ์บริษัทไม่สามารถสร้างคุณค่าผู้ถือหุ้นโดยการได้บริษัทมา ซึ่งจะสร้างโอกาสการแข่งขันแบบรวมสำหรับธุรกิจสาขา สำหรับการกระจายแบบไม่สัมพันธ์กันเพื่อส่งผลในการเพิ่มคุณค่าผู้ถือหุ้น กลยุทธ์บริษัทต้องมีทักษะที่ดีกว่า ในการสร้างและบริหารการกระจายธุรกิจที่เหนือกว่า มีดังนี้

1) สามารถทำงานที่ดีกว่าเมื่อกระจายเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ

2) มีความสามารถเหนือกว่าในการเจรจาต่อรองราคาโดยการซื้อด้วยราคาต่ำ

3) มีความฉลาดพอที่จะขยายสาขาธุรกิจที่ซื้อมาก่อนหน้า ขณะที่กำลังทำกำไร

4) เปลี่ยนทรัพยากรการเงินของบริษัทเชิงรุกอย่างฉลาด และออกจากธุรกิจที่มองไม่เห็นกำไรหรือไม่มีโอกาสหสร้างกำไร

5) ทำงานในสาขาธุรกิจของบริษัทอย่างดี และช่วยบริหารธุรกิจนั้นเพื่อสร้างระดับที่สูงกว่า โดยเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา การใช้กลยุทธ์แบบสร้างสรรค์ และการแนะนำด้านการตัดสินใจของผุ้จัดการระดับธุรกิจ

การรวมกลยุทธ์การกระจายแบบสัมพันธ์และไม่สัมพันธ์กัน (Combination related-unrelated diversification strategies) การปฏิบัติที่แท้จริงของธุรกิจ ทำให้การกระจายบริษัทมีความแตกต่างกัน บริษัทที่มีการกระจายบางบริษัทเป็นองค์การธุรกิจที่มีลักษณะเด่น (Dominant-business enterprises) บริษัทที่กระจายธุรกิจบางบริษัทเป็นการกระจายแบบแคบ (Narrowly diversified) เพียง 2-5 บริษัท บริษัทที่กระจายบางบริษัทเป็นการกระจายอย่างกว้าง และมีช่วงกว้างทั้งธุรกิจที่สัมพันธ์และไม่สัมพันธ์ (Bradly diversified) และสถานประกอบการธุรกิจหลาย ๆ ชนิดมีการกระจายสู่เขตที่ไม่สัมพันธ์ แต่มีการรวมธุรกิจที่สัมพันธ์กันภายในแต่ละขอบเขต นอกจากนี้ ตลาดภูมิศาสตร์ของบริษัทที่มีการกระจายมีขอบเขตจากท้องถิ่นสู่เขต ประเทศ นานาประเทศและระดับโลก ดังนั้นบริษัทที่กระจายธุรกิจอาจจะมีการแข่งขันกันทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศจนถึงระดับโลก

การซื้อกิจการของธุรกิจที่มีอยู่แล้ว (Acquisition of an existing business) คือ การซื้อบริษัทอื่นโดยใช้ชื่อบริษัทของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายเพื่อกระจายเข้าสู่อีกอุตสาหกรรมหนึ่ง ในการเข้าสู่ตลาดเป้าหมายใหม่ และสร้างตราสินค้าใหม่ วิธีนี้จะต้องอาศัยประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต และเมื่อธุรกิจมีขนาดใหญ่พอก็จะต้องต่อสู้กับคู่แข่งขันที่มีประสิทธ์ภาพและหน่วยต้นทุน ทีการใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่ในการโฆษณาแนะนำสินค้า การส่งเสริมการตลาดเพื่อขยายตลาด การสร้างการจดจำตราสินค้า และการจัดจำหน่ายที่กว้างขวางขึ้น ในอุตสาหกรรมจำนวนมาก การเข้าสู่ฐานการเริ่มต้นภายใจจะต้องพยายามพัฒนาด้านความรู้ ทรัพยากร ขั้นการดำเนินงาน และตลาดที่มีชื่อเสียงที่จำเป็นเพื่อความเป็นผู้แข่งขันที่มีประสิทธิผล การซื้อกิจการของธุรกิจที่มีอยู่แล้วจะเป็นวิธีการสร้างตำแหน่งตลาดที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมใหม่ การซื้อบริษัทมักจะมีปัญหาในเรื่องเงินลงทุนในการซื้อกิจการ การซื้อกิจการที่มีความรู้ในอุตสาหกรรมเพียงเล็กน้อย แต่มีเงินทุนมากจะดีกว่าซื้อกิจการที่มีตำแหน่งทางการแข่งขันแข็งแกร่ง เพราะมีขีดความสามารถที่จะทำได้ ในอีกวิธีหนึ่งคือ การซื้อกิจการที่อ่อนแอของบริษัทที่แข็งแกร่งและมีทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน จะเป็นการแก้ปัญหาให้บริษัทที่อ่อนแอ

การร่วมทุน (Joint ventures) เป็นการลงทุนร่วมกันของบริษัทหนึ่งกับอีกบริษัทหนึ่งเพื่อสร้างองค์การใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน การร่วมลงทุนเป็นวิธีที่จะเพิ่มการเข้าถึงธุรกิจใหม่ใน 3 สถานการณ์ คือ 1).การร่วมลงทุนเป็นการเลี่ยงความเสี่ยงจากการไม่ประหยัดจากการทำธุรกิจเพียงบริษัทเดียว 2).การร่วมลงทุนเป็นการรวมทรัพยากรและความสามารถของบริษัท 2 บริษัทขึ้นไป เพื่อให้มีทรัพยากรมากขึ้น และมีจุดแข็งทางการแข่งขันในตลาด 3).การร่วมลงทุนกับหุ้นส่วนต่างประเทศเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะได้โควตาการนำเข้าประโยชน์ทางภาษี การเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงตลาดของประเทศนั้น ๆ หุ้นส่วนภายในประเทศมักนำเสนอบริษัทภายนอกเกี่ยวกับผลประโยชน์ด้านความรู้ในท้องถิ่น การบริหาร บุคลากรการตลาด และการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่าย อย่างไรก็ตามผู้ร่วมลงทุนของประเทศนั้น ๆ มักมีปัญหาด้านการควบคุม การแบ่งงาน ตลอดจนมีความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วนต่างประเทศและภายในประเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     N/A

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     N/A

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     N/A

(ง) วิธีการประเมิน

    1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2.แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

    N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ศึกษา เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการขยายธุรกิจที่สัมพันธ์กับธุรกิจเดิม  ตัดสินใจทำการขยายธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิมในกรณีที่ได้ประโยชน์และสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันได้พิจารณาการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ที่ไม่สัมพันธ์กับธุรกิจเดิมเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ  ตัดสินใจทำการขยายธุรกิจที่ไม่ความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิมในกรณีที่ได้ประโยชน์และสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2.แฟ้มสะสมผลงาน

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน    

 



ยินดีต้อนรับ