หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ศึกษาทฤษฎีและองค์ความรู้ใหม่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาพฤติกรรมลูกค้าเพื่อให้สนใจและยอมรับใน Platform ขององค์กร

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-OLXB-258A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ศึกษาทฤษฎีและองค์ความรู้ใหม่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาพฤติกรรมลูกค้าเพื่อให้สนใจและยอมรับใน Platform ขององค์กร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการและการพาณิชย์ 

ISCO 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล 

ISCO 1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน 

ISCO 1221 ผู้จัดการด้านการขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจ 

ISCO 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 

ISCO 1223 ผู้จัดการด้านการวิจัยและพัฒนา 

ISCO 1420 ผู้จัดการด้านการค้าปลีกและค้าส่ง

ISCO 2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับองค์ความรู้ใหม่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาพฤติกรรมลูกค้าเพื่อให้สนใจและยอมรับใน Platform ขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
-

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342 มาตรา 343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
108211

ผลักดันองค์ความรู้ใหม่ให้ลูกค้า

1. เผยแพร่องค์ความรู้ของธุรกิจให้ลูกค้าได้ทราบโดยอาศัยช่องทางเทคโนโลยีและการสื่อสารทางการตลาด 

108211.01 204174
108211

ผลักดันองค์ความรู้ใหม่ให้ลูกค้า

2. จัดให้มีการจัดการความรู้ขององค์การเพื่อเผยแพร่ไปยังลูกค้า 

108211.02 204175
108212

สร้างการรับรู้ของสังคมให้ยอมรับในองค์ความรู้ใหม่ขององค์กร

1. สร้างการรับรู้ในการจัดการความรู้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 

108212.01 204176
108212

สร้างการรับรู้ของสังคมให้ยอมรับในองค์ความรู้ใหม่ขององค์กร

2. สร้างการยอมรับในสินค้าหรือบริการของธุรกิจให้เกิดขึ้นในสังคมและลูกค้า

108212.02 204177

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ด้านการจัดการความรู้ Knowledge Management เป็นการรวบรวม จัดเรียง หรือสร้างองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ทั้งในตัวบุคคลและเอกสาร เพื่อให้คนภายในองค์กรสามารถที่จะเข้าถึงความรู้ หรือข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ได้ แล้วนำมาพัฒนาตัวเองและนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด Knowledge ในกรณีนี้ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

    Tacit Knowledge คือความรู้ที่มีอยู่ในตัวของบุคคล เช่น ประสบการณ์ พรสวรรค์ สัญชาตญาณหรือไหวพริบของแต่ละคนในการที่จะทำความเข้าใจกับงานหรือข้อมูลต่างๆ ซึ่งความรู้พวกนี้ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดผ่านตัวอักษรออกมาได้ง่ายๆ จึงสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้แบบนามธรรม

    Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่ได้มาจากทฤษฏี คำนิยาม หรือคู่มือต่างๆ ที่ใครๆ ก็สามารถที่จะเข้าถึง หรือเรียนรู้ได้ สามารถที่จะถ่ายทอดผ่านวิธีการต่างๆได้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้แบบรูปธรรม

    Knowledge Management ช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายได้การจัดการองค์ความรู้ ก็เปรียบเหมือนการสร้างเครื่องจักรเพื่อมาช่วยในการผลิตสินค้า กล่าวคือ การจัดการความรู้จะช่วยให้องค์กรหรือบริษัท สามารถบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น คือ งานบรรลุเป้าหมาย บรรลุเป้าหมายในพัฒนาคน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กร บรรลุเป้าหมายในเรื่องของความสามัคคีในหมู่คณะของการทำงาน

    องค์ประกอบของ Knowledge Management การจัดการความรู้จะต้องพึ่ง 3 องค์ประกอบหลักดังนี้ คือ

1.    คน คนหรือบุคลากรถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดในการนำเนินการจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เพราะคนเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญที่สุด และคนคือผู้ที่จะนำความรู้ต่างๆ ไปใช้ในการพัฒนาองค์กร

2.    เทคโนโลยี เปรียบเสมือนอีก 1 มือของคน ที่เป็นตัวช่วยการค้นหา แลกเปลี่ยน ที่สำคัญคือสามารถจัดเก็บข้อมูล ทำให้คนสามารถที่จะนำความรู้ต่างๆ ไปใช้ในการพัฒนาองค์กรได้อย่างง่าย แถมยังรวดเร็วขึ้นอีกด้วย

3.    กระบวนการความรู้ คือการบริหารจัดการในทุกๆ ขั้นตอนของการจัดการองค์ความรู้ โดยในทุกๆส่วน จะต้องมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างสมดุล รวมไปถึงอย่างมีประสิทธิภาพ

การถ่ายโอนความรู้ Knowledge Transfer คือขั้นตอนหนึ่งของ knowledge management เป็นการเรียกกระบวนการแบ่งปันความรู้ถูกถ่ายทอดจากคนหนึ่ง ไปยังอีกคน กลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่ม หรือจะเป็นจากองค์กรหนึ่งไปยังอีกองค์กร กล่าวคือเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้รู้ไปยังผู้ที่ต้องการความรู้ หรือการได้มาซึ่งความรู้ของผู้ที่ต้องการความรู้ Knowledge Transfer เป็นเหมือนการพิสูจน์อย่างหนึ่งการของการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร ที่ร่วมกันถ่ายทอดความรู้ของสมาชิก ในทุกๆ ระดับ ซึ่งในแต่ละระดับจะมีความรู้ ความสามารถ หรือข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป แต่ในทุกๆ ระดับต่างก็มีความสำคัญมากๆ สำหรับการพัฒนาองค์กร ซึ่งการถ่ายทอดความรู้จะทำให้ผู้ปฏิบัติยอมรับในการทำงานร่วมกันอย่างไม่มีข้อแม้ หรือเก็บความรู้เอาไว้แต่เพียงผู้เดียว ส่งผลให้องค์กรสามารถที่จะพัฒนาได้มากขึ้น กว่าการทำงานแบบต่างคนต่างทำ ซึ่งปัจจัยในการเกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นนอกจากระบบสารสนเทศที่มาอำนวยความสะดวกแล้ว องค์กรเองจะต้องมีการกำหนด preconditions หรือ เงื่อนไขต้องมีมาก่อน ซึ่งเงื่อนไขนี้จะมีประโยชน์ต่อองค์กรดังนี้

Preconditions ที่ช่วยส่งเสริม Knowledge Transfer

1. พฤติกรรมการบริหารที่เอื้อต่อการแบ่งปันความรู้ในหมู่สมาชิกองค์กร หมายความว่าองค์กรจะต้องมีความจริงจังต่ออกระบวนการ Knowledge Transfer เช่น การสร้างค่านิยมจากรุ่นสู่รุ่น การสนับสนุนต่างๆ และดูแลให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ บอกถึงข้อดีและประโยชน์ของ Knowledge Transfer เพื่อให้บุคลากรเกิดความตระหนัก ที่สำคัญคือ ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้อง ต้องมีหาเวลาที่จะเดินเข้าไปหาลูกน้องเพื่อสอบถามความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้กัน

2.ทัศนคติของความใส่ใจและความไว้วางใจในหมู่สมาชิกองค์กร เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้สมาชิกในองค์กรเกิดความไว้วางใจกัน มีความสนใจในมุมความคิดเห็นที่แตกต่างกันของผู้อื่น คือองค์กรจะต้องสร้างค่านิยมเกี่ยวกับการปฏิบัติต่างๆ โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกด้วย และค่านิยมนี้จะต้องได้รับการยอมรับพร้อมทั้งมีการถ่ายทอดให้รู้โดยทั่วกัน ตัวอย่างเช่น ค่านิยมของการยอมรับความผิดพลาด ซึ่งเมื่อมีสมาชิกในองค์กรคนใดคนหนึ่ง เกิดความผิดพลาดในการทำงาน สมาชิกในองค์กรคนอื่นๆ จะต้องยื่นมือให้ความช่วยเหลือ ไม่ซ้ำเติม และช่วยกันคิดแก้ปัญหา

3.โครงสร้างที่ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ หมายความว่า องค์กรจะต้องมีการสร้างโครงสร้างที่เอื้อต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ เช่น การลดระยะห่างระหว่างผู้บริหารกับลูกน้อง การสื่อสารแบบที่ไม่ต้องเป็นทางการมากนัก ช่วยให้สมาชิกในองค์กรเข้าถึงผู้บริหารได้ง่ายขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ไปแบบไม่รู้ตัว

4. การให้รางวัลและผลตอบแทนสำหรับส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ เป็นการให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ได้ดี เพื่อเป็นกำลังใจ พร้อมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่สมาชิกคนอื่นๆ ในองค์กรด้วย

วัฒนธรรมของการถ่ายทอดความรู้ หรือ  Culture of Knowledge Transfer

Culture of Knowledge Transfer วัฒนธรรมเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะมายับยั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยข้อเสียตรงนี้จะทำให้องค์กรไม่สามารถที่จะพัฒนาหรือแข่งขันกับองค์กรอื่นๆ ได้ แต่วัฒนธรรมที่ไม่ดีเหล่านี้สามารถแก้ได้ ด้วยการ สร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน เรียนรู้ถึงความแตกต่างของวัฒนธรรม โดยการจัดการอภิปราย การทำงานเป็นทีมเพราะบางครั้งการถ่ายทอดความรู้มักจะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ด้วยกันเป็นทีม เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      N/A

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      N/A

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      N/A

(ง) วิธีการประเมิน

    1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2.แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

     N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและลูกค้า การจัดการความรู้ (Knowledge Management) การถ่ายโอนความรู้ (Knowledge transfer) องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2.แฟ้มสะสมผลงาน

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน    

 



ยินดีต้อนรับ