หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาระบบการบริหารการเงินที่มีความทันสมัยเพื่อเสริมสร้างความ สามารถในการสร้างและจัดการธุรกิจให้มีผลกำไร

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-CHUB-247A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาระบบการบริหารการเงินที่มีความทันสมัยเพื่อเสริมสร้างความ สามารถในการสร้างและจัดการธุรกิจให้มีผลกำไร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการและการพาณิชย์ 

ISCO 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล 

ISCO 1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน 

ISCO 1221 ผู้จัดการด้านการขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจ 

ISCO 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 

ISCO 1223 ผู้จัดการด้านการวิจัยและพัฒนา 

ISCO 1420 ผู้จัดการด้านการค้าปลีกและค้าส่ง

ISCO 2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผน จัดการ การพัฒนาแหล่งการเงินเพื่อสร้างความสามารถในการทำกำไร และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน จัดทำงบประมาณและควบคุมทางการเงิน ควบคุมการดำเนินงานและการบริหารจัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย ปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
-

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342 มาตรา343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
106221

จัดให้มีเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ทางการเงิน และการแสวงหาแหล่งเงินที่เหมาะสมให้กับธุรกิจ


1. จัดหาเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ทางการเงิน และการแสวงหาแหล่งเงินที่เหมาะสมให้กับธุรกิจ

106221.01 204127
106221

จัดให้มีเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ทางการเงิน และการแสวงหาแหล่งเงินที่เหมาะสมให้กับธุรกิจ


2.นำเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ทางการเงิน และการแสวงหาแหล่งเงินไปใช้ให้เหมาะสมให้กับธุรกิจ

106221.02 204128
106222

จัดให้มีเครื่องมือทางการเงินในการพยากรณ์หรือการคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจ

1. จัดหาเครื่องมือทางการเงินในการพยากรณ์หรือการคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจ

106222.01 204129
106222

จัดให้มีเครื่องมือทางการเงินในการพยากรณ์หรือการคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจ

2.นำเครื่องมือทางการเงินในการพยากรณ์หรือการคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจ

106222.02 204130

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ทางการเงิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ทางการวิเคราะห์ทางงการเงิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    เอกสารการวิเคราะห์ทางการเงิน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    เอกสารแสดงผลการศึกษาทางด้านธุรกิจและทางการเงิน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      N/A

(ง) วิธีการประเมิน

    1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2.แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

    N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    จัดหาเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ทางการเงิน และการแสวงหาแหล่งเงินที่เหมาะสมให้กับธุรกิจ นำเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ทางการเงิน และการแสวงหาแหล่งเงินไปใช้ให้เหมาะสมให้กับธุรกิจ จัดหาเครื่องมือทางการเงินในการพยากรณ์หรือการคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจ นำเครื่องมือทางการเงินในการพยากรณ์หรือการคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจ

    เครื่องมือและเทคนิคในการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อตีความข้อมูลรายการทางการเงินเป็นรูปแบบที่มีความสะดวกในการประเมินผลประกอบการและสถานะทางการเงินของกิจการ ทั้งด้วยการเปรียบเทียบกับตนเองในอดีต และเปรียบเทียบกับคู่แข่งและค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมคือ Common-size Financial Statement ซึ่งเน้นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรายการต่างๆ ในงบการเงิน ณ ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง เป็น % ต่อสินทรัพย์รวมในงบดุล และเป็น % ของรายได้รวมในงบกำไรขาดทุน เครื่องมืออื่นๆ ได้แก่อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ที่จัดมาตรฐานของข้อมูลในงบการเงินในรูปของความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ และ Trend Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินข้อมูลในงบการเงินในหลายปีบัญชีต่อเนื่องกัน  นอกจากนี้ยังมี Structural Analysis เป็นการมองงบการเงินในลักษณะที่แจกแจงตามโครงสร้างธุรกิจของกิจการ  และเครื่องมือที่เรียกว่า Industry Comparisons ซึ่งพิจารณาเปรียบเทียบกิจการหนึ่งกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมรวมทั้งหมดและท้ายที่สุดเครื่องมือที่มักนำมาใช้ประกอบ คือ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและการใช้ดุลยพินิจในการประเมิน  เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางการเงินได้แก่

1. Common-size Financial Statement

2. Financial Ratios

3. Trend Analysis

4. Structural Analysis

5. Industrial Comparisons

6. Export Judgment & Common Size

Common-size  Financial Statement นั้นจะทำการปรับข้อมูลในงบการเงินออกเป็น % ต่อสินทรัพย์ในส่วนของรายการในงบดุล และปรับข้อมูลในงบกำไรขาดทุนเป็น % ของยอดขาย เพื่อจะให้ง่ายต่อการดูว่ารายการใดในงบดุลที่มีความสำคัญหรือคิดเป็น % สูงสุด และรายการใดที่มีการเปลี่ยนแปลงของ % หรือน้ำหนักความสำคัญเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะได้ให้ความสำคัญกับรายการที่มี % สูง และรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนมากขึ้น

Financial Ratios สามารถเปรียบเทียบรายการในงบการเงินในช่วงเวลาหลายปีต่อเนื่องกัน หรือเปรียบเทียบ 2 กิจการด้วยอัตราส่วนทางการเงินเดียวกัน โดยอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้แก่

Liquidity Ratios ความสามารถในการหาเงินสดมาใช้จ่ายในการดำเนินงานและรองรับภาระหนี้สินระยะสั้น เพื่อสะท้อนความมั่นคงทางการเงินระยะสั้นหรือประสิทธิภาพการบริหารเงิน

Activity Ratios เป็นการวัดสภาพคล่องของสินทรัพย์บางประเภทและประเมินประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์ มักจะดูด้วยวงจรการเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดหรือวงจรการค้าที่เริ่มจากการบันทึกสินค้าคงเหลือจนรายได้เงินสดกลับมาครบถ้วน

Leverage Ratios  ซึ่งวัดระดับการพึ่งพาแหล่งเงินกู้จากภายนอกเปรียบเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้นจ่ายคืนหนี้สินของกิจการ

Profitability Ratios ความสามารถในการทำกำไร เพื่อวัดผลประกอบการและประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

Market Ratios ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 อัตราส่วน คือ

–  Earnings per common share

–  Price-to-Earnings ratio

–  Dividend payout ratio

–  Dividend yield

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2.แฟ้มสะสมผลงาน

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน    

 



ยินดีต้อนรับ