หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการตลาดให้มีความรู้ด้านการนำเสนอ ด้านการขายและการบริหารคนทั้งแบบอบรมในสถานที่หรืออบรมผ่านระบบ E-learning

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-YQAT-225A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการตลาดให้มีความรู้ด้านการนำเสนอ ด้านการขายและการบริหารคนทั้งแบบอบรมในสถานที่หรืออบรมผ่านระบบ E-learning

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการและการพาณิชย์ 

ISCO 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล 

ISCO 1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน 

ISCO 1221 ผู้จัดการด้านการขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจ 

ISCO 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 

ISCO 1223 ผู้จัดการด้านการวิจัยและพัฒนา 

ISCO 1420 ผู้จัดการด้านการค้าปลีกและค้าส่ง

ISCO 2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ออกแบบหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการตลาดให้มีความรู้ด้านการนำเสนอ  presentation ด้านการขายและการบริหารคน ทั้งแบบอบรมในสถานที่และ/หรืออบรมผ่านระบบ E-learning 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
-

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342 มาตรา 343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103111

กำหนดรูปแบบวิธีการในการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพจัดทำการอบรมแบบ E-Learning 

1. จัดทำหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการตลาด การนำเสนอ การขาย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 

103111.01 204026
103111

กำหนดรูปแบบวิธีการในการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพจัดทำการอบรมแบบ E-Learning 

2. จัดทำรูปแบบการนำเสนอด้วยวิธีการต่าง ๆ ใช้ระบบเทคโนโลยี e-learning 

103111.02 204027
103112

กำหนดรูปแบบวิธีการเทคนิคการขายส่วนบุคคล

1. กำหนดรูปแบบวิธีการขายสำหรับแต่ละบุคคล 

103112.01 204028
103112

กำหนดรูปแบบวิธีการเทคนิคการขายส่วนบุคคล

2. สอนและฝึกอบรมเทคนิคการขายส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ 

103112.02 204029
103113

ฝึกทักษะการบริหารคน ด้านจิตวิทยา 

1. เรียนรู้พฤติกรรมบุคคล แรงจูงใจและการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บุคคล 

103113.01 204030
103113

ฝึกทักษะการบริหารคน ด้านจิตวิทยา 

2. มีความเข้าใจจิตใจของบุคคล รับรู้          ทัศนคดี ค่านิยม พฤติกรรมของแต่ละบุคคล 

103113.02 204031

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการนำเสนอในด้านต่าง ๆ

ทักษะการพัฒนาบุคลากรด้านการตลาด

ทักษะทางการขาย

ทักษะการนำเสนอ

ทักษะการจัดทำ E-learning

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ด้านการนำเสนอแบบ Face to face

ความรู้ด้านการนำเสนอแบบ PC to Pc

ความรู้ด้านการนำเสนอแบบ Voice to voice

ความรู้ด้านการจัดทำ E-learning

การนำเสนอเพื่อการขาย

•  การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อนำเสนออย่างถูกต้อง

•  การพูดอุ่นเครื่อง (WARM UP) เพื่อลดความกดดัน

•  การเริ่มอย่างน่าสนใจ (STRONG OPENING)

•  การกระตุ้นถึงความจำเป็นในการใช้สินค้า

•  การสร้างคุณค่าของ FEATURE 

•  การเชื่อมโยง BENEFIT กับ VALUE

•  การจบอย่างประทับใจ (GOOD ENDING)

•  การตอบข้อโต้แย้ง ขณะนำเสนอ (ถ้ามี)

การเสนอขายที่มีประสิทธิภาพ

ประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการหรือเรียกว่า (4C) หรืออาจเรียกว่าสิ่งจำเป็น 4 ประการของการเสนอขายที่ดี ได้แก่

1.การเสนอขายจะต้องทำให้ผู้มุ่งหวังเกิดความเชื่อมั่นว่า ข้อความต่าง ๆ นั้นเป็นความจริง

2.การเสนอขายต้องขจัดคู่แข่งขันให้ได้ จะต้องใช้วิธีที่ดีในการแก้ปัญหาของผู้มุ่งหวัง

3.การเสนอขายจะต้องสมบูรณ์

4.การเสนอขายจะต้องกระจ่าง

เทคนิคการเสนอขาย

เทคนิคการเสนอขายจะต้องคำนึงถึงสิ่งจำเป็น 3 ประการ เป็นหลัก ได้แก่

1.เทคนิคในการสร้างความเชื่อมั่น

2.เทคนิคในการปฏิบัติเกี่ยวกับการแข่งขัน

3.เทคนิคในการเสนอขายที่สมบูรณ์

การสาธิต

1.การเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกัน หรือเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกันสองสิ่ง

2.การพูดสิ่งที่รู้กับสิ่งที่ไม่รู้ หรือเปรียบเทียบในลักษณะอุปมาอุปไมย

3. การพูดขยายความ

ผู้ขายหรือผู้ทำการสาธิตควรมีข้อพึงระวัง ดังนี้

-จะต้องตรวจสอบความสามารถการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วนและเรียบร้อยก่อนการสาธิต

- จับต้องอุปกรณ์การสาธิตอย่างทะนุถนอม ระมัดระวัง เป็นการแสดงออกให้เห็นคุณภาพของสินค้าหรือบริการและการเอาใจใส่ดูแลสินค้าหรือบริการ

-  การรับฟังความคิดเห็นของผู้มุ่งหวังหลังการสาธิต เป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ขายได้เห็นว่า ผู้มุ่งหวังเข้าใจผลประโยชน์ที่จำก็รับจากการซื้อสินค้าหรือบริการมากน้อยเพียงใด

การเสนอขายอย่างมือโปร (แบบมืออาชีพ)

นักขายมืออาชีพย่อมตระหนักและรู้ดีว่า โอกาสที่จะหาเงินเพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีพในสนามการขายนั้นไม่ได้เงินหาง่ายเหมือนกับเนรมิตขึ้น ต้องมีการวางแผนในการทำงาน เพื่อที่จะได้เงินมา ดังนั้น

1.ออกพบกับผู้มุ่งหวังและลูกค้าทุก ๆ วันอย่างต่ำ 2 รายหรือมากกว่านั้น

2.ติดต่อลูกค้าทางโทรศัพท์ทุกวัน ๆ ละ 2 รายหรือมากกว่า

3.หาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมทุกวัน ฝึกฝนตนเองทุกวัน

4.มีนัดหมาย เสนอขาย สาธิต เยี่ยมเยือนทุกวัน

5.แสวงหาโอกาสในการขายและสร้างทีม ทุกโอกาสที่พบกับคน

6.พบประพูดคุยกับเพื่อนที่เก่ง ๆ หรือหัวหน้าทุกคน

7.เข้าสำนักงานทุกวันที่เปิดทำการหรือตามกำหนดการ

8.เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง แข่งขันทุกรอบที่มีการประกาศ

9.วางแผน ตรวจสอบ ติดตามผลการทำงานทุกวัน

10.รู้จักรักษาใจ รักษาอารมณ์ รักษาสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อทุกคน

ความต้องการความรู้เรื่อง  e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

การบริหารจัดการอีเลินนิ่งที่เป็นการบริหารจัดการทั้งระบบ   (LMS : Learning Management System)   จะดูแลตั้งแต่เนื้อหา  การสร้าง การติดตั้ง การลงทะเบียน การชำระเงิน การเก็บข้อมูล การมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียน ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงแบบฝึกหัดและข้อสอบที่สามารถจัดเก็บผลคะแนนสอบของแต่ละคนได้  เป็นระบบที่สมบูรณ์แบบ  ขณะที่ถ้าให้ผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการเองก็จะกระทำได้เพียงการสร้างเนื้อหาและติดตั้งองค์ประกอบบางส่วนเท่านั้น แต่การบริหารจัดการทั้งระบบจะต้องใช้บุคลากรจำนวนมากได้แก่

1.ผู้ดูแลระบบ (Administrator) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย เครื่องแม่ข่ายและการติดต่อสื่อสารของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การบริหารเครือข่าย ดูแลการบริหารงานธุรการ การเงินและบุคลากรทั้งระบบ

2.ผู้ดูแลเว็บ (Webmaster) จะต้องเป็นผู้ดูแลและติดตั้งเว็บ คอยเฝ้าติดตามการเข้ามาใช้เว็บของผู้เรียนและดูแลเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เช่น กระดานข่าว การถาม-ตอบ  มีความสามารถระดับโปรแกรมเมอร์

3.ผู้ออกแบบและพัฒนาเว็บ (Web designer) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเว็บสำหรับการเรียนการสอนตามการออกแบบที่กำหนดมาจากผู้ออกแบบการเรียนการสอน

4.ผู้ออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Developer) เป็นผู้กำหนดรูปแบบการเรียนการสอน องค์ประกอบเนื้อหา วิเคราะห์ระบบการสอนและวางรูปแบบเพื่อให้ผู้ออกแบบและพัฒนาเว็บสามารถดำเนินการได้

5.ผู้สอน (Instructor) เป็นผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาเฉพาะวิชาที่ต้องการจะนำมาใช้ในการเรียน          การสอน กำหนดเนื้อหาที่จะสอน แบบฝึกหัด ข้อสอบ การวัดผลและประเมินการเรียน ดังนั้นถ้าจะเลือกระบบที่สมบูรณ์แบบสำหรับอีเลินนิ่งก็หมายความว่า  จะต้องจัดหาคณะ ทำงานที่พร้อมสำหรับการบริหารจัดการ ยังไม่รวมเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องมีความพร้อมสำหรับให้คณะทำงานได้ทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งถ้ารวมมูลค่าเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ก็จัดว่าเป็นการลงทุนที่สูงมากเพราะนั่นคือถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์และค่าใช้จ่ายอีกนานับประการที่จะตามมา ได้แก่

1. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server)

2. อุปกรณ์ต่อเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    2.1 เร้าเตอร์ (Router)

    2.2 โมเด็ม (Modem)

    2.3 สวิตช์ (Switch)

    2.4 ฮับ (Hub)

3. เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client)  สำหรับการสร้างและพัฒนาเว็บ

4. เครื่องมือประกอบอื่น ๆ เช่น  เครื่องสแกนภาพ,กล้องดิจิตอล, ฯลฯ

5. ค่าใช้จ่ายโปรแกรมการสร้างเว็บ

6. ค่าเช่าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

7. ค่าจดทะเบียนโดเมน

8. ค่าลิขสิทธิ์ทางปัญญาของเนื้อหาวิชา ฯลฯ

ที่มา: http://portal.in.th/inter-pang/pages/2406/

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    สื่อการฝึกอบรม สื่อการสอน สื่อการนำเสนอ เทคโนโลยีการนำเสนอ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    เอกสารการอบรมด้านการนำเสนอ

    เอกสารการอบรมความรู้ในการออกแบบหลักสูตร

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      N/A

(ง) วิธีการประเมิน

    1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2.แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

    ทำการออกแบบหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการขายตรง  จัดทำแผนการฝึกอบรม จัดทำสื่อการเรียนการสอน จัดเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์การฝึกอบรม

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    การนำเสนอเพื่อการขาย  การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อนำเสนออย่างถูกต้อง การเสนอขายที่มีประสิทธิภาพ เทคนิคการเสนอขาย การสาธิต การเสนอขายอย่างมือโปร (แบบมืออาชีพ)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2.แฟ้มสะสมผลงาน

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน  

 



ยินดีต้อนรับ