(ก) ความต้องการด้านทักษะ
ทักษะการวิเคราะห์แผนการจ่ายผลตอบแทน
ทักษะการวิเคราะห์ ข้อดีข้อเสียของแผนการจ่ายผลตอบแทน
(ข) ความต้องการด้านความรู้
ความรู้ในการจัดทำแผนการจ่ายผลตอบแทนเช่น แผน Balance Team/Binary เน้นการสร้างองค์กร , จัดทำแผนการจ่ายผลตอบแทน ได้แก่ แผน Stair Step เน้นประโยชน์จากการขาย, แผน Uni level มุ่งเน้นการบริโภคซ้ำ , แผน Matrix มุ่งเน้นการขยายองค์การส่วนตัว เป็นต้น ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ความรู้เกี่ยวกับแผนธุรกิจขายตรง แต่ละบริษัทก็จะมีแผนการจ่ายผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่บริษัทแต่ละที่จะจัดแบ่งสันปันส่วนค่อคอมมิชชั่นให้ สมาชิกด้วยแผนการตลาดแบบไหน ส่วนแผนที่นิยมเห็นกันอยุ่ในปัจจุบันมีดังนี้ แผนการจ่ายค่าตอบแทน MLM แผนการจ่ายค่าตอบแทน MLM หรือที่เรียกว่า Compensation Plan หรือที่นิยมเรียกกันว่า แผนการตลาดขายตรง ถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จ ความล้มเหลว การเติบโตและความยั่งยืนของบริษัท MLM ระบบขายตรงหลายระดับ หรือระบบ MLM มีลักษณะที่สำคัญซึ่งทำให้ระบบเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากผู้จำหน่ายอิสระได้รับค่าตอบแทนจากยอดขายโดยตรงของตนเองแล้วยังได้รับค่าตอบแทน หรือที่เรียกว่า Override จากยอดขายของผู้จำหน่ายอิสระที่ตนเองได้แนะนำให้เข้าร่วมธุรกิจและ ผู้จำหน่ายอิสระที่เป็นดาวน์ไลน์ต่อๆ ลงไปด้วยจุดนี้นี่เองที่เป็นการเปลี่ยนแนว ความคิดจากการที่ผู้จำหน่ายอิสระจะต้องแย่งกันขายให้แก่ลูกค้ามาเป็นการช่วยกันขายเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างอัพไลน์และดาวน์ไลน์และยังช่วยกันแนะนำให้ลูกค้าที่ใช้สินค้าเข้ามาร่วมธุรกิจเป็นผู้จำหน่ายอิสระ ต่อในสายงานของตนต่อไปอีกด้วย วัตถุประสงค์หลักของแผนการจ่ายค่าตอบแทนก็เพื่อใช้เป็นนโยบายในการ จ่ายค่าตอบแทนอย่างยุติธรรมให้แก่ผู้จำหน่ายอิสระสมาชิกหรือบุคคลใดที่ได้ ดำเนินกิจกรรมที่ทำให้เกิดยอดขาย และก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของบริษัท MLM และการขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายอิสระโดยที่กิจกรรมที่ได้กล่าวแล้วนั้น จะเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนแก่บริษัทและเครือข่าย ผู้จำหน่ายอิสระอย่างสมดุลและยุติธรรม แต่ละแผนก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ดี ลักษณะหรือรูปแบบของแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่สามารถสังเกตได้จาก แผนต่างๆที่พิจารณาแล้วว่าประสบความสำเร็จสามารถนำมาสรุปเป็นหลักการกว้างๆที่เป็นปัจจัยหลักๆที่เป็นองค์ประกอบของแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่ ประสบความสำเร็จเป้าหมายหลักของแผนการจ่ายค่าตอบแทนคือการจ่ายค่าตอบแทนให้กับ การดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้คือ
1) การขายสินค้าแก่ผู้บริโภค (Sell)
2) การสร้างเครือข่ายผู้จำหน่ายอิสระ (Recruit)
3) การสร้างผู้ฝึกอบรม (Build Trainers)
4) การสร้างนักบริหารการขาย (Build Top Sales Executives)
5) การรักษาให้ผู้จำหน่ายอิสระที่ดีให้อยู่กับบริษัทได้อย่างยั่งยืน (Keep Good Distributors) การจ่ายค่าตอบแทนให้กับการขายสินค้าแก่ผู้บริโภค (Sell) เป็นการจ่ายค่าตอบแทนแก่กระบวนการหลักในการผลักดันสินค้าจากบริษัทไปสู่ผู้บริโภค หากไม่มีการขายสินค้าแล้ว ระบบ MLM ก็จะไม่เป็นระบบที่เหมาะสม อาจเป็นการกระทำผิดแชร์ลูกโซ่ได้
การจ่ายค่าตอบแทนให้กับการสร้างเครือข่ายผู้จำหน่ายอิสระ (Recruit) เป็นการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับกิจกรรมหัวใจหลักในการขยายจำนวนผู้จำหน่ายอิสระ หรือการขยายทีมงานการจ่ายค่าตอบแทนทำได้โดยการจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ จากยอดขายของกลุ่มหรือยอดทีมใต้สายงานลงไป เพราะถ้าผู้จำหน่ายอิสระ สร้างทีมงานเพิ่มมากขึ้นยอดขายของกลุ่มหรือทีมงานใต้สายงานของเขาก็จะ มากขึ้นด้วยส่งผลให้ยอดคอมมิชชั่นของผู้จำหน่ายอิสระคนนั้นมากขึ้นตามไปด้วย
การแนะนำ การสร้างทีมงานหรือการบอกต่อนั้น ในระยะเริ่มแรกผู้ที่สมัครเข้ามาใหม่จะรู้สึกตื่นเต้นกับโอกาสทาง ธุรกิจที่รออยู่ข้างหน้าอย่างมาก มีความกระตือรือร้นที่จะทำงานหรือ หาสายงานเพิ่ม หากผู้สมัครเป็นผู้จำหน่ายอิสระใหม่สามารถสร้างทีมงานเพิ่มได้ในช่วงนี้ก็จะทำให้การสร้างทีมงานเติมโตอย่างมาก เพราะยังมีความรู้สึก ที่ดีอยู่มากหากผ่านระยะเวลาไป 1 เดือนผู้สมัครเป็นผู้จำหน่ายอิสระใหม่ยังไม่สามารถสร้างสายงานของตัวเองได้ หากผ่านระยะเวลาไป 2 เดือนหรือมากกว่า ผู้สมัครเป็นผู้จำหน่ายอิสระใหม่ยังไม่สามารถสร้างสายงานของตัวเองได้ก็จะหมดแรงกระตุ้น
ดังนั้นแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่ดีควรจ่ายให้แก่การแนะนำผู้จำหน่ายอิสระใหม่ๆ ให้ได้ในระยะที่เร็วที่สุดเพื่อให้สามารถรักษาความกระตือรือร้น และความสนใจในการสร้างสายงานของผู้จำหน่ายอิสระใหม่ให้มีความหวัง ผู้จำหน่ายอิสระสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่เป็นไปได้
การจ่ายค่าตอบแทนให้กับการสร้างผู้ฝึกอบรม (Build Trainers) การสร้างผู้ฝึกอบรมคือการสร้างผู้แทนจำหน่ายอิสระที่สามารถฝึกอบรมเทคนิค การขายและเทคนิคการแนะนำ สปอนเซอร์ที่ดีให้แก่ผู้จำหน่ายอิสระใหม่ที่ สมัครเข้ามาร่วมธุรกิจ หรือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้กับผู้ จำหน่ายอิสระเก่าก็ได้ การเพิ่มความสามารถให้แก่ผู้แทนจำหน่ายอิสระ เหล่านั้นให้สามารถทำงานซ้ำๆ โดยใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการขยายสายงาน และขายสินค้า เป็นการสร้างความเติบโตแก่ทีมงานโดยรวมดังนั้นการจ่ายค่าตอบแทนให้กับกิจกรรมการสร้างผู้ฝึกอบรมนั้น ควรจ่ายให้กับผู้แทนจำหน่ายจากยอดขายกลุ่มของเขาและจำนวนทีมงานที่เขา สามารถแนะนำเข้ามาใหม่ หรือทั้งสองอย่างก็ได้
การจ่ายค่าตอบแทนให้กับการสร้างนักบริหารการขาย (Build Top Sales Executives) เมื่อผู้แทนจำหน่ายที่เป็นลูกทีมนั้นสามารถสร้างสายงานและมีรายได้พอสมควรแล้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างให้ลูกทีมในสายงานเหล่านั้นเติบโตและสร้างสรรค์ ผลงานให้ได้เต็มศักยภาพของพวกเขาโดยการสนับสนุนให้เขาเหล่านั้นเติบโต ยิ่งขึ้นไปอีก โดยการสอนเทคนิคการบริหารบุคคล บริหารทางการเงิน รวมถึงเทคนิคและแนวความคิดอื่นๆที่จำเป็นต่อการเติมโตขององค์กรด้วย การจ่ายค่าตอบแทนให้กับการสร้างผู้บริหารระดับสูงที่เก่ง มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อจูงใจให้ผู้จำหน่ายอิสระที่เก่งๆพยายามถ่ายทอดความรู้ ของพวกเขาไปยังผู้จำหน่ายอิสระที่เป็นลูกทีมของเขาอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้เกิดกรณีที่พบบ่อยๆ คือสร้างให้เก่งแล้วก็ไม่ได้อะไร หรือสร้างให้เก่งแล้วก็หลุดไปการรักษาให้ผู้จำหน่ายอิสระที่ดีให้อยู่กับบริษัทได้อย่างยั่งยืน (Keep Good Distributors) เป็นกิจกรรมที่สำคัญมาก ความยั่งยืนปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ผู้จำหน่ายอิสระที่เก่งๆมองหา เพราะเขาเหล่านั้นรู้ว่ามันไม่สนุกนักในการต้องไปเริ่มต้นทำสายงานใหม่อยู่ บ่อยครั้ง ถึงแม้ว่าจะมีลูกทีมที่เชื่อมั่นในความสามารถของแม่ทีมเก่งๆ เหล่านั้นอยู่ แต่การเริ่มต้นใหม่ก็ยังเหนื่อยอยู่ดี การรักษาผู้จำหน่ายอิสระ ให้ยั่งยืนอยู่กับบริษัทได้ ก็ขึ้นอยู่กับการจ่ายค่าตอบแทนที่ยุติธรรม เหมาะสม และสามารถจ่ายได้อย่างยั่งยืน ไม่จ่ายเกินที่กำหนด ไม่ Over-pay ดังนั้น ระบบจึงควรมีการรองรับการจ่ายค่าตอบแทนที่ยั่งยืนไว้ตั้งแต่เริ่มต้นก็จะเป็น สิ่งที่ควรทำมากที่สุด
หลักการอื่นๆที่สำคัญที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับแผนการจ่ายค่าตอบแทน คือ ความง่าย และการไม่เปลี่ยนแผนบ่อย ความง่ายของแผนการจ่ายค่าตอบแทน ควรใช้แผนที่ง่าย เข้าใจง่าย อธิบายง่าย ไม่ซับซ้อน จะดีกว่า การเปลี่ยนแผนบ่อย ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้บริษัท MLM ดูไม่เป็นมืออาชีพ หรืออาจจะมองได้ว่าไม่ได้คิดให้รอบครอบมาก่อน ผู้แทนจำหน่ายอิสระหรือสมาชิกจะมีความรู้สึกไม่มั่นคง เพราะไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนแผนอีกเมื่อไร แล้วจะกระทบกับผลประโยชน์ที่ควรจะได้หรือไม่
แผนการจ่ายค่าตอบแทนมีลักษณะที่สำคัญ คือต้องมีทั้งความกว้างและความลึก ความกว้างนี้เป็นลักษณะของแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่ได้จากการขายสินค้า ของผู้แทนจำหน่ายอิสระเองและการแนะนำผู้จำหน่ายอิสระใหม่ด้วยตัวเอง เป็นการขายเองและสปอนเซอร์ด้วยตัวเอง เป็นการขยายทีมงานในแนวกว้าง ซึ่งเป็นลักษณะของนักขาย ความลึกเป็นลักษณะของแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่มีการการช่วยเหลือกัน และการสนับสนุนกันในทางลึกเพื่อทำให้เกิดรายได้จากยอดขายที่อยู่ลึกลงไป จากเรา และทำให้เกิดการช่วยเหลือกันทำงาน เป็นการสร้างผู้นำที่สามารถ ฝึกอบรมผู้แทนจำหน่ายอื่นๆ โดยการต่อสายงานให้กับลูกทีม แผนที่มีลักษณะแบบนี้คือแผนที่มีโครงสร้างองค์กรเป็นแบบจำกัดลูกทีมติดตัว หรือ Forced Matrix นั้นเอง ซึ่งทำให้เกิดการช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกันทำให้เครือข่ายขยาย และเติบโตได้ดี เพราะระบบจำกัดจำนวนผู้ที่จะนำมาติดตัว จึงเป็นการบังคับให้ผู้แทนจำหน่ายที่เราแนะนำมาแล้วเมื่อมีลูกทีมติดตัวเกินจำนวน ที่กำหนดเราต้องนำไปต่อให้กับลูกทีมของเราลงไปข้างล่าง ซึ่งเป็นการช่วยเหลือลูกทีมเราไปในตัว
แผนการจ่ายค่าตอบแทนที่พบในตลาด MLM นั้นมีแบบหลักๆ คือ
1) แผนเมทริกซ์ (แผนเน็ตเวิร์ก หรือยูนิเลเวล)
2) แผนไบนารี่
3) แผนไตรนารี่
4) แผนสแตร์สเต็ปเบรกอะเวย์
5) แมทชิ่งโบนัส และ
6) กองทุนต่างๆ
แผนเมทริกซ์ Matrix Plan หรือแผนเน็ตเวิร์ก Network Plan หรือยูนิเลเวล Unilevel Plan เป็นแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่เก่าแก่แผนหนึ่ง เป็นแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่จ่ายค่าตอบแทนเป็นจำนวนร้อยละของยอดขาย หรือคะแนนในแต่ละระดับ ซึ่งจำกัดจำนวนระดับที่จะจ่ายให้ลึกตามที่กำหนด หากไม่จำกัดจำนวนลูกทีมในระดับที่หนึ่ง (หรือลูกทีมติดตัว หรือเรียกว่า Front line) เราเรียกว่า Unforced matrix คือเน็ตเวิร์กที่ไม่จำกัดจำนวนลูกทีมติดตัว (Front line) หรือที่เรียกว่า ยูนิเลเวล
แผนเมทริกซ์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งจำกัดจำนวนลูกทีมติดตัว ที่เรียกว่า Forced Matrix เป็นแผนที่จ่ายค่าตอบแทนเป็นระดับๆ โดยจำกัดจำนวนลูกทีมติดตัว หรือ Front line ตามจำนวนที่กำหนด เช่น มีลูกทีมติดตัวได้ไม่เกิน 5 คน เมื่อเราได้แนะนำผู้แทนจำหน่ายอิสระเข้ามาเป็นลูกทีมเราได้ครบ 5 คนแล้ว เมื่อแนะนำคนต่อไปก็จะไม่สามารถต่อติดตัวเราได้อีก ต้องนำไปต่อในระดับที่ 2 ซึ่งก็จะเป็นลูกทีมของลูกทีมของเราอีกทีหนึ่ง เราเรียกลักษณะการต่อสายงานแบบนี้ว่า การล้นระดับ หรือ Spill over ตัวอย่างของแผนเมทริกซ์แบบ 5x10 ก็คือมีลูกทีมติดตัวได้สูงสุด 5 คนและมีรายได้ลึกลงไป 10 ระดับ
การ Roll-Up เป็นลักษณะการคำนวนอันหนึ่งของแผนเมทริกซ์ ซึ่งมีประโยชน์ในกรณีที่ลูกทีมบางคนไม่ทำงานหรือไม่ซื้อสินค้าให้มีคะแนน เพื่อรักษาคุณสมบัติในการรับคอมมิชชั่นหรือโบนัส (Commission Qualifying) อัพไลน์หรือแม่ทีมจะสูญเสียโอกาส ในการได้รับคอมมิชชั่นจากลูกทีมคนนี้ เพราะเขาไม่ได้ซื้อสินค้า การโรลอัพ นั้นเป็นการดึงเอาลูกทีมคนถัดลงไปในสายงานขึ้นมาให้อยู่ในระดับเดียวกับลูกทีม ที่ไม่ได้รักษายอดจำนวนระดับและเปอร์เซ็นต์ที่ผู้แทนจำหน่ายอิสระจะได้รับผลประโยชน์ตามแผน เมทริกซ์อาจเป็นแบบ ตายตัว หรือแบบปรับตามตำแหน่ง หรือปรับ ตามยอดคะแนน ก็ได้ ทั้งนี้การปรับจำนวนระดับและเปอร์เซ็นต์ที่จ่ายตาม ตำแหน่งหรือตามยอดคะแนนที่ซื้อในรอบนั้น ก็เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้ผู้แทนจำหน่ายอิสระทำงานให้มากขึ้นเพื่อให้ได้ผลประโยชน์มากขึ้นไปด้วย
แผนไบนารี่ Binary Plan เป็นแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่ได้รับความนิยมมากแผนหนึ่ง มีโครงสร้างที่กำหนดให้ผู้แทนจำหน่ายอิสระมีลูกทีมติดได้ไม่เกิน 2 คน ดังนั้นหากผู้แทนจำหน่ายอิสระแนะนำสมาชิกใหม่คนที่ 3 เข้ามาก็จะต้องนำไปต่อให้กับลูกทีมคนใดคนหนึ่งในระดับลึกลงไป จึงมีลักษณะ Spill Over ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้ลูกทีมมีสายงานเพิ่มขึ้นด้วย ลูกทีมที่ติดตัวทั้งสองคนนั้นคนหนึ่งอยู่ด้านซ้าย และอีกคนหนึ่งอยู่ด้านขวา บางครั้งจะเรียกว่าทีมซ้ายและทีมขวาก็ได้ โดยปกติการให้ค่าตอบแทนจะนับคะแนนทีมซ้ายและทีมขวามาจับคู่ในจำนวน ที่เท่าๆกัน (หรือที่เรียกว่า Balanced Legs) แล้วคิดให้เป็นเปอร์เซ็นต์จากจำนวนคะแนน
การจ่ายค่าตอบแทนตามแผนไบนารี่นั้นมีลักษณะที่แบ่งออกได้เป็น แบบที่บังคับโครงสร้าง และแบบที่ไม่บังคับโครงสร้างแผนไบนารี่แบบบังคับโครงสร้างนั้นเป็นแบบที่กำหนดโครงสร้างลักษณะต่างๆ ไว้เมื่อผู้แทนจำหน่ายอิสระสามารถสร้างทีมงานได้ตามโครงสร้างที่กำหนดก็จะ ได้ค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในแผน เช่น หากสามารถสร้างทีมงาน ให้ได้ในระดับที่ 4 และมีจำนวนลูกทีมที่อยู่ในทีมซ้ายและทีมขวาทีมละ 2 คน จะได้ค่าตอบแทน 1000 บาทเป็นต้น แผนแบบนี้อาจจะมีการเก็บคะแนนไว้ให้ตามโครงสร้างที่ทำได้ และไม่มีการตัดทิ้งคะแนนที่ได้เก็บไว้ให้แล้ว
แผนไบนารี่แบบไม่บังคับโครงสร้าง เป็นแบบที่ไม่กำหนดโครงสร้างที่จำเป็นต้องทำให้ได้คุณสมบัติ หรือกำหนดไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แล้วให้มีการจับคู่หรือนับคะแนนที่เท่ากันของทีมซ้ายและทีมขวา โดยมีโควต้าให้ในแต่ละรอบการคำนวณจะนับคู่หรือนับคะแนนให้ได้ไม่เกิน จำนวนที่กำหนดไว้ในแผน คะแนนส่วนที่เกินในรอบการคำนวณนั้นๆ ก็จะถูกตัดทิ้งไป การตัดคะแนนทิ้งเรียกว่า Flush
แผนไบนารี่แบบ Weak – Strong เป็นแบบที่ไม่บังคับโครงสร้างเช่นกัน นับคะแนนจากทีมซ้ายและทีมขวา ทีมใดมีคะแนนมากกว่าในรอบการคำนวนนั้น ก็จะเรียกว่า ทีมแข็ง หรือ Strong Team และทีมใดที่มีคะแนนน้อยกว่าก็จะเรียกว่า Weak Team ในกรณีที่คะแนนเท่ากันทั้งสองทีมเราก็สามารถให้ทีมใดก็ได้เป็น Strong Team และ ทีมใดก็ได้เป็น Weak Team การจ่ายค่าตอบแทนก็จะจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายทีมอ่อน แล้วนำคะแนนทีมอ่อนมาหัก คะแนนทีมแข็งออกไป เก็บคะแนนส่วนที่เหลือของทีมแข็งไว้ให้ก็ได้การคิดคะแนนในระบบการคำนวณแบบไบนารี่นั้นอาจคิดจากยอด PV ของแต่ละทีม คือคิดเป็น PV หรือจะคิดเป็นจำนวนผู้แทนจำหน่ายอิสระ (จำนวนรหัส) ที่ครบตามคุณสมบัติต่างๆที่กำหนดไว้ก็ได้
แผนไบนารี่อีกลักษณะหนึ่งที่เป็นที่นิยมมากคือระบบ ที่มี Top-up หรือ Upgrade หรือที่เรียกว่าการเพิ่มจำนวนคู่หรือจำนวนคะแนนสูงสุดที่จะจับคู่ให้ได้ในแต่ละ รอบการคำนวณ เช่นโดยปกติการคำนวณธรรมดาอาจจะคิดให้ 5 คู่ในแต่ละรอบการคำนวณ หากผู้แทนจำหน่ายอิสระซื้อสินค้าเพิ่มเพื่อ ขึ้นตำแหน่งก็จะมีสิทธิในการจับคู่ในแต่ละรอบการคำนวณเป็น 10 คู่ต่อรอบการคำนวณ เป็นต้น
แผนไตรนารี่ Trinary Plan เป็นแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นที่นิยมมากเช่นกัน โดยที่โครงสร้างขององค์กรผู้แทนจำหน่ายอิสระนั้นจะมีการจำกัดจำนวน ลูกทีมที่ติดตัวไว้เพียง 3 คน คือผู้แทนจำหน่ายอิสระใดๆ จะมีลูกทีมติดตัวได้ไม่เกิน 3 คน เมื่อได้แนะนำผู้แทนจำหน่ายอิสระใหม่ เข้ามาเป็นคนที่ 4 ก็จะต้องนำไปต่อให้ลูกทีมระดับลึกลงไป จึงมีลักษณะ Spill Over ซึ่งเป็นการช่วยเหลือลูกทีม ทำให้เกิดการทำงานที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน การต่อสายงานผู้แทนจำหน่ายอิสระซึ่งเป็นลูกทีมคนแรกซึ่งอยู่ทางซ้ายมือสุด เราเรียกว่า ลูกทีมด้านซ้าย ลูกทีมที่อยู่คนถัดมา ซึ่งอยู่ตรงกลาง เราเรียกว่า ลูกทีมตรงกลาง และลูกทีมคนสุดท้ายที่อยู่ทางขวามือสุด เราเรียกว่าลูกทีมด้านขวา การคิดค่าตอบแทนตามแผนไตรนารี่นั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกันแผนไบนารี่มาก เพียงแต่มีจำนวนทีมงานมากกว่าเท่านั้น ซึ่งจะมีลักษณะเป็นการจับคู่ตามรอบการคำนวณ (Balanced Legs) การจับคู่อาจเป็น คู่สอง ซึ่งหมายถึงการจับกันระหว่างคะแนนที่ได้จากทีมใดๆสองทีม ซึ่งอาจเป็นทีมซ้ายจับกับทีมกลาง ทีมกลางจับกับทีมขวา หรือทีมขวาจับกับทีมซ้ายก็ได้ ลักษณะการจับคู่อีกอย่างหนึ่งคือการจับคู่สาม คือการนับคะแนนหรือจำนวนรหัสจากทั้งสามทีม แล้วเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดคะแนนที่ได้เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้กับผู้แทนอิสระการคิดแผนไตรนารี่นั้นเป็นได้ทั้ง แบบบังคับโครงสร้าง และไม่บังคับโครงสร้าง รวมทั้งสามารถมีลักษณะที่เป็น Top-Up หรือ Upgrade ได้ด้วยเช่นกัน
สแตร์สเตป Stair-step หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า แผนขั้นบันได เป็นลักษณะการคิดค่าตอบแทนให้กับผู้แทนจำหน่ายอิสระเป็นเปอร์เซ็นต์จาก ยอดคะแนนซื้อส่วนตัวและ/หรือยอดกลุ่มส่วนตัว หรือคิดเปอร์เซ็นต์ให้ตามตำแหน่งของผู้แทนจำหน่าย ณ เวลาที่คำนวณนั้น เมื่อลูกทีมได้รับผลประโยชน์เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดคะแนนแล้ว ผู้ที่เป็นแม่ทีมจะสามารถได้รับผลประโยชน์จากยอดคะแนนเดียวกันนั้นก็ต่อเมื่อ แม่ทีมมีตำแหน่งสูงกว่าลูกทีม เราอาจเรียกแผนแบบนี้ตามลักษณะการคำนวณได้ว่าเป็นการจ่ายตามผลต่าง ของเปอร์เซ็นต์ตามตำแหน่ง หากผลต่างของเปอร์เซ็นต์ตามตำแหน่ง แม่ทีม – ลูกทีม มีค่าเป็น 0 หรือ ค่าลบ ก็จะไม่จ่ายค่าตอบแทนให้กับแม่ทีมคนนั้น ซึ่งก็หมายความว่าแม่ทีมนั้นมีตำแหน่งน้อยกว่าหรือเท่ากับลูกทีม กรณีที่ตำแหน่งหรือเปอร์เซ็นต์ของลูกทีมมากกว่าหรือเท่ากับแม่ทีมเรียกกันทั่วไป ว่า ตำแหน่งชนกัน การคิดผลต่างของเปอร์เซ็นต์หรือผลประโยชน์ที่ผู้แทนจำหน่ายจะได้รับนั้นมี วิธีคิดผลต่าง % ตามตำแหน่ง หรือ ผลต่าง % ตามยอดคะแนนของกลุ่ม ก็ได้
แผนเบรกอะเวย์ Breakaway หรือที่เรียกกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผน Stair-step คือแผน Unilevel ประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้ที่มีคุณสมบัติครบคือผู้แทนจำหน่ายอิสระที่ได้ตำแหน่งสูงสุดใน ตารางของแผน Stair-step แล้วเท่านั้นจึงจะมีสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทน จากแผน breakaway นี้ โดยอาจคิดให้เป็นระดับลึกจำกัดอาจจะเป็น 2-3 ระดับแล้วแต่ความเหมาะสม
แผนแมทชิ่งโบนัส แท้จริงก็สามารถคิดเป็น Uni-level ชนิดหนึ่งซึ่งคะแนนที่ได้นั้นคิดจากรายได้ของลูกทีมเพื่อนำมาคิดเปอร์เซ็นต์ เป็นระดับให้กับแม่ทีมลักษณะเดียวกับ Uni-level นั่งเอง เป็นการคิดค่าตอบแทนให้แม่ทีมที่ได้ช่วยเหลือลูกทีมให้มีรายได้ ซึ่งก็จะสนับสนุนให้แม่ทีมมียอดขายมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน คือเป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน
กองทุน Pool เป็นการคิดเปอร์เซ็นต์ของคะแนนจากยอดขายโดยรวมทั้งบริษัท แล้วนำมาแบ่งให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติครบโดยการหารเท่ากัน หรือจะหารเป็นสัดส่วนของยอดที่ทำได้ก็ได้ การให้กองทุนนั้นเป็นการทำให้ผู้ที่ได้ทำงานให้กับองค์กรมาเป็นระยะเวลานาน พอสมควรระยะหนึ่งและได้สร้างผลงานให้กับองค์กรได้มากเพียงพอจำนวนหนึ่ง ก็จะมีสิทธิ์ได้รับเงินค่าตอบแทนจากกองทุน ในลักษณะที่เป็นการเกษียร หรือเป็นบำนาญ ก็ได้ หรือจะเป็นกองทุนเพื่อซื้อบ้าน รถยนต์ หรือกองทุนการศึกษาก็ได้ เป็นลักษณะการจ่ายค่าตอบแทนทางลึกอีกทางหนึ่ง
ที่มา: www.alisio.com"
|