หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-TAQB-254A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการและการพาณิชย์ 

ISCO 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล 

ISCO 1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน 

ISCO 1221 ผู้จัดการด้านการขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจ 

ISCO 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 

ISCO 1223 ผู้จัดการด้านการวิจัยและพัฒนา 

ISCO 1420 ผู้จัดการด้านการค้าปลีกและค้าส่ง

ISCO 2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ ประสานการดําเนินงานด้านการเงิน  ควบคุมทางการเงิน ควบคุมการดำเนินงานและการบริหารจัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย ปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
-

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342 มาตรา 343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ด้านการจัดให้มีอุปกรณ์การชำระเงินจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งบัตรเดบิต เครดิต และเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยขออนุญาตการใช้จากธนาคาร หรือการมีระบบการชำระเงินที่ขออนุญาตใช้จากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยองค์กรเอง

    ความรู้ในการจัดทำเคาน์เตอร์รับชำระเงินทั้งเงินสด บัตรเครดิต บัตรเดบิต ที่มีความสะดวก ปลอดภัยถูกต้องสำหรับลูกค้า

    การขออนุญาตติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ‘EDC’หรือเครื่องรูดบัตร ตามนโยบาย National e-Payment ของรัฐบาลหวังเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินสดไปสู่การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในระบบเศรษฐกิจของประเทศจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  ออกประกาศให้นิติบุคคลติดตั้ง กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศ ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ผู้ประกอบการ) ติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture : EDC) หรือที่เรียกว่าเครื่องรูดบัตร ณ สถานประกอบการอย่างน้อย 1 เครื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินแก่ผู้รับบริการ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน บูรณาการระบบสวัสดิการสังคม รวมถึงส่งเสริมการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในทุกภาคส่วนทั่วประเทศ

    "National e-Payment ช่วยอำนวยความสะดวกให้การดำเนินธุรกรรมทางการเงิน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยจะช่วยลดต้นทุนของประเทศในการบริหารจัดการเงินสด ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันช่วยดึงเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ระบบการชำระเงินของไทยจะถูกพลิกโฉมให้เป็นธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ มีความว่องไวมากขึ้น และเพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล กรมพัฒนา-ธุรกิจการค้า จึงออกประกาศให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีการรับชำระเงินจากประชาชนดำเนินการติดตั้งเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture : EDC) อย่างน้อย 1 เครื่อง ต่อสถานประกอบการ 1 แห่ง เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินให้กับประชาชน ซึ่งปัจจุบันเครื่องรับชำระเงินมีหลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่อง EDC เครื่องรูดบัตรมือถือ (MPOS) โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมของร้านค้าและพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือร้านค้าหรือธุรกิจที่ติดตั้งอุปกรณ์ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในการติดตั้ง โดยไม่ต้องจ่ายค่าอุปกรณ์ และค่าติดตั้ง นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนด”

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถเลือกที่จะติดตั้งเครื่องจากผู้มีสิทธิ์ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture : EDC) รายหนึ่งรายใดตามที่กระทรวงการคลังได้คัดเลือกไว้ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย กรุงศรีอยุธยา ทหารไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต กรุงเทพ และกสิกรไทย โดยธนาคารดังกล่าวจะเข้าไปติดต่อกับผู้ประกอบการเอง

ที่มา : สำนักกฎหมาย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    เอกสารแสดงการขออนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และธนาคารแห่งประเทศไทย

    เอกสารสำเนาการรับอนุญาตการรับชำระเงินอิเล็คทรอนิกส์

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     N/A

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     N/A

(ง) วิธีการประเมิน

    1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2.แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

    N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ดำเนินการจัดให้มีอุปกรณ์การชำระเงินจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งบัตรเดบิต เครดิต และเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยขออนุญาตการใช้จากธนาคาร หรือการมีระบบการชำระเงินที่ขออนุญาตใช้จากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยองค์กรเอง และมีเคาน์เตอร์รับชำระเงินทั้งเงินสด บัตรเครดิต บัตรเดบิต ที่มีความสะดวก ปลอดภัยถูกต้องสำหรับลูกค้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2.แฟ้มสะสมผลงาน

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน    

 



ยินดีต้อนรับ