หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์และประเมินต้นทุนทางการเงินขององค์กร

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-ZDFS-246A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์และประเมินต้นทุนทางการเงินขององค์กร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการและการพาณิชย์ 

ISCO 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล 

ISCO 1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน 

ISCO 1221 ผู้จัดการด้านการขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจ 

ISCO 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 

ISCO 1223 ผู้จัดการด้านการวิจัยและพัฒนา 

ISCO 1420 ผู้จัดการด้านการค้าปลีกและค้าส่ง

ISCO 2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผน จัดการ ควบคุม  ดําเนินงานด้านการเงิน การวิเคราะห์ทางการเงิน ติดตามการทำงานด้านแผนกลยุทธ์ มีส่วนร่วมในการวิจัยและวิเคราะห์นโยบาย จัดทำตัวชี้วัดในการดำเนินงาน พัฒนานาโยบายและวางแผนกลยุทธ์ ควบคุมการพัฒนาการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ การตลาด  งบประมาณและควบคุมทางการเงิน   

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
-

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342 มาตรา 343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
106211

เปรียบเทียบต้นทุนทางการเงินปัจจุบันขององค์กรกับตลาด

1. จัดทำรายละเอียดต้นทุนทางการเงินของธุรกิจ 

106211.01 204123
106211

เปรียบเทียบต้นทุนทางการเงินปัจจุบันขององค์กรกับตลาด

2. เปรียบเทียบต้นทุนทางการเงินกับสถานะการณ์ปัจจุบัน 

106211.02 204124
106212

แสวงหาแหล่งการเงินที่มีต้นทุนต่ำกว่า

1. แสดงหาแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ 

106212.01 204125
106212

แสวงหาแหล่งการเงินที่มีต้นทุนต่ำกว่า

2. ตัดสินใจเลือกแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำที่สุด

106212.02 204126

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ด้านการบัญชีต้นทุน 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการบริหารต้นทุน การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ต้นทุนทางการเงิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ด้านการบริหารต้นทุน  ความรู้ด้านต้นทุนทางการเงิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อการลงทุนและดำเนินงานโครงการ)การประเมินค่าต้นทุน การประเมินค่าทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้ในโครงการนั้นจะใช้ราคาคงที่หรือราคาที่แท้จริง (constant or real prices) โดยใช้ราคาในปีใดปีหนึ่งเป็นปีฐาน (base year) ถ้าตลาดปัจจัยการผลิตเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ราคาปัจจัยการผลิตก็คือราคาอุปทาน ซึ่งแสดงค่าเสียโอกาสของปัจจัยการผลิต เราสามารถใช้ราคาตลาดของปัจจัยประเมินค่าต้นทุนได้เลย แต่ตลาดปัจจัยการผลิตมักเป็นตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ราคาตลาดนอกจากจะประกอบด้วยราคาปัจจัย ณ แหล่งผลิตแล้วยังรวมถึงค่าภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าการตลาด (เช่น ค่าขนส่ง ค่าบรรจุภัณฑ์) ฯลฯ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้โครงการได้มาซึ่งปัจจัยการผลิต  เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะประเมินค่าปัจจัยการผลิต ณ ที่ตั้งโครงการ (project gate price) และกรณีที่โครงการมีเงินอุดหนุนจะต้องนำเงินอุดหนุนไปหักออกจากราคาตลาดด้วย

    ประเภทของต้นทุนนอกจากต้นทุนทางการเงินที่เป็นต้นทุนที่พิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริงเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตเราอาจเรียกต้นทุนนี้ว่าต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit cost) อันประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายลงทุน (ค่าใช้จ่ายคงที่) และค่าใช้จ่ายดำเนินการ (ค่าใช้จ่ายผันแปร)

    ผลตอบแทนทางการเงิน หมายถึง รายรับจากการจำหน่ายผลผลิตของโครงการโดยตรง การประเมินค่าผลตอบแทน การประเมินค่าผลผลิตออกของโครงการนั้นจะใช้ราคาคงที่หรือราคาที่แท้จริง เช่นเดียวกับการประเมินค่าต้นทุนโดยพิจารณาจากราคาตลาดซึ่งถ้าเป็นกรณีตลาดแข่งขันสมบูรณ์ก็สามารถใช้ราคาที่ผู้บริโภคเต็มใจจ่าย (Willingness to pay) ซึ่งราคานี้ปราศจากภาษีและเงินอุดหนุน แต่ถ้าราคาตลาดมีค่าภาษีและเงินอุดหนุนรวมอยู่ก็ต้องมีการปรับค่าราคาตลาดใหม่ อาทิ กรณีมีค่าภาษีก็ต้องหักค่าภาษีออก แต่ถ้ามีเงินอุดหนุนก็ให้บวกเข้ากับราคาตลาด นอกจากนั้น การประเมินค่าผลผลิตต้องทำ ณ ที่ตั้งโครงการเช่นเดียวกับปัจจัยการผลิต ดังนั้น ถ้าราคาตลาดรวมค่าขนส่งและกำไรจากพ่อค้าขายส่งก็ต้องหักรายการเหล่านี้ออกจากราคาตลาดด้วยในการประเมินต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการนั้นจะต้องพิจารณาเฉพาะต้นทุนและผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Incremental) อันเกิดจากการใช้ปัจจัยผลิตหรือผลผลิตส่วนเพิ่ม ซึ่ง “ส่วนเพิ่ม” คือ ความแตกต่างระหว่างปัจจัยผลิตและผลผลิต

    งบการเงินเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการวิเคราะห์ทางการเงิน

    การวิเคราะห์ทางการเงินช่วยให้ผู้เป็นเจ้าของโครงการสามารถประเมินความสามารถในการทำกำไรของโครงการ มีการวางแผนทางการเงินที่ดี ตลอดจนจัดระบบการบริหารการเงินที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนออกมาในรูปงบการเงิน (Financial statement) ซึ่งเป็นรายการทางบัญชีของโครงการอันแสดงถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของโครงการ ข้อมูลที่ได้จากงบการเงินจะมีความสำคัญต่อการตัดสินใจ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    เอกสารแสดงความรู้ หรือประสบการณ์ทางการเงิน บริหารความเสี่ยง อัตราส่วนทางการเงิน การบริหารต้นทุนของธุรกิจ บัญชีต้นทุน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    เอกสารแสดงการศึกษาทางด้านการบัญชีต้นทุน บัญชีการเงิน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      N/A

(ง) วิธีการประเมิน

    1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2.แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

    N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    จัดทำรายละเอียดต้นทุนทางการเงินของธุรกิจ  เปรียบเทียบต้นทุนทางการเงินกับสถานะการณ์ปัจจุบัน แสดงหาแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำที่สุด



แหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดย่อมและการกำหนดความต้องการของเงินทุน

แหล่งที่มาของเงินทุน ทุนของเจ้าของกิจการ แหล่งเงินส่วนบุคคล ผู้ลงทุนภาคเอกชนหรือบริษัทขนาดใหญ่   หุ้นส่วน   บริษัทร่วมลงทุน การเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน แหล่งเงินทุนจากส่วนหนี้สินได้แก่  สินเชื่อการค้า สินเชื่อเพื่อซื้อทรัพย์สิน  แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆเงินกู้ยืมจากองค์กรภาครัฐที่มีวัตถุประสงค์สนับสนุนการเงินแก่ธุรกิจขนาดย่อม แหล่งเงินใหม่ของธุรกิจขนาดย่อม การที่ตลาดหลักทรัพย์ได้มีนโยบายให้ธุรกิจขชนาดย่อมเข้าจดทะเบียน เพื่อระดมทุนในตลาดทรัพย์ได้ ทำให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจมาก โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ  ได้จัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งใหม่ หลักเกณฑ์การนำธุรกิจเข้าตลาด  MAI  บริษัทที่จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปนั้น มีข้อกำหนดดังนี้คือ ต้องเป็นธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ รายงานทางการเงิน มีความน่าเชื่อถือเพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต    โครงสร้างทางการเงิน การจัดการ และการถือหุ้นชัดเจน และเป็นธรรม ระบบควบคุมภายในมีประสิทธิภาพและรัดกุม    ผู้บริหารไม่มีลักษณะต้องห้าม  คือ  ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษ  ฟ้องร้อง ไม่มีประวัติกระทำความผิดเกี่ยวกับระบบการเงิน ฉ้อโกง ทุจริต หรือขาดความรับผิดชอบอย่างร้ายแรงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่เป็นบุคคลในบัญชีดำของตลาดหลักทรัพย์ฯ  บริษัทไม่มีประวัติการกระทำผิดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา  ไม่มีข้อพิพาทหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียนหลักทรัพย์ที่สามารถจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์  MAI   มีลักษณะเดียวกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ หุ้นสามัญ  หุ้นบุริมสิทธิ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิ ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นกู้และหุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิ์หรือหุ้นกู้ กระบวนการจัดหาเงินทุน การคัดเลือกแหล่งเงินทุน  ข้อมูลที่ผู้ให้กู้ยืม (เจ้าหนี้) คุณสมบัติของเจ้าของธุรกิจ ฐานะทางการเงินของธุรกิจ ความสามารถในการชำระคืนการป้องกันเงินกู้  หลักประกัน  ผู้ลงนามร่วม ข้อจำกัด  การนำเสนอคำขอเพื่อให้ได้เงินทุนแนวทางการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนมีหลักพื้นฐานคือ  เอกสารสิทธิแบบมีเงื่อนไขและสามารถกำกับดูแลการโอนสิทธิได้ โดยมีแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติในสินทรัพย์ 5 ประเภท ดังนี้ ที่ดินและทรัพย์สินติดกับที่ดิน  ทรัพย์สินทางปัญญา  เครื่องจักร หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินสาธารณะสัญญาเช่า เช่าซื้อ ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนมีดังนี้  ผู้ประกอบการยื่นคำขอ พร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน หรือหนังสือรับรองแสดงการแจ้งข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญาและหลักฐานอื่น ๆ ต่อสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการฯ สถาบันการเงินพิจารณาคำขอ โครงการ และประเมินราคา สถาบันการเงินอนุมัติเงินกู้และทำสัญญาหลักประกัน ผู้ประกอบการแจ้งข้อมูลการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อบันทึกข้อมูล ผู้ประกอบการนำหลักฐานการแจ้งข้อมูลแสดงต่อสถาบันการเงินเพื่อทำสัญญากู้เงินและเบิกเงินกู้ การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยและสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย  ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาไว้ดังนี้   เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องการเงินทุนไม่เกิน 500,000 บาท เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู๋ในความรับผิดชอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่แปลงเป็นทุนได้ เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนที่สามารถบันทึกบัญชีได้ตามมาตราฐานบัญชีฉบับที่ 51 ทั้งนี้มีบริการไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2.แฟ้มสะสมผลงาน

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน    

 



ยินดีต้อนรับ