หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดให้มีนักวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อประเมินศักยภาพจากการเพิ่มขึ้นของตลาดลูกค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-TSGQ-245A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดให้มีนักวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อประเมินศักยภาพจากการเพิ่มขึ้นของตลาดลูกค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการและการพาณิชย์ 

ISCO 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล 

ISCO 1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน 

ISCO 1221 ผู้จัดการด้านการขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจ 

ISCO 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 

ISCO 1223 ผู้จัดการด้านการวิจัยและพัฒนา 

ISCO 1420 ผู้จัดการด้านการค้าปลีกและค้าส่ง

ISCO 2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการ ดําเนินงานด้านการเงิน การบริหารจัดการ   นโยบาย การวางแผน  ติดตามการทำงานด้านแผนกลยุทธ์ วิเคราะห์นโยบาย  พัฒนานาโยบายและวางแผนกลยุทธ์ ควบคุมการพัฒนาการ   จัดทำงบประมาณและควบคุมทางการเงิน ควบคุมการดำเนินงานและการบริหารจัดการในการพัฒนาลูกค้าใหม่ทั้งในและต่างประเทศ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
-

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342 มาตรา 343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
106121

วิเคราะห์งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงินและอัตราส่วนในการทำกำไรจากการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

1. จัดทำงบการเงินเพื่อแสดงอัตราส่วนทางการเงินทั้งธุรกิจภายในประเทศและต่างประเทศอย่างครบถ้วน 

106121.01 204117
106121

วิเคราะห์งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงินและอัตราส่วนในการทำกำไรจากการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

2. วิเคราะห์งบการเงินเพื่อแสดงอัตราส่วนทางการเงินทั้งธุรกิจภายในประเทศและต่างประเทศอย่างครบถ้วน 

106121.02 204118
106122

วิเคราะห์การวางแผนทางการเงิน การบริหารเงินทุนหมุนเวียน วิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ระบบการจัดเก็บเงิน การบริหารลูกหนี้ การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ

1. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนบริหารทางการเงิน บริหารเงินทุน สภาพคล่อง การจัดเก็บเงิน การบริหารลูกหนี้ และการจัดหาเงินทุน 

106122.01 204119
106122

วิเคราะห์การวางแผนทางการเงิน การบริหารเงินทุนหมุนเวียน วิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ระบบการจัดเก็บเงิน การบริหารลูกหนี้ การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ

2. ตัดสินใจแก้ปัญหาที่พบจากการวิเคราะห์ข้อมูลการวางแผนบริหารทางการเงิน บริหารเงินทุน สภาพคล่อง การจัดเก็บเงิน การบริหารลูกหนี้ และการจัดหาเงินทุน

106122.02 204120
106123

วิเคราะห์ความเสี่ยงจากสถานการณ์ต่าง ๆ และจากความผันผวนทางการเงินและเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Risk Management)

1. วิเคราะห์ความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายนอกและสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ 

106123.01 204121
106123

วิเคราะห์ความเสี่ยงจากสถานการณ์ต่าง ๆ และจากความผันผวนทางการเงินและเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Risk Management)

2. บริหารความเสี่ยงจากการผันผวนของสภาพแวดล้อมภายนอกและสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้

106123.02 204122

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ทางด้านการเงินธุรกิจ การบริหารงบการเงิน การวางแผนทางการเงิน และอัตราส่วนทางการเงิน การบริหารเงินทุน การบริหารลูกหนี้ การบริหารสินค้า 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะด้านการอ่านและวิเคราะห์งบการเงิน

ทักษะการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาทางการเงิน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ทางด้านการเงินธุรกิจและการวิเคราะห์ทางการเงินดังต่อไปนี้

    การวิเคราะห์ทางการเงินเป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการวิเคราะห์ฐานะการเงินที่แท้จริงของธุรกิจซึ่งผลการวิเคราะห์ที่ได้จะทำให้ผู้บริหารการเงินประเมินผลการดำเนินงานและเป็นแนวทางในการวางแผนและตัดสินใจทางการเงินนอกจากนี้การวิเคราะห์ทางการเงินยังเป็นประโยชน์ต่อบุคคลต่างๆได้แก่ผู้ลงทุนเจ้าหนี้ผู้สนใจลงทุนผู้สอบบัญชีรัฐบาลและผู้สนใจอื่นๆ

เทคนิคและเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์มี 3 ลักษณะ

1. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเป็นการวิเคราะห์โดยใช้สูตรทางการเงินซึ่ง แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

1.1 อัตราส่วนวิเคราะห์ความคล่องตัวทางการเงิน

1.2 อัตราส่วนวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์

1.3 อัตราส่วนวิเคราะห์สภาพหนี้สิน

1.4 อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรหรือประสิทธิภาพในการบริหารงานของฝ่ายบริหาร

2. การวิเคราะห์แนวโน้ม เป็นการศึกษาข้อมูลในอดีต จนกระทั่งถึงปัจจุบันของอัตราส่วนทางการเงินที่ได้จากการวิเคราะห์

3. การวิเคราะห์โดยการย่อส่วน เป็นการย่อส่วนงบการเงิน คืองบดุลและงบกำไรขาด–ทุนเป็นอัตราร้อยละเพื่อให้ขนาดเล็กลงง่ายต่อการเปรียบเทียบ

การวางแผนทางการเงิน คือการจัดเตรียมข้อมูลทางการเงินไว้ล่วงหน้าด้วยการพยากรณ์ยอดขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และจากยอดขายที่พยากรณ์ ก็จะทำให้ธุรกิจสามารถคาดคะเนปริมาณสินค้าที่ต้องซื้อเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ หรือหากเป็นธุรกิจ อุตสาหกรรม ก็จะต้องคาดคะเนปริมาณการผลิตปริมาณวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายใน การผลิต อันจะนำไปสู่การจัดทำ “งบประมาณเงินสด” ในแต่ละงวดเวลา

การจัดทำงบประมาณเงินสดเป็นการวางแผนการรับเงินสดและการจ่ายเงินสดระหว่างงวด เพื่อการจัดทำงบประมาณเงินสดรับ(จ่าย)สุทธิ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารการเงินสามารถพยากรณ์ปริมาณเงินสดที่ต้องหามาในกรณีที่กิจการมีเงินสดขาดมือ และวางแผนเพื่อการนำเงินสดไปลงทุนในกรณีที่เงินสดมากเกินความต้องการ การจัดเตรียมการจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจจัดหาเงินทุนได้ทันและเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า การดำเนินงานก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้การวางแผนทางการเงินก็จะเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเงินได้โดยนำไปเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานจริงความแตกต่างจะชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติงานว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใดและชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการแก้ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดปัญหานั้น ๆ

การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของเงินทุนหมุนเวียนวัตถุประสงค์ของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนการพิจารณาระดับเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมประเภทของเงินทุนหมุนเวียนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณเงินทุนหมุนเวียนและส่วนประกอบของเงินทุนหมุนเวียนทัศนคติผู้บริหารต่อระดับความเสี่ยงและการวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียนเงินทุนหมุนเวียนหมายถึงเงินลงทุนที่ธุรกิจลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนได้แก่เงินสดหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดลูกหนี้สินค้าคงเหลือ

เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจนั้นเปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่จะขายเสียมิได้แต่หากมีมากเกินไปก็จะสูญเสียกำไรผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ

เงินทุนหมุนเวียน แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

–เงินทุนหมุนเวียนถาวรคือสินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำที่ต้องดำรงไว้เช่นเงินสดขั้นต่ำ

–เงินทุนหมุนเวียนชั่วคราวคือสินทรัพย์หมุนเวียนที่ต้องมีเพิ่มเติมจากส่วนถาวร

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดปริมาณและขนาดของเงินทุนหมุนเวียนมีหลายประการได้แก่ประเภทของธุรกิจปริมาณขายนโยบายธุรกิจการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีฤดูกาลฯลฯ แหล่งเงินทุนที่นำมาใช้ควรเป็นไปตามหลักการบริหารการเงิน กล่าวคือ เงินทุนหมุน–เวียนแบบชั่วคราวควรจัดหามาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเงินทุนหมุนเวียนแบบถาวรควรจัดมาจากแหล่งเงินทุนระยะยาวแต่ในทางปฏิบัติอาจพบว่าไม่เป็นไปตามหลักดังกล่าวเนื่องจากทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อระดับความเสี่ยงนั้นแตกต่างกัน สิ่งที่ผู้บริหารการเงินจำเป็นต้องศึกษาอีกประการหนึ่งก็คือการได้มาและใช้ไปของเงินทุนหรืองบแสดงแหล่งที่ได้มาและใช้ไปของเงินทุนซึ่งแสดงให้เห็นถึงเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจ   นอกจากนี้ การศึกษางบกระแสเงินสด จะทำให้ผู้บริหารทราบถึงกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายจากกิจกรรมต่างๆ เป็นการแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดในแต่ละงวด เงินสด รับของงวดนั้นมาจากไหนและเงินสดจ่ายนั้นจ่ายเพื่อการใดบ้างทำให้รู้ถึงการเคลื่อนไหวของเงินสดที่เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ

การบริหารเงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด เกี่ยวกับความหมายของเงินสดสาเหตุของการถือเงินสดประโยชน์ของการถือเงินสดเพียงพอการบริหารเงินสดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากระบบการจัดเก็บเงินการจุดเก็บเงิน

ธุรกิจจำเป็นต้องมีไว้ ตามแนวความคิดของ John Maynard Keynes คือ

– เพื่อการดำเนินงานตาม

– เพื่อเหตุฉุกเฉิน

– เพื่อการเก็งกำไร

การมีเงินสดให้เพียงพอจะทำให้การดำเนินงานของธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นไม่หยุดชะงักสามารถจ่ายชำระหนี้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดและอาจได้รับโอกาสหรือประโยชน์จากการชำระหนี้โดยเอาส่วนลด  การบริหารเงินสดคือการบริหารให้กิจการมีเงินสดในปริมาณที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงสภาพคล่องและผลตอบแทนที่ควรจะได้รับหากมีเงินสดมากเกินความจำเป็นซึ่งหลักในการบริหารเงินสดที่ดีจะมีผลทำให้ ธุรกิจมีสภาพคล่อง ดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ มีโอกาสในการลงทุนหาผลประโยชน์ได้มากขึ้น การบริหารเงินสดให้มีประสิทธิภาพนั้น มีอยู่ 3 วิธีด้วยกันคือ1. การบริหารเงินสดรับและเงินสดจ่ายให้สอดคล้องกัน2. การบริหารวงจรกระแสเงินสดให้มีประสิทธิภาพ3. การกำหนดปริมาณเงินสดขั้นต่ำให้เหมาะสม  ระบบการจัดเก็บเงิน และการเร่งรัดชำระหนี้ จะทำให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนค่าเสียโอกาสของเงินที่ลอยตัว ที่เกิดจากการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ อันจะทำให้ธุรกิจได้รับเงินกลับเข้าสู่กิจการได้เร็วขึ้น

การบริหารลูกหนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุของการบัญชีลูกหนี้การค้าค่าใช้จ่ายของการมีบัญชีลูกหนี้การค้าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขนาดของบัญชีลูกหนี้การค้านโยบายการให้สินเชื่อและการจัดเก็บหนี้การวิเคราะห์สินเชื่อและการจัดเก็บหนี้เฉพาะรายและประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้

การบริหารสินค้าคงเหลือ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือวัตถุประสงค์การบริหารสินค้าคงเหลือค่าใช้จ่ายในการมีสินค้าคงเหลือหลักในการบริหารสินค้าคงเหลือและส่วนลดเงินสดที่ได้จากกการซื้อสินค้าครั้งละมากๆ สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่ต้องมีการวางแผนและควบคุมทั้งนี้เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ไม่เหมาะสมคือมากไปหรือน้อยเกินไปย่อมมีผลเสียต่อกิจการดังนั้นการบริหารและควบคุมสินค้าคงเหลือ ก็คือ การให้มีสินค้าคงเหลือในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการ ไม่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งในการบริหารและควบคุมสินค้าคงเหลือนั้น สามารถกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม, ประหยัดที่สุดเรียกว่า  EOQ

การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนภายในกิจการแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการแหล่งเงินทุนระยะสั้นระยะกลางระยะยาวและภายนอกกิจการดังนั้นการจัดหาเงินทุนระยะยาวของธุรกิจสามารถหาได้จากแหล่งเงินทุนภายในและแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ

* แหล่งเงินทุนภายในเป็นแหล่งเงินทุนที่ได้จากค่าเสื่อมราคาและกำไรสะสม

* แหล่งเงินทุนภายนอกเป็นแหล่งเงินทุนที่หาได้จากตลาดทุนที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ได้แก่หุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิหุ้นกู้พันธบัตรธุรกิจหุ้นกู้แปลงสภาพและใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ

ที่มา รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ  อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา บช.ม. บัญชีมหาบัณฑิต (บัญชีต้นทุน) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความรู้เรื่อง การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management) หมายถึง กลวิธีที่เป็นเหตุเป็นผลที่นำมาใช้ในการบ่งชี้ วิเคราะห์ ประเมิน จัดการ ติดตาม และสื่อสารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมหน่วยงาน/ฝ่ายงาน หรือกระบวนการดำเนินงานขององค์กร  เพื่อช่วยลดความสูญเสียในการไม่บรรลุเป้าหมายให้เหลือน้อยที่สุดและเพิ่มโอกาสแก่องค์กรมากที่สุด

การบริหารความเสี่ยง ยังหมายความถึง  การประกอบกันอย่างลงตัวของวัฒนธรรมองค์กร กระบวนการและโครงสร้างองค์กร  ซึ่งมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการบริหาร  และผลได้ผลเสียขององค์กรอีกด้วย

การบริหารความเสี่ยงขององค์กรโดยรวม ( Enterprise Wide Risk Management)  คือ การบริหารความเสี่ยงโดยมีโครงสร้างองค์กร  กระบวนการ  และวัฒนธรรมองค์กร  ประกอบเข้าด้วยกันและมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

- ผสมผสานและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  เพราะเป็นกลไกส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนไปสู่การกำกับดูแลกิจการที่ดี  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร  และเป็นที่พอใจของผู้มีผลประโยชน์ร่วม

- การบริหารความเสี่ยงควรสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กร  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์  การตัดสินใจ และสามารถนำไปใช้กับองค์ประกอบอื่นๆ  ในการบริหารขององค์กรได้เป็นอย่างดี

- พิจารณาความเสี่ยงทั้งหมด  โดยครอบคลุมความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร  ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงเกี่ยวกับกลยุทธ์  การดำเนินงาน  การปฏิบัติตามกฎระเบียบ  และการเงิน  ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสียหาย  ความไม่แน่นอน  และโอกาส  รวมถึงการมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้มีผลประโยชน์ร่วม

ความเสี่ยงโดยรวมของทุกองค์กร ได้แก่

1. ความเสี่ยงเกี่ยวกับกลยุทธ์ (Strategic Risk)

2. ความเสี่ยงเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน  (Operational Risk)

3. ความเสี่ยงเกี่ยวกับการรายงานทุกประเภท รวมทั้งรายงานทางการเงิน  (Financial Risk)

4. ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Compliance Risk)

ความเสี่ยงเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสียหายความไม่แน่นอนและการสูญเสียโอกาส การสร้างคุณค่าเพิ่ม  รวมถึงการมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสีย  อย่างสำคัญ

การบริหารความเสี่ยงมีความคิดแบบมองไปข้างหน้า  โดยบ่งชี้ปัจจัยของความเสี่ยงว่าเหตุการณ์ใดที่อาจจะเกิดขึ้นที่มีผลทางลบ และหากเกิดขึ้นจริงจะมีผลกระทบอย่างไรต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร  เพื่อให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องจัดให้มีแนวทางป้องกันและการจัดการที่เหมาะสม  ก่อนเกิดปัญหาจริงๆ ในภายหน้า

การบริหารความเสี่ยงต้องได้รับการสนับสนุนและมีส่วนร่วม โดยทุกคนในองค์กรตั้งแต่ระดับกรรมการบริหาร  ผู้บริหารระดับสูง และพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง  เพื่อความสำเร็จของเป้าประสงค์   พันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กร

การบริหารความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการกำกับดูแลกิจการ  เพื่อช่วยให้องค์กรทั่วไป บรรลุวัตถุประสงค์หรือกลยุทธ์ทางธุรกิจที่กำหนดไว้  ช่วยให้เกิดผลการดำเนินงานที่ดี  และปฏิบัติงานตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการบริหาร และผู้บริหารขององค์กรทั่วไป  ควรมีความเข้าใจต่อผลลัพธ์ในข้อดี  และข้อด้อยของแต่ละเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น  และจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ  เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จ  ลดโอกาสของการล้มเหลว  และลดความไม่แน่นอนในผลการดำเนินงานโดยรวม

ระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี

1.   มีกระบวนการวางแผนและจัดทำเอกสารอย่างเป็นระบบ

2.   คณะดำเนินงานพร้อมที่จะค้นหาและจัดการกับความเสี่ยงที่พบโดยไม่หลบเลี่ยงปัญหา

3. หลังจากการประเมินความเสี่ยงขั้นต้นแล้วควรจะมีการทำซ้ำอีกตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงเดิม และค้นหาความเสี่ยงใหม่ ๆ อยู่เสมอ

4. มีหลักเกณฑ์ประเมินที่เป็นมาตรฐานครอบคลุมองค์ประกอบทุกส่วน

5. มีการจัดทำรายงานผลไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและนำเสนอต่อผู้บริหาร

ปัจจัยที่ทำให้การบริหารความเสี่ยงสำเร็จ

1. เทคโนโลยีและสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การคำนวณต่าง ๆ การส่งถ่ายข้อมูลและสอบกลับได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

2.  การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบบริหารความเสี่ยงและตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำระบบ

3. แรงผลักดันจากผู้บริหาร ผู้บริหารควรตั้งใจทำระบบบริหารความเสี่ยงอย่างจริงจังและให้ความสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน

4. ความร่วมแรงร่วมใจจากบุคลากรทุกคนในทุกระดับขององค์กร

กลยุทธ์ที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงที่ใช้กันเป็นสากล นำมาประยุกต์ใช้ทุกองค์กรมี ดังนี้

1. Take การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) การยอมรับให้มีความเสี่ยงเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดการหรือสร้างระบบควบคุมอาจมีมูลค่าสูงกว่าผลลัพธ์ที่ได้แต่ควรมีมาตรการติดตามและดูแล เช่น การกำหนดระดับของผลกระทบที่ยอมรับได้ เตรียมแผนการตั้งรับจัดการความเสี่ยง

2. Treat การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction/Control) การออกแบบระบบควบคุม การแก้ไขปรับปรุงการทำงานเพื่อป้องกันหรือ จำกัดผลกระทบ และโอกาสเกิดความเสียหาย เช่น ติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะวางมาตรการเชิงรุก เป็นต้น

3. Terminate การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) การหยุดหรือเปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่เป็นความเสี่ยง เช่น งดทำขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและจะนำมาซึ่งความเสี่ยง ปรับเปลี่ยนรูปแบบ  การทำงาน ลดขอบเขตการดำเนินการ เป็นต้น

4. Transfer การกระจาย/โอนความเสี่ยง (Risk sharing/spreading) การกรายทรัพย์สินหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการสูญเสีย เช่นการประกันทรัพย์สินเพื่อโอนความเสี่ยงไปยังบริษัทประกัน การจ้างบริษัทภายนอกให้ทำงานบางส่วนแทน การทำสำเนาเอกสารหลาย ๆ ชุด การกระจายที่เก็บทรัพย์สินมีค่า เป็นต้น

ขั้นตอนของกระบวนการบริหารความเสี่ยง มี 3 ขั้นตอน คือ

1. จัดให้มีโครงสร้างของการบริหารความเสี่ยง เช่นมีคณะกรรมการรับผิดชอบโดยตรงกำกับดูแลบริหารความเสี่ยงในระดับองค์กรสูงสุดจะมีกรรมการคอยตรวจสอบหน่วยงานในสังกัดได้ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบาย เชื่อมโยงการบริหารความเสี่ยงกับการควบคุมภายในจะเป็นสิ่งที่ลดปัญหาต่าง ๆ ของหน่วยงานได้

2. การกำหนดขอบเขต/กรอบแนวทางการบริหารความเสี่ยงและวัฒนธรรมองค์กรด้วยการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงรวมทั้งระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้เพื่อให้ การบริหารความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์ที่ต่อเนื่องและเป็นแบบบูรณาการ

3. การดำเนินการตามกระบวนการตามกระบวนการบริหารความเสี่ยง 5 ขั้นตอนประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องรองรับวิสัยทัศน์และพันธกิจตามหลักการ SMART    คือ Specific (ชัดเจน) มีการระบุผลตอบแทนหรือผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างชัดเจนเพื่อให้ทุกคนเข้าใจได้ Measurable (บรรลุผลได้) สามารถวัดผลและระบุหลักเกณฑ์ของการวัดผลได้ Achievable (บรรลุผลได้) มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ตามสภาพการดำเนินธุรกิจ ระยะเวลา และทรัพยากรที่ได้รับการจัดสรร Realistic (สมเหตุผล) สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ส่วนอื่น ๆ ในองค์กรและสัมพันธ์กับเป้าหมายในระดับที่สูงกว่า Timely (มีการกำหนดเวลา) มีการระบุเวลาที่ชัดเจนต้องการบรรลุวัตถุประสงค์เมื่อไร

ทั้งนี้ตามแนวทางของ COSO (The Committee of Sponsoring Organization of the Tread way Commission) ซึ่งเป็นคณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนจากสถาบันวิชาชีพ 5 แห่งในสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้จัดทำ Enterprise Risk Management  Framework สำหรับใช้เป็นแม่แบบในการบริหารความเสี่ยงองค์กรได้แบ่งประเภทของวัตถุประสงค์เป็น 4 ด้าน คือ ด้านกลยุทธ ด้านปฏิบัติการ ด้านการรายงาน ด้านการปฏิบัติตามกฏหมาย

การระบุความเสี่ยง คือการระบุหรือว่าคาดการณ์เดาเหตุการณ์ที่เป็นเชิงลบซึ่งจะทำให้องค์กรเสียคุณค่าหรือขัดขวางทำให้องค์กรทำงานไม่บรรลุผล สาเหตุไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กรควรควบคุมได้ เช่น วัฒนธรรมโครงสร้างองค์กร บุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และสถานที่ภายนอก เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม สามารถแก้ปัญหาได้ถ้ารู้วิธีดำเนินการ เรียกว่าสร้างแบบแผนหรือสร้างแนวกำหนด

    ที่มา นายเผชิญ อุปนันท์ มหาวิทยาลัยมหิดล การบริหารความเสี่ยงองค์การhttps://med.mahidol.ac.th/risk_mgt/th/article/03202017-1523

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    เอกสารทางการเงิน เอกสารแสดง งบการเงิน เอกสารแสดงงบกำไรขาดทุน เอกสารแสดงอัตราส่วนทางการเงิน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    เอกสารแสดงการศึกษาด้านการเงิน การบริหารทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน เอกสารแสดงสภาพคล่อง เอกสารแสดงการบริหารลูกหนี้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    N/A

(ง) วิธีการประเมิน

    1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2.แฟ้มสะสมผลงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

    N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนบริหารทางการเงิน บริหารเงินทุน สภาพคล่อง การจัดเก็บเงิน การบริหารลูกหนี้ และการจัดหาเงินทุน สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาที่พบจากการวิเคราะห์ข้อมูลการวางแผนบริหารทางการเงิน บริหารเงินทุน สภาพคล่อง การจัดเก็บเงิน การบริหารลูกหนี้ และการจัดหาเงินทุน สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายนอกและสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2.แฟ้มสะสมผลงาน

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน   

 



ยินดีต้อนรับ