หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดรูปแบบการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของลูกค้าเพื่อเข้าถึงความต้องการได้อย่างแท้จริง

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-AMPQ-237A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดรูปแบบการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของลูกค้าเพื่อเข้าถึงความต้องการได้อย่างแท้จริง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการและการพาณิชย์ 

ISCO 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล 

ISCO 1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน 

ISCO 1221 ผู้จัดการด้านการขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจ 

ISCO 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 

ISCO 1223 ผู้จัดการด้านการวิจัยและพัฒนา 

ISCO 1420 ผู้จัดการด้านการค้าปลีกและค้าส่ง

ISCO 2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกำหนดรูปแบบการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของลูกค้าเพื่อเข้าถึงความต้องการได้อย่างแท้จริง แผนทางการตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การขายและการตลาดขององค์การ กําหนดและควบคุมขั้นตอนการดําเนินงานและการบริหารจัดการ พัฒนา ดำเนินการ และติดตามการทำงานด้านแผนกลยุทธ์ทางการตลาด   

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
-

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342 มาตรา 343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
105321

จัดให้มีการประเมินผลลัพธ์จากการซื้อสินค้าด้วยการเปรียบเทียบความคาดหวังใน 3 ระดับ ประกอบด้วย ความประทับใจ,ความพอใจ และความผิดหวัง 

1. เปรียบเทียบความคาดหวังใน 3 ระดับ ประกอบด้วย ความประทับใจ, ความพอใจ และความผิดหวัง

105321.01 204084
105321

จัดให้มีการประเมินผลลัพธ์จากการซื้อสินค้าด้วยการเปรียบเทียบความคาดหวังใน 3 ระดับ ประกอบด้วย ความประทับใจ,ความพอใจ และความผิดหวัง 

2.วิเคราะห์ผลการประเมินผลลัพท์จากการซื้อสินค้าของลูกค้าเพื่อหาแนวทางการปรับปรุง 

105321.02 204085
105322

จัดให้มีระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM: Customer Relationship Management) เพื่อใช้พัฒนาความสัมพันธ์ทางธุรกิจโดยเฉพาะการรักษาลูกค้าและผลักดันการเติบโตของยอดขายได้

1. จัดให้มีระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมให้ต่อเนื่องยาวนานและขยายฐานลูกค้าใหม่ได้ 

105322.01 204086
105322

จัดให้มีระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM: Customer Relationship Management) เพื่อใช้พัฒนาความสัมพันธ์ทางธุรกิจโดยเฉพาะการรักษาลูกค้าและผลักดันการเติบโตของยอดขายได้

2. ขยายฐานลูกค้าใหม่เพื่อผลักดันให้มีการเจริญเติบโตของยอดขายมากขึ้นกว่าเดิมด้วยระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า 

105322.02 204087

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ด้านการตลาด

ความรู้ด้านการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการบริหารลูกค้าสัมพันธ์

ทักษะการรักษาฐานลูกค้าเดิม

ทักษะการขยายฐานลูกค้าใหม่

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้เกี่ยวกับ การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า CRM Customer Relationship Management  คือ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หรือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันธ์กับสินค้า ,บริการ หรือองค์กรของเรา เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันธ์ในทางที่ดีกับเรา แล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา ทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่้นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท ดังนั้น การที่จะรู้ซึ้งถึงสถานะความผูกพันธ์กับลูกค้าได้นั้น เราก็ต้องอาศัยการสังเกตุพฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องระหว่าง พฤติกรรมของลูกค้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดของเรา

กระบวนการทำงานของระบบ CRM (ซีอาร์เอ็ม) มี 4 ขั้นตอนดังนี้

1.Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า

2.Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท

3.Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว

4.Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

ระบบ CRM มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการนำ Software (ซอฟต์แวร์) มาใช้ในการพัฒนาเพื่อดึงดูดลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น WebSite (เว็บไซต์) เป็นต้น CRM software  ช่วยในการจัดการฐานข้อมูลลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูล และเป็นช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า

CRM software มักแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

1. Operational CRM เป็นซอฟท์แวร์ front office ที่ใช้ช่วยจัดการกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น sales, marketing หรือ service เช่น การจัดการข้อมูลติดต่อลูกค้า การเสนอราคา การบริหารฝ่ายขาย การเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ระบบบริการลูกค้า เป็นต้น

2. Analytical CRM ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่รวบรวมได้จากส่วน Operational CRM หรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มและค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บริษัทสามารถนำเสนอสินค้า หรือบริการเพิ่มเติมได้

3. Collaborative CRM ระบบช่วยสนับสนุนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ติดต่อส่วนตัว จดหมาย แฟกซ์ โทรศัพท์ เว็บไซต์ E-Mail เป็นต้น รวมถึงช่วยจัดการทรัพยากรที่บริษัทมีคือพนักงาน กระบวนการทำงาน และฐานข้อมูล หรือ Database (ดาต้าเบส) ลูกค้า เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าของบริษัทได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของระบบ CRM ต่อธุรกิจ

1.ระบบ CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ Customize (คัทโทไมต์) ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น

2. ระบบ CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสม กับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น

ที่มา  http://crm.in.thhttp://marketingthai.blogspot.com

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า

    การบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data

    การใช้เทคโนโลยีในการบริหารลูกค้า IOT Internet of Things

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    เอกสารแสดงการศึกษาหรือการอบรมทางด้านการตลาด การบริหารธุรกิจ หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      N/A

(ง) วิธีการประเมิน

    1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2.แฟ้มสะสมผลงาน

      

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

    N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

เปรียบเทียบความคาดหวังของลูกค้าในพฤติกรรมการซื้อเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า  ใน 3 ระดับ ประกอบด้วย

1. ความประทับใจ,ความพอใจ และความผิดหวัง

2.วิเคราะห์ผลการประเมินผลลัพท์จากการซื้อสินค้าของลูกค้าเพื่อหาแนวทางการปรับปรุง

3. จัดให้มีระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมให้ต่อเนื่องยาวนานและขยายฐานลูกค้าใหม่ได้ ขยายฐานลูกค้าใหม่เพื่อผลักดันให้มีการเจริญเติบโตของยอดขายมากขึ้นกว่าเดิมด้วยระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วยระบบ CRM

ระบบ CRM  ซีอาร์เอ็ม คือ กลยุทธ์การบริหารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ระบบ CRM (ซีอาร์เอ็ม) ย่อมาจาก Customer Relationship Management (คัทโทเทอร์ รีเลชั่นชิฟ แมเนจเม้นท์) คือ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หรือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันธ์กับสินค้า ,บริการ หรือองค์กรของเรา เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันธ์ในทางที่ดีแล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา ทำให้มีฐานลูกค้าที่มั่้นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท ดังนั้น การที่จะรู้ซึ้งถึงสถานะความผูกพันธ์กับลูกค้าได้นั้นต้องอาศัยการสังเกตุพฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องระหว่าง พฤติกรรมของลูกค้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดของเรา

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2.แฟ้มสะสมผลงาน

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน    

 



ยินดีต้อนรับ