หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนการตลาดที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ตรงกลุ่มเป้าหมายของผู้ร่วมธุรกิจ

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-ITLA-221A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนการตลาดที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ตรงกลุ่มเป้าหมายของผู้ร่วมธุรกิจ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการและการพาณิชย์ 

ISCO 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล 

ISCO 1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน 

ISCO 1221 ผู้จัดการด้านการขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจ 

ISCO 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 

ISCO 1223 ผู้จัดการด้านการวิจัยและพัฒนา 

ISCO 1420 ผู้จัดการด้านการค้าปลีกและค้าส่ง

ISCO 2421 นักวิเคราะห์ด้านการบริหารและองค์การ 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
วิเคราะห์สถานการณ์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของธุรกิจ สถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน  วิเคราะห์ SWOT analysis วิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายรัฐและเอกชนกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด วิเคราะห์แรงกดดันห้าประการ วิเคราะห์คู่แข่งขัน ความรุนแรงทางการแข่งขัน วิเคราะห์ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์กำหนดรูปแบบการแบ่งส่วนทางการตลาด  กำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
-

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  พระราชกำหนดการผู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา  341 มาตรา 342 มาตรา 343  มาตรา 344  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม พ.ศ.2511 พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2557 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102111

วิเคราะห์สถานการณ์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของธุรกิจ 

1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ

102111.01 204006
102111

วิเคราะห์สถานการณ์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของธุรกิจ 

2. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ 

102111.02 204007
102112

กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด วิเคราะห์แรงกดดันห้าประการ วิเคราะห์คู่แข่งขัน ความรุนแรงทางการแข่งขัน วิเคราะห์ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ 

1. วิเคราะห์แรงกดดันห้าประการ(Five Force Analysis  (Michael E. Porter) เพื่อพิจารณาแรงกดดันทางธุรกิจที่มีผลต่ออุตสาหกรรมธุรกิจขายตรง  

102112.01 204008
102112

กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด วิเคราะห์แรงกดดันห้าประการ วิเคราะห์คู่แข่งขัน ความรุนแรงทางการแข่งขัน วิเคราะห์ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ 

2. นำผลการวิเคราะห์แรงกดดันห้าประการไปจัดทำแผนการตลาดให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจขององค์การ 

102112.02 204009
102113

กำหนดรูปแบบการแบ่งส่วนทางการตลาด กำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์

1. นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและแรงกดดันห้าประการมากำหนดรูปแบบทางการตลาด 

102113.01 204010
102113

กำหนดรูปแบบการแบ่งส่วนทางการตลาด กำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์

2. นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและแรงกดดันห้าประการมากำหนดตลาดเป้าหมาย และกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ 

102113.02 204011

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์แรงกดดันของอุตสาหกรรม

ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบทางการตลาด

ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดกลุ่มตลาดเป้าหมาย  การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความรู้เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

ทักษะการวิเคราะห์แรงกดดันของอุตสาหกรรม

ทักษะการกำหนดรูปแบบทางการตลาด

ทักษะเกี่ยวกับการกำหนดกลุ่มตลาดเป้าหมาย

ทักษะการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์แรงกดดันของอุตสาหกรรม

ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางการตลาด

ความรู้เกี่ยวกับ กำหนดรูปแบบทางการตลาด

ความรู้เกี่ยวกับการการกำหนดตำแหน่งทางการตลาด

ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดกลุ่มตลาดเป้าหมาย

ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์

ความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate Level Strategy)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    เอกสารการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจ

    เอกสารการวิเคราะห์แรงกดดันทางธุรกิจ

    เอกสารการกำหนดรูปแบบทางการตลาด

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    เอกสารการฝึกอบรมเกี่ยวกับธุรกิจ และการตลาด

    เอกสารการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจการตลาด

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     N/A

(ง) วิธีการประเมิน

    1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2.แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

    ทำการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การวิเคราะห์แรงกดดันของอุตสาหกรรม และทำการศึกษาวิเคราะห์ทางการตลาดเพื่อกำหนดกลยุทธ์การตลาด

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม เป็นกระบวนการขั้นแรกของการจัดการเชิงกลยุทธ์ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่สำคัญ ในการศึกษาการจัดการโดยพิจารณาองค์การในระบบเปิด (open system) หมายถึง  การให้ความสนใจในสภาพแวดล้อม ความสำคัญในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจะทำให้องค์การได้รับผลสำเร็จในการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม  คือ  การศึกษาองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขององค์การ ผู้บริหารวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งจากภายในและภายนอกองค์การเพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่จะเป็นไปได้อย่างเหมาะสมที่สุดกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ผู้บริหารจะต้องเข้าใจโครงสร้างของสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ระดับคือ สภาพแวดล้อมทั่วไป (General environment) สภาพแวดล้อมในการดำเนินการ (Operating environment) และสภาพแวดล้อมภายใน  (Internal environment)  สภาพแวดล้อมทั้งสามระดับมีความสำคัญเท่า ๆ กันที่ผู้บริหารควรทำความเข้าใจความสำคัญในแต่ละระดับที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานในองค์การเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ที่สนองตอบต่อสภาพแวดล้อม

1.    สภาพแวดล้อมทั่วไป (The General Environment) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจ (Economics) สังคม (Social)  การเมือง (Political) ข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal)  และเทคโนโลยี (Technological)

1.1    สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ  เป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญที่เป็นเครื่องชี้ว่าองค์การจัดสรรทรัพยากรทางการบริหารอย่างไร เช่นในการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการอย่างไรในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้  สิ่งสำคัญในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจคือการพิจารณาเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงาน อัตราเงินเฟ้อ อัตราภาษี ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ในการผลิตหรือให้บริการ   ราคาของสินค้าและบริการที่จะจำหน่ายให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ผู้บริหารควรวิเคราะห์ด้วยความระมัดระวังเพราะจะทำให้เกิดผลกระทบสำคัญต่อผลกำไรขององค์การ

1.2 สภาพแวดล้อมทางสังคม  เป็นสภาพแวดล้อมทั่วไปที่เกี่ยวกับลักษณะของสังคม ความสำคัญของการศึกษาสภาวะทางสังคมคือการวิเคราะห์เกี่ยวกับประชากร (Demographics) และค่านิยมในสังคม (Social values)

    การศึกษาเกี่ยวกับประชากรในสังคมคือการศึกษาในเชิงสถิติเกี่ยวกับลักษณะของประชากรการเปลี่ยนแปลงของประชากรเช่นในด้านของจำนวนประชากร รายได้ของประชากร ความแตกต่างของกลุ่มประชากร การเปลี่ยนแปลงของประชากรมีผลกระทบต่อการสร้างรายได้การจำหน่ายสินค้าและบริการให้แก่ประชากร ตัวอย่างเช่นประชากรมีจำนวนมากขึ้นทำให้มีความต้องการบ้านอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรมีรายได้ลดน้อยลง ทำให้องค์การวางแผนกลยุทธ์ในการจำหน่ายที่อยู่อาศัยในราคาต่ำและสามารถเลือกเงื่อนไขการชำระเงินได้ เป็นต้น ความเข้าใจในด้านการเปลี่ยนแปลงของประชากรช่วยให้องค์การพัฒนากลยุทธ์ที่ช่วยให้สอดคล้องกับการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประชากร  เช่น  การจัดจ้างพนักงานเข้ามาทำงานในองค์การก็จะต้องพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของประชากรที่จะเข้ามาทำงานในองค์การเป็นต้น

    การศึกษาเกี่ยวกับค่านิยมในสังคมก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์คือ ผู้บริหารควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของค่านิยมของคนในสังคม บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนค่านิยมใหม่อย่างรวดเร็ว หรือบางครั้งก็อาจเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ก็ได้ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงค่านิยมของคนในสังคมด้วยเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อค่านิยมของคนในสังคม

1.3 สภาพแวดล้อมทางการเมือง(The Political Component) เป็นสภาพแวดล้อมทั่วไปขององค์การที่เกี่ยวกับกิจกรรมของภาครัฐ   หรือข้อกำหนดของรัฐบาลแนวโน้มทางการเมือง  เช่น การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับด้านอุตสาหกรรม   ด้านการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ  นโยบายด้านการส่งเสริมทางการค้า  สภาพแวดล้อมทางการเมืองเกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง การร่างข้อกฎหมาย พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน แนวโน้มทางการเมือง ล้วนมีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การทั้งสิ้น

1.4 สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย (The Legal Component)  หมายถึง การกำหนดข้อกฎหมายเพื่อให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตามข้อกฎหมายนั้น กฎหมายบางอย่างเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ แต่ข้อกฎหมายบางอย่างก็ขัดต่อการกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้นผู้บริหารจึงควรพิจารณาว่าข้อกฎหมายที่กำหนดขึ้นหรือกำลังจะกำหนดให้มีต่อไปนั้นเอื้อประโยชน์หรือเป็นอุปสรรคต่อองค์การ

1.5 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (The Technology Component) หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้เช่นการผลิตสินค้าการให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน กระบวนการผลิต การเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรที่ใช้ เช่นใน

โรงงานอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงมาใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในการผลิต และการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และจะมีการเพิ่มเทคโนโลยีนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต

2.สภาพแวดล้อมทางการดำเนินการ(The Operating Environment) สภาพแวดล้อมการดำเนินการ   หมายถึง   สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การ

อย่างทันที สภาพแวดล้อมภายนอกดังกล่าวประกอบด้วย  ลูกค้า (Customer Component)  คู่แข่งขัน (Competition Component) ผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิต (Supplier Component)  สภาวะการระหว่างประเทศ (International Component)

2.1 ลูกค้า (Customer Component) หมายถึง  ความต้องการของลูกค้าที่เป็นปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์ต่อการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายหรือการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า การพัฒนาในด้านผลิตภัณฑ์และบริการควรพิจารณาสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับลูกค้า  เช่น ความต้องการของลูกค้า ข้อเสนอแนะจากลูกค้า คำตำหนิของลูกค้า

2.2 การแข่งขัน (Competition Component) หมายถึง  สภาพแวดล้อมในการดำเนินการเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งขันในทางธุรกิจเพื่อการปฏิบัติการที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันในด้านลูกค้าทำให้องค์การมีการปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์อยู่เสมอเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน    วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์คู่แข่งขันก็เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจในจุดแข็ง (strengths)  จุดอ่อน  (weaknesses)  ศักยภาพขององค์การ (capabilities)  ศักยภาพของคู่แข่งขันเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม

2.3 ตลาดแรงงาน  (Labor Component) หมายถึง  สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการจ้างพนักงานตามความต้องการขององค์การ   เกี่ยวข้องกับเรื่องคุณสมบัติของพนักงานหรือแรงงานที่ต้องการ   ระดับของทักษะที่ต้องการในการทำงาน   การฝึกอบรม   อัตราค่าจ้างแรงงาน   อายุงานของพนักงานและองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกับตัวพนักงานที่องค์การต้องการ

2.4 ผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิต(The Supplier Component) หมายถึงสภาพแวดล้อมในการดำเนินการที่เกี่ยวกับการจัดหาทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตหรือการให้บริการ   ผู้บริหารควรวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิต  เกี่ยวกับการที่ผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิตสามารถจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพ  ราคาต่ำสุด  การส่งมอบที่เชื่อถือได้และการให้เครดิตในการซื้อแต่ละครั้ง   สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนปัจจัยนำเข้าที่ผู้บริหารควรพิจารณาถึงประสิทธิภาพของผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิตด้วย

2.5 สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ (The International Component)  หมายถึง สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศ แม้ว่าองค์การไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศก็ควรศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศของประเทศต่าง ๆ เช่นกฎหมาย วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการขยายตัวขององค์การต่อไปในอนาคตซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจต่างประเทศ

    สภาพแวดล้อมภายใน  (The Internal Environment) สภาพแวดล้อมนี้เกิดขึ้นภายในองค์การในระดับการทำงานภายในเป็นสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ เช่น การดำเนินงานของฝ่ายต่าง ๆ ตามหน้าที่ เช่น ฝ่ายการตลาดขององค์การ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี งานในหน้าที่เหล่านี้ควรมีการวางแผน การจัดองค์การ การชักนำและการควบคุมภายในองค์การที่ดี และมีการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์การสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในได้ 

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม  (SWOT analysis) 

    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของอค์การเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การและภายนอกองค์การเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ ส่วนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทำให้ทราบโอกาสและอุปสรรคขององค์การ  การวิเคราะห์  (Tows Matrix)  เป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาสและอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมเพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางเลือกได้  4  ประการ  (Four Alternative Strategies)  ดังนี้

1. กลยุทธ์  SO  หมายถึง  ธุรกิจมีจุดแข็งและมีโอกาสในการเจริญเติบโตได้อีก  ทำให้ธุรกิจสามารถขยายการลงทุนเพิ่มได้อีก

2. กลยุทธ์  ST  หมายถึง  ธุรกิจมีจุดแข็ง  แต่มีอุปสรรคจากคู่แข่งขัน  หรือปัจจัยอื่น ๆ ธุรกิจจึงควรหลีกเลี่ยงอุปสรรค

3. กลยุทธ์  WO  หมายถึง  ธุรกิจมีจุดอ่อน  เช่น  ขาดเงินทุน  หรือขาดความเชี่ยวชาญในการผลิต  หรืออาจมีจุดอ่อนอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถคงอยู่ได้  ธุรกิจควรค้นหาวิธีในการเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง  เพราะยังมีโอกาสหรือช่องทางในการทำธุรกิจอยู่มาก

4. กลยุทธ์  WT  เป็นสภาวะการณ์ที่เลวร้ายที่สุด  เพราะนอกจากธุรกิจจะมีจุดอ่อนในตนเองแล้วยังมีอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจด้วย  จึงควรพิจารณาเลิกกิจการหรือแสวงหาความร่วมมือกับธุรกิจอื่น

การวิเคราะห์โครงสร้างทางอุตสาหกรรม  (Porter’s of Industry Analysis)

    ตัวแบบที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในการวิเคราะห์อุตสาหกรรมของ Michael E.Porter ได้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรม 

 



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ทดสอบความรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2.แฟ้มสะสมผลงาน

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน    

 



ยินดีต้อนรับ