หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยอย่างชำนาญการ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-NOCH-307B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยอย่างชำนาญการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้สอนภาษาต่างประเทศ อาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถในการวางแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ สามารถกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ สื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้สอดคล้องกันในหน่วยการเรียนรู้ทั้งนี้ มีการคำนึงถึงความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในการวางแผนรายหน่วยการเรียนรู้ โดยต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการเรียนรู้ที่เหมาะสมและมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการเลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลายสอดคล้องกับหน่วยการเรียนและรายวิชาและให้เหมาะกับผู้เรียน โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายของผู้เรียน สามารถกำหนดแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยนั้น ๆ ได้ และสามารถกำหนดระดับคะแนนและระดับคุณภาพในเกณฑ์การเรียนรู้เพื่อประเมินความสำเร็จหลังเรียนของผู้เรียนได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้สอนภาษาต่างประเทศ อาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 2353 Other language teachers

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00111 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

1.1 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

00111.01 203893
00111 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

1.2 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้แต่ละคาบในหน่วยการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาหรือตัวชี้วัด ของรายวิชาหรือหลักสูตร

00111.02 203894
00111 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

1.3 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการเรียนรู้ในทุกด้าน

00111.03 203895
00112 กำหนดเนื้อหาสาระรายหน่วยการเรียนรู้

2.1 กำหนดเนื้อหาสาระแต่ละคาบในหน่วยการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด ของรายวิชาหรือหลักสูตร

00112.01 203896
00112 กำหนดเนื้อหาสาระรายหน่วยการเรียนรู้

2.2 กำหนดเนื้อหาสาระแต่ละคาบในหน่วยการเรียนรู้ได้ครอบคลุม ครบถ้วน ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ และเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นของผู้เรียน (learner’s needs)

00112.02 203897
00112 กำหนดเนื้อหาสาระรายหน่วยการเรียนรู้

2.3 กำหนดเนื้อหาสาระแต่ละคาบในหน่วยการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับระยะเวลาและมีการเชื่อมโยงกัน

00112.03 203898
00112 กำหนดเนื้อหาสาระรายหน่วยการเรียนรู้

2.4 กำหนดเนื้อหาสาระที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาสภาพจริง

00112.04 203899
00113 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

3.1 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร แต่ละคาบในหน่วยการเรียนรู้ได้หลากหลายและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้และเนื้อหาสาระ

00113.01 203900
00113 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

3.2 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะภาษา โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้ฝึกปฏิบัติทักษะทางภาษาที่เน้นการใช้ภาษาสภาพจริง*ในทุกหน่วยการเรียน

00113.02 203901
00113 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

3.3 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง

00113.03 203902
00114 กำหนดสื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

4.1 กำหนดสื่อการเรียนการสอน แหล่งการเรียนรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่างๆ ในแต่ละคาบในหน่วยการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ 

00114.01 203903
00114 กำหนดสื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

4.2  กำหนดสื่อการเรียนการสอน แหล่งการเรียนรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้อย่างหลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหา บริบท และผู้เรียน โดยคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม 

00114.02 203904
00115 กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

5.1 กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้

00115.01 203905
00115 กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

5.2 กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ 

00115.02 203906
00115 กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

5.3 กำหนดระดับคะแนนและระดับคุณภาพในเกณฑ์การเรียนรู้เพื่อประเมินความสำเร็จหลังเรียนของผู้เรียน

00115.03 203907

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียน

2.    ทักษะการวิเคราะห์หลักสูตร ประมวลรายวิชา ตัวชี้วัดผลการเรียนรู้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารแบบบูรณาการทักษะภาษา

2.    หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล

3.    หลักการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง

4.    หลักการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ภาษาสภาพจริง

5.    หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการกำหนดระดับคะแนนและระดับคุณภาพในเกณท์การเรียนรู้เพื่อประเมินความสำเร็จหลังเรียนของผู้เรียน

6.    เนื้อหาวิชาด้านภาษา หลักทางภาษาศาสตร์ และวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษาอังกฤษที่หลากหลาย และวัฒนธรรมในบริบทของผู้เรียนที่หลากหลาย

7.    เนื้อหาด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม (cultural diversity)

8.    หลักการจัดทำแผนจัดการเรียนรู้รายคาบและหน่วยการเรียนรู้

9.    หลักการเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้

10.    หลักสูตรรายวิชา หรือ ประมวลรายวิชา หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ เช่น แบบเรียน วัตถุประสงค์ มาตรฐาน และตัวชี้วัด

11.    ขอบเขตเนื้อหา และเนื้อหาที่ใช้ในแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1.    เอกสารที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 

              1.1    แผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

              1.2 บันทึกการคิดไตร่ตรอง (reflective journal) ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

        2.    เอกสารประกอบการประเมิน ได้แก่

              2.1    ประมวลรายวิชา หรือ คำอธิบายรายวิชา (course description) ของรายวิชาที่ผู้สมัครกำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้

              2.2    สำเนาเอกสาร หนังสือ แบบเรียน เฉพาะส่วนที่ผู้สมัครนำมาออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

(ข)     หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          ไม่มี

(ค)     คำแนะนำในการประเมิน

           ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกหน่วยสมรรถนะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนหน่วยสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบหน่วยสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง)    วิธีการประเมิน

        1.    ผู้ประเมินทำการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้ ด้วยแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้

        2.    ผู้ประเมินทำการประเมินใช้เอกสารประกอบการประเมินต่างๆ ได้แก่ แบบวิเคราะห์หลักสูตร ประมวลรายวิชา ตัวชี้วัดผลการเรียนรู้หลักสูตรรายวิชา ประมวลรายวิชา คำอธิบายรายวิชาและหนังสือ แบบเรียน หรือเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบการประเมิน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

         ไม่มี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

         คำอธิบายรายละเอียดของหน่วยสมรรถนะ มีดังนี้

              1    แผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้จำนวน 1 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่

                    1.1    บริบท: ชื่อหน่วยการเรียนรู้ วัตถุประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังระดับหน่วยการเรียนรู้ จำนวนผู้เรียน ระดับ ระยะเวลาที่ใช้ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดหน่วยการเรียนรู้ หนังสือหรือแบบเรียนที่ใช้ ฯลฯ

                    1.2    วัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ 

                    1.3    เนื้อหาสาระในหน่วยการเรียนรู้

                    1.4    กิจกรรมการเรียนรู้ หรือ กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

                    1.5    สื่อการเรียนการสอน หรือแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นั้น

                    1.6    การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รวมทั้งเกณฑ์การประเมิน สำหรับในหน่วยการเรียนรู้นั้น

               2    รายละเอียดในแผนการจัดการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับหลักการและทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับ

               3    แผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้รับการประเมินเขียนขึ้นเองใหม่โดยอาจปรับปรุง หรือดัดแปลงมาจากแหล่งต่าง ๆ แต่ต้องผ่านการคิดวิเคราะห์ พิจารณามาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียน บทเรียน หลักสูตร และบริบท

               4    บันทึกการคิดไตร่ตรอง (reflective journal) ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ จะต้องแสดงเหตุผลในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้และการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

(ค)    คำอธิบายศัพท์เฉพาะ 

         แผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ (unit plan) หมายถึง กรอบหรือเค้าโครงที่แสดงถึงแผนการที่ประกอบด้วยแผนรายคาบหลาย ๆ คาบ ที่จัดอย่างเป็นระบบของผู้สอน ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนภายใต้หัวข้อหนึ่ง ๆ ในแต่ละหน่วยการเรียนควรรวมถึง การกำหนดสาระสำคัญ วัตถุประสงค์ การจัดลำดับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ ตลอดจนการวัดผลและการประเมินผล ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา   ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้ที่กำหนด 

         การเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (communicative language learning) หมายถึง แนวคิดการเรียนภาษาที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ในชีวิตจริง โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฎิบัติทักษะแบบบูรณาการ  ฝึกผู้เรียนให้ใช้ภาษาอย่างมีความหมายในสถานการณ์จริง

         ตัวชี้วัด (indicator) หมายถึง ข้อระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับ ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดการเรียนการรู้ และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน

         หลักสูตร (curriculum) หมายถึง แผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้หรือประสบการณ์ที่คาดหวังแก่ผู้เรียน รวมถึงประสบการณ์ (experience) ทั้งปวงของผู้เรียนที่จัดโดยองค์กรระดับต่าง ๆ อาจจะเป็น หลักสูตรระดับชาติ หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรสถานศึกษา หรือแม้แต่หลักสูตรที่เป็นรายวิชาด้วย

         ความต้องการจำเป็นของผู้เรียน (learner’s needs) หมายถึง ปัญหา ความต้องการ ความจำเป็นของผู้เรียนในการเรียนรู้ ซึ่งอาจครอบคลุมในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ประสบการณ์ ความสนใจ ทักษะ ความถนัด และพื้นความรู้เดิม

         ภาษาสภาพจริง (authentic language) หมายถึง ลักษณะภาษาที่ใช้จริงในชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาสื่อสารที่เป็นธรรมชาติในห้องเรียน ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ผู้เรียนภาษาสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสิ่งที่จะนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง ส่งผลให้การเรียนภาษาประสบความสำเร็จมากขึ้น

          การเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะภาษา (integrated-skill approach) หมายถึง วิธีการสอนภาษาที่เชื่อมโยงทักษะย่อยๆ เข้าด้วยกัน เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน เนื่องจากในชีวิตจริง การเรียนภาษาไม่ควรเป็นการเรียนแต่ละทักษะเดี่ยว ๆ แต่มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เช่น ก่อนอ่านบทความ ผู้เรียนอาจจะได้ดูคลิปที่เกี่ยวกับหัวข้อที่จะอ่าน และเมื่ออ่านบทความเสร็จ ผู้เรียนก็อาจจะได้อภิปรายหรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียน เป็นต้น   

          ทักษะการคิดขั้นสูง (higher order thinking skills) หมายถึง ความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ ในการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่ การนำไปใช้ การคิดวิเคราะห์ การประเมินค่า และการคิดสร้างสรรค์ 

          สื่อการเรียนการสอน (instructional materials) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการ ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเรียนรู้ได้อย่างง่ายและรวดเร็ว

           แหล่งการเรียนรู้ (learning resources) หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ตลอดจนข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  รวมทั้ง ความรู้และประสบการณ์ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

           เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communications Technology: ICT) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร เช่น การใช้อีเมลเพื่อติดต่อสื่อสาร การสืบค้นความรู้ต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

           ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (cultural diversity) หมายถึง ความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของผู้เรียน ทั้งทางด้านภูมิหลัง พื้นเพ ความเชื่อทางศาสนา เพศ ประเพณี  อาหาร ดนตรี หรือ แม้แต่ภาษาที่ใช้  เป็นต้น  โดยเน้นการยอมรับและเคารพซึ่งกันและกัน และมองความแตกต่างเป็นสิ่งที่ดี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการประเมินและวิธีการประเมินให้ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ