หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบอย่างมีทักษะ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-AYML-304B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบอย่างมีทักษะ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้สอนภาษาต่างประเทศ อาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถในการวางแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบระดับเบื้องต้น ซึ่งครอบคลุมถึงการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกันตามตัวบ่งชี้ของรายวิชาหรือหลักสูตรนั้นๆ ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ ต้องกำหนดเนื้อหาสาระให้ครอบคลุม ครบถ้วน และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ มีการกำหนดกิจกรรมแบบบูรณาการทักษะภาษาโดยมุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้ฝึกปฏิบัติทักษะภาษา ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้สอนภาษาต่างประเทศ อาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 2353 Other language teachers

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00021 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ 1.1 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 00021.01 203832
00021 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ 1.2 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา หรือตัวชี้วัด ของรายวิชาหรือหลักสูตร  00021.02 203833
00022 กำหนดเนื้อหาสาระ 2.1 กำหนดเนื้อหาสาระได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ของรายวิชาหรือหลักสูตร  00022.01 203834
00022 กำหนดเนื้อหาสาระ 2.2 กำหนดเนื้อหาสาระทางภาษา และวัฒนธรรมทางภาษาได้เหมาะสมกับผู้เรียน 00022.02 203835
00022 กำหนดเนื้อหาสาระ 2.3 กำหนดเนื้อหาสาระได้เหมาะสมกับระยะเวลา 00022.03 203836
00023 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.1 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้และเนื้อหาสาระ 00023.01 203837
00023 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.2 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะภาษา โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้ฝึกปฏิบัติ 00023.02 203838
00023 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.3 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง 00023.03 203839
00024 กำหนดสื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ 4.1 กำหนดสื่อการเรียนการสอน และแหล่งการเรียนรู้ ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้  00024.01 203840
00024 กำหนดสื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ 4.2 กำหนดสื่อการเรียนการสอน และแหล่งการเรียนรู้ ได้เหมาะสมกับ เนื้อหา บริบท และผู้เรียน 00024.02 203841
00025 กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 5.1 กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ 00025.01 203842
00025 กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 5.2 กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ และกิจกรรมการเรียนรู้ 00025.02 203843

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียน

2.    ทักษะการวิเคราะห์หลักสูตร ประมวลรายวิชา ตัวชี้วัดผลการเรียนรู้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารแบบบูรณาการทักษะภาษา

2.    หลักการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง

3.    ประเภทของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

4.    หลักการจัดทำแผนจัดการเรียนรู้รายคาบ

5.    หลักการเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้

6.    หลักสูตรรายวิชา ประมวลรายวิชา หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบเช่น แบบเรียน วัตถุประสงค์ มาตรฐาน และตัวชี้วัด

7.    ขอบเขตเนื้อหาที่ใช้ในแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ

8.    เนื้อหาวิชาด้านภาษา หลักทางภาษาศาสตร์ และวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษาอังกฤษ และวัฒนธรรมในบริบทของผู้เรียน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

         1.    เอกสารที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 

               1.1    แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ

               1.2    บันทึกการคิดไตร่ตรอง (reflective journal) ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ

         2.    เอกสารประกอบการประเมิน ได้แก่

               2.1    ประมวลรายวิชา หรือ คำอธิบายรายวิชา ของรายวิชาที่ผู้สมัครกำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้

               2.2    สำเนาเอกสาร หนังสือ แบบเรียน เฉพาะส่วนที่ผู้สมัครนำมาออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        ไม่มี

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

         ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกหน่วยสมรรถนะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนหน่วยสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบหน่วยสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง)    วิธีการประเมิน

        1.    ผู้ประเมินทำการประเมิน ด้วยแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ แบบประเมินบันทึกการคิดไตร่ตรอง และ การสัมภาษณ์

        2.    ผู้ประเมินทำการประเมิน โดยใช้เอกสารประกอบการประเมินต่างๆ ได้แก่ ประมวลรายวิชา หรือ คำอธิบายรายวิชาของรายวิชาที่ผู้สมัครกำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ และสำเนาเอกสาร หนังสือ แบบเรียน เฉพาะส่วนที่ผู้สมัครนำมาออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

        ไม่มี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

         คำอธิบายรายละเอียดของหน่วยสมรรถนะ มีดังนี้

         1.    แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบมีองค์ประกอบที่สำคัญครบถ้วน ได้แก่

               1.1    บริบท: สถาบัน ชื่อรายวิชา จำนวนผู้เรียน ระดับ เวลา ฯลฯ

               1.2    วัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้

               1.3    เนื้อหาสาระ

               1.4    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

               1.5    สื่อการเรียนการสอน และแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้

               1.6    การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

          2.    รายละเอียดในแผนการจัดการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับหลักการและทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับ

          3.    แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้รับการประเมินเขียนขึ้นเองใหม่โดยอาจปรับปรุง หรือดัดแปลงมาจากแหล่งต่าง ๆ แต่ต้องผ่านการคิดวิเคราะห์ พิจารณามาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียน บทเรียน หลักสูตร และบริบท

          4.    บันทึกการคิดไตร่ตรอง (reflective journal) ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ จะต้องแสดงเหตุผลในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ และการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

(ค)    คำอธิบายศัพท์เฉพาะ 

         แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ (lesson plan) หมายถึง กรอบหรือเค้าโครงที่แสดงถึงแผนซึ่งครูเตรียมการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยวางแผนการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อการเรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลโดยการวิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชาหรือหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งยึดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้ที่กำหนด สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้

         การเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (communicative language learning) หมายถึง แนวคิดการเรียนภาษาที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ในชีวิตจริง โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฎิบัติทักษะแบบบูรณาการ  ฝึกผู้เรียนให้ใช้ภาษาอย่างมีความหมายในสถานการณ์จริง

         ตัวชี้วัด (indicator) หมายถึง ข้อระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับ ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดการเรียนการรู้ และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน

        หลักสูตร (curriculum) หมายถึง แผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้หรือประสบการณ์ที่คาดหวังแก่ผู้เรียน รวมถึงประสบการณ์ (experience) ทั้งปวงของผู้เรียนที่จัดโดยองค์กรระดับต่าง ๆ อาจจะเป็น หลักสูตรระดับชาติ หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรสถานศึกษา หรือแม้แต่หลักสูตรที่เป็นรายวิชาด้วย

         การเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะภาษา (integrated-skill approach) หมายถึง วิธีการสอนภาษาที่เชื่อมโยงทักษะย่อยๆ เข้าด้วยกัน เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน เนื่องจากในชีวิตจริง การเรียนภาษาไม่ควรเป็นการเรียนแต่ละทักษะเดี่ยว ๆ แต่มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เช่น ก่อนอ่านบทความ ผู้เรียนอาจจะได้ดูคลิปที่เกี่ยวกับหัวข้อที่จะอ่าน และเมื่ออ่านบทความเสร็จ ผู้เรียนก็อาจจะได้อภิปรายหรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียน เป็นต้น

         ทักษะการคิดขั้นสูง (higher order thinking skills) หมายถึง ความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ ในการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่ การนำไปใช้ การคิดวิเคราะห์ การประเมินค่า และการคิดสร้างสรรค์ 

         สื่อการเรียนการสอน (instructional materials) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการ ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเรียนรู้ได้อย่างง่ายและรวดเร็ว

         แหล่งการเรียนรู้ (learning resources) หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ตลอดจนข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  รวมทั้ง ความรู้และประสบการณ์ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง 



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการประเมินและวิธีการประเมินให้ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ