หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามผลการออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าในเชิงพาณิชย์หลังการจัดจำหน่าย

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ --DSOU-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามผลการออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าในเชิงพาณิชย์หลังการจัดจำหน่าย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่มีบทบาทในการรับผลข้อมูลการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อศึกษาข้อมูลและทิศทางของตลาดกลุ่มเป้าหมาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40111 รับผลข้อมูลจากแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์แฟชั่นเสื้อผ้า 1. วิเคราะห์แหล่งข้อมูลเพื่อกำหนดการจัดเก็บข้อมูล 40111.01 151371
40111 รับผลข้อมูลจากแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์แฟชั่นเสื้อผ้า 2. กำหนดการใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลได้เหมาะสม 40111.02 151372
40111 รับผลข้อมูลจากแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์แฟชั่นเสื้อผ้า 3. บันทึกสรุปผลข้อมูลการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างเป็นระบบ 40111.03 151373
40112 นำข้อมูลที่ได้จากฝ่ายขายมาประยุกต์ใช้ในคอลเลคชั่นใหม่ของแฟชั่นเสื้อผ้าให้เหมาะสม 1. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากฝ่ายขายเพื่อกำหนดรูปแบบการขาย 40112.01 151374
40112 นำข้อมูลที่ได้จากฝ่ายขายมาประยุกต์ใช้ในคอลเลคชั่นใหม่ของแฟชั่นเสื้อผ้าให้เหมาะสม

2. วางแผนตามรูปการขายตามที่กำหนด

40112.02 153189
40112 นำข้อมูลที่ได้จากฝ่ายขายมาประยุกต์ใช้ในคอลเลคชั่นใหม่ของแฟชั่นเสื้อผ้าให้เหมาะสม

3. สร้างรูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องในสถานการณ์ขณะนั้น

40112.03 153190

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะการกำหนดแหล่งข้อมูลและเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล

2. รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบสินค้า ที่มียอดจำหน่ายแต่ละพื้นที่

3. ปฏิบัติการจำแนกรูปแบบสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภค ในแต่ละพื้นที่

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละพื้นที่

2. มีความรู้และเข้าใจรูปลักษณะพื้นที่การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแบรนด์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. บันทึกข้อมูลแหล่งการจัดจำกหน่าย

          2. รายงานผลข้อมูลการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

          3. เอกสารทิศทางของตลาดกลุ่มเป้าหมาย

          4. เอกสารสรุปยอดขายของแต่ละแบรนด์ในพื้นที่การขาย

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถในการบันทึกและจำแนกข้อมูลของผลิตภัณฑ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ประเมินจากยอดขาย ของแต่ละแบรนด์ในพื้นที่การขาย

(ง) วิธีการประเมิน

          1. พิจารณาจากหลักฐานความรู้

          2. พิจารณาจากหลักฐานนการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมถึงความสามารถในการวิเคราะห์และรวบรวมเอกสารเพื่อการสรุปข้อมูลของผลิตภัณฑ์

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบเอกสารข้อมูลรูปแบบสินค้าที่ต้องการ ของผู้บริโภค

          2. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบเอกสารข้อมูลและแสดงยอดจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารข้อมูลยอดจัดจำหน่าย

          2. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารข้อมูลของรูปแบบสินค้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แบบสัมภาษณ์การปฏิบัติงาน

2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ