หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดแนวความคิดในการออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าเชิงพาณิชย์ให้ตรงกับนโยบายขององค์กร

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ --CXLQ-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดแนวความคิดในการออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าเชิงพาณิชย์ให้ตรงกับนโยบายขององค์กร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลทำหน้าที่มีฝีมือเฉพาะทางการออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้า และเทคนิคในการปฏิบัติงานอย่างหลากหลาย ประยุกต์ใช้แนวโน้มแฟชั่นในการออกแบบในตรงแนวความคิดของแบรนด์ และวางแผนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20111 ประยุกต์ใช้ข้อมูลแนวโน้มแฟชั่นเสื้อผ้า 1. วิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่น มากกว่า 5 แหล่งขึ้นไป 20111.01 151206
20111 ประยุกต์ใช้ข้อมูลแนวโน้มแฟชั่นเสื้อผ้า 2. แจกแจงข้อมูลแนวโน้มแฟชั่น เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบคอลเลกชั่นใหม่ 20111.02 151207
20111 ประยุกต์ใช้ข้อมูลแนวโน้มแฟชั่นเสื้อผ้า

3. วิเคราะห์สรุป แนวทางการออกแบบตามองค์ประกอบ การออกแบบ

- Silhouette& Form

- Material & Tone

- Detail& Technique

- Fabric & Print

- Textile& Surface

20111.03 151208
20112 ประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์แฟชั่นเสื้อผ้าทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ 1. รวบรวมข้อมูลและศึกษาด้านประวัติศาสตร์แฟชั่นทั้งในประเทศหรือต่างประเทศในช่วงกระแสความต้องการของผู้บริโภค 20112.01 151209
20112 ประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์แฟชั่นเสื้อผ้าทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ 2. วิเคราะห์ประเด็นหรือจุดเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องที่จะนำมาใช้ในการออกแบบนำบทสรุปด้านประวัติศาสตร์แฟชั่นทั้งในประเทศหรือต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ 20112.02 151210
20113 วิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดแฟชั่นเสื้อผ้าให้ตรงตามแบรนด์ 1. รวบรวมข้อมูลงานออกแบบของคู่แข่งทางการตลาด 20113.01 151211
20113 วิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดแฟชั่นเสื้อผ้าให้ตรงตามแบรนด์ 2. วิเคราะห์ประเมิน จุดอ่อน และจุดแข็งในงานออกแบบในฤดูกาลที่ผ่านมาทั้งของแบรนด์และแบรนด์คู่แข่งตามสายผลิตภัณฑ์ 20113.02 151212
20113 วิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดแฟชั่นเสื้อผ้าให้ตรงตามแบรนด์ 3. วิเคราะห์ Positioning Marketสรุปผลการวิเคราะห์ทางการตลาด 20113.03 151213
20113 วิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดแฟชั่นเสื้อผ้าให้ตรงตามแบรนด์ 4. ออกแบบคอลเลคชั่นที่ส่งเสริมกับการเพิ่มจุดแข็งให้กับแบรนด์ 20113.04 151214

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถประยุกต์ใช้แนวคิดประวัติศาสตร์แฟชั่นการออกแบบได้อย่างเหมาะสม

2. มีทักษะในการประเมินวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์แฟชั่นทั้งในและต่างประเทศ

2. ข้อมูลทางการตลาดของคู่แข่ง

3. ข้อมูลการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

4. พฤติกรรมผู้บริโภค


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารการวิเคราะห์ลูกค้าและคู่แข่งทางการตลาด (Positioning Maping)

          2. แบบสอบถาม หรือสัมภาษณ์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

          3. เอกสารวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของคู่แข่ง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

          2. หลักฐานที่แสดงถึงความสามารถในการกำหนดแนวคิดในการออกแบบ

          3. เอกสารผลการวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่นที่เหมาะสมกับแนวความคิดของแบรนด์

          4. เอกสารผลการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและคู่แข่งทางการตลาดที่นำมาใช้กำหนดแนวความคิด

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ประเมินแนวความความคิดที่ได้จากการคิดวิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มแฟชั่น ประวัติศาสตร์แฟชั่น ประเมินความเหมาะสมของแนวความคิดที่ได้จากการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและคู่แข่งทางการตลาด

(ง) วิธีการประเมิน

          1. พิจารณาหลักฐานด้านความรู้ด้านประวัติศาสตร์แฟชั่น

          2. พิจารณาแนวความคิดการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและการวิเคราะห์คู่แข่ง


15. ขอบเขต (Range Statement)

          สมรรถนะนี้ประเมินความสามารถในการบันทึกรวบรวมและสรุปแนวความคิดในการออกแบบ และสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคได้

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบการนำบทสรุปแนวโน้มแฟชั่นมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบได้

          2. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบการรวบรวมข้อมูลและบทสรุปด้านประวัติศาสตร์แฟชั่นทั้งในประเทศหรือ ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องได้

          3. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบการนำบันทึกสรุปหัวข้อแนวความคิดในการออกแบบได้

          4. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบการกำหนด/ระบุกลุ่มเป้าหมายในการอุปโภคสินค้าได้

          5. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบผลการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในการอุปโภคสินค้าได้

          6. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบสามารถรวบรวมข้อมูลคู่แข่งทางการตลาดทางตรงและทางอ้อมได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทางประวัติศาสตร์แฟชั่นและแนวโน้มแฟชั่นที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ตรวจสอบความถูกต้องและความเข้าใจในแหล่งที่มาของข้อมูล

2. ตรวจสอบความเข้าใจ ในการนำข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับแนวโน้มแฟชั่น

4. ตรวจสอบแนวคิดในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ยุคนั้น ๆ

5. ตรวจสอบหัวข้อของแบบสอบถามหรือสัมภาษณ์

6. ตรวจสอบแนวคิดวิเคราะห์ ในการตั้งแบบสอบถามหรือสัมภาษณ์

7. ตรวจสอบผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการตั้งแบบสอบถาม หรือ สัมภาษณ์

8. ตรวจสอบความถูกต้องในการสรุปข้อมูลของคู่แข่ง



ยินดีต้อนรับ