หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปักลายกระจัง

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-KPXO-410B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปักลายกระจัง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพัสตราภรณ์ TSCO 7332.40 ช่างปักผ้าด้วยมือ,   ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจลักษณะของลวดลายกระจัง มีทักษะในการเขียนแบบลวดลายปักได้อย่างเหมาะสม ทักษะในการปักลายกระจังตั้งแต่การปักดิ้นข้อกำหนดลาย    ถมดิ้นและไหม รวมถึงปักหนุนในลวดลายกระจัง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างพัสตราภรณ์แบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
015231

ปักดิ้นข้อกำหนดลายกระจัง

1.1 สามารถปักหักดิ้นข้อตามขอบลวดลายได้ตามแบบที่กำหนด  

015231.01 201015
015231

ปักดิ้นข้อกำหนดลายกระจัง

1.2  สามารถปักดิ้นข้อเรียงตัวพอดี ข้อไม่ห่างเกินไป ดิ้นไม่แตกหักหรือยับ

015231.02 201016
015231

ปักดิ้นข้อกำหนดลายกระจัง

1.3 ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะลวดลายกระจัง

015231.03 201017
015231

ปักดิ้นข้อกำหนดลายกระจัง

1.4 ระบุ หรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนของลวดลายกระจังในงานพัสตราภรณ์

015231.04 201018
015232

ถมดิ้นในลวดลายกระจัง

2.1 สามารถถมดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ไหม แล่ง ในลวดลายตามแบบที่กำหนดในลวดลายกระจัง

015232.01 201019
015232

ถมดิ้นในลวดลายกระจัง

2.2 สามารถถมดิ้นและวัสดุปักอื่น ๆ  เรียงตัวพอดีปักไหมเรียงเส้น

015232.02 201020
015232

ถมดิ้นในลวดลายกระจัง

2.3 กำหนดเลือกขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีดิ้นและวัสดุปักอื่น ๆ

015232.03 201021
015233

ปักหนุนลวดลายนูน ในลวดลายกระจัง

3.1 สามารถปักหนุนให้ลายนูนขึ้น ด้วยเชือก เส้นไหม เส้นฝ้าย หรือสำลี ในลวดลายกระจัง

015233.01 201022
015233

ปักหนุนลวดลายนูน ในลวดลายกระจัง

3.2 สามารถเลือกชนิดของดิ้นให้เหมาะสมกับลวดลายที่ทำการปัก 

015233.02 201023
015233

ปักหนุนลวดลายนูน ในลวดลายกระจัง

3.3 สามารถปักทึบด้วยเส้นไหมลงทีละเส้นเพื่อเพิ่มมิติ

015233.03 201024
015233

ปักหนุนลวดลายนูน ในลวดลายกระจัง

3.4 สามารถปักซอยไหมให้เต็มลวดลาย

015233.04 201025
015233

ปักหนุนลวดลายนูน ในลวดลายกระจัง

3.5 สามารถปักดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน แล่ง หรือปักถมลวดลายด้วยดิ้นประเภทต่าง ๆ 

015233.05 201026
015233

ปักหนุนลวดลายนูน ในลวดลายกระจัง

3.6 กำหนดเลือกขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีดิ้นและวัสดุปักอื่น ๆ

015233.06 201027
015234

ปักลวดลายบริเวณกรอบลาย

4.1 สามารถปักเดินเส้นบริเวณขอบหลังที่ปักลวดลาย ด้วยการใช้เส้นไหมสีต่างๆ 

015234.01 201028
015234

ปักลวดลายบริเวณกรอบลาย

4.2 สามารถเลือกชนิดของดิ้นต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกรอบลาย

015234.02 201029
015234

ปักลวดลายบริเวณกรอบลาย

4.3 กำหนดเลือกขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีดิ้นและวัสดุปักอื่น ๆ

015234.03 201030

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลวดลาย และลักษณะการใช้สีในงานพัสตราภรณ์

2. รู้จักวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์ประเภทต่าง ๆ 

3. ความเข้าใจลักษณะของลวดลายปักพื้นฐาน ด้วยวัสดุประเภทต่าง ๆ 

4. สามารถปักเดินดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ปักแบบตีเกลียว รวมถึงปักหนุนให้ลายนูนขึ้นตามลักษณะลาย

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการปักหักดิ้นข้อตามขอบลวดลายกระจังได้

2. ทักษะการถมดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ไหม แล่ง ในลวดลายได้

3. ทักษะการปักเดินเส้นบริเวณขอบหลังที่ปักลวดลาย ด้วยการใช้เส้นไหมสีต่าง ๆ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านลวดลายไทย และวิวัฒนาการของลวดลาย

2. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบลวดลายปัก เข้าใจวิธีวางจังหวะ ช่องไฟของลาย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผ้าที่ปักหักดิ้นข้อตามขอบลายกระจัง ปักหนุนถมดิ้นโปร่งในลวดลายกระจัง

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะลวดลายกระจัง

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนของลวดลายกระจังในงานพัสตราภรณ์

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดรูปแบบลวดลายปัก เข้าใจวิธีวางจังหวะ ช่องไฟของลาย

3. ระบุหรืออธิบายทฤษฎีการใช้สีในงานพัสตราภรณ์

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปักลายกระจัง การหักดิ้นข้อตามขอบลวดลาย ถมดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ไหม แล่งในลวดลายกระจัง และปักเดินเส้นบริเวณขอบหลังจากที่ปักลวดลาย

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติการปักลายกระจังให้เหมาะสมกับช่องไฟ ทาบลาย และกรึงลวดลายที่คัดลอกตรึงลงบนผ้าได้อย่างถูกต้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการปักลายกระจัง ดังนี้

    1. ทักษะการปักหักดิ้นข้อตามขอบลวดลายกระจัง

    2. ทักษะการถมดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ไหม แล่ง ในลวดลาย

    3. ทักษะการปักหนุนให้ลายนูนขึ้น ด้วยเชือก เส้นไหม เส้นฝ้าย หรือสำลี ในลวดลายกระจัง

    4. ทักษะการปักเดินเส้นบริเวณขอบหลังจากที่ปักลวดลาย 

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    งานพัสตราภรณ์ตามแบบราชสำนัก มีขั้นตอนและวิธีการที่ละเอียดอ่อนต่างจากงานปักโดยทั่วไป เอกลักษณ์สำคัญอยู่ที่วิธีการปักของช่างที่จะต้องลงฝีเข็มทีละครั้งจนเกิดเป็นลวดลาย  ขั้นตอนเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น  การปักชุดโขนละครถือได้ว่าเป็นหนึ่งในงานงานพัสตราภรณ์ ซึ่งจะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ด้วยการปักตามแบบของตัวละครนั้น ๆ ส่วนลายที่ใช้ในการปักจะมีความแตกต่างกันไปตามชื่อของตัวละคร เช่น ลายกระหนก ใช้สำหรับพระลักษณ์และพระราม ลายหน้าสิงห์ ใช้สำหรับทศกัณฑ์ เป็นต้น ช่างปักต้องใช้ทักษะความชำนาญเป็นอย่างมากจึงสามารถปักให้ได้รายละเอียดที่สวยงามลงตัว ช่างปักต้องมีความรู้ด้านการเขียนลวดลายไทย จึงจะสามารถบังคับฝีเข็มให้อ่อนช้อยเสมือนกับการวาดลายเส้น ช่างปักจึงต้องมีทั้งทักษะฝีมือและความอดทนในการปักลวดลายให้แล้วเสร็จ

    “ลวดลายไทย”แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยบ่งบอกถึงภูมิปัญญาของช่างไทย ใช้จินตนาการในเชิงสร้างสรรค์มีแบบอย่างเฉพาะตัว มีทั้งลายสัตว์ในอุดมคติ ลวดลายธรรมชาติ ลวดลายประกอบ ลวดลายไทยถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ปรากฎในงานพัสตราภรณ์ โดยลวดลายไทยพื้นฐาน มีดังต่อไปนี้

        1. ลายกระจัง เป็นลวดลายพื้นฐานที่สำคัญของลายไทย ต้นแบบลายนี้มาจากธรรมชาติ โครงสร้างของลายอยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า มีลักษณะตาของต้นอ้อย ด้านข้างจะแยกปลายแหลมเหมือนถูกบาก ลายนี้จะใช้ประดับตามขอบลาย ลายกระจังมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้ 

            1.1 กระจังฟันปลา  มีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยมยอดเรียวแหลมเป็นที่มาของกระจังตาอ้อย หรือกระจังใบเทศ ถือเป็นกระจังตัวเริ่มต้น กระจังฟันปลาเป็นลายติดต่อได้ทั้งซ้ายและขวา 

            1.2 กระจังตาอ้อย ทรงตัวอยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า เส้นอ่อนเรียวทั้งซ้าย และขวาปลายยอดแหลมมีบากทั้งสองข้าง เมื่ออยู่เฉพาะตัวเดี่ยว ๆ เรียกว่าตาอ้อย เมื่อเข้าประกอบเป็นลายติดต่อซ้ายและขวาเขียนเป็นลายบัวหงายบัวคว่ำ  

            1.3 กระจังใบเทศ  มีทรงภายนอกอ่อนเรียวเหมือนกระจังตาอ้อย อยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเช่นเดียวกัน แต่ภายในตัวมีสอดไส้สามตัว  กระจังใบเทศมีวิธีแบ่งตัวได้หรือสอดไส้ได้หลายวิธี เมื่อตัวยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งแบ่งตัวได้มากขึ้นและใส่ตัวซ้อนได้มากขึ้น การแบ่งจังหวะรอบตัวหรือการบากของกระจังใบเทศนี้เรียกว่า“แข้งสิงห์” เมื่อตัวกระจังใบเทศใบยิ่งโตขึ้นเท่าใด แข้งสิงห์ก็จำต้องแบ่งตัวมากตามขึ้นไปด้วย การแบ่งแข้งสิงห์ให้เป็นลำดับติดต่อกันไม่ได้ ก็เท่ากับเขียนกระจังใบเทศไม่เป็น 

            1.4 กระจังหู หรือกระจังปฏิญาณ มีทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างสองส่วน สูงสามส่วน ตอนบนมีทรงเหมือนกระจังใบเทศ แล้วต่อก้านลงมาอีกครึ่งส่วนซ้ายและขวา แต่ภายในตอนล่างมีกาบทั้งซ้ายและขวา เช่นเดียวกับกระจังใบเทศ วิธีแบ่งตัวมีเป็นลำดับคล้ายกระจังใบเทศ ตัวโตขึ้นก็มีการแบ่งตัวมากยิ่งขึ้น

            1.5 กระจังรวน มีส่วนเหมือนกระจังหูทุกส่วน ตลอดจนแบ่งตัวทุกอย่างเหมือนกันทั้งหมดแต่ยอดสะบัดปลายใบไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ กระจังรวนเป็นลายติดต่อซ้ายขวา

        2. ลายประจำยาม ลวดลายที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสทแยงมุม มีลักษณะคล้ายดอกไม้ โดยดัดแปลงมาจากดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า“ดอกสี่ทิศ” ลายประจำยามประกอบด้วยวงกลมกับกระจังใบเทศรอบวงกลมทั้งสี่ด้าน  ถ้าเป็นตัวย่อเล็กอาจใช้กระจังตาอ้อยแทน  ลายประจำยามอยู่ในจำพวกดอกลอยและใช้เป็นแม่ลาย ที่ออกลาย หรือใช้เป็นที่ห้ามลาย

        3. ลายกระหนก เป็นลายพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญของลายไทย มีพื้นฐานจากสามเหลี่ยมชายธง อาจมีตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ มักมีฐานมุมแหลมหันไปทางเดียวกัน โดยมีขนาดและสัดส่วนที่แตกต่างกันไป ลายกระหนกที่สำคัญ ได้แก่ กระหนกสามตัว กระหนกเปลว 

        4. ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลวดลายที่มีรูปทรงพุ่ม เป็นรูปทรงคล้ายดอกบัวตูม รายละเอียดไส้ลายสามารถเขียนได้หลายลักษณะ มีส่วนกว้างสองส่วน สูงสามส่วน รอบตัวของทรงพุ่มทรงข้าวบิณฑ์มีแบ่งแข้งสิงห์เหมือนกระจังใบเทศ  พุ่มทรงข้าวบิณฑ์เป็นลายดอกลอยใช้เป็นที่ออกลาย และยังใช้เข้าประกอบกับลายอื่น ๆ ได้อีก

        5. ลายกาบ เป็นลายที่กำเนิดลายช่อลาย โครงสร้างของลายนี้มาจากพืชพันธุ์ในส่วนที่เป็นกาบหุ้มตรงโคนหรือข้อ เช่น กาบของต้นไผ่ กาบต้นกล้วย

        6. ลายนกคาบและนาคขบ มีลักษณะเป็นหน้าของนก หน้านาคที่เอาปากคาบลายตัวอื่นเอาไว้หรือมีลายช่ออื่น ๆ ออกทางปาก ตำแหน่งของลายนกคาบจะอยู่ตรงข้อต่อที่จะเชื่อมก้านกันและกัน

        7. ลายรักร้อย ประกอบด้วย ลายประจำยามและกระจังใบเทศ หรือกระจังตาอ้อย ลายรักร้อยใช้ลายประจำยามเป็นที่ออกลาย ต่อด้วยกระจังใบเทศหรือกระจังตาอ้อยเรียงต่อกันไปทั้งซ้ายและขวาจนสุดลาย   ถ้าเป็นลายรักร้อยใหญ่ใช้วิธีแบ่งตัวเหมือนกระจังใบเทศ

    ลวดลายที่กล่าวมาเป็นเพียงลายไทยพื้นฐานส่วนหนึ่งที่สามารถต่อยอดสร้างสรรค์ผูกลายได้ โครงลายที่สำคัญยังประกอบด้วย ลายช่อ ลายหน้ากระดาน ลายก้านต่อ ลายเถา ฯลฯ ซึ่งเกิดจากมีความเชี่ยวชาญในการเขียนลายย่อยแล้วมาผูกรวมกันได้อย่างสวยงาม และนำไปประดับในส่วนต่าง ๆ ทั้งงานพัสตราภรณ์ งานสถาปัตยกรรม งานประติมากรรม งานจิตรกรรม และงานหัตถศิลป์อื่น ๆ 

    ในการวาดเส้นลายไทย การผูกลาย หรือการนำลายไทยในหลายส่วนมาเขียนรวมกันเป็นแนวทางที่ทำกันมาตลอด  ดังนั้นผู้เขียนเส้นในการผูกลายจะต้องรอบรู้ในการเขียนลายหรือช่อลายต่าง ๆ อย่างเชี่ยวชาญจึงจะเขียนลวดลายไทยได้จังหวะที่สวยงามตามกรอบของภาพที่กำหนด

     งานพัสตราภรณ์เป็นงานที่ต้องใช้ความเข้าใจ และทักษะในการเขียนลวดลายไทยในระดับหนึ่ง เนื่องด้วยเป็นงานที่แสดงออกถึงทักษะความชำนาญและความประณีตของช่าง ช่างบรรจงใช้สองมือในการปักโดยใช้มือข้างหนึ่งอยู่ด้านบนและอีกข้างหนึ่งอยู่ด้านล่างและใช้ทั้งสองมือคอยรับส่งเข็มให้สัมพันธ์กัน  การปักลวดลายไทยให้เกิดความสวยงามลงบนผืนผ้ามีด้วยกันหลากหลายเทคนิคขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของช่างที่สั่งสมมา โดยมีเทคนิคและวิธีการปักที่มีการเรียนรู้สืบทอดกันมาตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 

        1. การปักหนุน ใช้ในการปักลวดลายบนพื้นที่เล็ก ๆ ด้วยวิธีการปักหนุนด้วยเชือก เส้นไหม เส้นฝ้าย หรือสำลีให้ลวดลายนูนขึ้น เด่นชัด ช่วยให้ลวดลายดูมีมิติสวยงาม โดยช่างปักต้องเลือกชนิดของดิ้นให้ เหมาะสมกับลวดลายที่ทำการปัก โดยใช้วิธีการปักทึบเดินเป็นเส้นเกลียวเพื่อเชื่อมรอยต่อระหว่างสีพื้นผ้ากับสีขลิบริม และแบ่งช่องบรรจุตัวลายจะไม่เชื่อมต่อตลอดลาย จะแบ่งลายเป็นตัวให้ง่ายต่อการปักและสวยงาม โดยลายที่นิยมนำมาปักได้แก่ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายหน้าสิงห์ ลายประจำยาม ลายดอก ลายเถา ลายกนกเปลว ข่างเขียนลายจะต้องผูกลายให้เข้ากับแบบของเครื่องละคร เช่น เสื้อ สนับเพลา ห้อยหน้า ห้อยข้าง อินทรธนู กรองคอ รัดสะเอว สุวรรณกระถอบ ผ้าห่มนาง ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกัน ผู้เขียนลายต้องใช้ความสามารถในการผูกลายให้ดูสวยงาม และสะดวกในการปัก วิธีที่นิยมใช้ในการปักลายหนุน คือ การปักทึบ เดินเกลียว ซึ่งอาจจะใช้เลื่อม เพชร ลูกปัด ปักประดับเพิ่มเพื่อเสริมความงาม ตัวอย่างขั้นตอนในการปักหนุน มีดังนี้

    1.1 ขึงสะดึง ด้วยผ้า ที่ต้องการปัก ลอกลายลงบนผ้าหรือกระดาษลอกลายเนาลายกับผ้าที่ต้องการปัก

    1.2 ล้อมลายด้วยดิ้นข้อ ดัดดิ้นข้อตามลายที่ลอกไว้บนผ้า

    1.3 หนุนลายภายในลายที่ล้อมดิ้นข้อไว้ให้นูนสูงเป็นหลังเต่า ด้วยด้ายที่ทำมาจากฝ้าย    

             1.4 ปักดิ้นโปร่ง หรือดิ้นมัน ดิ้นด้าน ให้เหมาะสมกับลาย 

             1.5 แต่งลายให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ด้วยเลื่อม ลูกปัก เพชร พลอย เป็นต้น  

        2. การปักเดินเส้น เป็นการปักเดินเส้นบริเวณขอบ หรือปักลวดลายที่ต้องการมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ช่างปักจะปักเดินเส้นในบริเวณขอบหลังจากที่ปักลวดลายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ด้วยการใช้เส้นไหมสีต่าง ๆ หรือ ดิ้นเงิน ดิ้นทอง 

        3. การปักทึบ เป็นการนำเส้นไหมปักลงบนผืนผ้าให้เกิดเป็นลวดลายตามที่ได้ร่างแบบไว้ นิยมใช้ปักบนลวดลายที่ขนาดไม่ใหญ่มาก หากต้องการให้ลวดลายนูนขึ้นมามากกว่าปกติจะต้องปักหนุนด้านล่างก่อนแล้วจึงจะปักทึบลงไป เริ่มปักจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งตามรูปร่างของลวดลาย ถ้าในพื้นที่ที่กว้างจะปักขึ้นลงด้วยฝีเข็มทีละสั้น ๆ แล้วปักลงไปทีละเส้นต่อกันเพื่อเพิ่มความอ่อนช้อย เมื่อปักไหมแต่ละเส้นต่อ ๆ กัน เส้นไหมจะมีความละเอียดมากขึ้น ช่างปักจะไม่นิยมปักเส้นไหมในแนวขวางเพราะทำให้ลวดลายดูไม่พลิ้วไหวขาดความเป็นธรรมชาติ

        4. การปักซอย วิธีการคล้ายคลึงกับการปักทึบด้วยวิธีการปักไหมลงไปให้เต็มลวดลาย จะมีความแตกต่างกันตรงที่การปักซอยนั้นจะใช้กับลวดลายที่มีขนาดใหญ่และต้องการไล่สีสันของเส้นไหม โดยใช้ระยะการเดินเข็มสั้น ๆ จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ปักแบบสั้นยาวสลับกันไป นิยมปักไล่สีเส้นไหมจากโทนอ่อนไปโทนเข้มทำให้ภาพที่ปักออกมาดูมีมิติราวกับงานจิตรกรรม

        5. การปักดิ้นเงิน ดิ้นทอง เป็นเทคนิคการปักเชิงช่างระดับสูงที่ต้องใช้ความสามารถและใช้เวลานานในการปัก ลวดลายที่ปักด้วยดิ้นเงินดิ้นทองจะต้องใช้ความประณีตมากเพื่อให้ลวดลายมีความละเอียดกลมกลืนกันตลอดทั้งลวดลาย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากและต้องใช้ความอดทนในการปัก นิยมปักประดับร่วมกับวัสดุอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น เช่น เลื่อม ลูกปัด ไข่มุก ปีกแมลงทับ อัญมณีสีต่าง ๆ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบปฏิบัติ

2. การสอบสัมภาษณ์

3. รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ