หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปักลวดลายธรรมชาติในงานพัสตราภรณ์

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-WLEY-409B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปักลวดลายธรรมชาติในงานพัสตราภรณ์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพัสตราภรณ์ TSCO 7332.40 ช่างปักผ้าด้วยมือ,   ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะในการปักลายทักษิณาวัตร การปักเกลียวหนุนเชือกลายเกลียวก้านขดพรรณพฤกษา และการปักลายใบไม้ขนาดต่าง ๆ ด้วยวัสดุหลากประเภท อาทิ เลื่อม ดิ้นโปร่ง ดิ้นมันได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างพัสตราภรณ์แบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
015221

ปักลายทักษิณาวัตร

1.1 สามารถปักเดินเลื่อม ปักเดินเกลียวดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน บนเลื่อมลายทักษิณาวัตร (ลายขนตัวละครลิง) 

015221.01 201003
015221

ปักลายทักษิณาวัตร

1.2 สามารถปักเดินเกลียวดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน บนเลื่อมอย่างถูกวิธี ลักษณะเกลียวดิ้นและเลื่อมเรียงตัวพอดี ดิ้นไม่แตกหักหรือยับ เลื่อมไม่บิดเป็นคลื่น 

015221.02 201004
015221

ปักลายทักษิณาวัตร

1.3 กำหนดขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีดิ้น สีเลื่อม

015221.03 201005
015221

ปักลายทักษิณาวัตร

1.4 อธิบายกรรมวิธีในการปักลายเลื่อมในงานพัสตราภรณ์

015221.04 201006
015221

ปักลายทักษิณาวัตร

1.5 อธิบายทฤษฎีการใช้สีในงานพัสตราภรณ์

015221.05 201007
015222

ปักเกลียวหนุนเชือกลายเกลียวก้านขดพรรณพฤกษา

2.1  สามารถปักเดินดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ปักแบบตีเกลียวในตัวลักษณะเส้นลวด ลายเกลียวก้านขด ลายพรรณพฤกษา  ขนาดต่าง ๆ อย่างถูกวิธี 

015222.01 201008
015222

ปักเกลียวหนุนเชือกลายเกลียวก้านขดพรรณพฤกษา

2.2  สามารถปักเดินดิ้นลักษณะเกลียวเรียงตัวพอดี ดิ้นไม่แตกหักหรือยับ 

015222.02 201009
015222

ปักเกลียวหนุนเชือกลายเกลียวก้านขดพรรณพฤกษา

2.3 กำหนดเลือกขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีดิ้น

015222.03 201010
015223

ปักลายใบไม้

3.1 สามารถปักดิ้นโปร่ง ดิ้นมันเป็นลายใบไม้ขนาดต่าง ๆ อย่างถูกวิธี 

015223.01 201011
015223

ปักลายใบไม้

3.2 สามารถปักดิ้นเรียงตัวสอดทับกันนูนขึ้นจนกลายเป็นรูปทรงใบไม้แบบปลายตรง แบบปลายสะบัดขวา แบบปลายสะบัดซ้าย 

015223.02 201012
015223

ปักลายใบไม้

3.3  สามารถปักเดินดิ้นลักษณะเกลียวเรียงตัวพอดี ดิ้นไม่แตกหักหรือยับ 

015223.03 201013
015223

ปักลายใบไม้

3.4 กำหนดเลือกขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีดิ้น

015223.04 201014

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลวดลาย และลักษณะการใช้สีในงานพัสตราภรณ์

2. รู้จักวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์ประเภทต่าง ๆ 

3. ความเข้าใจลักษณะของลวดลายปักพื้นฐาน ด้วยการใช้วัสดุประเภทต่าง ๆ 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการปักลวดลายพื้นฐานในงานพัสตราภรณ์

2. ทักษะการปักเกลียวหนุนเชือกลายเกลียวก้านขดพรรณพฤกษา ปักลายใบไม้ขนาดต่าง ๆ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของตัวโขน ตัวละคร แต่ละตัว

2. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบลวดลายปักเฉพาะของตัวโขน ตัวละคร แต่ละตัว 

3. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของลวดลาย เข้าใจวิธีวางจังหวะ ช่องไฟของลาย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผ้าที่ปักเดินเลื่อมและดิ้นแบบต่าง ๆ เป็นลวดลายธรรมชาติในงานพัสตราภรณ์    

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะของตัวโขน ตัวละคร แต่ละตัว

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดรูปแบบลวดลายปัก เข้าใจวิธีวางจังหวะ ช่องไฟของลาย

3. ระบุหรืออธิบายทฤษฎีการใช้สีในงานพัสตราภรณ์

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปักลวดลายพื้นฐานในงานพัสตราภรณ์ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจลักษณะตัวโขนละคร และลวดลายเฉพาะ สามารถเตรียมแบบลวดลายและปฏิบัติการปักได้อย่างเหมาะสม

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติการปักลวดลายพื้นฐานในงานพัสตราภรณ์

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการปักลวดลายพื้นฐาน ดังนี้

    1. จัดเตรียมแบบลวดลายปักพื้นฐานให้เหมาะสมกับพื้นที่

    2. ปักเดินเลื่อม ปักเดินเกลียวดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน บนเลื่อมลายทักษิณาวัตร ลายใบไม้ ลายเกลียวก้านขด ลายพรรณพฤกษา

    3. ปักเดินเกลียวดิ้นโปร่งบนเลื่อมโดยลักษณะเกลียวดิ้นและเลื่อมเรียงตัวพอดี ดิ้นไม่แตกหักหรือยับ เลื่อมไม่บิดเป็นคลื่น

    4. ทักษะการกำหนดเลือกขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีดิ้น

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ช่างพัสตราภรณ์ เป็นผู้ที่มีความชำนาญในการปักลวดลาย ทั้งที่เป็นการปักด้วยไหม และวัสดุโลหะ งานพัสตราภรณ์มีความสัมพันธ์กับการแสดงโขน ละคร  ช่างพัสตราภรณ์จำเป็นต้องมีความเข้าใจในรูปแบบและกรรมวิธีการสร้างสรรค์  สะท้อนความเชื่อและจารีตประเพณี อนุรักษ์กระบวนการ รูปแบบ ลวดลายที่สืบทอดมาจากแบบแผนดั้งเดิม

    งานปักพัสตราภรณ์ตามจารีตในปัจจุบัน มักปรากฏอยู่ในเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของการแสดงโขน แสดงละครรำ ดังนั้นความรู้เบื้องต้นของการจัดเตรียมลวดลายปักนั้นต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของเครื่องแต่งตัวชุดโขนเสียก่อน เนื่องด้วยงานปักผ้าชุดเครื่องแต่งตัวชุดโขนของไทยมีความสัมพันธ์กับการแสดงที่มีรูปแบบซึ่งเป็นแบบแผนเฉพาะ และกำหนดเป็นจารีตในการแสดงที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นประเพณี  การวางลายสำหรับปัก มีชื่อเรียกตัวลายและกรรมวิธีในการปักเครื่องโขน ละครโดยเฉพาะ ดังนี้ 

    ลายหนุน หรือ ลายดิ้น เป็นชื่อที่ใช้เรียกกรรมวิธีในการปักที่ทำให้ลายนูนขึ้น การเขียนลายไทยสำหรับการปักเครื่องโขนประเภทนี้ คือการเขียนลายแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ไม่เชื่อมต่อกันตลอดตัวลายเพื่อให้ง่ายต่อการปัก ซึ่งเป็นการปักแบบ“หนุน” ให้ตัวลายนูนขึ้นเล็กน้อยไม่แบนราบ วัสดุที่นำมาใช้ในการปักลายหนุน ได้แก่ ดิ้นข้อ (ตัดล้อมตัวลาย) ด้ายฟอก (หนุนตัวลายให้นูน) ดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน หรือดิ้นด้าน แล้วแต่ความเหมาะสมกับลวดลายที่ใช้ โดยมีการปักทึบเดินเป็นเส้นเกลียว เพื่อเชื่อมรอยต่อระหว่างสีพื้นผ้ากับสีขลิบริม และแบ่งช่องบรรจุตัวลาย ส่วนตัวลายที่นิยมนำมาปักได้แก่ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายหน้าสิงห์ ลายกนกเปลว ลายประจำยาม ลายดอก ลายเถา ทั้งนี้อาจปักเสริมเพื่อความงามด้วยเลื่อม ลูกปัด เพชร พลอย ตลอดจนไหมสี  ต่าง ๆ 

    ลายเลื่อม  หรือ ลายป่าเป็นชื่อที่ใช้เรียกการปักเดินเส้น ปักลูกโซ่ หรือปักทึบ โดยใช้ลวดลายประเภทลายเครือเถาที่มีดอกไม้ใบไม้อยู่ในลวดลาย วัสดุที่นำมาใช้ในการปักลายเลื่อม ได้แก่ ดิ้น เลื่อม ไหมสี ปีกแมลงทับ ลูกปัด เพชร พลอย บางครั้งอาจมีการสอดเสริมลายด้วยผ้าตัดแบบเป็นลายดอกไม้ ใบไม้ ใบบัว ดอกบัว ผีเสื้อ การปักลายเลื่อมมีความสำคัญตั้งแต่การวางลวดลาย การเลือกใช้วัสดุในการปัก และมีฝีมือในการปักให้งามเหมือนงานเขียน 

    ในการปักเครื่องโขน ละครของช่างโบราณอาจใช้ทั้งลายหนุน และลายเลื่อมผสมผสานกันไปเพื่อไม่ให้ลวดลายมีลักษณะบางเบาเกินไปหรือมีลักษณะแข็งกระด้างเกินงาม  สำหรับการปักเครื่องแต่งกายยืนเครื่องในปัจจุบันโดยเฉพาะตัวเองของโขนคือ พระราม พระลักษณ์ ทศกัณฑ์ นางสีดา นิยมปักลายหนุนมากกว่า  สำหรับ สิบแปดมงกุฎ ลิงพญา เสนายักษ์ นิยมปักเป็นลายเลื่อม

    องค์ประกอบส่วนใหญ่ที่เป็นผ้าปักของฝ่ายตัวพระ ยักษ์ และลิง ได้แก่

        1. สนับเพลา

        2. รัดสะเอว

        3. ห้อยข้าง

        4. ห้อยหน้า

        5. ห้อยหลัง

        6. ตัวเสื้อ

        7. อินทรธนู

        8. กนกแขน

        9. รัดอก

        10.กรองคอ

    องค์ประกอบของส่วนที่เป็นผ้าปักฝ่ายนาง (นาง นางยักษ์) ได้แก่

        1. ผ้าห่มนางสองชาย

        2. ผ้าห่มนางผืนใหญ่

        3. ผ้าห่มนางยักษ์

        4. นวมนาง

    องค์ประกอบของส่วนที่เป็นผ้านุ่งของการแต่งกายยืนเครื่อง ผ้าที่ใช้เป็น “ภูษา” ในการแต่งกายยืนเครื่องทั้งฝ่ายพระและฝ่ายนาง  ปัจจุบันนิยมผ้ายกเนื้อหนาจากอินเดียขนาดมาตรฐาน มีลายเชิงสองข้าง  สีของผ้านุ่งมักใช้ตามสีขลิบริมของเสื้อตัวพระ หรือขลิบริมของตัวผ้าห่มนาง

    องค์ประกอบเบ็ดเตล็ดของการแต่งกายยืนเครื่องส่วนใหญ่มักเป็นชิ้นส่วนพิเศษที่เป็นผ้าปักเพิ่มเติมเพื่อเน้นลักษณะหรือเน้นชาติพันธุ์ของตัวโขน ตัวละคร เช่น ปีกและหางครุฑ ปีกและหางกินรี ปีกและหางนกยูง หางมัจฉา หางวานร เป็นต้น

    ก่อนเริ่มปัก ต้องกำหนดแบบปักต้นฉบับ ซึ่งมีความสำคัญมากถือเป็นต้นแบบแสดงภาพผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ และเป็นแม่แบบกำหนดกระบวนการทำงาน รายละเอียดสำคัญต่าง ๆ เช่น ลายปัก ตามส่วนต่าง ๆ ของลวดลาย การวางสีในงานปัก ชนิดและลักษณะผ้า ควรปรับแก้แบบจนเป็นที่พอใจขั้นสุดท้ายเสียก่อน จึงนำไปใช้งานจริง ลวดลายที่เหมือนกัน สามารถนำไปแตกลักษณะปลีกย่อย เช่น โทนสี ลายปักที่จะนำมาใช้ ให้ผิดแผกกันออกไปตามความพอใจ จึงทำให้ลวดลายเดียวกันสามารถมีแบบปักต้นฉบับได้หลายฉบับ

          หากช่างที่มีความชำนาญในการปักขั้นสูงแล้ว อาจใช้เพียงแบบปักเปล่า หรือ "แบบเปล่า" เป็นตัวลวดลายล้วน ๆ ไม่มีรายละเอียดแต่อย่างใดใช้เป็นแบบลอกลงบนผ้า แบบปักทั้งสองประเภทนี้ เมื่อใช้งานเสร็จควรเก็บใส่แฟ้มพร้อมทั้งจัดหมวดหมู่ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการสูญหาย สะดวกต่อการหยิบใช้และเป็นประโยชน์ต่อการทำงานครั้งต่อไป

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบปฏิบัติ

2. การสอบสัมภาษณ์

3. รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ