หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปักเดินเส้นตรงบนลวดลายในงานพัสตราภรณ์

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-SEPB-408B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปักเดินเส้นตรงบนลวดลายในงานพัสตราภรณ์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพัสตราภรณ์ TSCO 7332.40 ช่างปักผ้าด้วยมือ,   ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะในการใช้ดิ้นแบบต่าง ๆ เพื่อการปักในงานพัสตราภรณ์ ตั้งแต่การตัดดิ้นประเภทต่าง ๆ รวมถึงมีทักษะการใช้เทคนิคในการปัก ทั้งการปักเลื่อม หักดิ้นข้อ กรึงไหม ปักหักแล่ง การปักเดินเกลียว รวมไปถึงการปักหนุนเพื่อหนุนให้ลายนูนขึ้นตามลักษณะลาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างพัสตราภรณ์แบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
015211

ตัดดิ้นเตรียมปักในงานพัสตราภรณ์

1.1 สามารถใช้อุปกรณ์ตัดดิ้นข้อ ดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ไหมกิมเจ็งให้ถูกต้องเหมาะสมกับขนาดลาย 

015211.01 200991
015211

ตัดดิ้นเตรียมปักในงานพัสตราภรณ์

1.2 กำหนดพร้อมเลือกขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีของดิ้น ไหมกิมเจ็ง แล่ง

015211.02 200992
015211

ตัดดิ้นเตรียมปักในงานพัสตราภรณ์

1.3 อธิบายลักษณะวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในงานพัสตราภรณ์แต่ละประเภท

015211.03 200993
015212

ปักเลื่อม และดิ้นแบบต่างๆเดินเป็นเส้นตรง

2.1 สามารถปักเลื่อม ตามลักษณะลายได้อย่างถูกวิธี

015212.01 200994
015212

ปักเลื่อม และดิ้นแบบต่างๆเดินเป็นเส้นตรง

2.2 กำหนดขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีเลื่อม ดิ้น ไหม แล่ง

015212.02 200995
015212

ปักเลื่อม และดิ้นแบบต่างๆเดินเป็นเส้นตรง

2.3 อธิบายรูปลักษณะวัสดุมีค่า ที่นำมาใช้ปักงานพัสตราภรณ์

015212.03 200996
015213

ปักเดินเกลียวดิ้นเป็นเส้นตรง และเส้นวงกลม

3.1 สามารถปักเดินดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ปักแบบตีเกลียวในตัวลักษณะเกลียวเส้นตรง วงกลมอย่างถูกวิธี 

015213.01 200997
015213

ปักเดินเกลียวดิ้นเป็นเส้นตรง และเส้นวงกลม

3.2 สามารถปักลักษณะเกลียวเรียงตัวพอดี ดิ้นไม่แตกหักหรือยับ 

015213.02 200998
015213

ปักเดินเกลียวดิ้นเป็นเส้นตรง และเส้นวงกลม

3.3 กำหนดขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีดิ้น

015213.03 200999
015214

ปักหนุนถมดิ้นตามลายเส้น

4.1 สามารถปักหนุนด้วยเชือก เส้นไหม เส้นฝ้าย หรือสำลี เพื่อหนุนให้ลายนูนขึ้นตามลักษณะลาย

015214.01 201000
015214

ปักหนุนถมดิ้นตามลายเส้น

4.2 สามารถถมดิ้น ตามลายที่หนุนด้วยเชือก เส้นไหม เส้นฝ้าย สำลี

015214.02 201001
015214

ปักหนุนถมดิ้นตามลายเส้น

4.3 อธิบายกรรมวิธีในการปักลายหนุนถมดิ้น

015214.03 201002

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลวดลาย และลักษณะการใช้สีในงานพัสตราภรณ์

2. รู้จักวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์ประเภทต่าง ๆ 

3. ความเข้าใจลักษณะของลวดลายปักพื้นฐานด้วยวัสดุประเภทต่าง ๆ 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการตัดดิ้นข้อ ดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ไหมกิมเจ็งให้ถูกต้องเหมาะสมกับขนาดของลวดลาย 

2. ทักษะการปักเลื่อม ปักหักดิ้นข้อ ปักล็อกไหมกิมเจ็ง ปักกรึงไหม (หักทองขวาง) ปักหักแล่ง (พับแล่ง)  ตามลักษณะลายได้อย่างถูกวิธี

3. ทักษะการปักเดินดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ปักแบบตีเกลียวในตัวลักษณะเกลียวเส้นตรง วงกลมอย่างถูกวิธี

4. ทักษะการปักหนุนด้วยเชือก เส้นไหม เส้นฝ้าย หรือสำลี เพื่อหนุนให้ลายนูนขึ้นตามลักษณะของลวดลาย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับใช้ในการปักในแต่ละลวดลาย

2. ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของวัสดุแต่ละประเภท

3. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบลวดลายปัก เข้าใจวิธีวางจังหวะ ช่องไฟของลาย 

4. ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการใช้สีในงานพัสตราภรณ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผ้าที่ปักเดินเลื่อมและดิ้นแบบต่าง ๆ เป็นเส้นตรงบนลวดลายในงานพัสตราภรณ์

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะ ชนิด และประเภทของดิ้นแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสำหรับใช้ในการปักในแต่ละลวดลาย

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดรูปแบบลวดลายปัก เข้าใจวิธีวางจังหวะ ช่องไฟของลาย

3. ระบุหรืออธิบายทฤษฎีการใช้สีในงานพัสตราภรณ์

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุอย่างเหมาะสมกับลวดลาย เข้าใจในลวดลาย และลักษณะการใช้สีในงานพัสตราภรณ์

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติการปักเดินเส้นในลักษณะต่าง ๆ ด้วยวัสดุหลากหลายประเภท รู้จักวิธีวางจังหวะช่องไฟของลาย

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการปักเดินเส้นต่าง ๆ ในงานพัสตราภรณ์ ดังนี้

    1. สามารถปักแบบหักดิ้นข้อ ถมดิ้นโปร่งมเดินเกลียว เดินเลื่อมเป็นเส้นในลักษณะต่าง ๆ 

    2. กำหนดขนาดเข็ม สีด้ายให้เหมาะสมกับสีของดิ้น ไหมกิมเจ็ง แล่ง

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ผู้ที่มีทักษะในการปักผ้าในงานช่างพัสตราภรณ์ จะต้องมีความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ลวดลาย จังหวะช่องไฟของลาย การเลือกใช้วัสดุ กรรมวิธีในการปัก ตลอดจนขั้นตอนการเก็บรักษา เพราะวัสดุที่ใช้ในงานปักผ้าของช่างพัสตราภรณ์นั้นต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้เกิดการเสียหายขึ้น โดยมากวัสดุที่ใช้ได้แก่ ดิ้นข้อ ดิ้นโปร่ง ไหมเงิน ไหมทอง เป็นต้น ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ช่างแต่ละกลุ่มอาจจะมีเทคนิควิธีการที่สร้างเอกลักษณ์เฉพาะขึ้น ความงดงามของงานปักนั้นจึงไม่ใช่เพียงแต่สามารถปักไปตามลวดลายที่กำหนดเท่านั้น หากแต่ยังมีระดับเชิงของความประณีตที่เพิ่มเติมมูลค่าให้แก่ผลงานได้อีกด้วย ขั้นตอนกว้าง ๆ ในงานพัสตราภรณ์ มีดังนี้

        1. การลอกลายบนผ้าปักให้ถูกตำแหน่งของเครื่องแต่งกายแต่ละตัวละคร การใช้สีผ้า การขึงสะดึง การตัดขนาดของดิ้นโปร่งให้มีขนาดเหมาะสมกับลวดลายที่ใช้ในงานปัก การจัดเก็บดิ้น การใช้เข็มร้อยดิ้น การใช้ดิ้นข้อและดิ้นโปร่ง การใช้เชือกดิบเพื่อหนุนลาย

        2. ขั้นปัก ผู้ปักจะต้องนั่งในตำแหน่งที่เหมาะสมมีพื้นที่สำหรับทำงาน การนำไม้สะดึงขึงด้วยผ้าต่วนประกบผ้าดิบเพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าขาดขณะปัก และใช้ด้ายเนา การแทงเข็มเพื่อนำดิ้นลงบรรจงปัก

    วัสดุที่ใช้ปักงานพัสตราภรณ์ย่อมมีการประดับตกแต่งด้วยวัสดุมีค่า  วิจิตรอลังการ  เช่นปักด้วยไหม และไหมทอง  พร้อมกับประดับด้วยไข่มุกและพลอย  การปักผ้าที่ใช้วัสดุที่ทำมาจากโลหะมีค่ารูปทรงต่าง ๆ เป็นวัสดุหลักในการปัก  โลหะมีค่านี้มีหลากหลายรูปแบบและมีชื่อเรียกดังนี้

        3. ดิ้น  คือโลหะที่ดึงเป็นเส้น  แล้วนำมาขดเป็นรูปวงกลม มีรูปร่างเหมือนลวดสปริง  มีหลายชนิด  เช่น  ดิ้นมัน  ดิ้นด้าน  ดิ้นโปร่ง

        ดิ้นที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีส่วนผสมของทองคำแท้และเงินแท้จึงมีราคาสูง  ทั้งนี้ดิ้นทองดิ้นเงินที่นิยมใช้ในปัจจุบัน นำเข้ามาจาก 3 ประเทศซึ่งมีจุดเด่นจุดด้วยแตกต่างกันตามลักษณะการใช้งานและวัสดุที่นำมาทำ ได้แก่ ดิ้นอินเดีย ดิ้นฝรั่งเศส และดิ้นอิตาลี

-    ดิ้นอินเดีย  จะมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมากกว่าดิ้นพลาสติกทั่ว ๆ ไป ต้องใช้เทคนิคปักด้วยมืออย่างเดียว ราคาของดิ้นอินเดียมีตั้งแต่หลักร้อย ไปจนถึงหลักหมื่นบาท แตกต่างกันไปตามขนาดและเปอร์เซ็นต์ของทองที่ผสมอยู่ มีขายแบบเป็นไจ เป็นมัด ๆ หรือชั่งขายเป็นกิโล ข้อด้อยของดิ้นอินเดีย คือ มีส่วนผสมของทองจึงทำให้มีน้ำหนัก เป็นตัวนำไฟฟ้า และมีการหดตัวได้ตามสภาวะอากาศ มีการทำปฏิกิริยากับอากาศและคราบเหงื่ออาจทำให้ดำได้ อีกทั้งยังมีความคมมาก ๆ ถ้าผู้ปักไม่ชำนาญคมดิ้นจะบาดผ้าจนขาด และอาจจะบาดมือได้หากรูดแรง ๆ 

-    ดิ้นอิตาลี มีความคงทนมากกว่าดิ้นอินเดีย มีสีสม่ำเสมอเหลืองนวลสวยงาม และมีคุณภาพดีกว่าดิ้นอินเดีย

-    ดิ้นฝรั่งเศส มีลักษณะคล้ายกับดิ้นอินเดีย และดิ้นอิตาลี แต่จะแตกต่างกันในส่วนผสม และเปอร์เซ็นต์ของทองคำ ดิ้นอินเดียจะออกสีเหลืองเข้ม ดิ้นอิตาลีจะออกสีเหลืองนวล ส่วนดิ้นฝรั่งเศสจะออกสีเหลืองทอง การทอลายดิ้นละเอียดประณีต มีความคงทน แวววาว  และสวยงามมากที่สุดในบรรดาดิ้นทั้ง3ชนิด

        2. แล่ง  คือ โลหะที่รีดเป็นเส้นแบน ลักษณะคล้ายเส้นตอกสำหรับสานเครื่องจักรสาน

        3. เลื่อม เกิดจากการนำเส้นโละที่ตัดให้ได้ความยาวตามต้องการ  แล้วตีให้เป็นรูปวงกลมแบนหรือนูนเหมือนฝาชี หรือรูปร่างเป็นดาวหลาย ๆ แฉก  

        4. ไหมทอง คือโลหะที่รีดเป็นเส้นขนาดเล็ก แล้วนำมาปั่นควบกับเส้นไหมหรือด้าย

      งานพัสตราภรณ์นิยมตกแต่งเพิ่มเติมด้วยวัสดุชนิดอื่น เช่น รัตนชาติ แก้ว กระจก หรือไหมสีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความงดงามอลังการ  ทำให้เป็นของที่สูงค่า 

    การปักเดินเส้นในลักษณะต่าง ๆ ถือเป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่ช่างพัสตราภรณ์ต้องผ่านการฝึกฝนจนชำนาญจึงสามารถเข้าสู่กระบวนการฝึกลวดลายในขั้นที่สูงขึ้น โดยพื้นฐานการปักเดินเส้นนั้นเริ่มตั้งแต่

        1. การใช้อุปกรณ์ตัดดิ้นข้อ ดิ้นโปร่ง ดิ้นมัน ไหมกิมเจ็ง (ไหมทอง) ตามลายที่กำหนด เนื่องด้วยดิ้นต่าง ๆ นั้นมีราคาสูง การตัดดิ้นจึงถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในลำดับต้น

        2. การเลือกสีด้ายให้เหมาะสมกับสีของดิ้น ไหมกิมเจ็ง แล่ง ก็นับว่าเป็นส่วนสำคัญสำหรับช่างฝึกหัด

        3. การปักดิ้นข้อ ปักดิ้นโปร่ง ปักดิ้นมัน ปักแบบตีเกลียวในตัว ลักษณะเกลียวเส้นตรง วงกลม อย่างถูกวิธี และลักษณะเกลียวเรียงตัวพอดี เกลียวไม่แน่นไม่หลวมเกินไป ดิ้นไม่แตกหักหรือยับ

        4. ปักเดินเลื่อม เรียงตัวพอดี ไม่บิดเป็นคลื่น ล๊อกเลื่อมได้อย่างถูกวิธีตามลักษณะลาย

        5. ปักกรึงไหม หักทองขวาง ตามลักษณะลาย

        6. ปักเกลียวหนุนเชือกให้ลวดลายนูนขึ้นตามลักษณะลาย

    เมื่อปักเดินเส้นจนชำนาญเริ่มปักในลวดลายที่มีความยากและซับซ้อนมากขึ้น ดังนี้

        1. ปักหนุนให้ลวดลายนูนขึ้น ด้วยเชือก เส้นไหม เส้นฝ้าย หรือสำลี ให้ลวดลายนูนขึ้น เด่นชัด มีมิติ สวยงาม และเลือกชนิดของดิ้นให้เหมาะสมกับลวดลายที่ทำการปัก 

        2. ปักเดินเส้นบริเวณขอบ หรือปักลวดลายที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยการเดินเส้นบริเวณขอบหลังที่ปักลวดลาย ด้วยการใช้เส้นไหมสีต่าง ๆ หรือเลือกชนิดของดิ้นต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับลวดลาย

        3. ปักทึบ ด้วยเส้นไหม ปักในลวดลายที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก หรือบางลวดลายต้องปักหนุนด้านล่างก่อนแล้วจึงปักทับลงทีละเส้น เพื่อเพิ่มมิติความอ่อนช้อย

        4. ปักซอยไหมให้เต็มลวดลาย ใช้กับลวดลายที่มีขนาดใหญ่และไล่สีสันของไหมจากโทนอ่อนไปเข้ม เพื่อให้ภาพที่ปักออกดูมีมิติราวกับงานจิตรกรรม

        5. ปักดิ้นเงิน ดิ้นทอง หรือปักถมลวดลายด้วยดิ้น แล่ง ประเภทต่าง ๆ กลมกลืนกันตลอดทั้งลวดลาย ทั้งเส้น หรือปักร่วมกับวัสดุอื่น ๆ เช่น เลื่อม ลูกปัด ไข่มุก ปีกแมลงทับ อัญมณีสี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบปฏิบัติ

2. การสอบสัมภาษณ์

3. รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ