หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คัดลอกและวางแบบลายปักบนผ้า

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-TWRU-407B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คัดลอกและวางแบบลายปักบนผ้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพัสตราภรณ์ TSCO 7332.40 ช่างปักผ้าด้วยมือ,   ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะ การจัดเตรียมแบบลายปัก คัดลอกแบบลาย ทาบลายบนผ้า กรึงลายบนสะดึงได้อย่างถูกต้อง ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจลักษณะของลวดลายปัก สามารถจัดเตรียมแบบลวดลายปักให้เหมาะสมกับพื้นที่ คัดลอกลวดลายลงกระดาษให้เหมาะสมกับช่องไฟ ทาบลายและกรึงลวดลายที่คัดลอกตรึงลงบนผ้าได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างพัสตราภรณ์แบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
015131

จัดเตรียมแบบลายปัก

1.1 จัดเตรียมแบบลวดลายปักให้เหมาะสมกับพื้นที่

015131.01 200984
015131

จัดเตรียมแบบลายปัก

1.2 ระบุการใช้สีวัสดุที่ใช้ปักลงพื้นผ้าในส่วนต่าง ๆ 

015131.02 200985
015131

จัดเตรียมแบบลายปัก

1.3 เลือกลวดลายปักให้เหมาะสมกับช่องไฟแต่ละส่วน

015131.03 200986
015132

คัดลอกแบบลายปัก

2.1 เลือกชนิด ประเภท และความหนาของกระดาษทาบลายที่ไม่สร้างความเสียหายสำหรับงานปัก

015132.01 200987
015132

คัดลอกแบบลายปัก

2.2  คัดลอกลวดลายลงกระดาษให้เหมาะสมกับช่องไฟแต่ละส่วน

015132.02 200988
015133

ทาบลายบนผ้า กรึงลายบนสะดึง

3.1 วางกระดาษทาบลายบนผ้าบริเวณพื้นที่การปักบนสะดึง

015133.01 200989
015133

ทาบลายบนผ้า กรึงลายบนสะดึง

3.2 แบ่งสัดส่วนของลวดลายประกอบอื่น ๆ ที่คัดลอกกรึงลงบนผ้าได้อย่างเหมาะสม

015133.02 200990

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลวดลาย และลักษณะการใช้สีในงานพัสตราภรณ์

2. รู้จักวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์ประเภทต่าง ๆ 

3. รู้จักประเภทของสะดึงที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์

4. ความเข้าใจลักษณะของลวดลายปักพื้นฐาน ด้วยวัสดุประเภทต่าง ๆ 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการจัดเตรียม และคัดลอกแบบลายปักพื้นฐาน

2. ทักษะการทาบลายบนผ้า กรึงลายบนสะดึง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของกระดาษที่นำมาคัดลอกลวดลายปัก

2. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบลวดลายปัก เข้าใจวิธีวางจังหวะและช่องไฟของลวดลาย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

กระดาษลวดลายถูกตรึงลงบนพื้นที่ผ้าที่ต้องการปัก

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปแบบลวดลายปัก เข้าใจวิธีวางจังหวะและช่องไฟของลวดลาย

2. ระบุหรืออธิบายลักษณะ ชนิด และประเภทของกระดาษที่นำมาคัดลอกลวดลายปัก

3. ระบุหรืออธิบายลักษณะ ชนิด และประเภทของผ้าที่จะนำมาปัก

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมแบบลายปัก ต้องมีความรู้ ความเข้าใจลักษณะของลวดลายปักพื้นฐานสามารถจัดเตรียมแบบลวดลายปักให้เหมาะสมกับพื้นที่

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติการคัดลอกลวดลายลงกระดาษให้เหมาะสมกับช่องไฟ ทาบลาย และกรึงลวดลายที่คัดลอกตรึงลงบนผ้าได้อย่างถูกต้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการวางแบบลายปักพื้นฐาน ดังนี้

1. จัดเตรียมแบบลวดลายปักพื้นฐานให้เหมาะสมกับพื้นที่

2. เลือกประเภทของกระดาษทาบลายที่เหมาะสมกับการปักทับ

3. คัดลอกลวดลายลงกระดาษให้เหมาะสมกับช่องไฟแต่ละส่วน

4. กรึงลวดลายที่คัดลอกตรึงลงบนผ้าได้อย่างถูกต้อง

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

งานปักพัสตราภรณ์ตามจารีตในปัจจุบัน มักปรากฏอยู่ในเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของการแสดงโขน แสดงละครรำ ดังนั้นความรู้เบื้องต้นของการจัดเตรียมลวดลายปักนั้นต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของเครื่องแต่งตัวชุดโขนเสียก่อน เนื่องด้วยงานปักผ้าชุดเครื่องแต่งตัวชุดโขนของไทยมีความสัมพันธ์กับการแสดงที่มีรูปแบบซึ่งเป็นแบบแผนเฉพาะ และกำหนดเป็นจารีตในการแสดงที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นประเพณี เครื่องแต่งกายหลักซึ่งใช้ในงานแสดงโขน ละครรำของไทยเรียกว่า “ยืนเครื่อง” ซึ่งเป็นการบ่งบอกสถานะของผู้แสดงว่าเป็นใคร ยืนเครื่องพระ ยืนเครื่องนาง ซึ่งจะมีเครื่องทรงสืบสานตามยุคสมัย การแต่งกายยืนเครื่องเป็นการแต่งกายเลียนแบบเครื่องต้นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์

    องค์ประกอบของเครื่องแต่งกายฝ่ายพระ ฝ่ายนาง ยืนเครื่องฝ่ายยักษ์ และฝ่ายลิง จะมีรูปแบบมาตรฐานเพื่อบ่งบอกฐานะของตัวละคร นอกจากนี้ในการใช้สีสำหรับเครื่องแต่งกายโขน และละครรำ มีดังนี้

        1. แต่งตามจารีต โดยกำหนดตามแม่สีเป็นหลัก คือ พระเอก นางเอก หรือตัวเอก จะใช้สีแดง เขียว เหลือง ส่วนพระรองนางรองจะใช้สีระดับที่สอง คือ ชมพู ฟ้า เหลือง ตัวพ่อ และตัวแม่จะใช้สีหนัก คือ       น้ำเงินเขียว ม่วง

        2. แต่งตามบท ขึ้นอยู่กับบทและตอนที่จัดแสดงในแต่ละครั้ง ที่อาจมีการกล่าวถึงลักษณะ หรือสีเครื่องแต่งกายของตัวละคร ที่กำหนดอยู่เฉพาะบทหรือตอนนั้น ๆ 

        3. แต่งตามสีกาย ที่กำหนดไว้ในโขน หรือ ละครแต่ละเรื่อง เช่น พระรามสีเขียว พระลักษณ์สีเหลือง หรือพระสังข์สีทอง เป็นต้น

        4. แต่งตามชื่อ โดยเฉพาะชื่อของตัวละครในละครแต่ละเรื่อง เช่น สุวรรณหงส์ ศรีสุวรรณ ปิ่นทอง จะใช้สีเหลือง เป็นต้น

    นอกจากเรื่องสีแล้ว ในส่วนเครื่องนุ่งห่มของการแต่งยืนเครื่องทั้งฝ่ายพระ ฝ่ายนาง ฝ่ายยักษ์ และฝ่ายลิง ยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นผ้าที่ไม่มีการปัก ซึ่งได้แก่ผ้านุ่ง และส่วนที่เป็น “ผ้าปัก” ซึ่งมีอยู่หลายชิ้น แต่ละชิ้นมีข้อกำหนดในการวางลายสำหรับปัก

    งานปักแต่ละชิ้นจะต้องวางแผนอย่างรอบคอบในการใช้วัสดุเพื่อใช้ในงานปัก ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้ดิ้นให้เป็นสีเดียวกันทั้งหมดจึงจะงดงามตามจารีต เนื่องจากดิ้นที่ใช้บางม้วนอาจจะมีสีอ่อนแก่กว่ากัน แม้จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยก็จะบดบังความงามของงานปักชุดโขน ละครรำได้ และเนื่องด้วยดิ้นแต่ละชนิดนั้นมีราคาสูง ช่างปักจึงต้องคำนวนการตัดดิ้น ใช้ดิ้น ปักเลื่อมให้เพียงพอ และระมัดระวังมิให้งานปักถูกแก้แบบ หรือมีข้อตำหนิ

    หากมีการปักไม่ถูกต้องในลวดลายหรือสี ช่างปักจะต้องทำงานชิ้นใหม่ ซึ่งจะทำให้สูญเสียทั้งเวลา และมูลค่าของวัสดุ ดังนั้นงานพัสตราภรณ์จึงต้องวางแผนคำนึงถึงรายละเอียดเพราะมีความสำคัญต่อเนื่องในทุกส่วนตั้งแต่     

        1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับปักงาน

        2. จัดเตรียมสถานที่ ในการปักให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงาน

        3. จัดเตรียมสะดึงปัก ให้เหมาะสมกับขนาดและลักษณะงานที่นำมาปักขึงผ้าและรวบเก็บชายผ้าให้เรียบร้อย    

        4. การจัดเตรียมแบบที่จะนำมาปัก โดยต้องจัดเตรียมแบบลวดลายปักให้เหมาะสมกับพื้นที่ ขนาด และการนำไปใช้ เลือกลวดลายปักให้เหมาะสมกับช่องไฟในแต่ละส่วน  และควรระบุการใช้สีวัสดุที่ใช้ปักลงพื้นผ้าในส่วนต่าง ๆ เพื่อเป็นการวางแผนการทำงานขั้นต่อไปได้อย่างชัดเจน

        5. การคัดลอกแบบ สิ่งสำคัญที่สุดในการคัดลอกแบบคือกระดาษทาบลาย ประเภทของกระดาษทาบลาย ช่างพัสตราภรณ์แต่ละท้องถิ่นอาจใช้กระดาษทาบลายที่แตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือกระดาษทาบลายนั้นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการปักทับ จากนั้นจึงคัดลอกลวดลายที่จัดเตรียมไว้ลงกระดาษให้เหมาะสมกับช่องไฟแต่ละส่วน กระดาษลอกลาย ใช้ในการลอกลายของแบบที่จะปักลงบนผ้าให้เรียบร้อยก่อนนำไปขึงกับสะดึง กระดาษลอกลายที่นิยมใช้ในงานปักคือ

    (ก)    กระดาษคาร์บอน หรือกระดาษกดรอยชนิดไข ใช้สำหรับลอกลายลงบนผ้า มีหลายสี ควรเลือกใช้สีของกระดาษให้ใกล้เคียงกับสีผ้า

    (ข)    กระดาษแก้วลอกลาย ใช้สำหรับลอกลายที่ต้องการลงบนกระดาษแก้ว แล้วนำกระดาษแก้วไปวางลงบนผ้า เนากระดาษติดกับผ้าแล้วจึงปักลงบนลวดลายที่อยู่บนกระดาษ และเมื่อปักลวดลายเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงเลาะกระดาษแก้วออกให้หมด

        6. ทาบลายบนผ้าบริเวณที่กำหนด โดยแบ่งสัดส่วนของลวดลายประกอบต่าง ๆ ให้ได้จังหวะลาย จากนั้นจึงเย็บเนากรึงลวดลายที่คัดลอกตรึงลงบนผ้า เพื่อเตรียมการปักในขั้นถัดไป

    งานพัสตราภรณ์นั้นเป็นศิลปะที่ต้องใช้ความละเอียด อ่อนในการปัก มีกรรมวิธีหลายขั้นตอน ช่างปักต้องมีความละเอียดอดทนเป็นอย่างมาก รูปแบบการปักจะต้องเน้นในการอนุรักษ์รูปแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณไว้อย่างไม่ผิดเพี้ยน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบปฏิบัติ

2.การสอบสัมภาษณ์

3. รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ