หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมสะดึงปักสำหรับงานพัสตราภรณ์

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-UYKI-406B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมสะดึงปักสำหรับงานพัสตราภรณ์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพัสตราภรณ์  TSCO 7332.40 ช่างปักผ้าด้วยมือ,   ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะการจัดเตรียมสะดึงปักสำหรับงานพัสตราภรณ์ ขึงสะดึงกลม ขึงสะดึงสี่เหลี่ยมแบบโบราณให้เหมาะสมกับขนาด และลักษณะของชิ้นงาน  รวมถึงดูแลรักษา และการจัดเก็บสะดึง จัดเตรียมสถานที่ในการปัก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างพัสตราภรณ์แบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
015121

จัดเตรียมสะดึง เพื่อรับรองวัสดุปัก


1.1 สามารถจัดเตรียมสะดึง เพื่อรับรองวัสดุได้ถูกต้อง  เหมาะสมกับขนาดและลักษณะชิ้นงานที่กำหนด 

015121.01 200972
015121

จัดเตรียมสะดึง เพื่อรับรองวัสดุปัก


1.2 ระบุลักษณะวิธีการขึงสะดึงกลม ใช้สำหรับปักงานชิ้นเล็ก 

015121.02 200973
015121

จัดเตรียมสะดึง เพื่อรับรองวัสดุปัก


1.3 ระบุลักษณะวิธีการขึงสะดึงสี่เหลี่ยม ใช้สำหรับงานชิ้นใหญ่

015121.03 200974
015121

จัดเตรียมสะดึง เพื่อรับรองวัสดุปัก


1.4 ดูแลรักษา และการจัดเก็บสะดึง

015121.04 200975
015121

จัดเตรียมสะดึง เพื่อรับรองวัสดุปัก


1.5 จัดเตรียมสถานที่ในการปัก ให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงาน

015121.05 200976
015122

ขึงสะดึงกลม

2.1 สามารถจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการขึงสะดึงกลม

015122.01 200977
015122

ขึงสะดึงกลม

2.2 สามารถนำผ้าขึงตึงลงบนสะดึงกลมให้แน่นและเย็บตรึงผ้าทั้งผืน เพื่อเตรียมการปัก 

015122.02 200978
015122

ขึงสะดึงกลม

2.3 กำหนดขนาดของสะดึง และขึงสะดึงได้พอดีกับพื้นที่ในการปัก

015122.03 200979
015122

ขึงสะดึงกลม

2.4 ขึงผ้าและรวบเก็บชายผ้าให้เรียบร้อย

015122.04 200980
015123

ขึงสะดึงสี่เหลี่ยมแบบโบราณ

3.1 ระบุการคำนวน และสร้างสะดึงให้เหมาะสมกับพื้นที่ในการปัก

015123.01 200981
015123

ขึงสะดึงสี่เหลี่ยมแบบโบราณ

3.2 ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการขึงสะดึงสี่เหลี่ยมแบบโบราณ

015123.02 200982
015123

ขึงสะดึงสี่เหลี่ยมแบบโบราณ

3.3 อธิบายวิธีการขึงผ้ารองปักเข้ากับกรอบสะดึงสี่เหลี่ยมแบบโบราณ ด้วยการร้อยเชือก

015123.03 200983

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลวดลาย และการรับรู้เรื่องสี และคุณลักษณะของสีในงานพัสตราภรณ์

2. รู้จักวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์ประเภทต่าง ๆ 

3. รู้จักประเภทของสะดึงที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะจัดเตรียมสะดึงที่ใช้ในการปักงานพัสตราภรณ์

2. ทักษะการขึงสะดึงกลม ขึงสะดึงสี่เหลี่ยมแบบโบราณ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการขึงสะดึง

2. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ และประเภทของสะดึงที่ใช้ในการปักงานพัสตราภรณ์

3. ความรู้เกี่ยวกับชนิดและประเภทของผ้ารองปักที่ใช้ในการขึงสะดึง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผ้าที่จะปักถูกขึงบนสะดึง พร้อมผ้ารองปัก 

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะ ชนิด และประเภทของสะดึงที่ใช้ในการปักงานพัสตราภรณ์        2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนของไม้ในการทำสะดึงสี่เหลี่ยมแบบโบราณ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการขึงสะดึงที่ใช้ในการปักงานพัสตราภรณ์

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติการขึงสะดึงสำหรับปักงานพัสตราภรณ์ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับขนาดและลักษณะของชิ้นงาน

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมสะดึงปักงานพัสตราภรณ์ ดังนี้

    1. ประเภทของสะดึงที่ใช้ในงานปักพัสตราภรณ์

    2. เลือกสะดึงได้อย่างเหมาะสมในการปักงานพัสตราภรณ์

    3. จัดเตรียมสถานที่ในการขึงสะดึงให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงาน

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    การปักงานพัสตราภรณ์ อาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “งานปักสะดึงกรึงไหม” ชื่อดังกล่าวที่เรียกขานกันนี้แสดงถึงความสำคัญของวัสดุอุปกรณ์อยู่สองประเภทในงานพัสตราภรณ์ คือ ไหมและสะดึง งานปักสะดึงกรึงไหมมีความสำคัญกับเครื่องแต่งกายของคนไทยมาตั้งแต่อดีต เป็นหมือนเครื่องบ่งบอกถึงชนระดับและสถานะทางสังคม สังเกตได้จากเครื่องแต่งกายของชนระดับกษัตริย์ หรือขุนนางขั้นผู้ใหญ่จะสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ประดับประดาด้วยการปัก เย็บด้วยเส้นไหม แล่งเงิน แล่งทอง หรือปีกแมลงทับ ตกแต่งด้วยเทคนิคการตัดเย็บระดับสูงให้ผืนผ้าเกิดความงดงามตระการตากว่า และมีความแตกต่างจากเครื่องแต่งกายของสามัญชนทั่วไปทั้งในเรื่องของลวดลายและวัสดุนำมาปักเย็บล้วนมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

    งานปักสะดึงกรึงไหม เป็นงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะกลุ่มชนระดับสูงจึงเป็นสาเหตุให้องค์ความรู้และช่างงานปักสะดึงกรึงไหมถูกถ่ายทอดอยู่เพียงในราชสำนัก มีเพียงการสาธิตหรือปฏิบัติให้ชมเพื่อการเรียนรู้และจดจำเทคนิควิธีการสืบต่อกันเรื่อยมา ด้วยกระบวนการที่ยากและซับซ้อนที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนฝีมือเป็นระยะเวลานาน ทำให้ในปัจจุบันเหลือช่างที่ยังคงทำงานปักสะดึงกรึงไหมตามแบบโบราณราชประเพณีคงเหลือไม่มากนัก 

    นอกจากจะสร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะกลุ่มชนระดับสูงแล้วงานปักสะดึงก็ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องทรง เครื่องใช้ และเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ระดับสูงอีกด้วย งานปักสะดึงที่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นการเติมเต็มองค์ประกอบของสิ่งของเครื่องใช้ให้มีความสมบูรณ์แบบตามหลักจารีตประเพณีโบราณที่ได้รับการสืบทอดส่งต่อกันมา หากกล่าวถึงงานปักสะดึงกรึงไหมแล้ว อุปกรณ์ส่วนตัวที่สำคัญของช่างปักสะดึงกรึงไหม นั่นคือ “สะดึง”

    สะดึง ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญลำดับต้นที่ใช้ในการปักเครื่องพัสตราภรณ์ การขึ้นสะดึงอย่างถูกต้องและเหมาะสมนับเป็นองค์ประกอบข้อหนึ่งที่จะช่วยสร้างงานพัสตราภรณ์ได้อย่างสมบูรณ์งดงาม เริ่มจากความใส่ใจและหมั่นฝึกขึงสะดึงกับผ้าหรือวัสดุที่หลากหลาย เพราะจะช่วยทําให้เกิดความเข้าใจในธรรมชาติของผ้าแต่ละชนิด    

    สะดึง  คือ กรอบไม้ใช้สำหรับขึงผ้าสำหรับปัก มี 2 ลักษณะ คือ

        1. สะดึงกลม เป็นสะดึงที่ทำจากไม้ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5-13 นิ้ว เหมาะสำหรับใช้ในงานปักงานที่มีขนาดเล็ก เพราะเป็นสะดึงที่มีน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก และสามารถจับด้วยมือข้างเดียวได้ สะดึงแบบกลมจะมีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ห่วงด้านนอกที่มีตัวปรับความตึงของผ้า ห่วงด้านในจะเป็นวงกลมเรียบมีขนาดเล็กกว่าห่วงด้านนอก เมื่อนำผ้าขึงเข้ากับสะดึงกลมเรียบร้อยแล้วต้องเย็บตรึงผ้ากับกรอบสะดึงเว้นระยะห่างประมาณ 1 เซนติเมตรโดยรอบ

        2. สะดึงสี่เหลี่ยม เหมาะสำหรับปักงานชิ้นใหญ่ จำเป็นต้องมีผ้าขึงสะดึง เพื่อบังคับผ้าที่ปัก ให้แน่นและเรียบตึงอยู่ได้นาน ช่วยให้งานปักประณีตเรียบร้อย ปักได้สะดวกและรวดเร็ว

    สะดึงกรอบสี่เหลี่ยม มีไม้ยื่นออกมาที่มุมทั้งสี่ด้านเพื่อเอาไว้ขึงเชือกเวลาที่จะดึงผ้าสำหรับปักให้ตึง  ช่างพัสตราภรณ์มักลงมือทำ "แม่สะดึง" ใช้เอง เริ่มตั้งแต่การหาไม้ ซึ่งการทำสะดึงนั้นนิยมใช้ไม้สักเพราะเนื้อไม้ไม่ยุ่ยไม่แตกและแมลงไม่รบกวน เหลาไม้ เลื่อยไม้ ตอกไม้ และตกแต่งไม้ ขัดเงาไม้ ด้วยวิธีแบบโบราณ คือ การใช้ใบตองแห้งขัดให้ขึ้นเงา การเข้าไม้ควรใช้วิธีอัดโดยวิธีทำเดือยเข้าลิ่ม เพราะจะทำให้แข็งแรงทนทาน    แม่สะดึงไม่มีขนาดแน่นอนตายตัว สามารถกำหนดขนาดใหญ่เล็กตามลักษณะของชิ้นงาน เช่น การปักหน้าหมอน ปักสไบ ขนาดของสะดึงจะแตกต่างกันไป นอกจากไม้สะดึงแล้วยังมีไม้สำหรับยึดผ้ารองปักเข้ากับสะดึงด้วย ไม้ที่จะใช้สำหรับยึดผ้านี้ทำจากไม้ไผ่ที่นำมาหลาวให้เป็นท่อนรี ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้วและมีความยาวเท่ากับสะดึงที่ใช้ นำมาลบเสี้ยนออกให้หมดโดยใช้กระดาษทรายขัดอีกครั้งหนึ่งด้วย เมื่อประกอบสะดึงเสร็จสิ้นสิ่งสำคัญถัดมาคือการ "ขาตั้งแม่สะดึง" การทำขาตั้งสะดึงก็คล้าย ๆ กับการทำไม้สะดึงแต่มีงานที่ยากกว่านั่นคือการประกอบตั้งให้ขาตรงรับน้ำหนักได้ เมื่อได้แม่สะดึงและขาตั้งแม่สะดึงครบถ้วนแล้วขั้นตอนต่อมาคือการขึงสะดึงหรือการขึงผ้าให้ตึง โดยนำผ้าไปขึงตึงบนสะดึงให้แน่น ต้องทำให้ผ้าตึงที่สุดแล้วเย็บตรึงผ้าให้เข้ากับสะดึงไปเรื่อย ๆ จนกว่าผ้าจะตึงทั้งผืน ในขั้นตอนนี้ถือเป็นเทคนิคสำคัญที่สุดที่จะทำให้งานปักออกมาสวยงามสมบูรณ์แบบก่อนเตรียมการปักขั้นถัดไป

    การขึงสะดึงสี่เหลี่ยมนั้นยากกว่าการขึงสะดึงแบบกลม การขึงสะดึงสี่เหลี่ยมเริ่มด้วยการนำผ้าขาวมาเย็บขอบเป็นช่องให้สอดไม้กลม(ส่วนมากเป็นไม้ไผ่)ได้ทั้ง 4 ด้าน จากนั้นจึงนำมาขึงเข้ากับกรอบสะดึงด้วยการร้อยเชือก รัดให้ตึง ถ้าสะดึงไม่ตึงจะทำให้ปักยากขึ้นรวมถึงจะทำให้ผ้าที่ปักนั้นยับย่น จากนั้นจึงกรึงเนาผ้าที่จะใช้ปักตรึงบนสะดึงเพื่อเตรียมวางแบบลายปักในขั้นตอนต่อไป 

    ผ้ารองปัก ชนิดของผ้ารองปักที่ถูกขึงกับสะดึงเพื่อรองรับผ้าที่ใช้ปักนั้น ต้องเป็นผ้ารองปักที่มีคุณสมบัติเป็นผ้าชนิดบาง ต้องไม่ยืด ส่วนมากช่างมักเลือกผ้ารองปักเป็นผ้าโทเร และผ้าฝ้าย หรือช่างบางรายอาจเลือกเป็นผ้าชนิดอื่นแต่ต้องคำนึงคุณสมบัติดังกล่าว

    เชือกรัดสะดึง ชนิดของเชือกรัดสะดึงต้องมีคุณสมบัติสำคัญคือ มีความเหนียว แข็งแรง ไม่ลื่น ส่วนมากช่างมักนิยมใช้เชือกฝ้าย หรืออาจใช้เศษผ้าดิบที่มีความหนาทดแทน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบปฏิบัติ

2. การสอบสัมภาษณ์

3. รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ