หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมวัสดุปักสำหรับงานพัสตราภรณ์

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-ADCS-405B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมวัสดุปักสำหรับงานพัสตราภรณ์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพัสตราภรณ์ TSCO 7332.40 ช่างปักผ้าด้วยมือ,   ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะในการเลือกใช้ และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับปัก รวมถึงทราบถึงวิธีการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์สำหรับการปักในงานพัสตราภรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างพัสตราภรณ์แบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
015111

เลือกและจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์สำหรับการปัก

1.1 ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงาน พัสตราภรณ์ได้อย่างเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน

015111.01 200967
015111

เลือกและจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์สำหรับการปัก

1.2 อธิบายลักษณะวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในงานพัสตราภรณ์แต่ละประเภท

015111.02 200968
015111

เลือกและจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์สำหรับการปัก

1.3 อธิบายวิธีการเก็บรักษา และป้องกันวัสดุประเภทต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความเสียหาย

015111.03 200969
015112

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานปัก

2.1 สามารถเลือกใช้ และสำรวจความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์

015112.01 200970
015112

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานปัก

2.2 สามารถจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับใช้ในการปักในแต่ละลวดลาย

015112.02 200971

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจลวดลายในงานเครื่องพัสตราภรณ์ที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนัง

2. ความเข้าใจในลักษณะการใช้สีในงานพัสตราภรณ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการจัดเตรียมวัสดุที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์

2. ทักษะการใช้วัสดุในงานพัสตราภรณ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์ อาทิ ประเภทของดิ้น ประเภทของไหม

2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาและป้องกันวัสดุประเภทต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความเสียหาย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ปฏิบัติการจัดเตรียมดิ้น ไหม แล่ง เลื่อมที่ใช้ในการปักงานพัสตราภรณ์ 

2. ปฏิบัติการจัดเก็บ ดิ้น ไหม แล่ง เลื่อม ได้โดยไม่ให้เกิดความเสียหาย อาทิ ไม่ให้หมองคล้ำ ดิ้นไม่พันกัน 

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายประเภท และลักษณะของด้ายและดิ้นที่ใช้ในการปักงานพัสตราภรณ์

2. ระบุหรืออธิบายวิธีการรักษาป้องกันวัสดุดิ้นประเภทต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความเสียหาย 

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมวัสดุที่ใช้ในงานพัสตราภรณ์

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับใช้ในการปักในแต่ละลวดลาย

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุใช้ในงานพัสตราภรณ์ ดังนี้

    1. ประเภทของวัสดุที่ใช้ในงานปักพัสตราภรณ์

    2. เลือกใช้วัสดุในงานปักพัสตราภรณ์อย่างเหมาะสม

    3. วิธีการรักษาป้องกันวัสดุดิ้นประเภทต่าง ๆ         

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    การปักพัสตราภรณ์ มีความประณีตโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ พิถีพิถันในการปักเย็บลวดลายตามแบบประเพณีด้วยเทคนิคที่มีมาแต่โบราณโดยเลือกใช้วัสดุที่มีค่าหลากหลายประเภท และด้วยกรรมวิธีที่หลากหลายช่างพัสตราภรณ์จึงต้องมีความรู้และความชำนาญในเชิงช่างระดับสูงจึงจะสามารถปักเย็บลวดลายแบบโบราณได้อย่างสมบูรณ์และงดงาม พื้นฐานเบื้องต้นของช่างพัสตราภรณ์ที่สำคัญที่สุดคือ รู้จัก เข้าใจในวัสดุที่ใช้ปักในงานพัสตราภรณ์ ซึ่งมีดังนี้

        1. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปักงานพัสตราภรณ์เบื้องต้น ประกอบด้วย

            1.1 ขาสะดึง

            1.2 แม่สะดึง

            1.3 ผ้าขึงสะดึง

            1.4 ไม้ไผ่

            1.5 ด้ายเกลียว

            1.6 กระดาษลอกลาย ใช้ในการลอกลายของแบบที่จะปักลงบนผ้าให้เรียบร้อยก่อนนำไปขึงกับสะดึง กระดาษลอกลายที่นิยมใช้ในงานปักคือ

    (ก)    กระดาษคาร์บอน หรือกระดาษกดรอยชนิดไข ใช้สำหรับลอกลายลงบนผ้า มีหลายสี ควรเลือกใช้สีของกระดาษให้ใกล้เคียงกับสีผ้า

    (ข)    กระดาษแก้วลอกลาย ใช้สำหรับลอกลายที่ต้องการลงบนกระดาษแก้ว แล้วนำกระดาษแก้วไปวางลงบนผ้า เนากระดาษติดกับผ้าแล้วจึงปักลงบนลวดลายที่อยู่บนกระดาษ และเมื่อปักลวดลายเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงเลาะกระดาษแก้วออกให้หมด

            1.7 ผ้าสำหรับปัก ผ้าที่นำมาใช้ในงานปักจะเป็นพื้นหลังของลวดลายฝีเข็ม ดังนั้นจึงไม่ควรใช้สีที่บดบังความสวยงามของลายปัก การเลือกผ้าที่จะนำมาปักต้องเลือกให้เหมาะสม โดยควรคำนึงถึงหลักการในการเลือกผ้าดังนี้

    (ก)    ผ้านั้นเหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่

    (ข)    งานที่ทำสำเร็จแล้ว เวลานำไปใช้จะต้องใช้แบบสมบุกสมบันหรือไม่

    (ค)    วัสดุที่นำมาปัก เช่น ด้าย ดิ้น ไหม เหมาะสมกับชนิดของผ้าหรือไม่

             ชนิดของผ้าที่นิยมนำมาตัดเครื่องแต่งกายละครแบบยืนเครื่อง ได้แก่    

1. ผ้าต่วนใช้ทำตัวเสื้อ สนับเพลา ผ้าห่ม ห้อยหน้า ห้อยข้าง รัดสะเอว กรองคอ

2. ผ้าตาดนำมาตกแต่งชายผ้า จะใช้กับชายผ้าห่ม ห้อยข้าง ห้อยหน้า          

3. ผ้าไหม จะใช้เฉพาะตัวเอก เช่น พระเอก นางเอก  

4. ผ้าโทเร ใช้สำหรับตัดสนับเพลาและซับใน    

5. ผ้าดิบ ใช้สำหรับรองผ้าปัก   

            1.8 ด้ายเนาหรือด้ายเย็บผ้า

            1.9 ด้ายหรือไหมปัก ควรเป็นไหมอย่างดีที่สีไม่ตก ด้ายที่ใช้ปักนั้นมีหลายขนาด คือ ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก และขนาดพิเศษ การปักควรเลือกด้ายให้เหมาะกับลายปัก 

            1.10 เข็มปัก การเลือกใช้เข็มให้ถูกต้องและเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดของเส้นด้าย

            1.11 ปากคีบ ควรเป็นปากคีบที่ทำด้วยทองเหลือง หรือเป็นเหล็กที่ชุบด้วยนิกเกิล เพราะจะทำให้คงทนแข็งแรง เนื่องจากในการปักนั้นปากคีบถือเป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้งานบ่อยครั้งมาก ลักษณะของปากคีบมี 2 ลักษณะ คือ

    (ก)    ปากคีบปลายตรง เป็นปากคีบที่เหมาะสำหรับการปักดิ้น ใช้สำหรับจับดิ้นข้อหักมุม และบีบมุมให้แหลม จะมีกำลังจับได้ดีกว่าปากคีบปลายงอ

    (ข)    ปากคีบปลายงอ เป็นปากคีบที่สะดวกในการจับดึงกระดาษลอกลายให้หลุดจากผ้า หรือดึงเศษด้าย เศษไหมที่ไม่ต้องการออกจากผ้าที่ขึงอยู่บนสะดึง

            1.12 กรรไกรตัดผ้า

            1.13 กรรไกรตัดไหม (ปลายงอน) ใช้สำหรับงานปักด้าย ปักไหมที่ติดกับสะดึง ส่วนโค้งของปลายกรรไกรจะตัดเส้นไหมได้ชิดกับงานปัก ทำให้สะดวกในการตัดเล็มไหม

            1.14 กรรไกรตัดดิ้น (ปลายตรง)

            1.15 ปลอกนิ้ว 

        2. วิธีการรักษาป้องกันวัสดุดิ้นประเภทต่าง ๆ เนื่องด้วยวัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ในการปักงานพัสตราภรณ์นั้นเป็นโลหะที่ไวต่อสัมผัสจากสิ่งเร้ารอบตัว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวที่อาจก่อให้เกิดปัญหากับวัสดุปัก ได้แก่

            2.1 อากาศ อาจมีกำมะถันหรือซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ เมื่อสัมผัสกับวัสดุดิ้นทำให้เกิดสารใหม่ คือ ซิลเวอร์ซัลไฟด์ เป็นสารที่มีสีดำจึงทำให้วัสดุดิ้นดำหมองเร็วได้ ส่วนไหนที่ปักเสร็จแล้วควรใช้ผ้าปิดหรือพลาสติกปิดเพื่อรักษาวัสดุดิ้นไม่ให้หมอง

            2.2 ความเค็มจากเหงื่อ จะมีความเป็นเกลือสูง ซึ่งเหงื่อเค็มจะทำปฏิกิริยาซิลเวอร์ซัลไฟด์กับวัสดุดิ้น ถ้าผู้ปักมีเหงื่อเค็มเวลาเริ่มมีเหงื่อออกควรล้างมือบ่อย ๆ มิฉะนั้นจะทำให้ดิ้นเกิดความดำหมองอย่างรวดเร็ว  ในขณะที่เหงื่อเปรี้ยวจะมีความเป็นกรดอ่อน ๆ ทำให้วัสดุดิ้นยังคงสีสุกแวววาว  

            2.3 ผู้ปักควรหลีกเลี่ยงการฉีดน้ำหอม ทาโลชั่น เพราะสารเคมีในน้ำหอมหรือโลชั่นบางชนิดทำให้เกิดปฏิกิริยาทำให้วัสดุดิ้นดำหมองเร็วได้ 

            2.4 เมื่อดิ้นเกิดความดำหมองขณะปัก มีวิธีแก้ไขเบื้องต้น คือ การทำความสะอาดด้วยน้ำ เจือจางเข้ากับสบู่เหลวชนิดอ่อนสำหรับเด็กทารก ใช้แปรงขนอ่อนแปรงจนดิ้นเงาขึ้น จากนั้นจึงนำไปตากแดดผึงลมให้แห้ง

    วัสดุที่ใช้ปักงานพัสตราภรณ์ย่อมมีการประดับตกแต่งด้วยวัสดุมีค่า วิจิตรอลังการ เช่นปักด้วยไหมทอง  พร้อมกับประดับด้วยไข่มุกและพลอย ในงานพัสตราภรณ์ใช้วัสดุที่ทำจากโลหะมีค่ารูปทรงต่าง ๆ เป็นวัสดุหลักในการปัก  โลหะมีค่าเหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบและมีชื่อเรียก ดังนี้

        1. ดิ้น  คือโลหะที่ดึงเป็นเส้น  แล้วนำมาขดเป็นรูปวงกลม มีรูปร่างเหมือนลวดสปริง  มีหลายชนิด  เช่น  ดิ้นมัน  ดิ้นด้าน  ดิ้นโปร่ง

        2. แล่ง  คือโลหะที่รีดเป็นเส้นแบน ลักษณะคล้ายเส้นตอกสำหรับสานเครื่องจักรสาน

        3. เลื่อม  เกิดจากการนำเส้นโละที่ตัดให้ได้ความยาวตามต้องการ  แล้วตีให้เป็นรูปวงกลมแบน หรือนูนเหมือนฝาชี  หรือรูปร่างเป็นดาวหลาย ๆ แฉก  

        4. ไหมทอง  คือโลหะที่รีดเป็นเส้นขนาดเล็ก  แล้วนำมาปั่นควบกับเส้นไหมหรือด้าย

       งานพัสตราภรณ์นิยมตกแต่งเพิ่มเติมด้วยวัสดุมีค่าชนิดอื่นด้วย เช่น รัตนชาติ แก้ว กระจก หรือไหมสีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความงดงามอลังการ ทำให้เป็นของที่สูงค่า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบปฏิบัติ

2. การสอบสัมภาษณ์

3. รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ