หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผสมรักสมุกในการปั้นหน้าหัวโขน ประดับลวดลายหัวโขน

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-YPAM-404B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผสมรักสมุกในการปั้นหน้าหัวโขน ประดับลวดลายหัวโขน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

งานช่างหัวโขนแบบศิลปะไทย TSCO 2452.60 ช่างหัวโขน,   ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย ความรู้เรื่องราว ความเข้าใจการใช้ ยางรักผสมสมุกในการหั้นหน้าหัวโขน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างหัวโขนแบบศิลปะไทย 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
014321

ผสมรักสมุกในการปั้นหน้าหัวโขน ประดับลวดลายหัวโขน

1.1 ระบุการผสมรักสมุกในการปั้นหน้าหัวโขน ได้

014321.01 200958
014321

ผสมรักสมุกในการปั้นหน้าหัวโขน ประดับลวดลายหัวโขน

1.2 ปั้นหน้าหัวโขนด้วยรักสมุกได้

014321.02 200959
014321

ผสมรักสมุกในการปั้นหน้าหัวโขน ประดับลวดลายหัวโขน

1.3 ประดับลวดลายหัวโขนได้

014321.03 200960
014322

จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การปิดทอง ประดับ

2.1 ระบุวัสดุในการปิดทอง ลวดลายหัวโขนได้

014322.01 200961
014322

จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การปิดทอง ประดับ

2.2 ปิดทองหัวโขนได้     

014322.02 200962
014322

จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การปิดทอง ประดับ

2.3 เลือกใช้วัสดุที่ใช้ในการประดับพลอยได้

014322.03 200963
014323

การเขียนหน้าหัวโขน

3.1 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการเขียนหน้าหัวโขน

014323.01 200964
014323

การเขียนหน้าหัวโขน

3.2 ลงสีพื้นหน้าหัวโขนได้

014323.02 200965
014323

การเขียนหน้าหัวโขน

3.3 เขียนเส้นไพร เส้นฮ่อและลายผ้าโพก

014323.03 200966

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจการเลือกใช้สมุกยางรัก   

2. ความเข้าใจและทักษะสัดส่วนใบหน้าหัวโขนในการปั้นหน้าหัวโขน ตามแบบดั้งเดิม  

3. ความรู้และทักษะการประดับลวดลายส่วนต่าง ๆ ของหัวโขน

4. ความเข้าใจการเลือกชนิดของทองคำเปลวที่นำมาปิดลวดลายหัวโขน   

5. รู้จักวัสดุ อุปกรณ์เครื่องในการปิดทองคำเปลว  

6. ความเข้าใจและทักษะการประดับพลอย และ เลื่อมสีต่าง ๆ 

7. ความเข้าใจการเลือกชนิดของสีที่นำมาใช้เขียนหน้าหัวโขน   

8. ความรู้เรื่องเส้นฮ่อ เส้นไพร  ลายผ้าโพก  

9. ความเข้าใจและทักษะการเขียนเส้นลวดลายทอง 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเตรียมผสมรักสมุก 

2. ทักษะในการปั้นหน้าหัวโขน

3. ทักษะการประดับลวดลายส่วนต่าง ๆ ของหัวโขน

4. ทักษะจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การปิดทองคำเปลว 

5. ทักษะในการปิดทองคำเปลวบนลวดลายหัวโขน

6. ทักษะการประดับพลอยและเลื่อมสีต่าง ๆ 

7. ทักษะจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ชนิดของสีที่นำมาใช้เขียนหน้าหัวโขน  

8. ทักษะในการเขียนเส้นฮ่อ เส้นไพร ลายผ้าโพก  

9. ทักษะการเขียนเส้นทอง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องการผสมรักสมุกในการปั้นหน้าหัวโขน

2. ความรู้เรื่องลวดลายในการประดับหัวโขน 

3. ความรู้การและทักษะการประดับลวดลายส่วนต่าง ๆ ของหัวโขน

4. ความรู้เรื่องการใช้ยางรัก ใช้สีในการปิดทองคำเปลว

5. ความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือในการปิดทอง 

6. ความรู้การและทักษะการประดับพลอยบนลวดลายหัวโขน

7. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะสีของหัวโขน ประเภทต่าง ๆ 

8. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของการเขียนเส้นฮ่อ เส้นไพร เส้นทองบนหน้าหัวโขน 

9. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของการเขียนผ้าโพกหัวโขน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ภาพถ่ายผลงาน ในการนำมาใช้ในงานปั้นหน้าหัวโขน 

2. ผลงานที่นำเสนอ การประดับลวดลายของหัวโขน 

     (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุและอธิบายการผสมรักสมุกในการปั้นหน้าหัวโขน

2. ระบุและอธิบายสัดส่วนใบหน้าหัวโขนและการเสริมส่วนประกอบโครงหน้าหัวโขน 

3. ระบุและอธิบายขั้นตอนการประดับลวดลายส่วนต่าง ๆ ของหัวโขน

4. ระบุหรืออธิบายการขั้นตอนกี่ปิดทองคำเปลวได้

5. ระบุหรืออธิบายประดับพลอยบนลวดลายหัวโขนได้

6. ระบุหรืออธิบายการเลือกวัสดุอื่น ๆ ในการปิดทองได้เหมาะสม 

7. ระบุหรืออธิบายการขั้นตอนการลงสีพื้นหน้าหัวโขน

8. ระบุหรืออธิบายการเขียนเส้นฮ่อ เส้นไพร เส้นทองบนหน้าหัวโขน 

9.ระบุหรืออธิบายการเขียนผ้าโพกหัวโขน

     (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องการปั้นหน้าหัวโขน การประดับลวดลาย การปิดทอง 

2. ความสมบูรณ์ของลวดลายที่ประดับ 

3. ความสมบูรณ์ของหัวโขน ที่สำเร็จ

     (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยการการสอบสัมภาษณ์

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากผลงานที่นำเสนอ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

     (ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรดังต่อไปนี้

1. การรักสมุก

2. การปั้นหน้าหัวโขนและส่วนเสริมใบหน้าหัวโขน

3. การตีลวดลายในการประดับลายหัวโขนหรือตามภูมิปัญญาท้องถิ่น 

4. การปิดทองคำเปลวหัวโขนได้อย่างเหมาะสม

5. การประดับพลอย - เลื่อมสีต่าง ๆ 

6. การเขียนหน้าหัวโขนได้อย่างเหมาะสม 

     (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

รักสมุก เป็นวัสดุที่ประกอบขึ้นด้วยรักน้ำเกลี้ยง สมุก น้ำมันยาง และ ปูนแดงเล็กน้อยผสมร่วมเข้าด้วยกัน เป็นเนื้อวัสดุที่อาจปั้นให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ดังประสงค์ และ รักสมุกนี้ภายหลังแห้งสนิทแล้วจะแข็ง และคงรูปอยู่เช่นนั้นได้นาน ไม่แตกหักง่าย หากไม่ถูกกระทบกระทั่งอย่างแรง รักสมุก จึงเป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่ช่างปั้นสมัยก่อนนิยมทำขึ้น สำหรับใช้ปั้นงานลวดลาย งานตีลวดลายประดับหัวโขน 

     การปั้นรักสมุกและใช้ตีลวดลายหัวโขน

- ไม้คลึงสมุก เป็นเครื่องมือสำหรับคลึง นวด รักสมุกให้อ่อนตัว ทำให้แบบเป็นแผ่นตามต้องการ

- ไม้ตีลวดลาย ใช้สำหรับ บด ตี รักสมุกให้นิ่ม และทำเป็นรูปต่าง ๆ ตามที่ช่างใช้งาน

- ไม้เนียน ใช้สำหรับปั้นแต่งเติมเพิ่ม หรือลดรักสมุก หรือกวดผิวเนื้อรักสมุกให้เรียบเกลี้ยง

- มีดปลายแหลม ใช้ตัด เจียน ขีดเส้น ช่วยในการปั้น

    ขั้นตอนการปั้นรักสมุก ให้เป็นรูปทรงใบหน้าของหัวโขน ต้องวางส่วนประกอบต่าง ๆ ไว้แล้ว เช่น โครงตา โครงปาก โครงคิ้ว หรือทำการเสริมส่วนประกอบต่าง ๆ ปั้นหน้าหัวโขน

1. นำรักสมุก ที่ได้ผ่านการเตรียม และปั้นทำเป็นแท่ง ๆ ไว้แล้วมาทำให้เนื้อรักสมุกอ่อนตัว และเนื้อนุ่มพอเหมาะที่ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ เคล้ากับน้ำมันยางเล็กน้อยให้ทั่ว แล้วนำออกตากแดดจนรักสมุกแต่ละท่อนอ่อนตัวพอสมควร จึงนำมาทุบรวมกันให้เป็นเนื้อเดียว และเหนียวนุ่มพอดี มาคลึงด้วยไม้ คลึงสมุกบนหน้าแผ่นหิน รีดเนื้อรักออกเป็นแผ่นแบบเตรียมไว้สำหรับตัดแบ่งนำมาปั้นขึ้นรูป หรือใช้ตีพิมพ์กับ แม่พิมพ์ให้เป็นลวดลายต่าง ๆ 

2. การใช้รักสมุกปั้นให้รักสมุกมีความอ่อนตัวไม่แข็งมากเกินไป มาตกแต่งให้เป็นลวดลาย ตามลักษณะของหน้าหัวโขนที่ช่างจะสร้าง 

3. การปั้นประกอบกับส่วนที่เสริมออกมาจากโครงกระดาษ เพื่อให้ลวดลายลอยออกมาไม่มาก ระวังการหักในเวลาปั้น  

4. การปั้นรักสมุกในส่วนที่เป็นระดับ ให้ปั้นเป็นเส้นทับลงที่ระดับแล้วค่อย ๆ ตกแต่งให้เรียบเป็นระดับ ๆ ตามลักษณะของรูปแบบหัวโขนต้องการ 

5. รักสมุกปั้นทับโครงสร้างที่ทำด้วยกระดาษให้รูปเป็นโครงร่างโกลน ๆ ไว้ จากนั้นค่อย ๆ ปั้นทำส่วนที่เป็นรายละเอียดต่าง ๆ ตามรูปลักษณะของหัวโขน

6. ตกแต่งงานปั้นรักสมุกตามรายละเอียดต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ เพิ่มเติมตามตำแหน่งที่ออกแบบคัดลอกจากรูปแบบโบราณ ให้ถูกต้อง  

7. เมื่อทำการปั้นส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าหัวโขนเสร็จเรียบร้อย ให้ทิ้งไว้จนรักสมุกแห้งสนิท แล้วนำไปปิดกระดาษหัวโขนทั้งหัวใหม่ ให้กระดาษปิดรอยการปั้นทั้งหมด และทำให้โครงหุ่นหัวโขนแข็งแรงขึ้น 

    การปั้นมีทั้งแบบหัวโขนที่ไม่มียอด และมียอด ต้องกำหนดลักษณะของสัดส่วนต่าง ๆ ให้ได้ตามแบบที่ออกแบบไว้ ยอดด้วยไม้ ยอดแผ่นหนัง ยอดแผ่นโลหะ     

    การประดับลวดลายหัวโขน

1. การประดับลวดลายของหัวโขน มีแบบแผน แบบโบราณ โดยการตีลวดลาย จากแม่พิมพ์หินสบู่หรือ วัสดุอื่นที่ใช้ในการทำแม่พิมพ์ลวดลาย 

2. เครื่องมีอในการตีมี ไม้กดลาย (ไม้เนียนใช้สำหรับตีลวดลาย)  

3. เหล็กปลายแหลม

4. ไม้คลึงรัก ไม้กลึงวัสดุที่ใช้แทนรักสมุก

    วิธีการตีลายหรือกดลวดลายออกมาใช้งานก็ไม่เหมือนกัน ช่างหัวโขนบ้างที่ใช้รักสมุกใบตองแห้ง รักสมุกกะลา สมุกถ่าน วิธีการทำก็ไม่เหมือนกัน การตีลายออกมาก็มีวิธีการแตกต่าง ๆ กันไป แต่การประดับลวดลาย ก็มีแบบอย่างของโบารณให้ศึกษา ไม่ว่าการประดับลวดลายหัวโขน ลวดลายยอดแบบต่าง ๆ มีเอกสารให้ศึกษาอยู่ ที่สำคัญคือการประดับลวดลายได้ถูกต้องเหมาะสม กับลักษณะของหัวโขนนั้น ๆ ตามแบบสกุลช่างนั้น ๆ 

1. การวางลวดลายในแต่ละระดับ เป็นไปตามแบบหรือตัวอย่างที่ช่างหัวโขนจะสร้างหัวโขนนั้น ๆ ออกมา

2. ลวดลายที่ใช้ประดับต้องมีความเรียบร้อย เท่ากันไม่บิดเบี้ยว ผิดรูปทรง ลวดลายต่อเนื่องกัน

3. ถ้าเป็นการใช้รักสมุก ต้องทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 เดือนให้รักสมุกแห้งสนิท จึงสามารถนำมาทำขั้นตอนการปิดทองได้

4. ถ้าเป็นวัสดุอื่นที่นำมาใช้ในการตีลวดลาย เช่น สีโป๊วแห้งเร็วโจมาร์ ดินไทย ดินญี่ปุ่น อีพ็อกซี่ วัสดุที่ช่างใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาสกุลช่าง ก็สามารถนำมาใช้ได้ เป็นเทคนิคของช่างหัวโขน 

5. การติดลวดลายในปันจุบันใช้กาวลาเท็กซ์ ในการติดลวดลาย เป็นการประยุกต์วัสดุในการใช้งาน 

6. การประดับลายรักร้อยที่เกี่ยวใช้รักร้อยติด ปิดด้วยเส้นบน ล่าง และใส่ลวดลายร่องเลื่อม การประดับลวดลายกระจังตามระดับต่าง ๆ ที่มีขนาดกระจังที่มีขนาดต่าง ๆ กันไปตามระดับ ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก 

7. การวางลวดลายต่าง ๆ ในการประดับลวดลายของหัวโขน เป็นไปตามแบบอย่างดั้งเดิมหรือแบบสกุลช่างที่อาจจะไม่เหมือนกัน ของช่างหัวโขนในแต่ละที่ 

8. ลวดลายแม่พิมพ์ที่ใช้ในการตีลวดลายในการประดับเป็นไปตามสกุลช่าง อาจจะผิดขนาดหรือสัดส่วนต่างกันในประดับลวดลายต่าง ๆ 

9. การประดับลวดลายหัวโขน สามารถดูจากรูปแบบ หรือภาพถ่ายตัวอย่าง ที่นำมาเป็นต้นแบบได้ตามความเหมาะสม 

10. เมื่อประดับลวดลายหัวโขน เสร็จเรียบร้อย จะเป็นรักสมุกหรือภูมิปัญญาของช่าง หรือภูมิปัญญาสกุลช่าง ต้องทิ้งในลวดลายนั้นแห้งสนิท  

     งานปิดทองคำเปลว บนลวดลายที่ประดับหัวโขน เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ผู้ปิดทองต้องรู้ขั้นตอนการปิดทอง การเลือกใช้วัสดุที่จะนำมาเป็นตัวปิดทองคำเปลว  ไม่ว่าจะเป็นยางรัก หรือสีน้ำมัน ต้องมีขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะทำให้ขั้นตอนการปิดทองได้ผลงานการปิดทองที่ทองคำเปลวมันเป็นเงาเสมอกัน 

     การประดับพลอย - เลื่อมสีต่าง ๆ ลงในร่อง ที่เตรียมไว้ใสพลอยหรือเลื่อมสี นั้น ต้องมี่ทักษะการใช้เครื่องมือตอกเลื่อมสี ให้ได้ขนาดต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ เป็นความละเอียดของช่างหัวโขน 

     อุปกรณ์ในการปิดทอง 

1. กะบกรองผงทอง

2. พู่กัน แปรงขนาดต่าง ๆ ขนอ่อน

3. น้ำมันสน

4. น้ำมันทินเนอร์

5. เชลแลคสำหรับทาไม้ ที่ผสมแอลกอฮอล์ 

6. ทองคำเปลว 

7. ยางรัก หรือสีน้ำมัน ตามความชำนาญของช่างที่ทำงานปิดทอง

ขั้นตอนการปิดทองลวดลายหัวโขน ของแต่ละสกุลช่างหรือภูมิปัญญาช่าง อาจมีขั้นตอนต่าง ๆ กันไป วิธีผสมยางรักหรือสีปิดทองก็อาจต่าง ๆ กันออกไป ให้ดูที่ผลสำเร็จของการปิดทองว่าได้ผลของการปิดทองออกมาอย่างไร 

- ผิวทองคำเปลวที่ปิดออกมาเป็นผิวมัน เงา 

- ไม่มีรอยชำรุด หรือปิดทองไม่ติด

- ไม่มีรอยชำหรือที่เรียกว่าทองจม

- ทองคำเปลวเข้าตามร่อง มุม ทุกส่วนของลวดลายเต็ม

     วัสดุ อุปกรณ์และพลอยและเลื่อมสี มีหลายประเภทให้เลือกใช้

1. ตัวตอกรู หรือตุ๊ดตู่ ขนาดต่าง ๆ 

2. เลื่อมสีต่าง ๆ 

3. กาวลาเท็กซ์  

4. พลอยกระจก ขนาดต่าง ๆ 

5. พลอยสังเคราะห์ ขนาดต่าง ๆ 

     ในลวดลายขนาดต่าง ๆ ที่ประดับบนหัวโขนจะมีร่องไว้ใส่พลอย เช่น กระจัง จะมีร่องรับพลอยอยู่ ใช้กาวลาเท็กซ์ทาเล็กน้อยตรงร่องแล้วนำพลอยวางลงไปให้ติดกับกาวลาเท็กซ์

ในลวดลายที่เป็นร่องเลื่อมก็จะมีร่องให้ใส่เลื่อมสี  แต่ต้องทำการตัดเลื่อมให้พอดีกับร่อง โดยใช้ตัวตอกรู หรือตุ๊ดตู่ ตอกเลื่อมให้เป็นตามร่องของลวดลาย หรือการตัดเป็นชิ้นตามขนาดร่องของช่องเลื่อมนั้น ใช้กาวลาเท็กซ์เป็นตัวติดเลื่อมกับร่องลวดลาย

    ช่างหัวโขน ต้องมีความชำนาญในการกำหนดสีและเขียนสี ได้แบบดั้งเดิม โดยการใช้สีแบบโบราณ หรือสีสมัยใหม่ ในการทำงานให้ได้ผลงานหัวโขนที่ถูกวิธี การเขียนเส้นต่าง ๆ ลงหน้าหัวโขน ไม่ให้ผิดไปจากโบราณ หรือตามแบบภูมิปัญญา – สกุลช่างต่าง ๆ ที่ยังทำหัวโขนอยู่ในปัจจุบัน  สะท้อนความเชื่อและจารีตประเพณี อนุรักษ์กระบวนการ รูปแบบ ลวดลายการเขียนเส้นต่าง ๆ ที่สืบทอดกันมา  

     อุปกรณ์การเขียนหน้าหัวโขน 

1. พู่กัน เบอร์พิเศษขนาดต่าง ๆ 

2. สีแบบโบราณ ที่ทำขึ้นมาใช้เอง 

3. สีโปสเตอร์ธรรมดาหรือแบบสีโปสเตอร์กันน้ำ

4. สีโทนไทย (สีจากภูมิปัญญาช่างศิลป์ของไทย สกัดคัดแยกสีแบบสีโบราณ) 

5. ยางมะเดื่อสำหรับเขียนเส้นทองบนหัวโขน  

6. ทองคำเปลว

7. จานผสมสีสำหรับใช้ในการเขียน

เส้นที่เขียนบนหน้าโขนมีเส้นหลัก ๆ มีชื่อเรียกประเภทเส้นเพียงสองเส้น คือ

     1. เส้นไพร คือ เส้นสีเขียว เส้นนี้เป็นเส้นที่สำคัญบนหน้าโขน เมื่อทำการระบายสีหน้าเสร็จแล้ว       ให้เขียนเส้นไพรก่อนเพราะเป็นเส้นโครงหลัก ๆ ของโครงใบหน้าหัวโขน ที่จะเขียนเส้น ประกอบอื่น ๆ บนหน้าต่อไป เส้นไพรบนหน้าโขนหมายถึง เส้นที่ใช้เขียน เส้นคิ้ว พรายคิ้ว เส้นขอบตา หางตา พรายปาก 

เส้นไพรโดยปกติใช้เส้นสีเขียวเขียนเป็นหลัก ยกเว้นศีรษะโขนที่มีใบหน้าสีเขียว เส้นไพรจะใช้สีฟ้า



     2. เส้นฮ่อ เป็นเส้นที่สำคัญรองจากเส้นไพร เส้นฮ่อนี้แสดงถึงทิศทางริ้วรอยบนใบหน้าหัวโขน ความเหี่ยวย่นของผิวหนัง ระดับตา เส้นขนบาง ๆ บนใบหน้า และยังแสดงถึงสัญลักษณ์พิเศษบางอย่างของหัวโขน    นั้น ๆ ในตัวละครเรื่องรามเกียรติ์ประกอบไปด้วยเส้นทั้งหมดสี่สี ไล่สีจากด้านบนของตัวเส้น คือ สีทอง สีชมพู สีแดง และสีลิ้นจี่ 

     ที่เรียกว่าเส้นฮ่อ เพราะลักษณะของเส้นเมื่อลากวาดแล้วในปลายเส้นจะสะบัดเป็นพริ้วคล้ายผ้าที่สะบัดกลับด้านไปมา เหมือนกับลายของจีนฮ่อ

     งานเขียนหน้าโขน

     ผู้ที่เป็นช่างทำหัวโขนต้องศึกษาเรื่องของสีและลักษณะหัวโขนให้เข้าใจ จดจำได้อย่างแม่นยำ และถูกต้อง โดยศึกษาจากหัวโขนของโบราณ และตำราสี และลักษณะหัวโขนที่กรมศิลปากรได้เคยจัดพิมพ์ไว้ เมื่อเวลาเขียนจะได้ไม่มีการผิดพลาดได้ เพราะสีของหัวโขนเป็นสัญลักษณ์ที่จะบอกให้รู้ว่าหัวโขนนั้นชื่ออะไร

     1. การระบายสีพื้นหน้าโขน เช่น ทศกัณฐ์ก็ลงพื้นสีเขียว  หนุมานลงพื้นสีขาว ไมยราบลงพื้นสีม่วง เป็นต้น สีที่ใช้สามารถใช้ได้หลายประเภททั้งสีโปสเตอร์ สีฝุ่น และสีพลาสติก แต่ไม่ใช้สีน้ำมันลงเป็นอันขาด 

     2. การเขียนส่วนที่เป็นคิ้ว ตา ขอบปาก และเครา ตามศัพท์ช่างเรียกว่า “เส้นไพร” โดยจะเรียกว่าเส้นไพรคิ้ว เส้นไพลปาก เป็นต้น สีที่ใช้เขียนเส้นไพลนี้ช่างโบราณได้กำหนดให้ใช้สีเขียวทุกหัว ยกเว้นหัวที่มีหน้าสีเขียวให้เขียนเส้นไพลเป็นสีฟ้าหรือสีครามอ่อน เส้นไพลนี้จะมีความหนากว่าเส้นอื่น ๆ 

     3. การเขียนเส้นฮ่อ อันเป็นเส้นลายบนหน้าโขนโดยมีที่มาจากรอยย่นต่าง ๆ บนใบหน้าของคนตามธรรมชาติ การเขียนเส้นฮ่อนี้จะทำให้หัวโขนดูมีชีวิตชีวาสวยงามขึ้น และเป็นการแสดงออกของอารมณ์ของตัวโขนได้สมบูรณ์

     4. การเขียนลายผ้าปิดท้าทอยหัวโขน โบราณนิยมเขียนเป็นลายกนกเปลว ลายก้านขด หรือลายใบเทศ อาจจะใช้รักตีลายมาปั้นหรือตีลายมาประดับแล้วปิดทองก็ได้

     5. การติดเขี้ยว วัสดุที่ใช้ทำเขี้ยวได้ เช่น หอยมุก งาช้าง กำไลพลาสติก ซึ่งต้องขัดแต่งด้วยตะไบให้มีลักษณะเหมือนเขี้ยวแล้วนำไปติดที่ปากหัวโขน

     6. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของผลงานที่สร้างเสร็จ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือในการประเมิ นให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย

1. การประเมินผลความรู้โดยการการสอบสัมภาษณ์

2. ประเมินจากผลงานที่นำ นำเสนอ

3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง



ยินดีต้อนรับ