หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการปิดหุ่น - ผ่าหุ่นหัวโขน

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-YTSJ-403B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการปิดหุ่น - ผ่าหุ่นหัวโขน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

งานช่างหัวโขนแบบศิลปะไทย TSCO 2452.60 ช่างหัวโขน,   ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย ความรู้เรื่องราว ความเข้าใจลักษณะของการเลือกใช้กระดาษในการปิดหุ่นหัวโขน วิธีการขั้นตอนในการทำงาน การเตรียมกาว ชนิดต่าง ๆ  ขั้นตอนการผ่ากระดาษออกจากหุ่นหัวโขน ความรู้เรื่องราว ความเข้าใจลักษณะของการเลือกวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ผ่าหุ่นหัวโขน และทำการเย็บหุ่นกระดาษหัวโขน ตามววิธีการขั้นตอนในการทำงานอย่างเหมาะสม  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างหัวโขนแบบศิลปะไทย 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
014311

เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการปิดหุ่น - ผ่าหุ่นหัวโขน

1.1 ระบุวัสดุ อุปกรณ์การปิดกระดาษหุ่นหัวโขนได้อย่างเหมาะสม กับการปฏิบัติงาน

014311.01 200952
014311

เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการปิดหุ่น - ผ่าหุ่นหัวโขน

1.2 อธิบายการเลือกใช้ชนิดของการทำกาวแป้งเปียก ที่นำมาใช้ในการปิดกระดาษหุ่นหัวโขน

014311.02 200953
014311

เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการปิดหุ่น - ผ่าหุ่นหัวโขน

1.3 อธิบายขั้นตอนการผ่าหุ่นกระดาษออกจากหุ่นได้

014311.03 200954
014312

เย็บโครงกระดาษหุ่นหัวโขน

2.1 ระบุขั้นตอนการเย็บหุ่นกระดาษโครงหัวโขนได้ 

014312.01 200955
014312

เย็บโครงกระดาษหุ่นหัวโขน

2.2 เย็บหุ่นหัวโขนแบบใส่แสดงได้

014312.02 200956
014312

เย็บโครงกระดาษหุ่นหัวโขน

2.3 เย็บส่วนประกอบอื่น ๆ ได้ตามแบบหัวโขนที่จะสร้าง

014312.03 200957

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจชนิดของกระดาษที่นำมาใช้ในการปิดหุ่น

2. ความเข้าใจการผสมกาวที่นำมาใช้ในการปิดกระดาษ

3. ความเข้าใจผ่ากระดาษหุ่นหัวโขน

4. มีทักษะในการใช้เครื่องมือในการผ่าหุ่นหัวโขน

5. มีทักษะในการเย็บหุ่นกระดาษหัวโขน 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการปิดกระดาษหุ่นหัวโขน

2. ทักษะการทำกาวแป้งเปี่ยก แบบต่าง ๆ 

3. ทักษะการแบ่งส่วนในการผ่าหุ่นกระดาษหัวโขน

4. ทักษะการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการเย็บหุ่นกระดาษหุ่นหัวโขน

5. ทักษะการต่อพิมพ์หุ่นกระดาษ 

6. ทักษะการแบ่งส่วนในการเย็บหุ่นกระดาษหัวโขน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปิดกระดาษหัวโขน

2. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมกาวแป้งเปียก ที่นำมาใช้ในการปิดกระดาษ 

3. ความรู้เกี่ยวกับทักษะการผ่ากระดาษหุ่นหัวโขน

4. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเย็บหุ่นกระดาษหัวโขน

5. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ชนิดเครื่องมือที่ใช้งานเย็บหุ่นกระดาษ 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ภาพถ่ายหรือสื่อบันทึกผลงานเรื่องขั้นตอนการปิดกระดาษของช่างที่นำเสอนผลงาน 

2. ผลงานที่นำเสนอ 

3. ปฏิบัติการจัดเตรียมวัสดุในการเย็บหุ่นกระดาษหัวโขน 

4. ความรู้การเย็บส่วนประกอบอื่น ๆ ของหัวโขน

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายการปิดกระดาษหุ่นหัวโขน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมการวิธีการปิดตามภูมิปัญญา

2. ระบุหรืออธิบายการผ่าหุ่นกระดาษหัวโขนได้อย่างเหมาะสม 

3. ตัวอย่างผลงานที่นำเสนอ

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องเรื่องการปิดกระดาษหัวโขน วิธีการขั้นตอน

2. ความรู้เรื่องการเลือกชนิดของกาวที่นำมาใช้ในการปิดกระดาษ ด้วยวัสดุประเภทต่าง ๆ ตามภูมิปัญญา

3. ความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือในผ่ากระดาษหุ่นหัวโขน

4. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือในการเย็บหุ่นกระดาษหัวโขน

5. ความรู้สมบูรณ์ของหุ่นกระดาษที่เย็บเสร็จแล้ว

6. ความรู้การเย็บส่วนประกอบอื่น ๆ ของหัวโขน

     (ง) วิธีการประเมิน

1.    การประเมินผลความรู้โดยการการสอบสัมภาษณ์

2.    การสอบปฏิบัติการอธิบายภาพ จากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน

3.    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลงานที่นำเสนอ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการปิดกระดาษหุ่นหัวโขนและการผ่าหุ่นหัวโขนได้อย่างเหมาะสม

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุ

1. ความรู้ในเรื่องชนิดของกระดาษที่นำมาใช้งานในการปิดกระดาษหัวโขน

2. สามารถปิดกระดาษหัวโขนได้ตามขั้นตอนการปิดกระดาษหุ่นหัวโขน

3. มีทักษะการผ่าหุ่นกระดาษออกจากหุ่นหัวโขนได้

4. ความรู้ในเรื่องของเครื่องมือ อุปกรณ์การเย็บหุ่นกระดาษหุ่นหัวโขน

5. การเลือกใช้วัสดุ ในการปิดรอยต่อของกระดาษที่ทำการเย็บหุ่นหัวโขน

6. ความรู้เรื่องการเย็บส่วนประกอบอื่น ๆ ของหัวโขน

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

ผู้ที่มีทักษะในการสร้างหัวโขนต้องปิดกระดาษหุ่นหัวโขน เพื่อให้ได้โครงกระดาษหัวโขนที่นำไปสร้างหัวโขนต่อไป การปิดกระดาษหุ่นหัวโขน เป็นขั้นตอนที่ช่างหัวโขนต้องมีความละเอียด ในขั้นตอนนี้เป็นอย่างมาก เพราะหัวโขนจะมีความแข็งแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการปิดกระดาษหุ่นหัวโขน การปิดกระดาษมีขั้นตอนและวิธีการปิดกระดาษต่าง ๆ กันไปตามความชำนาญของตามภูมิปัญญาหรือสกุลช่าง อาจจะไม่เหมือนกันตั้งแต่การทำกาวแป้งเปียก การเลือกใช้กระดาษ แต่สรุปที่การได้หุ่นกระดาษหัวโขน ที่จะนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไปในการสร้างหัวโขน 

    ขั้นตอนก่อนการปิดกระดาษหุ่นหัวโขน 

การเตรียมหุ่น ที่จะนำมาปิดกระดาษ การทาดินสอพองที่ผสมน้ำ 3 – 4 รอบ ให้ดินสอพองแห้งจึงสามารถไปทำขั้นตอนการปิดกระดาษได้  

    การเตรียมกาวที่ใช้ปิดกระดาษหุ่นหัวโขน

กาวแป้งเปียก ใช้แป้งมัน ผสมน้ำกับจุนสี  ตั้งไฟอ่อน ๆ กวนส่วนผสมให้เข้ากัน กวนแป้งให้สุกเป็นเนื้อเดียวกัน (สารจุนสี) ใช้ประโยชน์เป็นสารปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลงรบกวนได้)

กาวที่ใช้ปิดกระดาษหุ่นหัวโขนนี้ สามารถใช้ กาว แป้งเปียก หรือวัสดุตามท้องถิ่นได้ ช่างบางบ้านก็มีสูตรการผสมกาวใช้เอง 

แป้งที่นำมาใช้ทำกาว 

- แป้งมัน

- แป้งข้าวเจ้า

- แป้งข้าวโพด

- แป้งอเนกประสงค์

การผสม นำแป้งที่จะใช้ผสมกับน้ำ ตั้งไฟอ่อน ๆ คนให้ส่วนผสมเข้ากัน รอให้แป้งสุก เหนียว ๆ  ทิ้งไว้ให้เย็นลง จะได้กาวแป้งเปียก

การใส่สารกันบูด สารส้ม จุนสี เป็นป้อกกันการเสียของกาวแป้งเปียกไม่ให้เสียเร็วขึ้น

1. ก่อนการปิดกระดาษหุ่นหัวโขน ต้องทำการทาด้วยดินสอพอง ให้ทั่วพื้นผิวหุ่นหัวหุ่นก่อน 2 – 3 ระดับ(ดินสอพอง นำมาผสมกับน้ำสะอาดให้เหมาะสม แล้วทาลงบนหุ่นหัวโขนให้ทั่ว)

2. ตั้งทิ้งไว้ให้ดินสอพองที่ทาลงบนหุ่นหัวโขนให้แห้งสนิท วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้กระดาษที่ปิดไม่ติดกับหุ่นหัวโขน ในเวลาที่จะทำให้การผ่าหุ่นหรือการถอนหุ่นทำได้ง่ายขึ้น 

3. ขั้นตอนการปิดกระดาษ 

- เลือกชนิดของกระดาษที่นำมาใช้งาน

- นำกระดาษแช่น้ำ ให้กระดาษเปียกน้ำ เพื่อใช้ในการปิดระดับแรกของการปิดกระดาษหุ่นหัวโขน

- ปิดกระดาษระดับแรกด้วยกระดาษแช่น้ำก่อน 1 ระดับ ให้ทั่วหุ่นหัวโขน ต้องปิดด้วยกระดาษชุบน้ำเท่านั้น 

- ระดับที่ 2 ใช้กาวแป้งเปียกทาลงบนกระดาษให้ทั่ว ใช้วิธีการฉีกกระดาษ หรือการตัดกระดาษออกเป็นชิ้น ๆ ตามความเหมาะสมของช่างที่ทำการปิดหุ่นหัวโขน

- ระดับที่ 3 - 8 ก็ทำการทากาวแป้งเปียกทุกระดับ แล้วปิดกระดาษลงบนหุ่นหัวโขน

- จะทำการปิดกระดาษ 8 – 10 ระดับ ขึ้นอยู่กับชนิดของกระดาษที่เลือกใช้

- ช่างบ้างที่ใช้กระดาษถุงปูน มาทำการปิดหุ่นหัวโขน ก็สามารถใช้ได้ หรือจะใช้วิธีอื่น ๆ ก็ได้ ให้ได้ผลรับในการปิดหุ่นหัวโขนออกมา

    แบบที่ 2 การปิดหุ่นหัวโขน การปิดกระดาษทับลงบนหุ่นนี้ ช่างบางคนเรียกว่า “พอกหุ่น” ก็มีเรียกว่า “ปิดหุ่น” ก็มี คือ การเอากระดาษสา กระดาษข่อย และกระดาษฟาง อย่างใดอย่างหนึ่งตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดย่อมกว่าฝ่ามือเล็กน้อย นำมาปิดด้วยการนำกระดาษแช่น้ำแล้วนำมาปิด เรียกว่าการปิดด้วยน้ำก่อน จะทำให้กระดาษไม่ติดหุ่นหัวโขน จากนั้นนำกระดาษที่เลือกใช้มาทาด้วยแป้งเปียกหรือกาวที่ทำขึ้นมาเองตามความรู้ของช่างใช้ทาปิดกระดาษให้ทั่ว แล้วปิดกระดาษทับ ซ้อนกันสัก 2-3 แผ่นจากนั้นทิ้งให้กาวกับกระดาษแห้ง ประมาณ 1 – 2 วัน จึงทำการปิดกระดาษต่อไปประมาณ 8 ระดับ การปิดทับกระดาษลงบนหุ่นต้องทำเป็นระดับให้ทั่วทั้งหัวหุ่น แล้วจึงเริ่มระดับใหม่ได้ เป็นลำดับกันไปจนทั่วหัวหุ่น ทำเช่นนี้หลายระดับให้หนาพอที่จะทรงตัวอยู่ได้

    1. ระดับที่ 2 ในการปิดกระดาษ ต้องทากาวแป้งเปี่ยก ทุกระดับให้ครบ 6- 8 ระดับ 

    2. มีการกวดกระดาษให้กระดาษแน่น ๆ ติดกันทุกระดับ จะทำให้กระดาษเรียบร้อยแล้วออกตั้งผึ่งแดดให้แห้งสนิทซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 3 วัน ถ้าหุ่นกระดาษไม่แห้งจะทำให้เกิดเชื้อราได้

    3. การปิดกระดาษทุกระดับ หรือ 2 ระดับ ต้องนำหุ่นที่ปิดกระดาษไป ผึ่งแดดหรือตากแดดทุกครั้ง ให้กระดาษแห้ง จะได้ไม่เกิดราขึ้นในเนื้อกระดาษได้ 

การถอดหุ่น การเอาศีรษะกระดาษออกจากหุ่นซึ่งทำโดยการใช้มีดปลายแหลม กรีดตรงศีรษะกระดาษจากตอนบนให้ขาดเป็นทาง ลงไปด้านหลังจนสุดขอบกระดาษตอนล่าง จึงถอดศีรษะกระดาษออกจากหุ่น ศีรษะกระดาษซึ่งถอดออกจากหุ่น การตัดแต่งส่วนที่เหลือ ที่เกินออกจากหุ่นกระดาษให้ได้รูปทรงก่อนที่จะนำไปเย็บ 

    อุปกรณ์การเย็บหุ่นกระดาษหัวโขน 

1.    เข็มเย็บ ขนาดต่าง ๆ 

2.    เข็มเย็บที่ใช้ในเครื่องหนัง

3.    เหล็กเจาะรู

4.    ด้ายเชือกดิบ

5.    ด้ายไนล่อน

6.    เส้นลวดทองเหลือง ขนาดต่าง ๆ 

7.    คีมตัดลวด

8.    ตะไกรตัดลวด  ตัดเชือก

9.    กาวลาเท็กซ์

10.    กาวร้อน (วัสดุสมัยใหม่)

11.    แผ่นหนัง  

12.    แผ่นทองเหลือง

13.    แผ่นปะเก็น

    การเย็บหุ่นกระดาษหัวโขน ต้องให้กระดาษแห้งสนิท จะมีความแข็งของกาวที่ใช้ในการปิดหุ่นหัวโขน   

1. นำหุ่นกระดาษหัวโขนที่แห้งแล้ว วางตำแหน่งจากรอยผ่าหุ่น ที่จะทำการเจาะรู ตามแนวรอยผ่าหุ่นกระดาษ 

2. วางแนวเจาะรู รอบผ่าซ้าย - ขวา วางจุดที่จะเจาะรู ห่างกัน 1 ซม. ทั้งซ้าย และขวาของรอยผ่าหุ่นกระดาษ

3. ใช้เข็ม เย็บตามรอยเจาะรู ให้รอยผ่าติดกัน 

4. จะทำการเย็บแบบไหนให้เหมาะสม กับการต่อรอยผ่ากระดาษ ขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่าง หรือผู้ทำการเย็บรอยผ่าหุ่นหัวโขน 

5. ให้รอยต่อของหัวหุ่นหัวโขนต่อกันให้สนิท เรียบร้อย  

6. การเย็บหุ่นตามรอยกำหนดไว้ ต้องให้ระยะห่างพอประมาณ ถ้าใช้ลวดทองเหลือง ต้องให้รอยเย็บสนิท ลวดไม่มีส่วนเกินออกมามาก 

7. ตัดปลายลวดที่เย็บให้เรียบร้อย แล้วตอกพับลวดที่เย็บให้แนบสนิทกับหุ่นกระดาษ

    การเย็บส่วนประกอบของหุ่นหัวโขน

    1. มุมปากของหน้าหัวโขน

    2. หางคิ้วของหน้าหัวโขน

    3. จรหู

    4. กรรเจียกจรหู 

    5. ทับจร

    ส่วนประกอบที่เสริม ขึ้นจากหุ่นกระดาษ มุมปาก หางคิ้วหรือปลายคิ้วที่เป็นส่วนที่ลอยออกมาจากหุ่นกระดาษ ต้องทำตามแบบที่ได้กำหนดไว้แบบโบราณ ที่มีลักษณะตามรูปแบบหัวโขนแต่ละประเภท หางคิ้วยักษ์ หางคิ้วลิง มุมปากยักษ์ มุมปากลิง ที่มีความแตกต่างกัน ตามลักษณะใบหน้าของหัวโขน   

    การเย็บหุ่นกระดาษหัวโขนและประกอบส่วนเสริมใบหน้าหัวโขนเสร็จ ทำการปิดกระดาษทับ 2 ระดับปิดรอยต่อในส่วนต่าง ๆ ไม่ให้เห็นรอยเย็บและส่วนประกอบและทำให้หุ่นกระดาษหัวโขนแข็งแรงขึ้น ไว้ที่จะทำขั้นตอนการปั้น หน้าหัวโขน

    ในส่วนการเสริมส่วนประกอบสามารถเลือกใช้ แผ่นหนัง แผ่นทองเหลือง แผ่นปะเก็น วัสดุที่ช่างเลือก       มีความชำนาญนำมาใช้ได้ โดยทำตามแบบที่ช่างหัวโขนได้ออกแบบไว้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือในการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย

1. การประเมินผลความรู้โดยการการสอบสัมภาษณ์

2. การสอบปฏิบัติการอธิบายภาพ จากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน

3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

4. ตัวอย่างแม่พิมพ์ลวดลายที่นำเสนอ



ยินดีต้อนรับ