หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการขึ้นหุ่นอุปกรณ์หัวโขน

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-TCJF-402B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการขึ้นหุ่นอุปกรณ์หัวโขน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

งานช่างหัวโขนแบบศิลปะไทย TSCO 2452.60 ช่างหัวโขน,   ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถะตามหน่วยนี้ต้องมึความรู้และทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ การปั้น การร่างแบบหุ่นหัวโขน อย่างเหมาะสมกับสัดส่วนที่นำไปใช้ในการปั้นหุ่นหัวโขนได้ถูกต้อง  สามารถทำพิมพ์หุ่นหัวโขนได้ตามขั้นตอนในการทำพิมพ์ และสามารถหล่อหุ่นต้นแบบ ที่สามารถนำมาใช้เป็นหุ่นหัวโขนในการปิดกระดาษได้เป็นอย่างดีมีทักษะในการร่างแบบลวดลายที่ใช้ประดับหัวโขน เพื่อการแกะแม่พิมพ์ลวดลายหัวโขนประเภท    ต่าง ๆ รวมถึงการสร้างเครื่องแกะลวดลายได้ สามารถแกะลวดลายกระจัง ลวดลายแข้งสิงห์ ลายร่อง  เลื่อม–พลอยได้ เพื่อนำไปใช้ในการตีลวดลายประดับหัวโขนได้อย่างเหมาะสม ตามแบบอย่างลวดลายโบราณ หรือสามารถแกะลวดลายได้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือตามสกุลช่างหัวโขน ที่ไปทำตามกันมาแบบโบราณ  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างหัวโขนแบบศิลปะไทย 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
014221

จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การทำหัวโขน  

1.1 ระบุวัสดุ อุปกรณ์การขึ้นหุ่นหัวโขน

014221.01 200946
014221

จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การทำหัวโขน  

1.2 ร่างแบบสำหรับปั้นหุ่นหัวโขน

014221.02 200947
014221

จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การทำหัวโขน  

1.3 ทำพิมพ์หุ่นหัวโขน 

014221.03 200948
014222

แกะแม่พิมพ์ลวดลายหัวโขน

2.1 ร่างลวดลายที่ใช้ประดับหัวโขนลงบนหินสบู่ หรือวัสดุอื่นๆ ที่ใช้แทนหินสบู่ได้

014222.01 200949
014222

แกะแม่พิมพ์ลวดลายหัวโขน

2.2 แกะลวดลายกระจังลงบนหินสบู่หรือวัสดุอื่นๆ ที่ใช้แทนหิน  สบู่ได้

014222.02 200950
014222

แกะแม่พิมพ์ลวดลายหัวโขน

2.3 แกะลวดลายแข้งสิงห์ ลายร่องเลื่อม- พลอย ได้

014222.03 200951

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจและทักษะงานปั้นหุ่นหัวโขนขั้นพื้นฐาน 

2. ความเข้าใจและมีทักษะ สัดส่วนหัวโขนแบบต่าง ๆ ที่ออกแบบไว้

3. ความเข้าใจและมีทักษะในการทำพิมพ์หุ่นหัวโขนและการหล่อต้นแบบหุ่นหัวโขน 

4. ความเข้าใจและมีทักษะ การสร้างเครื่องมือแกะลวดลาย

5. รู้จักการเลือกใช้วัสดุในการแกะลวดลายประดับหัวโขน ด้วยวัสดุประเภทต่าง ๆ 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการขึ้นหุ่นหัวโขน

2. ทักษะจัดกำหนดสัดส่วนหุ่นหัวโขน

3. ทักษะการปั้นหุ่นหัวโขน

4. ทักษะการทำพิมพ์หุ่นหัวโขนและการหล่อต้นแบบหุ่นหัวโขน

6. ทักษะจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การแกะแม่พิมพ์ลวดลายหัวโขน

7. ทักษะจัดกำหนดสัดส่วนลวดลายที่ใช้ในงานประดับหัวโขน

8. ทักษะการแกะลวดลายลงบนวัสดุประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์การขึ้นหุ่นหัวโขน

2. ความรู้และเทคนิคการขึ้นโครงหุ่นต้นแบบหัวโขน ตามแบบ

3.ความรู้เกี่ยวกับการทำพิมพ์หุ่นหัวโขน

4.ความรู้เกี่ยวกับการหล่อหุ่นหัวโขนที่นำมาใช้ในการปิดกระดาษ

5. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนลวดลายหัวโขนแบบดั้งเดิม

6. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ทำเครื่องมือแกะลวดลายหัวโขน

7. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการออกแบบลวดลายของหัวโขน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ภาพถ่ายหรือสื่อบันทึกผลงานการทำหุ่นหัวโขน

2. ตัวอย่างการออกแบบหุ่นหัวโขน

3. ตัวอย่างหุ่นกระดาษ

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายการออกแบบหุ่นหัวโขน สัดส่วนหัวโขน

2. ระบุหรืออธิบายการขึ้นโครงหุ่นหัวโขน

3. อธิบายการทำพิมพ์หุ่นหัวโขน

4. ระบุหรืออธิบายการออกแบบลวดลายที่ใช้ในงานประดับหัวโขน 

5. ระบุหรืออธิบายการแกะลวดลายประดับหัวโขน ได้อย่างเหมาะสม 

6. อธิบายการเลือกใช้วัสดุอื่น ๆ ในการนำมาแกะลวดลายตามภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือตามแบบสกุลช่าง

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1.    ความรู้พื้นฐานและทักษะในการปั้นขึ้นหุ่นหัวโขนจากรูปภาพหรือแบบที่นำมาเป็นตัวอย่าง

2.    การประเมินจากความสมบูรณ์ของผลงานหุ่นต้นแบบหัวโขน

3.    ความสมบูรณ์หุ่นพิมพ์หุ่นแบบที่มียอดและไม่มียอดที่สามารถนำไปทำขั้นตอนการปิดกระดาษ

     (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบและการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินโดยการพิจารณาจากผลงานที่นำเสนอและแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

     (ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรดังต่อไปนี้

1. ทักษะการเขียนแบบโครงร่างหุ่นหัวโขน

2. ทักษะการปั้นหุ่นหัวโขน

3. ทักษะการทำพิมพ์หุ่นหัวโขน 

4. ความรู้และทักษะการสร้างเครื่องมือแกะพิมพ์ลวดลาย 

5. ความรู้และทักษะการเขียนแบบลวดลายประดับหัวโขน

6. ความรู้และทักษะการเลือกใช้วัสดุอื่น ๆ ในการทำแม่พิมพ์ลวดลายประดับหัวโขน

     (ข)    คำอธิบายรายละเอียด

ผู้ที่มีทักษะในการปั้นหุ่นหัวโขน สามารถทำพิมพ์หุ่นหัวโขน จะต้องมีความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเขียนแบบหัวโขน การร่างแบบยอดหัวโขน ตามที่ช่างหัวโขนจะสร้างหัวโขนออกมา เพราะหุ่นหัวโขนเป็นหัวใจในการสร้างหัวโขน ถ้าช่างหัวโขนไม่มีหุ่นก็ไม่สามารถสร้างหัวโขนได้ หุ่นหัวโขนมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของหัวโขนนั้น ๆ ที่ช่างหัวโขนจะสร้างหัวโขนพระ หัวโขนยักษ์ หัวโขนลิง และยังมีลักษณะใบหน้าที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะใบหน้าหัวโขนนั้น ๆ ที่ช่างหัวโขนจะนำไปปั้นหน้าหัวโขนต่อไป การปั้นหุ่นหัวโขนสำคัญมากในการสร้างหัวโขน ที่จะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของช่างหรือสกุลช่างหัวโขนหรือตามภูมิปัญญาของช่างหัวโขน มีทักษะในการในการสร้างเครื่องมือ คัดลอกลวดลายที่ใช้ในการประดับหัวโขน สามารถเขียนแบบลวดลายหัวโขนตามแบบดั้งเดิม ลักษณะของลวดลายประเภทต่าง ๆ ได้ สามารถเลือกใช้วัสดุในการแกะลวดลายได้อย่างเหมาะสม สามารถแกะลวดลายกลับลงลึกได้ เพื่อใช้ในการตีลวดลายออกมาเป็นลวดลายนูนขึ้น ที่สามารถนำไปประดับได้ เช่นลวดลายกระจัง  ลวดลายแข้งสิงห์  ลวดลายร่องเลื่อม ประเภทต่าง ๆ และสามารถนำไปใช้งานจริงอย่างถูกต้อง 

แม่พิมพ์ลวดลายที่ใช้ในการประดับตกแต่งหัวโขน ถือเป็นหัวใจในของช่างผู้สร้างหัวโขนที่สำคัญมากที่สุด ในการสร้างหัวโขนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นหัวโขนลักษณะอย่างไร  เพราะแม่พิมพ์ลวดลาย ใช้เป็นแม่พิมพ์ที่ตีลวดลายออกมา ให้เป็นลวดลายตัวนูน เพื่อนำไปประดับบนส่วนต่าง ๆ ของหัวโขน ช่างหัวโขนต้องมีคาวมสามารถในการแกะลวดลายหัวโขนใช้เอง  ไม่ว่าจะแกะลงบนหินสบู่หรือวัสดุอื่น ๆ ที่นำมาใช้ ก็ถือว่ามีความสามารถในการแกะพิมพ์ลวดลายที่ใช้ประดับหัวโขนได้ 

ช่างหัวโขนดั้งเดิมใช้การแกะด้วยหินสบู่ เป็นแม่พิมพ์ โดยต้องมีการเลือกหินสบู่ ที่มีคุณภาพที่เหมาะสมในการนำมาแกะแม่พิมพ์  ต้องไม่มีแร่ที่อยู่ในเนื้อหินสบู่มากเกินไปเพราะจะทำการแกะยากมาก

หินสบู่เป็นหินที่เกิดจากธรรมชาติ คุณสมบัติสามารถทำได้หลายอย่าง  นำมาขัดด้วยกระดาษทรายน้ำจะได้ผิวละเอียด มีความมัน 

     วัสดุอุปกรณ์ในการปั้นโครงหุ่นหัวโขน

1. กระดานรองปั้น ใช้สำหรับการวางดินเหนียวหรือดินน้ำมันที่ใช้ในการปั้น

2. วัสดุที่ใช้ปั้น ดินเหนียว ดินน้ำมัน 

3. เครื่องมือปั้น ดินน้ำมัน เครื่องมือปั้นและเครื่องมือขุดดิน 

4. ลูกกลิ้งคลึงดิน ใช้ปรับหน้าดินให้เรียบก่อนที่จะลงมือปั้นสำหรับนูนสูงและนูนต่ำ

5. แบบภาพหัวโขน ทั้ง 4 ด้าน ที่ต้องใช้เป็นรูปแบบในการปั้นโครงหุ่นหัวโขน 

6. ผ้าคลุมดินเหนียว หรือดินน้ำมัน 

การปั้นหน้าหัวโขน ต้องมีการวัดสัดส่วนของขนาดหัวโขนที่จะทำการปั้น ความสูง ความกว้าง ของขนาด และต้องมีส่วนคอหุ่นหัวโขน จากพื้นที่ทำการปั้นประมาณ 4 – 5 นิ้ว สำหรับการตัดกระดาษให้เป็นส่วนของส่วนคอหุ่นหัวโขนขึ้นอยู่กับความชำนาญ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่าช่างหรือผู้ปั้นจะใช้วิธีการอย่างไร

- การรขึ้นหุ่นหัวโขนให้ได้สัดส่วน ทั้งแบบมียอดก็ต้องทำการศึกษาระดับต่าง ๆ ของการวางกระจังได้ถูกต้องตามแบบที่ได้ทำการออกแบบไว้ 

- สิ่งที่สำคัญคือการปั้นหน้าหัวโขน จะสวยหรือไม่สวยขึ้นอยู่กับหุ่นหัวโขนเป็นหลักเริ่มต้นในการสร้างหัวโขน  

- สัดส่วนถูกต้องหรือไม่ เป็นแบบดั้งเดิมหรือสมัยใหม่ก่อนทำพิมพ์หุ่นหัวโขน 

- การเก็บลายละเอียด ไม่มากหรือมีความหนาเกินไปในการปั้นหุ่นหัวโขน เพราะช่างจะใช้เป็นโครงในการปิดกระดาษเท่านั้น 

- การเก็บลายละเอียดของหุ่นปิดกระดาษนั้น ไม่ต้องมากปั้นละเอียดมาก แต่จะต้องปั้น ให้ได้สัดส่วนที่ถูกต้องในการนำมาใช้งาน     

- การวัดสัดส่วนหัวโขน ให้วัดจากหน้าคนจริงที่ใส่แสดง หรือจากสัดส่วน   

     การปั้นโครงหน้าหัวแบ่งออกเป็น

1. การขึ้นโครงกะโหลก 

2. โครงใบหน้าตามสัดส่วนการปั้นหน้าคนแบ่งออกเป็นส่วน ๆ หน้าผาก คิ้ว จมูก ปาก ตามสัดส่วน

3. การขึ้นโครงยอดหัวโขน ที่เป็นโครงรักร้อย ระดับต่าง ๆ ที่วางลวดลาย และระดับที่วางร่องกระจก ที่ช่างปั้นหุ่นหัวโขน ต้องเข้าใจ และสามารถนำมาปิดกระดาษได้  เพื่อใช้ในการปั้นหน้าหัวโขนต่อไป

     การทำหัวโขนนั้น มีกระบวนการและขั้นตอนเป็นแบบแผนของช่างทำหัวโขนในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ที่มีการเตรียมหุ่นและแม่แบบเอง ในสมัยโบราณมักใช้ดินเหนียวสำหรับปั้นแบบขึ้นรูป และนำมาปั้นใบหน้าหุ่น ติดลวดลาย ปิดทอง ติดพลอยและกระจก เขียนสีและทำยอด

     การปั้นขึ้นโครงหุ่นหัวโขน หุ่นหัวโขนเป็นอุปกรณ์สำคัญ เพราะเป็นต้นแบบที่จะนำไปสร้างหัวโขน หุ่นหัวโขนที่ดีนั้นต้องเป็นหุ่นที่ปั้นได้ถูกสัดส่วนสวมศีรษะผู้แสดงได้พอดีไม่หลวมหรือคับเกินไปการขึ้นรูปหุ่นใช้ปั้นด้วยดินเหนียวเสียก่อน  แล้วจึงนำมากลับจากหุ่นดินเป็นหุ่นปูนปลาสเตอร์ ต้องรู้จักเครื่องที่ใช้ในการนำโครงหุ่นหัวโขนประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของช่างปั้น เครื่องมือปั้นดิน หรือเครื่องปั้นที่ช่างทำขึ้นเอง ที่สามารถใช้ทำงานปั้นโครงหุ่นหัวโขนได้เหมาะสม

     วัสดุอุปกรณ์ในการพิมพ์หุ้นหัวโขน

1.    กระดานรอง  

2.    แผ่นอะคริลิก

3.    ผ้าสะอาด

4.    ถังน้ำ

5.    ปูนปลาสเตอร์

6.    ใยมะพร้าว หรือ เส้นลวดขนาดต่าง ๆ 

7.    เครื่องมือแต่งพิมพ์ แบบต่าง ๆ ที่ช่างใช้ในการทำพิมพ์

8.    น้ำมันทาพิมพ์  น้ำมันวาสลิน 

9.    น้ำยางพารา

10.     แผ่นพลาสติกบาง ๆ หรือแผ่นฟิล์ม ใช้แบ่งส่วนในการทำพิมพ์

11.     เครื่องต่าง ๆ ที่ช่างทำพิมพ์ ที่ช่างชำนาญ หรือใช้ในการทำพิมพ์ของช่าง

12.     วัสดุ อุปกรณ์ อื่น ๆ ที่ช่างใช้ในการทำงาน หรือนำมาใช้ในการผสม ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือตามวิธีการทำงานของช่างกลุ่มต่าง ๆ ก็สามารถนำมาใช้ได้

     การทำพิมพ์หุ่นหัวโขน 

- ช่างสามารถใช้วิธีที่ช่างชำนาญ ในการทำพิมพ์แบบต่าง ๆ ด้วยปูนปลาสเตอร์ โดยแบ่งครึ่งหุ่นที่จะทำพิมพ์เป็น 2 ส่วน หน้า - หลัง ของหุ่น ใช้แผ่นฟิล์มกันแบ่งส่วนต่าง ๆ ในการพิมพ์ ใช้ปูนปลาสเตอร์ผสมน้ำตามสัดส่วนที่ช่างชำนาญ และใส่ใยมะพร้าว หรือเส้นลวด เพื่อให้พิมพ์แข็งแรงมากขึ้น ในการทำพิมพ์หุ่นหัวโขนอาจจะมีตกแต่งส่วนต่าง ๆ ให้มีรายละเอียด ให้น้ำปูนปลาสเตอร์ มีความหนาประมาณ 1 – 2 นิ้ว ทิ้งให้ปูนปลาสเตอร์แห้งสนิท จึงสามารถแกะพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ออกได้ 

- นำพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ ตากแดดให้พิมพ์ปูนปลาสเตอร์แห้ง ทาด้วยน้ำมันวาสลิน ให้ทั่วแม่พิมพ์ปูน 

- นำแม่พิมพ์ประกบรัดให้แน่น ๆ ด้วยลวด 

- ผสมปูนปลาสเตอร์กับน้ำตามสัดส่วนของช่างที่ทำ เทลงในแม่พิมพ์ ตามความต้องการหรือความชำนาญของช่าง ให้ทั่วแม่พิมพ์  

- ทิ้งให้ปูนปลาสเตอร์แห้งสนิทค่อย ๆ ถอนแม่พิมพ์ออก จะได้หุ่นหัวโขน ตั้งทิ้งไว้ให้ปูนปลาสเตอร์แห้งสนิทจึงสามารถนำไปใช้งานได้  

- ช่างบางที่อาจนำปูนซีเมนต์ หรือวัสดุอื่น ๆ เข้ามาใช้ในการผสมก็ได้ ตามพื้นฐานของบ้านช่างที่ทำ

    ในการปั้นหุ่นหัวโขนช่างผู้ปั้นต้องมีแบบโครงร่าง หรือรูปภาพของหัวโขนที่จะปั้นหุ่นขึ้นมาใช้ เพื่อใช้ในการศึกษารูปแบบ รูปทรง ลักษณะของหัวโขนนั้น ๆ ต้องมีการศึกษาหาข้อมูลสามารถระบุลักษณะใบหน้าหัวโขนนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง และยังคงรูปแบบดั้งเดิมในการอนุรักษ์แบบภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาสกุลช่างไว้ได้อย่างเหมาะสม

     การแกะแม่พิมพ์ลวดลายหัวโขน  

เครื่องที่นำมาทำเป็นเครื่องแกะแม่พิมพ์

1.    ใช้เหล็กแหลม

2.    เหล็กตะไป

3.    เหล็กสปริง

4.    ขนาด 0.5 ซ.ม หรือที่สามารถหาได้ เหล็กตะไปของจีน 

5.    นำมาสร้างคมที่ปลาย 45 องศา 30 องศา 

6.    เหล็กปลายแหลม  สำหรับร่างเส้นแกะ 

7.    เหล็กลักษณะต่าง ๆ ตามที่ช่างชำนาญและสร้างขึ้นมาใช้เฉพาะตัว

8.    ช่างบางคนอาจที่สร้างเครื่องมือแกะหินสบู่ เป็นแบบเฉพาะบ้านช่าง ที่ทำต่อกันมาเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  ใช้เองตามความถนัดก็ได้

9.    การแกะลวดลายแม่พิมพ์ ลงในหินสบู่ต้องแกะกลับให้ลึกลงไป เป็นลวดลาย แกะให้ลึกเปิดเนื้อลงไปเรื่อย แล้วใช้ดินน้ำมันค่อยทดลองกดแล้วยกขึ้นมาดูว่าน้ำหนักได้ไหมความลึกได้ไหม มิติ เหลี่ยม สัน คม ต้องทดลองแกะลงไปเรื่อย ๆ เครื่องมือแกะหินต้องหมั่นลับให้คมอยู่เสมอจึงจะได้ลายที่สวยคมชัดแจน

10.    การแกะหินสบู่ต้อง มีความชำนาญและใช้เวลาในการฝึกการแกะลวดลาย 

วัสดุอื่น ๆ แทนหินสบู่

1. แว็กซ์ ที่ใช้ในงานเครื่องประดับ

2. หินลับมีด 

3. หินลับมีดโกน

     ปัจจุบันมีการนำมาใช้งานแทนหินสบู่ หรือใช้การหล่อแม่พิมพ์เรซิ่นที่เป็นลวดลายหล่อออกมาใช้งาน ใช้ ทำให้ช่างสามารถมีทางเลือกในการใช้แม่พิมพ์ได้มากขึ้น

     การที่จะแกะลวดลายแม่พิมพ์หินสบู่ได้ดี ต้องคัดลอกรูปแบบ ลวดลายของหัวโขนของโบราณ ในส่วนประกอบต่าง ๆ เขียนแบบหรือคัดลอกลวดลายออกมาให้ได้แบบที่สมบูรณ์  

     แบบลวดลายที่คัดลอกออกมาแล้วนั้นสามารถนำมาทำเป็นแบบลวดลายลงบนหินสบู่ โดยการใช้เครื่องมือเหล็กปลายแหลม ร่างแบบลงหินสบู่ได้เลยตามลวดลายที่ต้องการ 

     ใช้เครื่องมือแบบต่าง ๆ ในการแกะ โดยการค่อย ๆ ปรับพื้นลงไป ให้ได้ความลึก และเป็นตัวลวดลายตามแบบที่แกะ โดยอาศัยความชำนาญของช่าง ในการแกะที่อาจแตกต่างกันไป ตามความรู้ของช่างที่ได้รับการถ่ายทอดกันมา  

     ลวดลายที่ใช้ในการประดับหัวโขน ในแต่ละระดับจะมีลวดลายต่าง ๆ กัน ช่างหัวโขนต้องทำการแกะทุกลวดลาย ทุกขนาดที่แตกต่างกัน ตามลวดลายที่มีขนาดเล็กไปหาลวดลายที่มีขนาดใหญ่ ไม่เท่ากัน และลวดลายต่าง ๆ ที่ช่างสามารถแกะขึ้นใหม่มาใช้ก็ได้ 

    ลวดลายที่เป็นร่องเลื่อม – ร่องพลอย มีทั้งร่องกลม ร่องที่เป็น 4 เหลี่ยม หรือหยดน้ำ ที่แกะขึ้นมาแล้วสามารถใช้งานได้ ได้แก่ ลวดลายกระจังตาอ้อย จังตาบอด ลายหยดน้ำ ลายร่องเลื่อม – ร่องพลอย ลายรักร้อย ลายประจำยาม และลายแข้งสิงห์ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือในการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย

1. การประเมินผลความรู้โดยการการสอบสัมภาษณ์

2. ประเมินจากผลงานที่ นำเสนอ

3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

 



ยินดีต้อนรับ