หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จำแนกรูปแบบหัวโขนในเรื่องรามเกียรติ์

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-PICO-401B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จำแนกรูปแบบหัวโขนในเรื่องรามเกียรติ์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

งานช่างหัวโขนแบบศิลปะไทย TSCO 2452.60 ช่างหัวโขน,   ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม) 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องความรู้เรื่องความเข้าใจลักษณะของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ สามารถแบ่งประเภทของหัวโขน และระบุอัตลักษณ์กลุ่มหัวโขนพระ ยักษ์ ลิง ระบุเอกลักษณ์ของใบหน้า - ยอดหรือมงกุฎ ละครในเรื่องรามเกียรติ์  ลักษณะของยอดประเภทต่าง ๆ ได้ รู้จักสีของตัวละครละครในเรื่องรามเกียรติ์ แต่ละตัวละครใบหน้าสีเป็นอย่างไรได้อย่างถูกต้องตามตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างหัวโขนแบบศิลปะไทย 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
014211

รู้เรื่องราวในวรรณคดีรามเกียรติ์

1.1 ระบุลักษณะของตัวละครรามเกียรติ์ ได้

014211.01 200940
014211

รู้เรื่องราวในวรรณคดีรามเกียรติ์

1.2 จำแนกประเภทของหัวโขน

014211.02 200941
014211

รู้เรื่องราวในวรรณคดีรามเกียรติ์

1.3 ระบุลักษณะของใบหน้า - ยอด หรือมงกุฎ ของตัวละครรามเกียรติ์แต่ละประเภท

014211.03 200942
014212

จำแนกสีของหัวโขนตามตัวละครในรามเกียรติ์ได้

2.1 ระบุลักษณะสีของหัวโขนตัวพระในรามเกียรติ์ ได้อย่างถูกต้อง

014212.01 200943
014212

จำแนกสีของหัวโขนตามตัวละครในรามเกียรติ์ได้

2.2 ระบุลักษณะสีของหัวโขนตัวยักษ์ในรามเกียรติ์ ได้อย่างถูกต้อง

014212.02 200944
014212

จำแนกสีของหัวโขนตามตัวละครในรามเกียรติ์ได้

2.3 ระบุลักษณะสีของหัวโขนตัวลิงในรามเกียรติ์ ได้อย่างถูกต้อง

014212.03 200945

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจเรื่องรามเกียรติ์ วรรณคดีไทย

2. ความรู้ ความเข้าใจตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ 

3. ความรู้ความเข้าใจ ลักษณะของยอดหรือมงกุฎในตัวละครเรื่องรามเกียรติ์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในเรื่องลักษณะของตัวละครรามเกียรติ์ 

2. ทักษะเรื่องประเภทของหัวโขน ลักษณะยอดประเภทต่าง ๆ 

3. ทักษะเรื่องสีของใบหน้าหัวโขน    

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ที่เกี่ยวกับลักษณะของตัวละครรามเกียรติ์

2. ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการแบ่งประเภทของหัวโขนงานในเรื่องรามเกียรติ์ 

3. ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะยอดหรือมงกุฎในตัวละครเรื่องรามเกียรติ์ 

4. ความรู้ที่เกี่ยวลักษณะสีของหัวโขนพระ

5. ความรู้ที่เกี่ยวลักษณะสีของหัวโขนยักษ์

6. ความรู้ที่เกี่ยวลักษณะสีของหัวโขนลิง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

2. ผลงานที่นำมาเสนอ 

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence

1. ระบุและอธิบายรูปแบบลักษณะประเภทของหัวโขน

2. ระบุและอธิบายรูปแบบลักษณะของยอดมงกุฎของตัวละครรามเกียรติ์แต่ละประเภท

3. ระบุและอธิบายรูปลักษณะสีที่ใช้ในงานหัวโขน 

4. ระบุและอธิบายรูปแบบลักษณะสีที่ใช้ลงใบหน้าหัวโขน ประเภทต่าง ๆ ได้

5. ระบุและอธิบายการใช้สี ในส่วนของยอด หรือการเขียนยอดที่เป็นสีได้ 

6. ระบุและอธิบายการใช้สีของหัวโขนแบบสมัยใหม่ที่นำมาใช้ได้

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1.    ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะประเภทของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ แต่ละประเภท พระ ยักษ์ ลิง 

2.    ความรู้เรื่องลักษณะของยอดของหัวโขน สามารถระบุประเภทของยอดหัวโขนได้  

3.    ความรู้พื้นฐานในการระบุลักษณะของใบหน้า - ยอด หรือมงกุฎของตัวละครรามเกียรติ์แต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง

4.  การใช้สีของหัวโขนแบบสมัยใหม่

     (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลความรู้โดยการการสอบสัมภาษณ์

3. การสอบปฏิบัติการอธิบายจากผลงานที่นำเสนอ

4. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

     (ก)  คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการระบุลักษณะของตัวละครรามเกียรติ์ ได้

1.    ความรู้ในการระบุลักษณะของตัวละครรามเกียรติ์

2.    ทักษะเรื่องการแบ่งประเภทของหัวโขน 

3.    ทักษะเรื่องลักษณะใบหน้า - ยอด หรือมงกุฎ 

4.    ทักษะเรื่องลักษณะของหัวโขนพระ ยักษ์ ลิง 

5.    ทักษะและความรู้เรื่องลักษณะสีใบหน้าหัวโขน

6.    ความรู้เรื่องลักษณะใบหน้าของหัวโขนพระ ยักษ์ ลิง 

     (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

     ประวัติงานช่างหัวโขน โขนเป็นนาฎกรรมที่ผู้แสดงต้องสวมหัวที่เรียกว่า “หัวโขน” และแสดงตามเรื่องในวรรณคดีเรียกว่า “รามเกียรติ์” ซึ่งเป็นเรื่องการทำสงครามระหว่างพระรามแห่งกรุงอโยธยาและบรรดาวานรฝ่ายหนึ่งกับทศกัณฐ์   

     การทำหัวโขน สืบมาจากการปั้นภาพต่าง ๆ ก่อน โดยปั้นไว้เพื่อประดับสถาปัตยกรรมต่าง ๆ มีทั้งที่เป็นเรื่องราว และเป็นรูปเดี่ยว ๆ ส่วนใหญ่ที่ปรากฎก็เป็นรูปภาพในวรรณคดี เช่น ยักษ์ ลิง พระ นาง สัตว์หิมพานต์ หน้ายักษ์ 

     งานช่างหัวโขน ตามแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ได้มีวิธีการสร้างตามแบบอย่างโบราณและวิธีสมัยใหม่ แต่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมไว้ การจำแนกลักษณะรูปแบบ หัวโขนเป็นไปตามตัวละครเรื่องรามเกียรติ์ และวรรณคดี ซึ่งการจำแนกลักษณะใบหน้า สี ยอดหรือมงกุฎ ของตัวละครรามเกียรติ์ แต่ละประเภท เพื่อเป็นการให้เห็นลักษณะของหัวโขนที่มีความแตกต่าง และชื่อของหัวโขน ตามลักษณะที่โบราณได้ระบุไว้ ตามจารีตให้ชัดเจน จึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับช่างหัวโขนตามมีการศึกษาเรียนรู้ลักษณะหัวโขนเบื้องต้นในการที่จะสร้างหัวโขนออกมาได้ 

     หัวโขนแบ่งเป็นประเภท ดังนี้

1. หัวโขนที่เป็นศีรษะเทพเจ้า  

2. หัวโขนที่เป็นศีรษะครู  

3. หัวโขนฝ่ายมนุษย์  

4. หัวโขนวานร  

5. หัวโขนฝ่ายยักษ์  

6. หัวโขนที่เป็นสัตว์ต่าง ๆ 

     การจำนวนประเภทของมงกุฎ

1.  มงกุฎยอดบัด     

2.  มงกุฎยอดชัย     

3.  มงกุฎยอดสามกลีบ  

4.  มงกุฎยอดนาค

5. มงกุฎกระหนก

6. มงกุฎยอดจีบ

7. มงกุฎยอดน้ำเต้ากลม

8. มงกุฎน้ำเต้าเฟือง

9. มงกุฎกาบไผ่

10.  มงกุฎยอดบัดหรือยอดเดินหน

11.  มงกุฎสามกลีบ

12.  มงกุฎยอดหางไหล

     ลักษณะของหัวโขนหน้ายักษ์ 

1. ปากแสยะ ตาโพลง  

2. ปากขบ ตาจระเข้  

3. ปากขบ ตาโพลง  

4. ปากขบ ตาโพลง จมูกเป็นมนุษย์  

     งานหัวโขนนั้นต้องใช้ความเข้าใจในเรื่องตัวละครรามเกียรติ์ ในแต่ละประเภทตัวละคร ที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งใบหน้า สัดส่วน สี และยอดหรือมงกุฎ ที่มีเอกลักษณ์ต่าง ๆ กัน ทั้งรูปแบบและลวดลายมีใช้ในการเขียนแบบออกแบบ ที่จะเน้นในรูปแบบการอนุรักษ์แบบภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มี มาตั้งแต่สมัยโบราณไว้อย่างไม่ผิดเพี้ยน

     การจำแนกสีหน้าตามใบหน้าหัวโขน 

การจำแนกสีของหัวโขน ตามชื่อและหน้าที่ ด้วยแบบอย่างลักษณะของเครื่องประดับหัวโขนแล้วแต่ตัวโขนก็ยังมีจำนวนมากกว่าแบบที่คิดได้เมื่อเป็นเช่นนี้ช่างทำหัวโขนคงจะได้แก้ปัญหาเพื่อความเข้าใจในการดูโขนด้วยวิธีการเขียนสี ระบายสีพื้นส่วนใบหน้าหัวโขนให้เป็นสีต่าง ๆ กัน ออกไป ทำให้มีหัวโขนแปลกขึ้น และจำแนกแยกออกไปได้มากขึ้น สีต่าง ๆ ที่มีเขียนระบายบนพื้นหน้าหัวโขนเท่าที่ปรากฏมี

- สีแดง มีสีแดง สีแดงชาด สีแดงเสน สีดินแดง สีลิ้นจี่ สีหงสบาท สีหงดิน สีหงชาด สีหงเสน

- สีแสด สีดอกชบา สีฟ้าแลบ

- สีเหลือง มีสีเหลืองรง สีเหลืองดิน สีเหลืองอ่อน สีเหลืองเทา สีเลื่อมเหลือง สีเลื่อมประภัสสร

- สีจันทร์

- สีคราม มีสีคราม สีขาบ สีคราอ่อน สีดอกตะแบก สีมอคราม

- สีม่วง มีสีม่วง สีบัวโรย สีม่วงแก่ สีม่วงอ่อน

- สีเขียว มีสีเขียว สีก้ามปู สีน้ำไหล สีเขียวใบแค สีเขียวตังแช

- สีดำ มีสีดำ สีดำหมึก สีผ่านหมึก สีมอหมึก

- สีเทา มีสีเทา สีผ่านขาว สีเมฆ

- สีน้ำตาล มีสำน้ำรัก สีผ่านแดง

- สีชาด สีขาบ สีคราม สีหงเสน สีขาว สีดำ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีฟ้า  

     สีในงานช่างหัวโขนนั้น งานหัวโขนต้องมีความรู้เรื่องการผสมสี เพื่อให้ได้สีแบบสีโบราณ ซึ่งต้องมีการศึกษาการอนุรักษ์สีโบราณ การใช้สีตามรูปแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม การใช้สีตามสกุลช่าง หรือมีการประยุกต์ใช้สีปัจจุบันนำมาผสมสีใช้ เป็นการทดแทนสีแบบโบราณแต่ยังคงลักษณะสีโบราณไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเส้นต่าง ๆ บนหน้าหัวโขน    

     ลักษณะของใบหน้าหัวโขนและการลงสีหน้าที่เป็นแบบดั้งเดิม หรือใช้สีสมัยใหม่นำมาลงสีใบหน้าหัวโขนได้ ให้ตรงกับสีของโบราณ 

1. ทศกัณฐ์        ยอดมงกุฎชัย 3 ระดับ 10 หน้า     สีเขียว

2. มังกรกัณฐ์     ยอดนาค                                 สีเขียว        

3. ไมยราพย์      ยอดมงกุฎกระหนก                    สีม่วงอ่อน    

4. บรรลัยจักร     มงกุฎยอดหางไก่                      สีม่วงอ่อน    

เป็นลักษณะของสีหน้าหัวโขน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือในการประเมิ นให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย

1.    การประเมินผลความรู้โดยการการสอบสัมภาษณ์

2.    ประเมินจากผลงานที่นำเสนอ

3.    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

 



ยินดีต้อนรับ