หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ลงรักสมุกและทายางรักใสลงพื้นรักสมุก

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-LPRH-400B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ลงรักสมุกและทายางรักใสลงพื้นรักสมุก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

 ช่างรักแบบศิลปะไทย TSCO 2452.64 ช่างปิดทอง,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย การใช้อุปกรณ์ในการเตรียมยางรัก ตามขั้นการเลือกขนิดยางรักการป้องกันพิษจากยาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างรักแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
013221

ลงสมุกบนพื้นผิวโลหะ ไม้ และปูน

1.1 เตรียมอุปกรณ์ สำหรับลงรักสมุก

013221.01 201098
013221

ลงสมุกบนพื้นผิวโลหะ ไม้ และปูน

1.2 ลงรักสมุกพื้นผิว

013221.02 201099
013221

ลงสมุกบนพื้นผิวโลหะ ไม้ และปูน

1.3 แก้ปัญหารักสมุกไม่เกาะติดพื้นผิว

013221.03 201100
013222

ทายางรักใสบนพื้นผิวที่ลงรักสมุกแล้ว

2.1 เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ทายางรักใส

013222.01 201101
013222

ทายางรักใสบนพื้นผิวที่ลงรักสมุกแล้ว

2.2 ทายางรักใสบนรักสมุกของพื้นผิว

013222.02 201102
013222

ทายางรักใสบนพื้นผิวที่ลงรักสมุกแล้ว

2.3 แก้ปัญหายางรักไม่เกาะติดพื้นผิวรักสมุก

013222.03 201103

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้และทักษะเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการลงรักสมุกและการทายางรักใสบนพื้นผิวประเภทต่าง ๆ 

2. ความรู้และทักษะเครื่องอุปกรณ์การลงสมุกรักและทายางรักใส  

3. ทักษะการแก้ไขปัญหายางรักไม่ติดชิ้นงาน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการลงรักสมุกและทายางรักใส 

2. ทักษะและความรู้การขัดปรับแต่งพื้นผิวรักสมุกที่แห้งสนิทแล้ว

3. ทักษะการกัไขปัญหาในการทายางรัก

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการลงรักสมุกและทายางรักใส 

2. ความสามารถในการปรับแต่งผิวรักสมุกทายางรักใส

3. มีความรู้เรื่องการแก้ไขปัญหาในการลงรักสมุกและทายางรักใส

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้องภาพถ่ายหรือสื่อบันทึกผลงาน

2. ตัวอย่างชิ้นงาน ทำพื้นรักสมุกและการทายางรักใส

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะการลงรักสมุกและการทายางรักใสประเภทต่าง ๆ  ได้

2. ระบุหรืออธิบายการแก้ไขปัญหาการลงรักสมุกและการทายางรักใส

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องการใช้อุปกรณ์เครื่องการลงรักสมุกและทายางรักใส

2. ความสมบูรณ์ของผลงานที่นำเสนอ

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน    

3. ประเมินจากผลงานที่นำเสนอ


15. ขอบเขต (Range Statement)

     (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการลงรักสมุกทายางรักใส

2. ความรู้เกี่ยวกับการปรับแต่งพื้นผิวรักสมุกและแต่งผิวยางรักใสในแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง

3. การแก้ไขปัญหาในรักสมุกและทายางรักใสไม่เกาะติดพื้นผิวชิ้นงาน 

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

     รักสมุก คือ รักน้ำเกลี้ยงผสมกับ “สมุก” มีลักษณะเป็นของเหลวค่อนข้างข้น ใช้สำหรับอุดแนวทางลงพื้นและถมพื้น

     การลงรักสมุกบนพื้นผิวชิ้นงานประเภทต่าง ๆ ที่นำมาทำพื้นรักสมุกนั้น มีความสำคัญในการทำงานให้ได้พื้นผิวรักสมุก ที่ทำออกมาให้ผิวเรียบร้อยไม่มีร่องรอยแตก แยกของรักสมุก หรือรักสมุกไม่ติด มีการบวมนูนขึ้นมาจากพื้นผิว รักสมุกแห้งไม่เท่ากัน บางที่แห้ง บางที่ไม่แห้ง ช่างรักในการลงสมุกต้องมีวิธีแก้ไขปัญหาหรือแก้ไขได้

     สมุกรักที่นำมาใช้งานในการทำพื้นรักสมุก สำหรับพื้นผิวประเภทต่าง ๆ 

อุปกรณ์การลงรักสมุกและป้องกันเบื้องต้น 

1. แปรงทาสีขนธรรมชาติ

2. แปรงทากาวยาง ด้ามไม้ขนาดต่าง ๆ    

3. เกรียงโป๊วสี ขนาดต่าง ๆ 

4. น้ำมันทินเนอร์

5. น้ำมันสน

6. ถุงมือ

7. หน้ากากปิดจมูก

8. หน้ากากกันสารเคมี

9. แว่นตา

10. ชุดเสื้อผ้า สวมใส่มิดชิด เสื้อแขนยาว

11. ผ้าสะอาด

     การลงสมุกครั้งที่ 1 

1.    ทำความสะอาดชิ้นงานที่จะนำมาลงสมุกรัก

2.    นำสมุกรักทาลงบนชิ้นงานในครั้งที่ 1 ให้ทั่ว โดยใช้แรงทาหรือกดลงไปที่รักสมุกจะทำให้รักสมุกติดกับชิ้นงานได้ทั่วถึงผิวชิ้นงาน ตรวจดูความเรียบร้อย วางชิ้นงานไว้ในที่จัดเตรียมวางงาน ทิ้งไว้จนรักสมุกแห้งสนิท ระยะเวลาการแห้งของรักสมุกขึ้นอยู่กับ การทดสอบของช่างรักที่ทำการเจรียมรักสมุกไว้ ประมาณอีกวัน  10 – 15 วัน 

3.    เมื่อรักสมุกครั้งที่ 1 แห้งสนิท นำมาขัดแต่งพื้นผิว ด้วยกระดาษทรายหยาบเป็นการเปิดผิวรักสมุก เพื่อจะได้ลงรักสมุกในครั้งที่ 2

4.    ลงรักสมุกครั้งที่ 2 โดยทารักสมุกให้ทั่วโดยใช้เกรียงโป๊วสีช่วยในการทาให้รักสมุกติดแน่นกับพื้นรักสมุกครั้งที่ 1 และนำไปวางให้รักสมุกแห้งสนิท 

5.    ขัดแต่งรักสมุกในครั้งที่ 2 ที่แห้งสนิท และทารักสมุกครั้งที่ 3 โดยทารักสมุกให้ทั่วโดยใช้เกรียงโป๊วสีช่วยในการทาให้รักสมุกติดแน่นกับพื้นรักสมุกครั้งที่ 2

6.    การลงรักสมุก 2 – 3 ครั้งจะได้เนื้อของรักสมุกหนาขึ้น ให้ขัดแต่งพื้นผิวรักสมุกให้เรียบเสมอกันให้ได้ผิวเรียบเนียน 

7.    ในขั้นตอนการทาหรือลงรักสมุกนี้ ต้องใช้เวลา และการขัดทุกขั้นตอนการลงรักสมุก

8.    พื้นผิวโลหะ พื้นผิวไม้  พื้นผิวปูนทำแบบเดียวกัน ขึ้นอยู่กับขนาดชิ้นงานใหญ่ เล็ก

9.     อาจจะมีวิธีการอื่น ๆ ตามภูมิปัญญาของท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาของช่างรักที่ทำงานรัก

10.    ตรวจสอบพื้นผิวชิ้นงานการลงรักสมุก

     แก้ปัญหารักสมุก

1.    การลงรักสมุกจะมีปัญหาของการลงรักสมุกแล้วรักสมุกเกาะติดกับพื้นผิวชิ้นงานบางส่วน

2.    ผิวรักสมุกเกิดรอยแตก เป็นจุด ๆ 

3.    รักสมุกมีการแห้งเป็นที่ ๆ ไม่เสมอกัน 

4.    มีการหลุดร่องของรักสมุกเป็นแผ่นออกมาเวลาขัดแต่งผิว

5.    ให้ทำการแก้ไขซ่อมแซมใหม่ 

    ข้อควรระวังในการลงรักสมุก 

1. การใส่ถุงมือยาง

2. หน้ากากปิดจมูก

3. แว่นตา

4. หน้ากากที่สามารถกรองอากาศได้ ที่มีผงถ่านหรือหน้ากากกันสารเคมี หน้ากากกันฝุ่น หรืออุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจต่าง ๆ 

5. สถานที่ในการทำงานต้องเป็นที่อากาศถ่านเทได้ดี เรื่องของการมีกลิ่น ไอของยางรักในเวลาที่ผสมสมุกอาจมีกลิ่นเหม็น หรือมีการแพ้กลิ่น  ใช้พัดลมปรับอากาศ ให้มีอากาศที่ถ่ายเทได้ดีขึ้น



     ลักษณะของยางรักใสที่ใช้ในการทาลงบนรักสมุก 

1.    ใช้ยางรักที่ผ่านการกรอง 3 ครั้ง ให้ได้ยางรักใสที่มีคุณภาพที่เป็นมันเงา

2.    แปรงที่ใช้ในการทาเป็นแปรงขนอ่อน ๆ 

3.    น้ำมันสน

4.    น้ำมันซักแห้ง

5.    น้ำมันกานพลู  (ภูมิปัญญาช่างรัก)

6.    ยางรงทอง (ภูมิปัญญาช่างรก ใช้ผสมยางรักช่วยให้ยางรักแห้งเร็วขึ้น)

7.    ตู้บ่มยางรัก (ที่มีถาดน้ำและผ้าชุบน้ำวางไว้อยู่ใต้ตู้บ่มรัก เพื่อให้ยางรักแห้ง)

     การทายางรักใสลงบนรักสมุกพื้นผิวชิ้นงานประเภทต่าง ๆ 

1.    ทำความสะอาดระดับงานที่ลงรักสมุกเสร็จแล้วให้สาด โดยการเช็ดด้วยผ้า

2.    ทารักยางใสครั้งที่ 1 ลงบนพื้นผิวชิ้นงานที่เตรียมไว้ให้ทั่ว นำใส่ตู่บ่มรักทิ้งให้รักยางใสแห้งสนิท  ระยะเวลาที่ยางรักจะแห้ง ขึ้นอยู่กับระยะที่ช่างรักได้ทำการทดสอบระยะเวลาของยางรักใส ที่นำมาใช้           3–6 วัน

3.    ยางรักใสที่ทาครั้งที่ 1 แห้งสนิทแล้ว ใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียด ๆ ขัดเปิดผิวยางรักใสเบา ๆ เพื่อเป็นการรอที่จะทายางรักใสครั้งที่ 2

4.    ทารักยางใสครั้งที่ 2 ลงบนพื้นผิวชิ้นงานที่ผ่านการทายางรักใสครั้งที่ 1และขัดแล้ว ทายางรักใสให้ทั่วชิ้นงาน นำใส่ตู้บ่มรักทิ้งให้รักยางใสแห้งสนิท แล้วนำมาขัดเปิดผิวยางรักใสเบา ด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด ๆ 

5.    ทารักยางใสครั้งที่ 3 ลงบนพื้นผิวชิ้นงานที่ผ่านการทายางรักใสครั้งที่ 2 และขัดแล้วทายางรักใสให้ทั่วชิ้นงาน นำใส่ตู้บ่มรักทิ้งให้รักยางใสแห้งสนิท 

การทายางรักใส 3 ครั้งทำให้เป็นการเพิ่มเนื้อยางรักใสให้มีความหนาขึ้น ในการทาครั้งที่ 3 เสร็จแล้วไม่ต้องขัด จะได้ผิวยางรักใสที่แห้งสนิทเป็นมันเงา ตามคุณสมบัติของยางรักที่นำมาใช้ 

     ในกรณีที่ไม่มีข้อพลาดเกิดขึ้นในขั้นตอนการทายางรักใส

ปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการทายางรักใส

1.    การทายางรักใสแล้วเกิดการไหลเยิ้มของยางรักใส  หรือการไหลลงมาเป็นก้อน ๆ เล็ก ๆ ในส่วนต่าง ๆ ของพื้นผิวชิ้นงาน เกิดจากการทายางรักใสมาก การทาน้ำหนักของยางรักใสไม่เท่ากันทำให้มียางรักใสมาก น้อย ไม่เท่ากัน เป็นสาเหตุให้มีการไหลเยิ้มของยางรักใส ต้องขัดออกในส่วนที่เกินออกมา แล้วทิ้งให้ยางรักใสแห้ง

2.    อาการบวมนูน ของยางรักใส ในเวลาที่แห้งสนิทมีการบวมนูนออกให้เห็นชัดเจน เกิดจากการแห้งของยางรักไม่เท่ากัน ยางตรงที่บวมนูนนั้นระดับล่างยังไม่แห้งสนิท ให้ขัดส่วนที่นูนออกให้หมด แล้วทิ้งให้ยางรักแห้งสนิท แล้วทายางรักใสทับตรงรอยที่เสีย

3.    อาการยางรักแห้งเป็นรอยแตก เป็นร่องหลุดเป็นแผ่น ๆ อาการแบบนี้เกิดจากพื้นผิวก่อนทายางรักใส มีคราบไขมันติดที่พื้นผิวชิ้นงาน ทำให้ยางรักไม่เกาะติดพื้นผิวยางรักหรือรักสมุก

อาการที่เกิดการเสียหายนี้ให้ขัดพื้นผิวที่ทายางรักใส ด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด ๆ ขัดเปิดผิวยางรักใสเบา ๆ ทิ้งไว้ในตู้บ่มรักให้แห้ง แล้วนำมาทายางรักใสใหม่

     ข้อควรระวังในการทายางรัก ใส

1.    ความสะอาดของมือผู้ทายางรัก

2.    สถาพอากาศ ห้องทำงาน 

3.    หน้ากากปิดจมูก

4.    แว่นตา

5.    หน้ากากที่สามารถกรองสารเคมี  หน้ากากกันฝุ่น หรืออุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจต่าง ๆ 

6.    สถานที่ในการทำงานต้องเป็นที่อากาศถ่ายเทได้ดี ในเรื่องของกลิ่นไอของยางรักในเวลาที่ทำงาน ถ้าเป็นในห้องควรมีพัดลมปรับอากาศ เครื่องดูดอากาศ เครื่องดูดฝุ่นละออง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบปฏิบัติ

18.2 การสอบสัมภาษณ์

18.3 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ