หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมพื้นผิววัสดุก่อนลงรักสมุก

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-SPFL-399B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมพื้นผิววัสดุก่อนลงรักสมุก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างรักแบบศิลปะไทย TSCO 2452.64 ช่างปิดทอง,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย การใช้อุปกรณ์ในการเตรียมรักสมุก ตามขั้นการผสม การป้องกันพิษจากยาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างรักแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
013211

เตรียมพื้นผิวโลหะเพื่อลงรักสมุก

1.1 จัดเตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำพื้นผิวโลหะ

013211.01 201089
013211

เตรียมพื้นผิวโลหะเพื่อลงรักสมุก

1.2 ทำความสะอาดพื้นผิวโลหะ

013211.02 201090
013211

เตรียมพื้นผิวโลหะเพื่อลงรักสมุก

1.3 ปรับพื้นผิวโลหะให้เรียบร้อยก่อนนำไปลงรักสมุก

013211.03 201091
013212

เตรียมพื้นผิวไม้เพื่อลงรักสมุก

2.1 จัดเตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำพื้นผิวไม้

013212.01 201092
013212

เตรียมพื้นผิวไม้เพื่อลงรักสมุก

2.2 ทำความสะอาดพื้นผิวไม้

013212.02 201093
013212

เตรียมพื้นผิวไม้เพื่อลงรักสมุก

2.3 ปรับพื้นผิวไม้ให้เรียบร้อย ก่อนนำไปลงรักสมุก

013212.03 201094
013213

เตรียมพื้นผิวปูนเพื่อลงรักสมุก

3.1 จัดเตรียมเตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำพื้นผิวปูน

013213.01 201095
013213

เตรียมพื้นผิวปูนเพื่อลงรักสมุก

3.2 ทำความสะอาดพื้นผิวปูน

013213.02 201096
013213

เตรียมพื้นผิวปูนเพื่อลงรักสมุก

3.3 ปรับพื้นผิวปูนให้เรียบร้อย ก่อนนำไปลงรักสมุก

013213.03 201097

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เรื่องวัสดุ อุปกรณ์การทำพื้นผิวโลหะ  พื้นผิวไม้ พื้นผิวปูน ประเภทต่าง ๆ 

2. ทักษะการทำความสะอาดพื้นผิวโลหะ  พื้นผิวไม้ พื้นผิวปูน ประเภทต่าง ๆ 

3. ความเข้าใจการปรับพื้นผิวโลหะ  พื้นผิวไม้ พื้นผิวปูน ในเรียบร้อย

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้กับพื้นผิวโลหะ พื้นผิวไม้ พื้นผิวปูน

2. ทักษะการทำพื้นผิวโลหะ พื้นผิวไม้ พื้นผิวปูน

3. ทักษะการปรับพื้นผิวโลหะ  พื้นผิวไม้ พื้นผิวปูน ในเรียบร้อย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. สามารถในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการทำพื้นผิวประเภทต่าง ๆ 

2. สามารถทำความสะอาดพื้นผิวโลหะ พื้นผิวไม้ พื้นผิวปูน

3. ความรู้การแก้ไขพื้นผิวโลหะ พื้นผิวไม้ พื้นผิวปูน ให้เรียบร้อย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้องภาพถ่ายหรือสื่อบันทึกผลงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะการทำพื้นประเภทต่าง ๆ 

2. ระบุหรืออธิบายการทำพื้นผิวประเภทต่าง ๆ ได้

3. การนำเสนอผลงาน 

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำพื้นผิว วัสดุประเภทต่าง ๆ 

2. ความสมบูรณ์ของผลงานที่นำเสนอ

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากผลงานที่นำเสนอ


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความสามารถในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการทำพื้นผิว วัสดุประเภทต่าง ๆ  

2. ความสามารถในการทำความสะอาดพื้นผิวโลหะ พื้นผิวไม้ พื้นผิวปูน

3. ความรู้เรื่องการแก้ไขพื้นผิวโลหะ พื้นผิวไม้ พื้นผิวปูน ให้เรียบร้อย

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

การทำความสะอาดพื้นผิววัสดุประเภทต่าง ๆ มีความสำคัญ เพื่อไม่มีคราบไขมัน สิ่งสกปรกเกาะติดผิวชิ้นงาน เพราะจะเกิดปัญหาต่อไปในการลงรักสมุก ถ้ามีร่องรอยการเสียหายหรือชำรุด ให้ทำการซ่อมแซม ก่อนนำไปทำงานขั้นต่อไป เมื่อทำความสะอาดเสร็จเรียบร้อย 

    อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดชิ้นงานประเภทต่าง ๆ 

1.    แปรง ชนิดต่าง ๆ   

2.    น้ำมันทินเนอร์   

3.    น้ำมันสน

4.    น้ำมันซักแห้ง

5.    เบกกิ้งโซดา (ใช้กับงานโลหะและไม้)    

6.    กรดซิตริก (ใช้กับงานโลหะและไม้)    

7.    น้ำยาลอกสี (ใช้ในกรณีที่โลหะมีสีติดมาก)

8.    น้ำส้มสายชู มะนาวและเกลือ มะขามเปียก (ใช้กับงานโลหะ)   

9.    ผ้าสะอาด     

10.    ผงซักฟอก  

    อุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับแต่งพื้นผิวชิ้นงานประเภทต่าง ๆ 

1.    น้ำยาทาปูนเก่า

2.    น้ำยาทาไม้

3.    น้ำยากันสนิม (ใช้กับพื้นผิวโลหะ)

4.    สีโป๊วแห้งเร็ว  ใช้ปรับพื้นผิวโลหะ พื้นผิวปูนพื้นผิวไม้ ให้เรียบ

5.    น้ำมันทินเนอร์

6.    น้ำมันสน 

7.    น้ำยาทาไม้ ประเภทสีทาไม้มะเกลือ 

8.    น้ำมันชแล็คทาไม้

9.    แปรงทาสี ขนาดต่าง ๆ 

10.    กระดาษทรายขัดไม้ 

11.    กระดาษทรายขัดโลหะ

    ขั้นตอนการทำความสะอาด

1. การทำความสะอาดพพื้นผิวชิ้นงานทุกประเภท ด้องทำการล้างน้ำให้พื้นผิวสะอาด

2. ถ้าเป็นพื้นผิวที่มีอายุเก่า ให้ทำการทาน้ำยา ตามชนิดของชิ้นงาน เช่น

    พื้นผิวปูนเก่า ใช้น้ำยาทาปูนเก่าทาประมาณ 2–3 ครั้ง ให้พื้นผิวปูนเก่าแข็งแรงขึ้นตามคุณสมบัติของน้ำยาที่นำมาใช้

    พื้นผิวไม้เก่า  ใช้น้ำมันทาไม้มะเกลือ (ผสมแอลกอฮอล์) ทาประมาณ 3-4 ครั้งให้น้ำมันทาไม้เข้าไปในเนื้อไม้ ทำให้เนื้อไม้แข็งแรงขึ้น 

    โลหะ สามารถใช้น้ำยาหรือน้ำมันทินเนอร์ ล้างทำความสะอาดได้ ถ้ามีร่องรอยการแตก ชำรุดเสียหาย ไม่มากสามารถซ่อมแซมได้ให้ทำการซ่อมแซม และปรับแต่งพื้นผิวใหม่

    ถ้าการเสียหายมากให้ส่วนต่อไปในงานช่างโลหะให้ซ่อมแซมบำรุงรักษาชิ้นงานใหม่เพราะเป็นงานที่เกินความสามารถของช่างรัก

    การทำความสะอาดไม่ให้มีคราบไขมัน สิ่งสกปรกเกาะติดผิวชิ้นงาน และตรวจสอบพื้นผิวชิ้นงานว่ามีร่องรอยแตกหรือไม่  เพราะอาจจะเกิดปัญหาต่อไปในการลงรักสมุกได้

    การปรับพื้นผิวชิ้นงานประเภทต่าง ๆ ให้เรียบร้อย

1.    พื้นผิวปูน  พื้นผิวไม้  เมื่อทาน้ำมันทาไม้มะเกลือ (ผสมแอลกอฮอล์) ทาประมาณ 3- 4 ครั้ง  ทิ้งให้แห้งแล้ว ถ้ามีร่องรอยแตก แยก ให้ใช้สีโป๊วแห้งเร็วผสมทินเนอร์เล็กน้อย ทาปิดร่องรอย หลาย ๆ ระดับแต่ละระดับต้องทิ้งให้สีโป๊วแห้งสนิท ขัดด้วยกระดาษทรายน้ำเบอร์ละเอียด ให้พื้นผิวเรียบร้อย จนไม่มีร่องรอยให้เห็น

2.     พื้นผิวโลหะ ถ้าร่องรอยไม่ใหญ่มาก ให้ทาน้ำมันทาไม้มะเกลือ (ผสมแอลกอฮอล์) ทาประมาณ 2 ครั้ง  ทิ้งให้แห้งแล้ว ใช้สีโป๊วแห้งเร็วผสมทินเนอร์เล็กน้อย ทาปิดร่องรอย 2 – 3 ครั้ง ให้ได้ผิวหนาขึ้นเล็กน้อย ทิ้งแห้งสนิทและขัดด้วยกระดาษทรายน้ำเบอร์ละเอียด ให้พื้นผิวเรียบร้อย จนไม่มีร่องรอยให้เห็น

ถ้ามีร่องรอยการเสียหายหรือชำรุด ให้ทำการซ่อมแซม ก่อนนำไปทำงานขั้นต่อไป เมื่อทำความสะอาดเสร็จเรียบร้อยเช็ดให้แห้ง แล้วให้ทำการห่อหรือปิดพื้นผิวชิ้นงานให้ทำการปิดให้สนิท อย่าให้มีสิ่งสกปรกเข้าไปเกาะติดได้อีก หลังจากทำความสะอาด 1 วันแล้ว สามารถนำไปทารักน้ำเกลี้ยง หรือ ลงรักสมุกได้ ใช้ปรับพื้นผิวโลหะ พื้นผิวปูนพื้นผิวไม้ ให้เรียบ

    ข้อควรระวังในการทำงาน 

1. การใส่ถุงมือยาง

2. หน้ากากปิดจมูก

3. แว่นตา

4. หน้าการที่สามารถกรองอากาศได้ ที่มีผงถ่านหรือหน้ากากกันสารเคมีหน้ากากกันฝุ่น หน้ากากกันสารเคมี หรืออุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจต่าง 

5. สถานที่ในการทำงานต้องเป็นที่อากาศถ่ายเทได้ดี เรื่องของการมีกลิ่น ไอสารเคมี กลิ่นเหม็น พัดลมปรับอากาศ ให้มีอากาศที่ถ่ายเทได้

    เมื่อทำการเตรียมพื้นผิวชิ้นงานประเภทต่าง ๆ ได้ แล้วตรวจสอบชิ้นงาน ความเรียบร้อย ความสมบูรณ์ ของพื้นผิวให้เรียบ ไม่มีร่องรอยต่าง ๆ เกิดขึ้น สามารถนำไปทำงานต่อไปได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบปฏิบัติ

18.2 การสอบสัมภาษณ์

18.3 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ