หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ ในการผสมรักสมุก

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-NFPQ-398B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ ในการผสมรักสมุก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างรักแบบศิลปะไทย TSCO 2452.64 ช่างปิดทอง,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย การใช้อุปกรณ์ในการเตรียมยางรัก ตามขั้นการผสม การป้องกันพิษจากยาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างรักแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
013121

เตรียมผงสมุกในการทำรักสมุก

1.1 ทำผงสมุก จากวัสดุธรรมชาติใบตอง ใบมะพร้าวได้ 

013121.01 201080
013121

เตรียมผงสมุกในการทำรักสมุก

1.2 ทำผงสมุกจากผงอิฐ ผงปูนได้ 

013121.02 201081
013121

เตรียมผงสมุกในการทำรักสมุก

1.3 ทำผงสมุกจากดินสอพองได้

013121.03 201082
013122

ผสมยางรักกับผงสมุก

2.1 ระบุขั้นตอนการทำผสมรักสมุก

013122.01 201083
013122

ผสมยางรักกับผงสมุก

2.2 ผสมรักสมุกกับผงสมุกต่าง ๆ ได้ 

013122.02 201084
013122

ผสมยางรักกับผงสมุก

2.3 จัดเก็บรักสมุกที่ผสมแล้วได้อย่างเหมาะสม

013122.03 201085
013123

ทดสอบการแห้งของรักสมุก

3.1 ระบุวิธีการทดสอบรักสมุก

013123.01 201086
013123

ทดสอบการแห้งของรักสมุก

3.2 ทดสอบรักสมุกได้

013123.02 201087
013123

ทดสอบการแห้งของรักสมุก

3.3 แก้ไขปัญหาของรักสมุกให้สามารถใช้งานได้

013123.03 201088

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    ความเข้าใจเรื่องผงสมุกประเภทต่าง ๆ 

2.    ความเข้าใจวิธีการผสมรักสมุก 

3.    ความรู้และทักษะการเลือกชนิดยางรักที่นำมาใช้ผสมรักสมุก 

4.    ความเข้าใจในการเลือกใช้ผงสมุกประเภทต่าง ๆ ในการทำสมุก


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการทำผงสมุกประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ผสมยางรัก

2.    ทักษะในการผสมรักกับผสมผงสมุกประเภทต่าง ๆ 

3.    ทักษะการแก้ปัญหาการผสมรักสมุก

4.    ความรู้การและทักษะการจัดเก็บรักสมุก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้การผสมผงสมุกประเภทต่าง ๆ กับยางรัก

2.    ความรู้วิธีการผสมรักสมุกประเภทต่าง ๆ 

3.    ความรู้ในการแก้ปัญหาการผสมรักสมุก

4.    ความรู้ในการทดสอบรักสมุก

5.    ความรู้ในการจัดเก็บรักสมุก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ภาพถ่ายหรือสื่อบันทึกผลงานการรผสมรักสมุก ระบุหรืออธิบายการทำรักสมุกประเภทต่าง ๆ 

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะการใช้ผสมรักสมุก

2.    ระบุหรืออธิบายสัดส่วนการใช้ผสมรักสมุก

3.    ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะการนำรักสมุกไปถมพื้นประเภทต่าง ๆ ได้

4.    ความรู้ในการทดสอบรักสมุก

5.    ระบุหรืออธิบายจัดเก็บรักสมุก

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1.    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องการผสมรักสมุก

2.    ความสมบูรณ์ของรักสมุก ที่นำเสนอ

3.    ความรู้ในการทดสอบรักสมุก

4.    ความรู้และทักษะการจัดเก็บรักสมุก

5.    ความสมบูรณ์ของผลงานที่นำเสนอ

    (ง) วิธีการประเมิน

1.    การประเมินผลความรู้โดยการการสอบสัมภาษณ์

2.    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

3.    จากผลงานจากแฟ้มหรือชิ้นผลงานที่นำมา นำเสนอเป็นข้อมูล


15. ขอบเขต (Range Statement)

     (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1.    อธิบายวัสดุ อุปกรณ์เครื่องที่ใช้การผสมรักสมุก

2.    ความรู้เรื่องวิธีการผสมรักสมุก  

3.    ผสมผงสมุกประเภทต่าง ๆ กับยางรัก

4.    การจัดเก็บรักสมุก

5.    การแก้ไขปัญหาของการผสมรักสมุกได้อย่างเหมาะสม 

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

     ผงสมุก ได้จากการเผาวัสดุธรรมชาติ “สมุก” เป็นวัสดุที่ลักษณะเป็นผง หรือป่นเป็นฝุ่น สมุกที่ใช้ในงานเครื่องรัก แบบไทยประเพณีอย่างโบราณวิธี มี 2 ชนิด 

1. สมุกอ่อน สมุกชนิดนี้ ได้แก่ ผงดินสอพอง ผงดินเหนียว เลือดหมูก้อน อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมกับรักน้ำเกลี้ยง ตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใช้ทารองพื้นที่ต้องการรองพื้นบาง ๆ และเรียบ

2. สมุกแข็ง ได้แก่ ผงถ่านใบตองแห้ง ผงถ่านหญ้าคา ผงปูนขาวอย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมกับรักน้ำเกลี้ยงตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใช้ทารองพื้นที่ต้องการรองพื้นหนา และแข็งมาก

สมุก คือ สิ่งที่ทำขึ้น เพื่อทารองพื้น หรือ ถมเป็นพื้นขึ้นไว้ระดับหนึ่ง เพื่อช่วยทำให้ผิวหน้าของพื้นที่รองรับอยู่ข้างใต้ มีคุณสมบัติดีขึ้น เฉพาะกรณีงานเขียนน้ำยาปิดทองรดน้ำ มักใช้สมุก ที่ประกอบด้วย ถ่านใบตองแห้งป่นผสมกับ ยางรัก กวนให้เข้ากัน ทำเป็นสมุก ใช้ทาลงพื้นบนพื้นไม้ พื้นผนังถือปูน เป็นต้น

     ผงสมุกที่เป็นธรรมชาติ กะลา  ใบตอง  ทางมะพร้าว และยังมีชนิดอื่น ๆ ที่ช่างรักใช้กันอยู่ตามภูมิปัญญาช่างรัก  นำไปเผาแบบการทำถ่าน ให้ได้เป็นผงถ่านไม่ใช้เป็นขี้เถ้า ต้องใช้ความรู้ในการเผาสมุก

ผงสมุกที่ได้นี้ เป็นภูมิปัญญาช่างรัก ช่างหัวโขน แบบโบราณที่ต้องนี้ความรู้และสามรถทำใช้ได้เอง ในปัจจุบันมีผู้ทำผงสมุก ขายช่างรัก ช่างหัวโขน สามารถหาซื้อนำมาใช้งานได้ 

การเผาผงสมุกจากธรรมชาตินี้ต้องใช้เวลาและจำนวนของวัสดุจำนวนมากมาเผา และผงสมุกที่ได้ออกมาก็มีจำนวนน้อยมาก เพื่อเผาออกมาเป็นผงสมุกได้จำนวนน้อยมาก และความร้อนของการเผาก็เป็นอันตราย ช่างรักในปัจจุบัน จึงมีการทำผงสมุกเองน้อยลง 

     ส่วนผสมของรักสมุก มีดังนี้

1.    รักน้ำเกลี้ยงตีให้เป็นเนื้อเดียวกันหรือที่ผ่านการกรองมาแล้วได้ยางรักใส่ ๆ 

2.    ผงถ่านที่ได้จากการเผาใบตอง

3.     ผงถ่านกะลา  ที่ได้จากการเผา    ผ่านการร่องละเอียด

4.     ผงถ่านใบตอง  ที่ได้จากการเผา  ผ่านการร่องละเอียด

5.    ผงถ่านทางมะพร้าว  ที่ได้จากการเผา   ผ่านการร่องละเอียด

6.    ดินสอพองร่องละเอียด

7.    ผงอิฐ  ที่ได้จากการตำ ผ่านการร่องละเอียด

8.    ผงหิน  ที่ได้จากการตำ ผ่านการร่องละเอียด

9.    ผงเปลืยกหอย  ที่ได้จากการเผาและตำเป็นผง ให้ผ่านการร่องละเอียด

10.ผงถ่านตามภูมิปัญญาท้องทิ้ง ที่สามารถนำมาใช้ในการทำรักสมุกได้

11. ผงชนิดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ต้องผ่าน การร่องละเอียด หรือผ่านการกรอง ให้ละเอียด โดยการกรองด้วยที่กรองแป้ง หรือผ้าตาข่าย  ผ้าสกรีนที่ละเอียด  ให้ได้ผงที่มีความละเอียด ๆ 

     การผสมรักสมุก

1.    นำผงสมุก ผ่านการร่องละเอียดใส่ภาชนะในการผสม ใส่รักน้ำเกลี้ยงผสมสมุก น้ำมันยาง และ ปูนแดงเล็กน้อยผสมร่วมให้เป็นเนื้อเดียวกัน  ถ้าแข็เกินไปก็ให้เพิ่มรักน้ำเกลี้ยงผสมลงไปเล็กน้อย 

2.    การผสมรักสมุกแบบนำส่วนผสมผงสมุกต่าง ๆ มาผสมกับน้ำเกลี้ยงผสมสมุก น้ำมันยางแล้วนำไปตั้งเตาไฟอ่อน ๆ ในการผสมก็ได้ ตามวิธีการของช่างให้ได้รักสมุก 

3.    การทดสอบรักสมุก ปั้นเป็นก้อน ๆ หรือทำเป็นเม็ด ๆ หลายขนาด วางทิ้งไว้ สังเกตการณ์แห้ง การแข็งตัว ว่ารักสมุกที่ผสมออกมาใช้งาน จะมีระยะเวลาแห้งอีกวัน เพราะการผสมรักสมุกทุกครั้งระยะเวลาการแห้งไม่เท่ากัน 

     การทดสอบรักสมุก

1.    นำรักสมุกทาหรือถมลงบนพื้นไม้  พื้นปูน พื้นโลหะ เป็นการทดสอบการแห้งของรักสมุก

2.    ตั้งทิ้งไว้ให้แห้ง ว่าใช้ระยะเวลานานเท่าไรรักสมุกถึงแห้งแข็ง 

3.    ในกรณีที่รักสมุกไม่แห้งในกลับไปผสมยางรักเพิ่ม หรือใส่ผงสมุกเพิ่ม ขึ้นอยู่กับว่ารักสมุกอ่อนไป หรือรักสมุกแข็งไป 

4.    ภูมิปัญญาช่างรักอาจมีการใช้ส่วนผสมอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็สามารภนำมานำเสนอได้  ตามภูมิปัญญาช่าง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบปฏิบัติ

18.2 การสอบสัมภาษณ์

18.3 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ