หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมยางรัก

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-KVJW-397B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมยางรัก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างรักแบบศิลปะไทย TSCO 2452.64 ช่างปิดทอง,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการกรองยางรักกรอง สามารถทำการกรองยางรักได้ สามารถระบุการจัดเก็บยางรักที่ผ่านการกรองได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างรักแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
013111

เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และกรองรัก


1.1 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการกรองยางรักกรอง 

013111.01 201071
013111

เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และกรองรัก


1.2 กรองยางดิบรัก ให้ได้ยางรักใสได้

013111.02 201072
013111

เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และกรองรัก


1.3 จัดเก็บรักษายางรักที่ผ่านการกรองได้เหมาะสม

013111.03 201073
013112

แบ่งชนิดของยางรักก่อนนำไปใช้

2.1 ระบุคุณลักษณะของยางรักที่สามารถนำไปผสมทำรักสมุกได้ 

013112.01 201074
013112

แบ่งชนิดของยางรักก่อนนำไปใช้

2.2. ระบุคุณลักษณะของยางรักที่สามารถนำไปทำยางรักที่ใช้ในการทาพื้นผิวชิ้นงานได้

013112.02 201075
013112

แบ่งชนิดของยางรักก่อนนำไปใช้

2.3 ระบุคุณลักษณะของยางรักที่สามารถนำไปทำยางรักที่ใช้ในการทาพื้นผิวให้เป็นรักเงาได้

013112.03 201076
013113

เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการป้องกันพิษจากยางรัก

3.1 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันตนเองจากพิษของยางรัก 

013113.01 201077
013113

เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการป้องกันพิษจากยางรัก

3.2 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันผู้ร่วมงานจากพิษของยางรัก 

013113.02 201078
013113

เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการป้องกันพิษจากยางรัก

3.3 ปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากพิษของยางรักได้

013113.03 201079

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในวัสดุ อุปกรณ์การกรองยางรัก ได้อย่างเหมาะสม  

2. ความรู้และมีทักษะ เรื่องยางรักประเภทต่าง ๆ 

3. ความเข้าใจและทักษะการกรองยางรักได้อย่างปลอดภัย 

4. สามารถทำการจัดเก็บยางรักที่กรองได้อย่างปลอดภัย 

5. ความรู้และทักษะการกรองยางรักเงา

7. ความเข้าใจและมีทักษะ เรื่องชุดป้องกันร่างกายในการทำงานยางรัก 

8. ความรู้เรื่องอาการแพ้ยางรัก

9. ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากพิษของยางรัก

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์การกรองยางรัก

2. ทักษะการกรองยางรักได้ ยางรักที่กรองออกมาเป็นประเภทต่าง ๆ 

3. ทักษะการกรองยางรักได้อย่างปลอดภัย

4. ทักษะการจัดเก็บยางรักอย่างปลอดภัย  

5. ทักษะการเรื่องชุดป้องกันร่างกายในการทำงานยางรัก

6. ทักษะเรื่องอาการแพ้ยางรัก

7. ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากพิษของยางรัก 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การกรองยางรัก แบบภูมิปัญญาหรือตามวิธีการของช่างแบบดั้งเดิม 

2. ความรู้ในการจัดเก็บยางรักที่ผ่านการกรอง

3. ความรู้ในการจัดเก็บยางรักอย่างปลอดภัย  

4. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์การป้องกันตนเองและผู้ร่วมงาน 

5. ความรู้เรื่องอาการแพ้ยางรัก

6. ความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากพิษของยางรัก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ภาพถ่ายหรือสื่อบันทึกผลงานการทำงานการกรองยางรัก หรือยางรักที่ช่าง ได้ทำการกรองออกมา ให้เป็นตัวอย่าง 

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายวัสดุ อุปกรณ์ การกรองยางรัก

2. ระบุหรืออธิบายการกรองยางรัก ได้อย่างถูกวิธีการกรองแบบดั้งเดิม หรือแบบความชำนาญของช่างรัก 

3. ระบุหรืออธิบายด้วยวิธีการที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาช่างรัก

4. ระบุและอธิบายการป้องกันตนเองและผู้ร่วมงาน 

5. ระบุและอธิบายการรักษาอาการแพ้ยางรักเบื้องต้นได้

6. ระบุและอธิบายการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากพิษของยางรัก

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการกรองยางรัก

2. ความรู้ในการกรองยางรัก ผลงานยางรักที่นำเสนอหรือนำมาเป็นตัวอย่าง

3. ความสมบูรณ์ของยางรักที่ผ่านการเก็บรักษาได้อย่างปลอดภัย

4. ความรู้และลักษณะของยางรัก ที่สามารถนำมาผสมให้เป็นรักสมุก

5. ความรู้และลักษณะของยางรักเงาที่สามารถนำไปใช้งาน

6. ความรู้และทักษะเรื่องชุดป้องกันร่างกายในการทำงานยางรักเบื้องต้น 

7. ความรู้และทักษะเรื่องอาการแพ้ยางรัก 

8. ความรู้และเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากพิษของยางรัก

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลความรู้โดยการการสอบสัมภาษณ์

3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

        (ก)  คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความรู้และทักษะการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการกรองยางรัก

2. ความรู้ในการกรองยางรัก ผลงานยางรักที่นำเสนอหรือนำมาเป็นตัวอย่าง

3. ความสมบูรณ์ของยางรักที่ผ่านการเก็บรักษาได้อย่างปลอดภัย

4. ความรู้และลักษณะของยางรัก ที่สามารถนำมาผสมให้เป็นรักสมุก

5. ความรู้และลักษณะของยางรักเงาที่สามารถนำไปใช้งาน

6. ความรู้และทักษะเรื่องชุดป้องกันร่างกายในการทำงานยางรักเบื้องต้น 

7. ความรู้และทักษะเรื่องอาการแพ้ยางรัก 

8. ความรู้และเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากพิษของยางรัก

        (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        ช่างรัก เป็นงานที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติมาใช้งาน ยางรักเป็นยางจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้ แต่ต้องผ่านขั้นตอนก่อนนำมาใช้งาน  

        ช่างรัก ต้องคัดเลือกยางรักที่ดีนำมาผสมเป็นรักสมุก และมีวิธีการผสมเพื่อให้ได้รักสมุกที่ดีในการนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ในทุกพื้นผิวที่นำรักสมุกทำพื้น ให้เกิดความแข็งแรง เมื่อแห้งสนิทแล้วสามารถขัดแต่งปรับพื้นผิวให้เรียบได้ 

        ยางรัก ที่นำมาใช้งานนั้นช่างส่วนใหญ่ใช้มือสัมผัส ในการทำงาน ทุกขั้นตอนทำให้มีโอกาสที่จะถูกยางรักติดตัวตลอดเวลา โดยที่ไม่รู้ตัวจะส่งผลให้ยางรักติดบนผิวหนังเป็นเวลานาน และส่งผลให้เกิดอาการแพ้    ยางรักได้ ในส่วนใหญ่งานช่างรักจะทำในบ้านหรือห้องทำงานที่แบ่งออกมาเป็นสัดส่วนในการทำงานโดยเฉพาะ  แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะมีการแพ้ยางรัก หรืออากาศในห้องทำงานส่งผลต่อผู้ร่วมงาน บุคคลอื่น ๆ ได้ จึงเป็นสาเหตุให้มีการดูแลรักษาช่างที่ใช้ยางรักในการทำงานอย่างเหมาะสมและถูกวิธีในเบื้องต้นได้ 



        ความรู้เรื่องแหล่งที่มาของยางรักและคุณสมบัติของยางรัก  

        ยางรัก เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเครื่องเขิน ทำหน้าที่ประสานคล้ายกาวหรือเรซินทำให้โครงไม้ไผ่ของเครื่องจักสานให้มีความแข็งแรง ขณะเดียวกันเมื่อแห้งแล้วมีคุณสมบัติคล้ายพลาสติก น้ำซึมผ่านไม่ได้ และยังทำหน้าที่เป็นวัสดุเคลือบผิว และยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักสานได้เป็นอย่างดี

        ต้นรัก หรือ Lacquer Tree มีชื่อทางภาษาพฤกษศาสตร์ว่า MELONORRHOEA USITATA หรือใน   แต่ละภาคของประเทศเรียกต่าง ๆ กัน

        ภาคกลาง เรียก รักใหญ่ รักน้ำเกลี้ยง และรัก

        ภาคเหนือ เรียก ฮักหลวง ฮัก

        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก น้ำเกลี้ยง

        ภาคตะวันตก (กระเหรี่ยง, กาญจนบุรี) เรียก ซู

        ภาคใต้ เรียก รัก

        การเตรียมยางรักดิบ รักน้ำเกลี้ยง  รักสมุก รักเช็ด  รักใส ยางรักที่นำมาใช้ในงานรักขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ใช้งาน 

        รักดิบ คือ ยางรักสด ที่ได้จากการกรีด หรือ สับจากต้นรัก ลักษณะเป็นของเหลวสีขาว เมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ รักดิบนี้จะต้องผ่านการกรองให้ปราศจาก      สิ่งสกปรกปะปน และจะต้องได้รับการขับน้ำที่เจืออยู่ตามธรรมชาติในยาง ให้ระเหยออกตามสมควรก่อน      จึงนำไปใช้ประกอบงานเครื่องรัก ก่อนนำมาใช้งาน

        วัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ในการกรองยางรัก มีดังนี้ 

1. ถุงมือ

2. หน้ากากปิดจมูก

3. แว่นตา

4. ผ้าขาวบางเนื้อละเอียด 

5. สำลี 

6. กะละมังสแตนเลส หรือกะละมังพลาสติก 2 – 3 ใบ

7. ไม้พาย ใช้ในการกวนยางรัก

8. ไม้สำหรับทำกรอบ 4 เหลี่ยม วางบนปากกะละมัง 

9. เชือกมัดใช้สำหรับผ้าขาวเบากับกรอบไม้ 4 เหลี่ยม ให้ติดกัน

10. ขวดพลาสติก แบบฝาเปิด ปิดได้ สำหรับเก็บยางรัก 

11. กระดาษไขลอกลาย

12. ผ้าสะอาด ๆ  

13. น้ำมันสน 

14. น้ำมันทินเนอร์

15. เศษผ้า สำหรับเช็คทำความสะอาด 

        อุปกรณ์ทั้งหมดนี้เป็นอุปกรณ์ในการกรองยางรักที่ใช้กันอยู่ และยังมีวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาตามสกุลช่างรักใช้กันอยู่ในบ้านช่างต่าง ๆ ดังนี้ 

1. ทำกรอบไม้ 4 เหลียมติดกับผ้าขาวบาง 1 ระดับ 

2. ระดับที่ 2 ใส่สำลี แล้วปิดด้วยผ้าขาวบาง อีก 1 ระดับ 

3. การติดผ้าขาวบาง 3 ระดับ นี้ให้ติดยึดกับกรอบไม้ 4 เหลียมให้แน่น ๆ 

4. วางบนกะละมัง ที่เตรียมไว้ ให้พอดีกับขนาด กรอบไม้ที่เตรียมไว้ 

5. นำยางรักที่เตรียมไว้ มาเทลงบนผ้าขาวเบา ที่ทำไว้ พอประมาณไม่มาก ไม่น้อยไป ผ้าขาวบางจะตกท้องช้าง ทำให้ยางรักค่อย ๆ ไหลผ่าระดับต่าง ๆ ของผ้าที่ทำไว้ ลงไปกะละมังที่รองรับยางรักไว้

6. ใช้ไม้พายค่อย ๆ กวน คน ให้เศษผงต่าง ๆ ที่ติดผ้ากรอง หลุดออกจากผ้า และให้ยางรักไหลผ่านลงมาตลอดเวลา 

7. การกรองยางรัก ต้องทำกลางแจ้ง ที่มีแสงแดดจัด ๆ จะทำให้ยางรักไหลออกมาได้ดี 

8. จะได้ยางรักใส แบบที่ไม่มีเศษผง ติดอยู่กับยางรัก และทำให้ได้ยางรักที่สะอาดมากขึ้น 

9. การเก็บยางรักที่ผ่านการกรองมาแล้วนั้นสามารถใส่ถัง หรือภาชนะอื่น ๆ ที่ช่างใส่อยู่ เมื่อใส่ยางรักลงในภาชนะแล้วให้ปิดหน้าของรักยางด้วย กระดาษไขลอกลาย ให้สนิทหน้าของยางรักแล้วปิดฝา ตามภาชนะที่ใส่ในสนิท ไม่ให้มีอากาศเข้าไปได้ เพราะจะทำให้ยางรักแห้งได้ 

10. การกรองยางรัก 1 ครั้งด้วยวิธีการนี้ จะได้ยางรักใส ที่สามารถนำไปใช้ในการผสมรัก    ในการทำรักสมุก 

        การแบ่งชนิดของยางรักก่อนนำไปใช้

        รักดิบ คือ ยางรักสด ที่ได้จากการกรีด หรือ สับจากต้นรัก ลักษณะเป็นของเหลวสีขาว เมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่งจะ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และ จะกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ 

รักดิบนี้จะต้องผ่านการกรองให้ปราศจากสิ่งสกปรกปะปน และ จะต้องได้รับการขับน้ำที่เจืออยู่ตามธรรมชาติในยาง ให้ระเหยออกก่อน จึงนำไปใช้ประกอบงานช่างรักได้

        ชนิดของยางรัก ประเภทต่าง ๆ  

- ยางรักจีน

- ยางรักญี่ปุ่น 

- ยางรักเวียดนาม

- ยางรักไทย ยางรักพม่า 

        1. ยางรักทำสมุก ต้องใช้ยางรักดิบ หรือยางรักสด ที่เก็บในภาชนะปิดสนิทอย่างดี ไม่มีการส่วนหรือผสมสารปรุงแต่งอื่น ๆ ต้องไปผ่านกระบวนการเพียงกรองให้ละเอียด ประมาณ 1 - 2 ครั้ง ในขั้นตอนการกรองยางรัก ให้ได้ยางรักที่สะอาดไม่มีเปลือกไม้ เศษผง ทราย ป่นอยู่กับยางรัก ยางรักที่ผ่านการกรองในขั้นตอนนี้จะได้ยางรักใส สามารถนำไปผสมทำรักสมุกได้

        2. ยางรักสำหรับใช้ทาชิ้นงาน โดยการนำยางรักที่ผ่านการกรอง 1 ครั้งได้ยางรักใส มาทำการกรองเป็นครั้งที่ 2 โดยการเพิ่มระดับในการกรอง ดังนี้

- ระดับที่ 1 วางผ้าขาวบาง สำลี แล้วปิดด้วยผ้าขาวเบา อีก 1 ระดับ

- ระดับที่ 2 วางผ้าขาวบาง สำลี แล้วปิดด้วยผ้าขาวเบา อีก 1 ระดับ จะเป็นการกรองแบบใช้ผ้าและสำลี 2 ระดับ จะทำให้ได้น้ำยางรักที่สะอาด และมีคุณสมบัติในการใช้งานทาพื้นผิวชิ้นงานที่ดี

        3. ยางรักเงา ได้จากขบวนการ แบบเดียวกับการกรอง ทำสมุก ยางรักใช้ทาพื้นผิวชิ้นงาน แต่ต้องทำการกรองเพิ่มอีกประมาณ 2 -3 ครั้ง ให้ยางรักมีการขับน้ำที่เจือปนอยู่ออกให้มากที่สุด และปราศจากสิ่งปะปน จะได้ยางรักที่มีความใส เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และ จะกลายเป็นสีน้ำตาลหรือดำก็ได้ จะมีความมันเงาในเนื้อของยางรักให้เห็น จะได้ยางรักที่สามารถใช้ทาในครั้งสุดท้าย ทำให้พื้นผิวชิ้นงานมีความมันเงาสวยงาม

        4. รักเช็ด คือ รักน้ำเกลี้ยงหรือรักใสที่ผ่านการกรอง 1 ครั้ง ผสมกับน้ำมันตังอิ๊ว น้ำมันยาง (ใช้ยาเรือ) เล็กน้อย ตามสัดส่วนของช่าง นำมาเคี่ยวบนไฟอ่อน ๆ ไล่น้ำในส่วนที่ยังอยู่ในยางรัก ให้ระเหยออกให้หมด จนได้เนื้อรักข้น และเหนียว รักเช็ดนี้ใช้แตะ ทา หรือ เช็ดลงบนพื้นชิ้นงาน เช่นลายรดน้ำ เช็ดรักปิดทองคำเปลว

        ยางรักบางแห่งเรียกว่า “น้ำเกลี้ยง” หรือ “รักน้ำเกลี้ยง” ก็มี “รัก หรือ ยางรัก” แต่ละชนิดที่ช่างรัก ใช้ประกอบงานช่างรัก รักน้ำเกลี้ยง คือ รักดิบที่ผ่านการกรอง และ ได้รับการขับน้ำเรียบร้อยแล้ว เป็นน้ำยางรักบริสุทธิ์ จึงเรียกว่า "รักน้ำเกลี้ยง" เป็นวัสดุพื้นฐาน ในการประกอบงานเครื่องรักชนิดต่าง ๆ เช่น ผสมสมุก ทาหรือถมพื้นทาผิว

        ยางรักแต่ละชนิด แต่ละที่ ที่ช่างรักได้นำมาใช้นั้น มีคุณภาพไม่เหมือนกัน แต่ละครั้งก็ไม่เหมือนกัน ช่างรักต้องมีการทดสอบ ทดลองคุณภาพของยางรักทุกครั้งที่ได้ยางรักมาใช้  จะได้ทำให้คุณภาพของยางรักและผลงานที่ใช้ยางรักออกมาได้คุณภาพที่ดี  

        การจัดเก็บยางรักที่ผ่านการกรอง

1. ถังน้ำพลาสติกมีฝาปิด ขนาดเล็ก สีเข้ม ๆ ไม่ให้โดยแสงแดด

2. กระดาษไขลอกลาย

3. ภาชนะอื่น ๆ ที่ทำตามภูมิปัญญา

 -  นำยางรักที่ผ่านการกรองใส่ในภาชนะ ประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของภาชนะแล้วปิดด้วยกระดาษไขลอกลาย ตัดตามรูปแบบปากภาชนะ 2 ระดับ แล้วปิดฝาภาชนะให้สนิทไม่ให้อากาศเข้าไปได้ 

- เก็บภาชนะในห้องที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ร้อนมาก เพื่อป้องกันยางรักแห้ง หรืออบอยู่ในห้องร้อน ๆ ไม่ให้โดนแสงแดด หรือใช้ผ้าคลุมให้ทึบแสงและกันน้ำ

- วางภาชนะให้สูง ให้สูงจากมือเด็ก ๆ 

        อุปกรณ์การป้องกันพิษของยางรักเบื้องต้น 

1. ชุดเสื้อผ้า สวดใส่มิดชิด เสื้อแขนยาว

2. ถุงมือ

3. หน้ากากปิดจมูก

4. หน้ากากกันสารเคมี

5. แว่นตา

6. ผ้าสะอาด

7. น้ำมันทินเนอร์ (ใช้ทำความสะอาดเมื่อร่างกายติดยางรัก เบื้องต้น)

8. น้ำมันสน (ใช้ทำความสะอาดเมื่อร่างกายติดยางรัก เบื้องต้น)

9. พัดลมดูดอากาศ (ใช้ในการระบายอากาศออกจาก ห้องทำงาน)

10. พัดลมเพดาน หรือพัดลมติดผนัง (ใช้ในการระบายอากาศออกจาก ห้องทำงาน)

11. ชุดยาแก้อากาศแพ้ยางรัก

        -    แป้งเย็นทาตัว (แป้งทาแก้อาการคัน)

        -    เหล้าขาว 40 ดีกรี (ผสมกับดินสอพองทาตัวที่ ๆ คัน)

        -    ยาแก้ลมพิษหรือผื่นลมพิษ

        -    ยาแก้อาการแพ้ยางรักตามภูมิปัญญาท้องถิ่น

        -    ยาแก้แพ้ตามถูมิปัญญาบ้านช่างรัก 

        อาการแพ้ยางรักที่ควรรู้เบื้องต้น

เบื้องต้น เป็นอาการของผู้ที่สัมผัสหรือได้รับไอระเหยของยางรักโดยตรงในขณะที่ทำงานหรืออยู่ใกล้ ๆ สถานที่ที่ทำงานยางรัก และเป็นผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอจะมีความรู้สึกระคายเคืองผิวหนัง ที่สัมผัสยางรักโดยตรง หรือติดมากับเสื้อผ้า ใบหน้า ข้อพับต่าง ๆ ซอกคอ เปลือกตา ตามลำตัว 

        อาการเบื้องต้นนั้นจะผื่นแดง และมีอาการคันตามบริเวณที่เกิดผื่นแดง และอาการจะที่อาการบวม หรือพองตุ่มน้ำใส ๆ ถ้าไปเกา จะยิ่งรุกลามไปอีกเรื่อย ๆ อาการช้าหรือแสดงอาการเร็ว ของผื่นแดงนั้นขึ้นอยู่ตามบุคคล บางที่ 2 – 3 วันจึงแสดงอาการออกมาให้เห็น บางทีก็แสดงผลของอาการได้เร็วขึ้นอยู่ว่ารับพิษของยางรักมากหรือน้อยไม่เท่ากัน  

        ขั้นตอนการกรองยางรัก อาจจะมีวิธีอื่น ๆ ตามภูมิปัญญา ผู้เข้ารับการประเมินสามารถ นำวิธีการและขั้นตอนอื่น ๆ มานำเสนอได้ ตามองค์ความรู้ของช่างรัก ที่ทำกันมาในบ้าน หรือตามสกุลช่างรักก็ได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบปฏิบัติ

18.2 การสอบสัมภาษณ์

18.3 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ