หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปั้นลายประจำยามนูนสูง

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-JQRH-394B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปั้นลายประจำยามนูนสูง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างปั้นแบบศิลปะไทย TSCO 2452.69 ช่างปั้น ช่างหล่อหุ่นและลาย,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะในการปั้นลายประจำยามนูนสูง สามารถอธิบายลักษณะของลักษณะของงานปั้นนูนสูง ลักษณะของลวดลายประจำยามนูนสูง และเลือกใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานปั้นลายประจำยามนูนสูง มีทักษะในการเขียนแบบลายประจำยามสำหรับงานปั้นนูนสูง ตลอดจนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมพื้น ทาบลายสำหรับงานปั้นลายประจำยามและสามารถขึ้นรูปงานปั้นลายประจำยามได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างปั้นแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
012211

เขียนแบบลายประจำยามสำหรับงานปั้นนูนสูง

1.1 ระบุลักษณะลายประจำยามบนพื้นที่งานปั้น

012211.01 201051
012211

เขียนแบบลายประจำยามสำหรับงานปั้นนูนสูง

1.2 เขียนแบบลายประจำยามและแรเงาแสดงมิติสำหรับงานปั้นนูนสูงด้วยวัสดุและอุปกรณ์ที่เหมาะสมตามขนาดที่กำหนด 

012211.02 201052
012212

เตรียมพื้น ทาบลาย สำหรับงานปั้นลายประจำยาม

2.1 เตรียมพื้นดินเหนียวด้วยการปั้นและขูดผิวดินให้เรียบสำหรับปั้นลายประจำยามในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

012212.01 201053
012212

เตรียมพื้น ทาบลาย สำหรับงานปั้นลายประจำยาม

2.2 ทาบลายด้วยแบบที่เขียนไว้ลงบนพื้นดินเหนียวที่เตรียมไว้ ใช้วัตถุปลายแหลมปรุลายตามเส้นของแบบลงบนพื้นดินเหนียวที่เตรียมไว้

012212.02 201054
012213

ขึ้นรูปงานปั้นลายประจำยามนูนสูง

3.1 ปั้นลายประจำยามด้วยการขึ้นรูปตามลำดับ คือ ปั้นจากส่วนกึ่งกลางคือไส้ลายรูปวงกลม ปั้นชิ้นส่วนของลายประจำยาม 4 กลีบ ตามแบบลายที่  ทาบไว้

012213.01 201055
012213

ขึ้นรูปงานปั้นลายประจำยามนูนสูง

3.2 ขูดผิวดินเพื่อกำหนดมิติในงานปั้นนูนสูง ตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นงานให้ตรงตามแบบ

012213.02 201056

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลักษณะงานปั้นนูนสูง

2. ความเข้าใจในลายประจำยามและมิติทางประติมากรรม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเขียนแบบเพื่องานปั้น

2. ความสามารถในการปฏิบัติงานปั้นให้ตรงตามแบบร่าง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของงานปั้นนูนสูง

2. ความสามารถในการปฏิบัติงานปั้นลายประจำยามให้ตรงตามแบบร่าง ดังนี้ การเขียนแบบลายประจำยามสำหรับงานปั้นนูนสูง การขึ้นรูปด้วยวิธีการทาบลายตามแบบร่าง ตลอดจนตรวจสอบความงามให้ตรงตามหลักการของงานปั้นนูนสูงที่มีมิติที่งดงาม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

การปฏิบัติงานปั้นลายประจำยามนูนสูงตามกรรมวิธี ดังนี้ เขียนแบบลายประจำยามนูนสูง เตรียมพื้นการทาบลาย และขึ้นรูปงานปั้นลายประจำยามในรูปสี่เหลี่ยม ได้ผลงานที่มีความงามที่ถูกต้องตามแม่แบบลายไทยและแสดงมิติตามแบบอย่างงานปั้นนูนสูง    

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะของแบบร่างลายประจำยามที่เหมาะสมกับงานปั้น

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนลายประจำยามบนพื้นที่งานปั้น และสามารถแก้ไขปัญหาหากพบข้อผิดพลาดจากการกำหนดพื้นที่ได้

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานปั้นลายประจำยาม ความสามารถในการเขียนแบบลายประจำยาม การเตรียมพื้นการทาบลายและการขึ้นรูปเป็นผลงานสำเร็จ

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติงานปั้นลายประจำยามนูนสูงที่มีความถูกต้องตามแบบแม่ลายและมีความงามตามมิติของงานปั้นนูนสูง

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของงานปั้นนูนสูงและลวดลายประจำยาม

2. สามารถดำเนินการร่างแบบลายประจำยามเพื่องานปั้นด้วยตนเองครบทุกขั้นตอน

3. เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการปั้นลายประจำยามนูนสูงได้อย่างเหมาะสม



     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ลายปั้นนูนสูง คือ งานปั้นที่สูงขึ้นจากพื้นในลักษณะที่เกินครึ่งของผลงานจริง (หากเป็นงานปั้นลอยตัว) งานปั้นนูนสูงยังคงเป็นผลงานที่มองได้ด้านหน้าและด้านข้างเพราะมีระนาบพื้นรองรับไว้

    ลายประจำยาม มีอีกชื่อหนึ่งว่าลายดอกสี่กลีบ คือ ลายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปดอก 4 กลีบ มีไส้ลายเป็นรูปวงกลม ใช้เป็นแม่ลายหลักที่อาจแบ่งรายละเอียดในตัวลายเป็นแบบต่าง ๆ ใช้ออกลาย คั่นลาย ห้ามลาย และปิดลาย 

    ช่องไฟในงานศิลปะ คือ ความสำคัญของการแสดงสัดส่วนความงาม ช่องไฟจึงเป็นจังหวะที่ทำให้ลวดลายมีความเหมาะสมสัมพันธ์กันไปตลอดทั้งผืนภาพ ช่องไฟในงานศิลปะเกิดจากการกำหนดโครงสร้างขององค์ประกอบ แล้วจึงมีช่องเว้นระยะเพื่อให้ลวดลายไม่พันกันจนมองไม่ออก ในงานปั้น ช่องไฟมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจาก มิติที่เกิดจากการมองนั้นจะต้องมีการเว้นระยะ ทั้งการเว้นระยะของลวดลาย และการเว้นระยะของรูปทรง ดังจะพบว่า แม้แต่ลายที่มีลักษณะซ้ำกันยังมีช่องไฟที่แสดงลักษณะเฉพาะของลวดลายไว้

    การกำหนดพื้นที่ในงานปั้น ในการประกอบร่างของลวดลาย สำหรับการปฏิบัติงานที่อาจจะมีลักษณะของการทำชิ้นส่วนซ้ำ ๆ มาเพื่อนำมาประกอบใหม่นั้น การกำหนดสัดส่วนและพื้นที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกัน มิให้เกิดช่องว่างที่หาลวดลายที่เหมาะสมมาประดับไม่ได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบปฏิบัติ

18.2 การสอบสัมภาษณ์

18.3 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ