หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปั้นลายกระจังตาอ้อยนูนต่ำ

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-PRDX-393B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปั้นลายกระจังตาอ้อยนูนต่ำ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างปั้นแบบศิลปะไทย TSCO 2452.69 ช่างปั้น ช่างหล่อหุ่นและลาย,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะในการปั้นลายกระจังตาอ้อยนูนต่ำ สามารถอธิบายลักษณะของลายกระจังตาอ้อยนูนต่ำ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานปั้นลายกระจังตาอ้อยนูนต่ำ ด้วยการเขียนแบบลายกระจังตาอ้อยสำหรับงานปั้นนูนต่ำ ขึ้นรูปงานปั้นกระจังตาอ้อย และปั้นลายกระจังตาอ้อยมาประกอบเป็นชิ้นงานบัวหงาย บัวคว่ำได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างปั้นแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
012131

เขียนแบบลายกระจังตาอ้อยสำหรับงานปั้นนูนต่ำ

1.1 ระบุลักษณะลายกระจังตาอ้อยบนพื้นที่งานปั้น

012131.01 201045
012131

เขียนแบบลายกระจังตาอ้อยสำหรับงานปั้นนูนต่ำ

1.2 เขียนแบบลายกระจังตาอ้อย แรเงาแสดงมิติสำหรับการปั้นนูนต่ำ ด้วยวัสดุและอุปกรณ์ที่เหมาะสมตามขนาดที่กำหนด

012131.02 201046
012132

ขึ้นรูปงานปั้นกระจังตาอ้อย

2.1 เตรียมดินในรูปสามเหลี่ยมสำหรับงานปั้นลายกระจังตาอ้อยนูนต่ำด้วยการปั้นและขูดผิวดินให้เรียบ

012132.01 201047
012132

ขึ้นรูปงานปั้นกระจังตาอ้อย

2.2 ปั้นลายกระจังตาอ้อยบนพื้นที่งานปั้นที่เตรียมไว้ ด้วยการทาบลายจากแบบที่เขียนไว้ ปั้นขึ้นรูปกระจังตาอ้อยด้วยดินเหนียวและอุปกรณ์ปั้นที่มีความเหมาะสมกับลักษณะผลงาน

012132.02 201048
012133

ปั้นลายกระจังตาอ้อยบนพื้นที่ระนาบของลวดบัว

3.1 แบ่งพื้นที่เพื่อกำหนดจำนวนงานปั้นกระจังตาอ้อยนูนต่ำให้พอดีกับพื้นที่ลวดบัว

012133.01 201049
012133

ปั้นลายกระจังตาอ้อยบนพื้นที่ระนาบของลวดบัว

3.2 ปั้นลายกระจังตาอ้อยนูนต่ำตามจำนวนที่กำหนดบนพื้นที่งานปั้นด้วยอุปกรณ์ปั้นที่มีความเหมาะสมกับลักษณะผลงาน 

012133.02 201050

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลักษณะงานปั้นนูนต่ำ

2. ความเข้าใจในลายกระจังตาอ้อย การประดับลายกระจังตาอ้อยเป็นงานบัวหงาย บัวคว่ำ ตลอดจนมีความเข้าใจมิติทางประติมากรรม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการเตรียมและใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนแบบสำหรับงานปั้น

2. ความสามารถในการปฏิบัติงานปั้นลายกระจังให้ตรงตามแบบร่างและลำดับในการปฏิบัติงาน ดังนี้ เขียนแบบลายกระจังสำหรับงานปั้น ขึ้นรูปงานปั้นกระจัง ตลอดจนตรวจสอบความงามให้ตรงตามหลักการของงานปั้นที่มีมิติที่งดงาม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของงานปั้นนูนต่ำ

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์สำหรับงานปั้น 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

การปฏิบัติงานปั้นลายกระจังตาอ้อยนูนต่ำตามขั้นตอนที่กำหนด ดังนี้ เขียนแบบลายกระจังตาอ้อยสำหรับงานปั้นนูนต่ำ ขึ้นรูปและปั้นกระจังนูนต่ำ ตลอดจนนำงานปั้นกระจังนูนต่ำมาประกอบเป็นงานบัวหงาย บัวคว่ำได้

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะของแบบร่างลายกระจังตาอ้อยสำหรับงานปั้นนูนต่ำ

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนลายกระจังตาอ้อยพื้นที่งานปั้น และสามารถแก้ไขปัญหาหากพบข้อผิดพลาดจากการแบ่งพื้นที่ได้

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องการปั้นลายกระจังตาอ้อยนูนต่ำ สัดส่วนและการแบ่งพื้นที่ในรูปสามเหลี่ยมให้เกิดความงามที่ถูกต้องตามแม่แบบลายกระจังได้

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติงานปั้นลายกระจังตาอ้อย และสามารถนำงานปั้นลายกระจังตาอ้อยนูนต่ำมาประกอบเป็นงานบัวหงาย บัวคว่ำ โดยมีการกะระยะและจำนวนของกระจังตาอ้อยบนพื้นที่ที่กำหนดได้อย่างเหมาะสม

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของงานปั้นนูนต่ำและลวดลายกระจังตาอ้อย

2. สามารถดำเนินการร่างแบบลายกระจังตาอ้อยเพื่องานปั้นด้วยตนเองครบทุกขั้นตอน

3. เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการปั้นกระจังตาอ้อยนูนต่ำได้อย่างเหมาะสม

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    งานปั้นนูนต่ำ คือ งานปั้นนูนต่ำคืองานปั้นที่มีความสูงจากพื้นเพียงเล็กน้อยไม่เกินครึ่งของผลงานจริงและมองเห็นได้เพียงด้านหน้าด้านเดียว

    ลายกระจัง คือ แม่ลายพื้นฐาน อยู่ในรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลายกระจังมีหลายชนิด เรียกชื่อต่าง ๆตามการออกแบบลายและตำแหน่งที่ลายประดับ

    กระจังตาอ้อย คือ กระจังที่มีขนาดเล็กที่สุด มีลักษณะคล้ายตาของต้นอ้อย 

    ช่องไฟในงานศิลปะ คือ ความสำคัญของการแสดงสัดส่วนความงาม ช่องไฟจึงเป็นจังหวะที่ทำให้ลวดลายมีความเหมาะสมสัมพันธ์กันไปตลอดทั้งผืนภาพ ช่องไฟในงานศิลปะเกิดจากการกำหนดโครงสร้างขององค์ประกอบ แล้วจึงมีช่องเว้นระยะเพื่อให้ลวดลายไม่พันกันจนมองไม่ออก ในงานปั้น ช่องไฟมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากมิติที่เกิดจากการมองนั้นจะต้องมีการเว้นระยะ ทั้งการเว้นระยะของลวดลาย และการเว้นระยะของรูปทรง ดังจะพบว่า แม้แต่ลายที่มีลักษณะซ้ำกันยังมีช่องไฟที่แสดงลักษณะเฉพาะของลวดลายไว้

    การกำหนดพื้นที่ในงานปั้น ในการประกอบร่างของลวดลาย สำหรับการปฏิบัติงานที่อาจจะมีลักษณะของการทำชิ้นส่วนซ้ำ ๆ มาเพื่อนำมาประกอบใหม่นั้น การกำหนดสัดส่วนและพื้นที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดช่องว่างที่หาลวดลายที่เหมาะสมมาประดับไม่ได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบปฏิบัติ

18.2 การสอบสัมภาษณ์

18.3 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ