หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำ

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-YUKY-392B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างปั้นแบบศิลปะไทย TSCO 2452.69 ช่างปั้น ช่างหล่อหุ่นและลาย,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะในการปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำ สามารถอธิบายลักษณะของลวดลายกระหนกเปลวนูนต่ำ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำ โดยมีความสามารถในการเขียนแบบลายกระหนกเปลวสำหรับงานปั้นนูนต่ำ ขึ้นรูปและสะบัดยอดตัวกระหนกเปลว ตลอดจนใส่ไส้ลายตัวเหงา ตัวกาบเพื่อให้เป็นผลงานปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำที่สมบูรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างปั้นแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
012121

เขียนแบบลายกระหนกเปลวสำหรับงานปั้นนูนต่ำ

1.1 ระบุลักษณะลายกระหนกเปลวบนพื้นที่งานปั้น

012121.01 201039
012121

เขียนแบบลายกระหนกเปลวสำหรับงานปั้นนูนต่ำ

1.2 เขียนแบบลายกระหนกเปลว แรเงาแสดงมิติสำหรับการปั้นนูนต่ำ ด้วยวัสดุและอุปกรณ์ที่เหมาะสมตามขนาดที่กำหนด

012121.02 201040
012122

ปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำ

2.1 เตรียมดินด้วยการปั้นและขูดผิวดินให้เรียบในรูปสามเหลี่ยมสำหรับงานปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำ

012122.01 201041
012122

ปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำ

2.2 ปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำบนพื้นที่งานปั้นที่เตรียมไว้ ด้วยการทาบลายจากแบบที่เขียนไว้ ขึ้นรูปงานปั้นกระหนกเปลวและสะบัดยอดด้วยอุปกรณ์ปั้นที่มีความเหมาะสมกับลักษณะผลงาน

012122.02 201042
012123

ใส่ไส้ลาย ตัวเหงา ตัวกาบ

3.2 ระบุลักษณะ ใส่ไส้ลาย ตัวเหงา ตัวกาบและการบากลายในงานปั้นกระหนกเปลวนูนต่ำ

012123.01 201043
012123

ใส่ไส้ลาย ตัวเหงา ตัวกาบ

3.2 ปั้นไส้ลาย ตัวเหงา ตัวกาบ ตลอดจนบากลายให้กับงานปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำด้วยอุปกรณ์ปั้นที่มีความเหมาะสมกับลักษณะผลงาน

012123.02 201044

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลักษณะงานปั้นนูนต่ำ 

2. ความเข้าใจในลายกระหนกเปลว และมิติทางประติมากรรม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการเตรียมและใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนแบบสำหรับงานปั้น

2. ความสามารถในการปฏิบัติงานปั้นให้ตรงตามแบบร่าง สามารถเขียนแบบสำหรับงานปั้น สามารถขึ้นรูปงานปั้นและลงมือปฏิบัติงานปั้นให้สำเร็จ ตลอดจนตรวจสอบความงามให้ตรงตามหลักการของงานปั้นที่มีมิติที่งดงาม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของงานปั้นนูนต่ำ

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์สำหรับงานปั้น 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. การปฏิบัติงานปั้นลายกระหนกเปลวนูนต่ำ ผ่านกระบวนการเขียนแบบ ปั้นลาย และใส่ไส้ลายของกระหนกเปลวนูนต่ำ

2. ผลงานปั้นกระหนกเปลวนูนต่ำที่มีความเหมาะสมทั้งขนาดและการกำหนดพื้นที่งานปั้น

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะของแบบร่างลายกระหนกเปลวนูนต่ำที่เหมาะสมกับงานปั้น

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนลายกระหนกเปลวนูนต่ำบนพื้นที่งานปั้น และสามารถแก้ไขปัญหาหากพบข้อผิดพลาดจากการกำหนดสัดส่วนบนพื้นที่งานปั้น

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานปั้นกระหนกเปลวนูนต่ำ การเขียนแบบ การปั้น และการแต่งเติมให้เกิดผลงานที่ความสมบูรณ์

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติงานปั้นกระหนกเปลวนูนต่ำ โดยผลงานจะต้องมีลักษณะที่ถูกต้องตามหลักของโครงสร้างลายกระหนกเปลว และมีมิติที่งดงามของการปั้นนูนต่ำ

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

    1. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของงานปั้นนูนต่ำและลวดลายกระหนกเปลว

2. สามารถดำเนินการร่างแบบลายกระหนกเปลวเพื่องานปั้นด้วยตนเองครบทุกขั้นตอน

3. เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการปั้นกระหนกเปลวนูนต่ำได้อย่างเหมาะสม

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

งานปั้นหรืองานประติมากรรมเป็นงานศิลปกรรม 3 มิติ ไม่เพียงรูปร่างเท่านั้นที่แสดงความงาม แต่รูปทรงและมิติแสงเงาเป็นผลลัพธ์ทางความงามในงานประติมากรรมด้วย ช่างปั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจในมิติของรูปทรงในงานปั้น และสามารถเขียนแบบร่างสำหรับงานปั้นได้ ซึ่งแบบร่างเพื่องานปั้นนั้นมีความแตกต่างจากงานเขียนทั่วไป แบบร่างจะต้องแสดงมิติที่ทำให้กระบวนการทำงานปั้นนั้นเกิดความเข้าใจตามแบบร่างที่กำหนด

    งานปั้นนูนต่ำ คือ งานปั้นนูนต่ำคืองานปั้นที่มีความสูงจากพื้นเพียงเล็กน้อยไม่เกินครึ่งของผลงานจริงและมองเห็นได้เพียงด้านหน้าด้านเดียว

    กระหนก ลายพื้นฐานหรือแม่ลาย อยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม ใช้ผูกลวดลายแบบต่าง ๆ เกือบทุกประเภท  

    ลายกระหนกสามตัว คือ ลายที่อยู่ในโครงสร้างรูปสามเหลี่ยมประกอบด้วยตัวกระหนกสามตัวได้แก่ ตัวเหงา ตัวประกบ (เรียกว่า กาบ ก็มี) และตัวยอด เป็นโครงสร้างหลักที่สามารถแบ่งตัวลายให้ซับซ้อนงดงามยิ่งขึ้น ใช้ผูกหรือประกอบเป็นลายต่าง ๆ เช่น ลายก้านขด ลายก้านแย่ง ลานก้านไขว้ ลายประจำยามก้ามปู  

    กระหนกเปลว คือ ลวดลายไทยที่มีลักษณะของรูปร่างสะบัดอ่อนช้อย มีส่วนของปลายลายที่สะบัดคล้ายคดกริช 

    อุปกรณ์สำหรับงานปั้นกระหนกเปลว อุปกรณ์ในงานปั้นส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถซื้อได้ทั่วไปหรือสามารถดัดแปลงขึ้นจากวัสดุรอบตัว โดยมากทำหน้าที่สำคัญ คือ เกลี่ยผิวดินเหนียว เช่น เกรียงขนาดต่าง ๆ ขูดดินเหนียวออกตามรูปร่างที่ต้องการ และการกดดินเพื่อสร้างลวดลาย ในการใช้อุปกรณ์สำหรับงานปั้นจะต้องทราบวิธีการเก็บรักษาเพื่อป้องกันการเกิดสนิม หรือความเสื่อมสภาพจากการใช้งาน โดยหลังจากใช้อุปกรณ์สำหรับงานปั้นแล้วให้ล้างทำความสะอาดเนื้อดินออกให้หมด เช็ดให้แห้ง และอาจเคลือบผิวด้วยน้ำมัน ในกรณีที่อุปกรณ์นั้นทำจากเหล็กเพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยากับอากาศจนเกิดสนิม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบปฏิบัติ

18.2 การสอบสัมภาษณ์

18.3 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ