หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนตัวกาก

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-ICAD-390B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนตัวกาก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างเขียนแบบศิลปะไทย TSCO 2452.66 ช่างเขียน,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะในการเขียนตัวกากแบบต่าง ๆ สามารถอธิบายลักษณะทางกายวิภาคของตัวกาก (ตัวชาวบ้าน) ตลอดจนสามารถถ่ายทอดอิริยาบถต่าง ๆ มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของอาชีพชาวบ้าน เครื่องแต่งกายตามยุคสมัยและเลือกใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเขียนตัวกาก ได้แก่ ตัวกากชาย ตัวกากหญิง ตัวกากเด็ก และตัวกากคนแก่

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเขียนแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
011331

เขียนตัวกากชาย

1.1 ระบุลักษณะทางกายวิภาคแบบศิลปะไทยของตัวกากชายและระบุเครื่องแต่งกายตัวกากชายบนพื้นที่เขียน

011331.01 200932
011331

เขียนตัวกากชาย

1.2 เขียนตัวกากชายในอิริยาบถที่กำหนด ด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาพ

011331.02 200933
011332

เขียนตัวกากหญิง

2.1 ระบุลักษณะทางกายวิภาคแบบศิลปะไทยของตัวกากหญิง ระบุเครื่องแต่งกายตัวกากหญิงบนพื้นที่เขียน

011332.01 200934
011332

เขียนตัวกากหญิง

2.2 เขียนตัวกากหญิงในอิริยาบถที่กำหนด ด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาพ

011332.02 200935
011333

เขียนตัวกากเด็ก

3.1 ระบุลักษณะทางกายวิภาคแบบศิลปะไทยของตัวกากเด็ก 

011333.01 200936
011333

เขียนตัวกากเด็ก

3.2 เขียนตัวกากเด็กในอิริยาบถที่กำหนด ด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาพ

011333.02 200937
011334

เขียนตัวกากคนแก่

4.1 ระบุลักษณะทางกายวิภาคแบบศิลปะไทยของตัวกากคนแก่

011334.01 200938
011334

เขียนตัวกากคนแก่

4.2 เขียนตัวกากคนแก่ในอิริยาบถที่กำหนด ด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาพ

011334.02 200939

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลักษณะของดินเหนียวทั้งที่เป็นดินเหนียวในขณะแห้ง และดินเหนียวในขณะเปียก

2. ความเข้าใจในคุณสมบัติของดินเหนียวที่เหมาะสมกับงานปั้น ตลอดจนความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บรักษาเนื้อดินเหนียวให้คงสภาพพร้อมใช้

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการเตรียมและใช้วัสดุอุปกรณ์ในบดดินและร่อนดินเหนียว

2. ความสามารถในการนวดดินเหนียว โดยใช้ดินเหนียวที่บดละเอียดจนกลายเป็นผงนวดกับน้ำสะอาดลงบนพื้นที่ปฏิบัติงานตามที่กำหนด และสามารถควบคุมคุณภาพของดินเหนียวที่นวดแล้วให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกลักษณะของดินเหนียว ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมดิน

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายในกระบวนการเตรียมดินเหนียวสำหรับงานปั้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ปฏิบัติงานเตรียมดินเหนียวสำหรับงานปั้น ตามกรรมวิธีที่กำหนด คือ การบดดิน การร่อนดินและการนวดดิน

2. ผลการปฏิบัติงานเตรียมดินเหนียว  ดินเหนียวที่ผ่านการนวดสำเร็จเป็นดินเหนียวพร้อมใช้และจัดเก็บดินเหนียวที่ได้ด้วยการหุ้มห่อด้วยแผ่นพลาสติก หรือภาชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อถนอมรักษาให้ดินเหนียวมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น        

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายลักษณะของดินเหนียวที่มีความเหมาะสมในงานปั้น

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนของผงดินเหนียวที่บดละเอียดกับปริมาณน้ำสะอาดและการแก้ไขปัญหาหากพบข้อแตกต่างทางด้านวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานเตรียมดิน ด้วยการบดดินเหนียว ร่อนดินเหนียวและการนวดดินเหนียว

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติการเตรียมดินเพื่องานปั้น ดินเหนียวที่ผ่านการนวดและมีความเหมาะสมต่อการปั้น ไม่ร่วนหรือเหลวจนเกินไป

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของดินเหนียวที่ใช้สำหรับงานปั้น

2. สามารถดำเนินการเตรียมดินเหนียวสำหรับงานปั้นด้วยตนเองครบทุกขั้นตอน

3. เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเตรียมดินเหนียวได้อย่างเหมาะสม

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ดินเหนียว คือ ดินที่เมื่อเปียกจะมีของความเหนียวและเมื่อแห้งจะมีความแกร่งสูงกว่าดินชนิดอื่น ๆ โดยมากพบที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ ซึ่งดินเหนียวเกิดจากการทับถมอินทรียวัตถุเป็นเวลานาน ดินเหนียวอุ้มน้ำได้ดีจึงเหมาะกับการปลูกข้าวเนื่องจากข้าวมีความต้องการน้ำในปริมาณมากเพื่อการเติบโต 

    การเตรียมดินเหนียว คือ การนำดินเหนียวที่แห้งสนิทมาทำการบด ซึ่งการบดดินเหนียวจะบดก้อนดินที่แห้งสนิทแล้วเท่านั้น โดยใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายสำหรับทุบดินเหนียวก้อนใหญ่ในละเอียดลง บดดินให้มีขนาดย่อมลงมาจนกลายเป็นผง ซึ่งวัสดุรองรับการบดดินอาจใช้พื้นราบที่ปูด้วยผืนพลาสติกเพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติงาน

    การบดดินเหนียว คือ การบดจนดินเหนียวแห้งที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็งให้กลายเป็นผงดิน และมีความละเอียดพอที่จะใช้ตะแกรงตาถี่ร่อนก่อนนำไปผสมน้ำเพื่อนวดผงดินให้กลายเป็นก้อนดินเหนียวพร้อมใช้สำหรับงานปั้น

    ตะแกรงที่ใช้ในการร่อนดิน ส่วนมากใช้ตะแกรงโลหะ หรือตะแกรงพลาสติกที่มีช่องขนาดเล็กเพื่อให้ได้ผงดินที่มีความละเอียด สำหรับการร่อนดินให้ตักดินที่บดแล้วใส่ตะแกรงแล้วเขย่าเบา ๆ ให้ผงดินร่วนลงในภาชนะที่เตรียมไว้ สำหรับดินที่บดแล้วและมีขนาดใหญ่เกินร่องของตะแกรง ให้นำกลับไปบดละเอียดต่ออีกครั้ง ข้อพึงระวังคือ หากพบมีเศษใบไม้หรือสิ่งอื่นที่ปะปนในเนื้อดินเหนียวให้แยกออกไม่นำไปปนกับผงดินที่พร้อมสำหรับการใช้งาน

    นวดดิน ผงดินที่ได้จากการบดและการร่อนจนเป็นผงเนื้อละเอียดแล้ว ให้นำมาผสมกับน้ำสะอาด สำหรับอัตราส่วนให้ใช้การกะปริมาณระหว่างผงดินและน้ำสะอาด ทดสอบความเหนียวจากการผสมและนวดกับน้ำจนเป็นเนื้อเดียวกัน ดินที่ได้จะต้องไม่เหลวเกินไป หรือแห้งเกินไป การนวดดินเหนียวที่ดีจะต้องนวดโดยใช้ผงดินทีละน้อยแล้วค่อยเพิ่มปริมาณ โดยใช้สองมือกดเนื้อดินลงบนพื้นเรียบจนดินเหนียวนั้นสามารถจับตัวเป็นก้อน เมื่อดึงเนื้อดินจะต้องไม่ขาดจากกันในทันทีและไม่ร่วนจนเกินไป

    การเก็บรักษาดิน ดินที่นวดแล้วสำหรับการใช้งานจะต้องทำการเก็บรักษาเนื้อดินเหนียวไม่ให้แห้งแข็งและมีความชื้นเพียงพอ พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยมากใช้วิธีการหุ้มห่อด้วยพลาสติก สำหรับการป้องกันการแห้งแข็งตัวของเนื้อดินสำหรับชิ้นงานปั้นที่อยู่ระหว่างการปฏิบัติงานให้ใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดคลุมไว้ จะสามารถช่วยให้ชะลอการแห้งแข็งของดินและรักษาความชุ่มชื้นของดินเหนียวได้

    หากดินเหนียวที่ใช้สำหรับงานปั้นเริ่มแห้งไม่สามารถใช้ทำงานปั้นได้ แก้ไขด้วยการปฏิบัติการเตรียมดินในขั้นตอนแรกอีกครั้ง คือการนำดินเหนียวที่แห้งสนิทมาบดให้ละเอียดเป็นผง ร่อนผงดินเพื่อรอนวด และนวดดินโดยใช้น้ำสะอาด ตลอดจนเก็บรักษาดินให้คงความชุ่มชื้นด้วยการห่อพลาสติกหรือภาชนะปิดมิดชิด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบปฏิบัติ

18.2 การสอบสัมภาษณ์

18.3 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ