หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนตัวนาง

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-DOVO-389B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนตัวนาง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างเขียนแบบศิลปะไทย TSCO 2452.66 ช่างเขียน,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะในการเขียนตัวนางแบบต่าง ๆ สามารถอธิบายลักษณะทางกายวิภาคของตัวนาง ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับเทพสตรี เครื่องอาวุธประจำตัว และเลือกใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเขียนตัวนาง ได้แก่ ตัวนางในท่านั่ง ตัวนางในท่ายืน ท่าเดิน มีลวดลายของมงกุฎและชฎาที่แสดงฐานะของตัวนาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเขียนแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
011321

เขียนตัวนางท่านั่ง

1.1 ระบุลักษณะทางกายวิภาคของศิลปะไทยสำหรับตัวนางท่านั่งบนพื้นที่เขียน 

011321.01 200921
011321

เขียนตัวนางท่านั่ง

1.2 ระบุความหมายของนาฏลักษณ์ตัวนางท่านั่งบนพื้นที่เขียนตามที่กำหนด

011321.02 200922
011321

เขียนตัวนางท่านั่ง

1.3 เขียนตัวนางท่านั่ง บนพื้นที่เขียนด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาพ

011321.03 200923
011322

เขียนตัวนางท่ายืน ท่าเดิน

2.1 ระบุลักษณะทางกายวิภาคของศิลปะไทยสำหรับตัวนางในท่ายืน ท่าเดินบนพื้นที่เขียน

011322.01 200924
011322

เขียนตัวนางท่ายืน ท่าเดิน

2.2 ระบุความหมายของนาฏลักษณ์ที่ตัวนางท่ายืน ท่าเดินบนพื้นที่เขียนตามที่กำหนด

011322.02 200925
011322

เขียนตัวนางท่ายืน ท่าเดิน

2.3 เขียนตัวนางท่ายืน ท่าเดิน บนพื้นที่เขียนด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาพ

011322.03 200926
011323

เขียนมงกุฎและชฎาตัวนาง

3.1 ระบุลักษณะเฉพาะของศิราภรณ์ตัวนาง คือ มงกุฎยอดสั้น มงกุฎยอดพระเกี้ยวและชฎานางบนพื้นที่เขียน

011323.01 200927
011323

เขียนมงกุฎและชฎาตัวนาง

3.2 เขียนมงกุฎยอดสั้น มงกุฎยอดพระเกี้ยวและชฎานางบนพื้นที่เขียนด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011323.02 200928
011324

เขียนเทพสตรี

4.1 ระบุลักษณะเฉพาะเทพสตรี คือ พระอุมาเทวี  พระสรัสวดี พระแม่ธรณี ระบุอาวุธประจำตัวของ  เทพสตรีบนพื้นที่เขียน

011324.01 200929
011324

เขียนเทพสตรี

4.2 ระบุความหมายของนาฏลักษณ์ของเทพสตรีบนพื้นที่เขียน

011324.02 200930
011324

เขียนเทพสตรี

4.3 เขียนเทพสตรีและอาวุธบนพื้นที่เขียนตามที่กำหนดด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาพ

011324.03 200931

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลักษณะทางกายวิภาคและนาฏลักษณ์ของศิลปะไทยสำหรับการเขียนตัวนางในอิริยาบถต่าง ๆ  

2. มีทักษะในการเขียนรายละเอียดใบหน้าของตัวนาง เครื่องประดับและเครื่องอาวุธในเทพสตรี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถใหหนการเตรียมและใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนภาพ

2. ความสามารถในการลงมือปฏิบัติการเขียนภาพโดยใช้ดินสอ 2B และกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันในการปฏิบัติงานลงบนกระดาษผิวเรียบหรือพื้นที่การเขียนตามที่กำหนด และสามารถควบคุมความสะอาดของผลงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของตัวกากที่สื่อถึงความหมายในภาษาท่าทางได้

2. ความรู้ความเข้าใจลักษณะเฉพาะของหลักการเขียนภายวิภาคในศิลปะไทยของตัวกาก และความสามารถกำหนดสัดส่วนตัวกากบนพื้นที่งานเขียน

3. ความรู้เกี่ยวกับการนำตัวกากมาใช้ประกอบงานในจิตรกรรมไทย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ปฏิบัติการเขียนตัวนางแบบต่าง ๆ ได้แก่ ตัวพระท่านั่ง ตัวพระท่ายืน ท่าเดิน เขียนมงกุฎและชฎาตัวนาง และเขียนเทพสตรีและอาวุธได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ มีสัดส่วนและกายวิภาคและนาฏลักษณ์อย่างศิลปะไทยที่งดงามและคงความสม่ำเสมอของลายเส้นได้เป็นอย่างดี

2. ปฏิบัติการกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันตัวนางแบบต่าง ๆ ได้แก่ ตัวนางท่านั่ง ตัวนางท่ายืน ท่าเดิน เขียนมงกุฎและชฎาตัวนาง และเขียนเทพสตรีและอาวุธด้วยเส้นที่มีความงามสม่ำเสมอเลือกใช้พู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับงานและรักษาความสะอาดของผลงาน                   

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะทางกายวิภาคและนาฏลักษณ์ของตัวนางในงานจิตรกรรมไทย

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนของตัวนางบนพื้นที่งานเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้เกี่ยวกับวิธีและแบบอย่างในการเขียนและมีทักษะที่เกี่ยวข้องตัวนางแบบต่าง ๆ ได้แก่ ตัวนางท่านั่ง ตัวพระท่ายืน ท่าเดิน เขียนมงกุฎและชฎาตัวนาง และเขียนเทพสตรี

    2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติตัวนางแบบต่าง ๆ ตามที่กำหนด แสดงออกถึงความเข้าใจสัดส่วนและการแบ่งพื้นที่การเขียนได้อย่างเหมาะสม รักษาความถูกต้องของแบบอย่างที่สำคัญและท่าทางการแสดงออกต่าง ๆ

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคของศิลปะไทยสำหรับตัวกากชาย หญิง เด็กและคนชรา ความแตกต่างของกายวิภาคระหว่างตัวกากกับตัวพระและตัวนาง

2. สามารถกำหนดสัดส่วนและร่างภาพตัวกากพร้อมอิริยาบถที่กำหนด 

3. เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นลวดลายด้วยดินสอหรือกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะผลงาน

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ตัวกาก คือการเขียนมนุษย์ที่มีความเป็นธรรมชาติ เป็นภาพบุคคลที่มีวิถีชีวิตอย่างสามัญ ซึ่งหลักการในการสร้างตัวกาก คือการวาดมนุษย์ให้ออกมาแล้วเกิดความรู้สึกถึงความมีอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์ในฉากตอนต่าง ๆ หรือเป็นการสะท้อนมุมตลกขบขันของช่างที่มีต่อชีวิตของมนุษย์ทั่วไป

    ตัวกากชาย โดยมากมีกายวิภาคที่แสดงความสมจริงของรูปร่าง เช่น อ้วน ผอม สีผิว มีความแตกต่างกัน บ้างสวมเสื้อเพื่อแสดงฐานะของชาวบ้าน เช่น เศรษฐี หรือไม่สวมเสื้อโดยมากเป็นชาวบ้านทั่วไป สัดส่วนของใบหน้า มือ เท้า และอากัปกิริยามีความแตกต่างจากตัวพระ ส่วนมากมักแสดงท่าทางการใช้ชีวิต เช่นการทำอาชีพ การละเล่นรื่นเริง การเล่นการพนัน การดื่มสุราและเสพเมถุน ซึ่งภาพกากเหล่านี้ไม่ใช่ภาพที่แสดงความไม่สุภาพแต่เป็นส่วนเติมเต็มให้จิตรกรรมฝาผนังในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีชีวิตชีวาขึ้น และบ้างแทรกเกร็ดทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้น ๆ

    ตัวกากหญิง โดยมากแสดงกายวิภาคที่แสดงอากัปกิริยาของชาวบ้านหญิงที่มีวิถีอยู่กับการเลี้ยงลูก การปรนนิบัติสามี แม้ว่าจะมีความพยายามในการวาดภาพตัวกากที่เป็นชาวบ้านหญิงให้มีความงดงาม อย่างไรก็ตามก็ย่อมมีความแตกต่างในรูปลักษณ์ของการวาดตัวนาง ทั้งนี้เพื่อแสดงออกถึงความเป็นชีวิตมนุษย์ที่มีอารมณ์ร่วมต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่นในจิตรกรรมประเพณี 12 เดือน จิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 พบว่ามีการวาดภาพชาวบ้านหญิงเข้าร่วมในประเพณีต่าง ๆ ทั้งในลักษณะของสาวชาววังที่มีความอ่อนช้อยงดงาม และชาวบ้านที่อยู่ในชนบทที่มีความเกี่ยวข้องกับการยังชีพด้วยวิถีของการเกษตร

    ตัวกากเด็ก เดิมนั้นการวาดภาพเด็กเกิดขึ้นไม่มากนัก ภาพเด็กในงานจิตรกรรมไทยได้แก่ จิตรกรรมนิทานพุทธประวัติตอนประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งการวาดภาพเด็กในลักษณะดังกล่าวยังเชื่อมโยงนาฏลักษณะอย่างตัวพระ ด้วยความอ่อนช้อยวิจิตรบรรจง สำหรับชาวบ้านที่เป็นเด็กเริ่มปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์ที่มักเป็นส่วนของภาพแสดงถึงฉากตอนในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นวิถีของชาวบ้าน ดังนั้นชาวบ้านที่เป็นเด็กจึงเป็นตัวกากชนิดหนึ่งที่สะท้อนหน้าที่ของชาวบ้านหญิงที่จะต้องดูแลเลี้ยงดูทารกไปจนเด็กโต อีกทั้งยังเป็นเกร็ดความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวกากที่เป็นเด็ก ได้แก่ ทรงผม การแต่งกาย และการละเล่น

    ตัวกากคนแก่ คนแก่มีกายวิภาคลักษณะเฉพาะ มีการแต่งเติมให้เกิดความรู้สึกทุกขเวทนาร่วมด้วย เช่น จิตรกรรมฝาผนังนิทานพุทธประวัติ ที่เจ้าชายสิทธัตถะได้พบกับเทวทูตทั้ง 4 และคนชราคือความเสื่อมโทรมของมนุษย์ อย่างไรก็ตามในจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฏภาพกากของชาวบ้านที่ชราอยู่ในอิริยาบถที่แสดงความสุข ความบันเทิงตามเทศกาล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ด้วยแบบทดสอบรูปภาพ

18.2 การสอบปฏิบัติ

18.3 การสอบสัมภาษณ์

18.4 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ