หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนตัวพระ

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-RHAW-388B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนตัวพระ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างเขียนแบบศิลปะไทย TSCO 2452.66 ช่างเขียน,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะในการเขียนตัวพระแบบต่าง ๆ สามารถอธิบายลักษณะทางกายวิภาคและนาฏลักษณ์ของตัวพระ ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับเทพบุรุษ เครื่องอาวุธประจำตัว และเลือกใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเขียนตัวพระ ได้แก่ ตัวพระในท่านั่ง ท่าเหาะ ตัวพระในท่ายืน ท่าเดิน ลวดลายของมงกุฎและชฎาที่แสดงฐานะของตัวพระ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเขียนแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
011311

เขียนตัวพระท่านั่ง ท่าเหาะ

1.1 ระบุลักษณะทางกายวิภาคของศิลปะไทยสำหรับตัวพระในท่านั่ง ท่าเหาะบนพื้นที่เขียน

011311.01 200910
011311

เขียนตัวพระท่านั่ง ท่าเหาะ

1.2 ระบุความหมายของนาฏลักษณ์ตัวพระในท่านั่ง ท่าเหาะบนพื้นที่เขียนตามที่กำหนด

011311.02 200911
011311

เขียนตัวพระท่านั่ง ท่าเหาะ

1.3 เขียนตัวพระในท่านั่ง ท่าเหาะ ด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาพ

011311.03 200912
011312

เขียนตัวพระท่ายืน ท่าเดิน

2.1 ระบุลักษณะทางกายวิภาคของศิลปะไทยสำหรับตัวพระในท่ายืน ท่าเดินบนพื้นที่เขียน

011312.01 200913
011312

เขียนตัวพระท่ายืน ท่าเดิน

2.2 ระบุความหมายของนาฏลักษณ์ตัวพระในท่ายืน ท่าเดินบนพื้นที่เขียนตามที่กำหนด

011312.02 200914
011312

เขียนตัวพระท่ายืน ท่าเดิน

2.3 เขียนตัวพระในท่ายืน ท่าเดิน ด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาพ

011312.03 200915
011313

เขียนมงกุฎและชฎาตัวพระ

3.1 ระบุลักษณะของศิราภรณ์ตัวพระ คือ มงกุฎยอดชัย ชฎาเดินหนบนพื้นที่เขียน

011313.01 200916
011313

เขียนมงกุฎและชฎาตัวพระ

3.2 เขียนมงกุฎยอดชัย ชฎาเดินหนบนพื้นที่เขียนด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011313.02 200917
011314

เขียนเทพบุรุษและอาวุธ

4.1 ระบุลักษณะเทพบุรุษ คือ พระอิศวร พระอินทร์ พระวิษณุกรรม และระบุอาวุธประจำตัวของเทพบุรุษบนพื้นที่เขียน

011314.01 200918
011314

เขียนเทพบุรุษและอาวุธ

4.2 ระบุความหมายของนาฏลักษณ์ของเทพบุรุษบนพื้นที่เขียน

011314.02 200919
011314

เขียนเทพบุรุษและอาวุธ

4.3 เขียนเทพบุรุษและอาวุธบนพื้นที่เขียนตามที่กำหนดด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาพ

011314.03 200920

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลักษณะทางกายวิภาคและนาฏลักษณ์ของศิลปะไทยสำหรับการเขียนตัวพระ ในอิริยาบถต่าง ๆ

2. มีทักษะในการเขียนรายละเอียดใบหน้าของตัวพระ เครื่องทรง และอาวุธ

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการเตรียมและใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนภาพ

2. ความสามารถในการลงมือปฏิบัติการเขียนภาพโดยใช้ดินสอ 2B และกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันในการปฏิบัติงานลงบนกระดาษผิวเรียบหรือพื้นที่การเขียนตามที่กำหนด และสามารถควบคุมความสะอาดของผลงาน 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับนาฏลักษณ์ต่าง ๆ ของตัวพระและชื่อเรียกเฉพาะเกี่ยวกับท่าทางในศัพท์ของนาฏลักษณ์

2. ความรู้เกี่ยวกับเทพบุรุษในงานศิลปะไทย

3. ความรู้ความเข้าใจความแตกต่างของหลักการเขียนภายวิภาคในศิลปะไทยกับศิลปะตะวันตกและกำหนดสัดส่วนตัวพระบนพื้นที่งานเขียน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ปฏิบัติการเขียนตัวพระแบบต่าง ๆ ได้แก่ ตัวพระท่านั่ง ท่าเหาะ ตัวพระท่ายืน ท่าเดิน เขียนมงกุฎและชฎาตัวพระ และเขียนเทพบุรุษและอาวุธได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ มีสัดส่วนและกายวิภาคอย่างศิลปะไทยที่งดงามและคงความสม่ำเสมอของลายเส้นได้เป็นอย่างดี

2. ปฏิบัติการกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันตัวพระแบบต่าง ๆ ได้แก่ ตัวพระท่านั่ง ท่าเหาะ ตัวพระท่ายืน ท่าเดิน เขียนมงกุฎและชฎาตัวพระ และเขียนเทพบุรุษและอาวุธด้วยเส้นที่มีความงามสม่ำเสมอ เลือกใช้พู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับงานและรักษาความสะอาดของผลงาน     

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะทางนาฏลักษณ์ของตัวพระในงานจิตรกรรมไทย

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนของตัวพระบนพื้นที่งานเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้เกี่ยวกับวิธีและแบบอย่างในการเขียนและมีทักษะที่เกี่ยวข้องตัวพระแบบต่าง ๆ ได้แก่ ตัวพระท่านั่ง ท่าเหาะ ตัวพระท่ายืน ท่าเดิน เขียนมงกุฎและชฎาตัวพระ และเขียนเทพบุรุษและอาวุธ

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติตัวพระแบบต่าง ๆ ตามที่กำหนด แสดงออกถึงความเข้าใจสัดส่วนและการแบ่งพื้นที่การเขียนได้อย่างเหมาะสม รักษาความถูกต้องของแบบอย่างตัวพระที่สำคัญ และท่าทางการแสดงออกทางนาฏลักษณ์แบบต่าง ๆ

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาร่วมกับแฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคและนาฏลักษณ์ของศิลปะไทยสำหรับตัวพระ

2. สามารถกำหนดสัดส่วนและร่างภาพตัวพระพร้อมอิริยาบถที่กำหนด ตัวพระในท่านั่งท่าเหาะ ตัวพระในท่ายืน ท่าเดิน มงกุฎและชฎาที่แสดงฐานะของตัวพระ

3. เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นลวดลายด้วยดินสอหรือกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะผลงาน

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

ตัวพระในงานช่างเขียนไทยนี้เป็นการเขียนมนุษย์และเทพผู้ชาย กายวิภาคอย่างจิตรกรรมไทยมีลักษณะที่แตกต่างจากกายวิภาคของศิลปะตะวันตกการแสดงอากัปกิริยาในทางนาฏลักษณ์ของตัวพระตลอดจนแสดงออกถึงความเข้าใจในรูปร่าง รูปทรงที่มีลักษณะโค้งมนเป็นเอกลักษณ์อย่างสำคัญของการวาดเส้นในงานจิตรกรรมไทย 

    นาฏลักษณ์ คือ ภาษากายที่ปรากฏในการแสดง การสื่อสารด้วยกิริยาท่าทางเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในการแสดงออกทางด้านงานจิตรกรรมด้วย

    ตัวพระ ท่านั่ง นั่งพับเพียบ แยกเข่าออก มือเหยียดตึงแบมือตั้งบนเข่า มืออีกข้างงอแขนแบมือตั้งบนขา ลำตัวตั้งตรง  สำหรับตัวพระในงานเขียนจะมีท่าทางในการนั่งแบบต่าง ๆ มีชื่อเรียก ดังนี้ 

- มหาราชลีลา ท่านั่งที่ห้อยเท้าขวาลง เท้าซ้ายงอพับขึ้นไปสอดไว้ใต้โคนขาขวา

- ลลิตาสนะ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาทข้างหนึ่ง มีปรากฏทั้งรูปเคารพเนื่องในศาสนา 

    ตัวพระ ท่าเหาะ โดยมากปรากฏในรูปของเทวดา หรือนักสิทธิ์ ซึ่งมีความแก่กล้าในวิชา และจิตวิญญาณ  จิตรกรรมที่แสดงท่าทางการเหาะจึงต้องอาศัยรูปร่าง ท่วงท่าที่แสดงถึงความเบาและเส้นพลิ้ว แตกต่างจากท่านั่ง เท้าที่มีลักษณะชี้ตรงขึ้นแยกออกจากท่านั่งในพื้นที่ราบที่เท้าจะวางราบไปกับพื้น 

    ตัวพระ ท่ายืน ท่าเดิน ตัวพระท่ายืนในงานจิตรกรรมไทยโดยมากจะแสดงเป็นภาพยืนหันข้าง ใบหน้าเสี้ยว และบิดลำตัวเล็กน้อย ตัวพระที่แสดงท่ายืนมักแสดงท่าทางประกอบด้วย ท่าเดินในเมือง    ท่าเดินในป่าพร้อมอาวุธ ท่ายืนโก่งคันศร ท่ายืนรบ เป็นต้น ซึ่งการแสดงท่าทางเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงอารมณ์และเรื่องราวประกอบ สัดส่วนของตัวพระยังคงต้องแสดงถึงความแข็งแกร่งแม้ว่าจะใช้เส้นโค้งตามหลักทางกายวิภาคของไทย

    มงกุฎและชฎา คือศิราภรณ์ที่แสดงถึงฐานะของตัวพระ การวาดเครื่องประดับต้องอยู่ในโครงร่างลายเส้นตั้งแต่แรกเพื่อกำหนดสัดส่วนที่สมบูรณ์ก่อนการลงรายละเอียด ลวดลายโดยมากใช้กระจังเป็นหลัก 

- มงกุฎยอดชัย คือพระมหามงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์กษัตริย์ ทรงยอดแหลม

- ชฎาเดินหน คือศิราภรณ์ที่มีลักษณะคล้ายพระชฎากลีบ แต่ปลายไม่มีกลีบและปัดไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปักพระยี่ก่าข้างซ้าย เรียกว่า พระชฎาเดินหน

    เทพบุรุษและอาวุธ

1. พระอิศวร หรือพระศิวะ เป็นเทพสำคัญในศาสนาพราหมณ์ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำนุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาลย์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นมุ่นมวยผม มีพระจันทร์เป็นปิ่นและแม่คงคาอยู่บนยอดจุฑา อาวุธของพระอิศวรคือ ตรีศูล

2. พระอินทร์ เป็นเทพที่มีบทบาทในศาสนาพุทธ แสดงภาพด้วยรูปกายที่เป็นชายหนุ่ม         มีวรกายสีเขียว มี 4 กร มีอาวุธ ดังนี้

1. วชิราวุธ คือ วัชระ (สายฟ้า) 

2. พระขรรค์ชื่อ ปรัญชะ 

3. ศักรธนู บ่วงบาศ 

4. จักร สังข์ ตะขอ แหตาข่าย

5. พระวิษณุกรรม เป็นเทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์ อาวุธของพระวิษณุกรรมคือ จอบและลูกดิ่ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ด้วยแบบทดสอบรูปภาพ

18.2 การสอบปฏิบัติ

18.3 การสอบสัมภาษณ์

18.4 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ