หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนกระหนกช่อ

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-YOES-387B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนกระหนกช่อ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างเขียนแบบศิลปะไทย  TSCO 2452.66 ช่างเขียน,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้และทักษะในการเขียนลวดลายไทยประเภทต่าง ๆ สามารถอธิบายลักษณะของกระหนกช่อซึ่งเป็นลวดลายที่สามารถนำมาเป็นการผูกลายในงานจิตรกรรมไทย และเลือกใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเขียนกระหนกช่อได้แก่ เขียนลายช่อนกคาบ เขียนลายช่อนาคขบ เขียนลายช่อเปลว เขียนลายช่อก้านขด 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเขียนแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
011231

เขียนลายช่อนกคาบ

1.1 ระบุที่มาของชื่อลายช่อนกคาบและระบุลักษณะของลายช่อนกคาบบนพื้นที่เขียน

011231.01 200898
011231

เขียนลายช่อนกคาบ

1.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนลายช่อนกคาบบนพื้นที่เขียน

011231.02 200899
011231

เขียนลายช่อนกคาบ

1.3 เขียนลายช่อนกคาบบนพื้นที่เขียน โดยกำหนดพื้นที่และช่องไฟ ด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011231.03 200900
011232

เขียนลายช่อนาคขบ

2.1 ระบุที่มาของชื่อลายช่อนาคขบและระบุลักษณะของลายช่อนาคขบบนพื้นที่เขียน

011232.01 200901
011232

เขียนลายช่อนาคขบ

2.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนลายช่อนาคขบบนพื้นที่เขียน

011232.02 200902
011232

เขียนลายช่อนาคขบ

2.3 เขียนลายช่อนาคขบบนพื้นที่เขียน โดยกำหนดพื้นที่และช่องไฟด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011232.03 200903
011233

เขียนลายช่อเปลว

3.1 ระบุลักษณะของลายช่อเปลวบนพื้นที่เขียน

011233.01 200904
011233

เขียนลายช่อเปลว

3.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนลายช่อเปลวบนพื้นที่เขียน

011233.02 200905
011233

เขียนลายช่อเปลว

3.3 เขียนลายช่อเปลวบนพื้นที่เขียน โดยกำหนดพื้นที่และช่องไฟด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011233.03 200906
011234

เขียนลายช่อก้านขด

4.1 ระบุลักษณะของลายช่อก้านขดบนพื้นที่เขียน 

011234.01 200907
011234

เขียนลายช่อก้านขด

4.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนลายช่อก้านขดบนพื้นที่เขียน

011234.02 200908
011234

เขียนลายช่อก้านขด

4.3 เขียนลายช่อก้านขดบนพื้นที่เขียนโดยกำหนดพื้นที่และช่องไฟด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011234.03 200909

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลักษณะของการใช้เส้นในงานจิตรกรรมไทย 

2. ความเข้าใจในองค์ประกอบและสัดส่วนของลวดลายไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการเตรียมและใช้วัสดุอุปกรณ์ในการลวดลายไทย

2. ความสามารถในการลงมือปฏิบัติการเขียนลวดลาย โดยใช้ดินสอ 2B และกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันในการปฏิบัติงานลงบนกระดาษผิวเรียบหรือบนพื้นที่การเขียนตามที่กำหนด และสามารถควบคุมความสะอาดของผลงาน    

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของโครงสร้างในการออกแบบลายกระหนกช่อ

2. ความรู้เกี่ยวกับชื่อเรียกเฉพาะของลวดลาย 

3. ความรู้เกี่ยวกับการนำลวดลายกระหนกช่อไปใช้โอกาสต่าง ๆ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ปฏิบัติการเขียนลวดลายไทยประเภทกระหนกช่อแบบต่าง ๆ ได้แก่ เขียนลายช่อนกคาบ เขียนลายช่อนาคขบ เขียนลายช่อเปลว เขียนลายช่อก้านขดได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ มีสัดส่วนที่งดงามและคงความสม่ำเสมอของลายเส้นได้เป็นอย่างดี

2. ปฏิบัติการกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันลวดลายไทยประเภทกระหนกช่อ ได้แก่ เขียนลายช่อนกคาบ เขียนลายช่อนาคขบ เขียนลายช่อเปลว เขียนลายช่อก้านขดด้วยเส้นที่มีความงามสม่ำเสมอเลือกใช้พู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับงานและรักษาความสะอาดของผลงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะลวดลายกระหนกช่อแบบต่าง ๆ ตลอดจนระบุความแตกต่างของลวดลายที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้อย่างชัดเจน

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนของลวดลายกระหนกช่อ การแบ่งพื้นที่ของลวดลายบนพื้นที่งานเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับลวดลายกระหนกช่อแบบต่าง ๆ

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติการเขียนลวดลายกระหนกช่อแบบต่าง ๆ ตามที่กำหนดในแต่ละแบบ โดยผลงานต้องมีสัดส่วนที่แสดงความเข้าใจเกี่ยวกับการแบ่งพื้นที่เพื่อเขียนลวดลายกระหนกช่อแบบต่าง ๆ บนพื้นที่เขียนได้อย่างเหมาะสม

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับกระหนกช่อต่าง ๆ ลายช่อนกคาบ ลายช่อนาคขบ ลายช่อเปลว ลายช่อก้านขด อธิบายลักษณะการนำลายกระหนกช่อไปใช้ในงานจิตรกรรมไทย 

2. สามารถกำหนดสัดส่วนเพื่อร่างเส้นและเขียนลวดลายตามที่กำหนดได้

3. เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นลวดลายด้วยดินสอและพู่กันจุ่มหมึกได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะผลงาน

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ลายกระหนกช่อเป็นพัฒนาการหนึ่งในการนำลายกระหนกพื้นฐานมาประดิษฐ์ให้มีความวิจิตรงดงามมากยิ่งขึ้น  

    ลายช่อนกคาบ คือ ลายลักษณะคล้ายหัวหรือหน้านกที่ทำหน้าที่แยก เกี่ยว เกาะ ต่อ หรือคาบเถาอื่น ช่วยให้เถาลายมีความต่อเนื่อง หรือเป็นช่อ

    ลายช่อนาคขบ คือ ลายลักษณะคล้ายหัวหรือหน้านาคที่ทำหน้าที่แยก เกี่ยว เกาะ ต่อ หรือคาบเถาอื่น ช่วยให้เถาลายมีความต่อเนื่อง หรือเป็นช่อ มีลักษณะคล้ายนาคกำลังคายช่อกระหนก

    ลายช่อเปลว คือลายที่มีโครงสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยม แต่ลดรูปโดยเจียนส่วนหน้าของตัวเหงาออกเพื่อให้ตัวลายเพรียวสะบัดคล้ายเปลวไฟ

    ลายช่อก้านขด ลายที่ผูกอยู่ในโครงสร้างเป็นก้านหรือวงก้นหอย ภายในอาจบรรจุลายกระหนก ลายใบเทศ ลายดอกพุดตาน ปลายลายอาจจบด้วยลายที่มีชื่อเรียกตามลายที่มาประกอบ เช่น ลายก้านขดผักกูด ลายก้านขดดอกพุดตาน

    กระทบเส้น คือ การร่างภาพและลวดลายเป็นเส้นประหรือเส้นบาง ๆ ก่อนการตัดเส้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ด้วยแบบทดสอบรูปภาพ

18.2 การสอบปฏิบัติ

18.3 การสอบสัมภาษณ์

18.4 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ