หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนลายไทยประเภทดอกและใบ

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-DWMN-386B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนลายไทยประเภทดอกและใบ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างเขียนแบบศิลปะไทย TSCO 2452.66 ช่างเขียน,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้พื้นฐานและทักษะในการเขียนลวดลายไทยประเภทต่าง ๆ สามารถอธิบายลักษณะของลวดลายไทยประเภทดอกและใบ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเขียนลวดลายไทยประเภทดอกและใบ ได้แก่ เขียนลายดอกจอก เขียนลายดอกประจำยาม เขียนลายดอกลำดวน และเขียนลายดอกไม้ร่วง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเขียนแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
011221

เขียนลายดอกจอก

1.1 ระบุลักษณะของลายดอกจอก บนพื้นที่เขียน ระบุตัวอย่างการนำลายดอกจอกไปใช้ในงานจิตรกรรมไทย

011221.01 200886
011221

เขียนลายดอกจอก

1.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนลายดอกจอกบนพื้นที่เขียน

011221.02 200887
011221

เขียนลายดอกจอก

1.3 เขียนลายดอกจอกโดยกำหนดสัดส่วน ร่างเส้น และเขียนลายด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011221.03 200888
011222

เขียนลายดอกประจำยาม

2.1 ระบุลักษณะของลายดอกประจำยามบนพื้นที่เขียน ระบุตัวอย่างการนำลายดอกประจำยามไปใช้ในงานจิตรกรรมไทย

011222.01 200889
011222

เขียนลายดอกประจำยาม

2.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนลายดอกประจำยามบนพื้นที่เขียน

011222.02 200890
011222

เขียนลายดอกประจำยาม

2.3 เขียนลายดอกประจำยาม โดยกำหนดสัดส่วนของลายดอกประจำยาม 4 กลีบในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011222.03 200891
011223

เขียนลายดอกลำดวน

3.1 ระบุลักษณะของลายดอกลำดวนบนพื้นที่เขียน ระบุตัวอย่างการนำลายดอกประจำยามไปใช้ในงานจิตรกรรมไทย

011223.01 200892
011223

เขียนลายดอกลำดวน

3.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นลายดอกลำดวนบนพื้นที่เขียน

011223.02 200893
011223

เขียนลายดอกลำดวน

3.3 เขียนลายดอกลำดวนโดยกำหนดสัดส่วนของลายดอกลำดวน 3 กลีบในรูปวงกลมด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011223.03 200894
011224

เขียนลายดอกไม้ร่วง

4.1 ระบุลักษณะของลายไม้ร่วงบนพื้นที่เขียน ระบุตัวอย่างการนำลายดอกไม้ร่วงไปใช้ในงานจิตรกรรมไทย

011224.01 200895
011224

เขียนลายดอกไม้ร่วง

4.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นลายดอกไม้ร่วงพื้นที่เขียน

011224.02 200896
011224

เขียนลายดอกไม้ร่วง

4.3 เขียนลายดอกไม้ร่วงด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กัน โดยกำหนดสัดส่วนและขนาดของลาย แบ่งพื้นที่งานเขียน ให้มีความเหมาะสมกับจำนวนที่กำหนด

011224.03 200897

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลักษณะของการใช้เส้นในงานจิตรกรรมไทย 

2. ความเข้าใจในองค์ประกอบและสัดส่วนของลวดลายไทย

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการเตรียมและใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนลวดลายไทย

2. ความสามารถในการลงมือปฏิบัติการเขียนลวดลาย โดยใช้ดินสอ 2B และกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันในการปฏิบัติงานลงบนกระดาษผิวเรียบหรือบนพื้นที่การเขียนตามที่กำหนด    

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและการใช้งานของลายไทยประเภทดอกและใบในรูปแบบงานศิลปะไทย

2. ความรู้เกี่ยวกับการนำลายไทยประเภทดอกและใบไปใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ

3. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดสัดส่วนของลายไทยประเภทดอกและใบบนพื้นที่งานเขียน

4. เพื่อสามารถเข้าใจคำสั่งการเขียนลวดลายที่มีชื่อเรียกเฉพาะ และมีความเข้าใจลักษณะของลวดลายดอกที่มีลักษณะต่าง ๆ อาทิ ดอกที่มี 8 กลีบ ดอกที่มี 4 กลีบ ดอกที่มี 3 กลีบ โดยปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามลักษณะของลวดลาย 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ปฏิบัติการเขียนลายไทยประเภทดอกและใบ ได้แก่ เขียนลายดอกจอก เขียนลายดอกประจำยาม เขียนลายดอกลำดวน และเขียนดอกไม้ร่วงได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ มีสัดส่วนที่งดงามสม่ำเสมอ

2. ปฏิบัติการกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันลายไทยประเภทดอกและใบ ได้แก่ เขียนลายดอกจอก เขียนลายดอกประจำยาม เขียนลายดอกลำดวน และเขียนดอกไม้ร่วง ด้วยเส้นที่มีความงามสม่ำเสมอ เลือกใช้พู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับงานและรักษาความสะอาดของผลงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะลวดลายไทยประเภทดอกและใบ

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนของลายไทยประเภทดอกและใบบนพื้นที่งานเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับลวดลายไทยประเภทดอกและใบ

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติการเขียนลวดลายไทยประเภทดอกและใบตามที่กำหนดในแต่ละประเภท มีสัดส่วนที่แสดงความเข้าใจเกี่ยวกับการแบ่งพื้นที่เพื่อเขียนลายดอกต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับลวดลายไทยประเภทดอกและใบ ระบุลักษณะการนำลายดอกไม้ที่มีอยู่ในธรรมชาติ พัฒนารูปทรงจนเกิดเป็นลวดลายไทย ซึ่งเป็นลวดลายที่มีทั้งรูปทรงอิสระและอยู่ในรูปเรขาคณิต เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม สามารถเขียนลายไทยประเภทดอกและใบขั้นพื้นฐาน ได้แก่เขียนลายดอกจอก เขียนลายดอกประจำยาม เขียนลายดอกลำดวน เขียนลายดอกไม้ร่วง

2. สามารถกำหนดสัดส่วนเพื่อร่างเส้นและเขียนลวดลายตามที่กำหนดได้

3. เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นลวดลายด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะผลงาน



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ลายพรรณพฤกษา คือ ลายไทยประเภทดอกและใบ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการนำลวดลายไปใช้ในการประกอบในงาน ศิลปกรรมไทย มีที่มาจากการพัฒนารูปแบบมาจากดอกไม้ในธรรมชาติและเป็นที่มาของการเรียกชื่อลวดลายต่าง ๆ เหล่านั้น สำหรับจิตรกรรมไทยพบว่ามีลวดลายพรรณพฤกษาเป็นส่วนหนึ่งในการตกแต่งให้เกิดความงาม

    ลายดอกจอก คือ ชื่อเรียกของลายดอกดวง ซึ่งเป็นดอกที่มีลักษณะตามที่นำมาประดิษฐ์เป็นลาย มีชื่อเรียกตามลักษณะของลายที่นำมาประกอบ ลายดอกจอกคือลายที่มีที่มาจากดอกจอกในธรรมชาติ แสดงภาพเป็นลายดอกในรูปวงกลม มี 8 กลีบ

    ลายดอกประจำยาม มีอีกชื่อหนึ่งว่าลายดอกสี่กลีบ คือ ลายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปดอก 4 กลีบ มีไส้ลายเป็นรูปวงกลม ใช้เป็นแม่ลายหลักที่อาจแบ่งรายละเอียดในตัวลายเป็นแบบต่าง ๆ ใช้ออกลาย คั่นลาย ห้ามลาย และปิดลาย 

    ลายดอกลำดวน ชื่อเรียกของลายดอกดวง ซึ่งเป็นดอกมีลักษณะตามที่นำมาประดิษฐ์เป็นลาย มีชื่อเรียกตามลักษณะของลายที่นำมาประกอบ ลายดอกลำดวนคือลายที่มีที่มาจากดอกลำดวนในธรรมชาติ แสดงภาพเป็นลายดอกในรูปวงกลม มี 3 กลีบ

    ดอกไม้ร่วง คือ ลายที่ประกอบด้วยดอก ก้าน และใบ ลักษณะเป็นดอกหรือช่อคว่ำลง มักใช้ลายนี้แก้ปัญหาพื้นที่ว่าง

    กระทบเส้น คือ การร่างภาพและลวดลายเป็นเส้นประหรือเส้นบาง ๆ ก่อนการตัดเส้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ด้วยแบบทดสอบรูปภาพ

18.2 การสอบปฏิบัติ

18.3 การสอบสัมภาษณ์

18.4 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ