หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนลายต้นกำเนิดกระหนกไทย

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-BTMK-385B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนลายต้นกำเนิดกระหนกไทย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2452.66 ช่างเขียน,  ISCO 7319 : ช่างงานหัตถกรรม (กรรมวิธีแบบดั้งเดิม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลผู้มีสมรรถนะตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้และทักษะในการเขียนพื้นฐานลวดลายไทยแบบต่าง ๆ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเขียนลวดลายต้นกำเนิดกระหนกไทย ได้แก่ ตัวเหงาของกระหนกสามตัว เขียนตัวเหงาของกระจัง เขียนโครงร่างกระหนกสามตัว และเขียนลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างเขียนแบบศิลปะไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
011211

เขียนตัวเหงาของกระหนกสามตัว

1.1 ระบุลักษณะและตำแหน่งตัวเหงาของกระหนกสามตัวบนพื้นที่เขียน

011211.01 200874
011211

เขียนตัวเหงาของกระหนกสามตัว

1.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นตัวเหงาของกระหนกสามตัว

011211.02 200875
011211

เขียนตัวเหงาของกระหนกสามตัว

1.3 เขียนตัวเหงาของกระหนกสามตัว โดยกำหนดสัดส่วนบนพื้นที่เขียนด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011211.03 200876
011212

เขียนตัวเหงาของกระจัง

2.1 ระบุลักษณะและตำแหน่งตัวเหงาของกระจังบนพื้นที่เขียน

011212.01 200877
011212

เขียนตัวเหงาของกระจัง

2.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นตัวเหงาของกระจัง

011212.02 200878
011212

เขียนตัวเหงาของกระจัง

2.3 เขียนตัวเหงาของกระจังโดยกำหนดสัดส่วนตัวเหงาของกระจังในรูปสามเหลี่ยมบนพื้นที่เขียนด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011212.03 200879
011213

เขียนโครงร่างกระหนกสามตัว

3.1 ระบุโครงร่างกระหนกสามตัวในลายต่าง ๆ บนพื้นที่เขียน ดังนี้
  1. ลายกระจัง 
  2. ลายนาคหางหงส์  
  3. ลายกระหนกหางหงส์ 

011213.01 200880
011213

เขียนโครงร่างกระหนกสามตัว

3.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นโครงร่างกระหนกสามตัว

011213.02 200881
011213

เขียนโครงร่างกระหนกสามตัว

3.3 เขียนโครงร่างกระหนกสามตัวโดยกำหนดสัดส่วนของลายต่าง ๆ ด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
   1. ลายกระจัง 
   2. ลายนาคหางหงส์ 
   3. ลายกระหนกหางหงส์ 

011213.03 200882
011214

เขียนลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

4.1 ระบุลักษณะของลายทรงช่อต่าง ๆ ในกลุ่มทรงพุ่มข้าวบิณฑ์บนพื้นที่เขียน ดังนี้
   1. ลายช่อหางโต 
   2. ลายช่อเปลวหางโต 
   3. ช่อหางไหล

011214.01 200883
011214

เขียนลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

4.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นลายช่อทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

011214.02 200884
011214

เขียนลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

4.3 เขียนลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยกำหนดสัดส่วนลายทรงช่อแล้วเขียนเป็นลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสม

011214.03 200885

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความเข้าใจในลักษณะของการใช้เส้นในงานจิตรกรรมไทย 

2. ความเข้าใจในองค์ประกอบและสัดส่วนของลวดลายไทย

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการเตรียมและใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนลวดลายไทย

2. ความสามารถในการลงมือปฏิบัติการเขียนลวดลาย โดยใช้ดินสอ 2B และกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันในการปฏิบัติงานลงบนกระดาษผิวเรียบหรือพื้นที่การเขียนตามที่กำหนด และสามารถควบคุมความสะอาดของผลงาน 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและการใช้งานของลวดลายกระหนกในรูปแบบงานศิลปะไทย

2. ความรู้เกี่ยวกับการนำลวดลายกระหนกไปใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ

3. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดสัดส่วนของลวดลายกระหนกบนพื้นที่งานเขียน

4. ความรู้ทั่วไปขององค์ประกอบต่าง ๆ ของลายกระหนก คำศัพท์เฉพาะที่จำเป็นต้องทราบ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ปฏิบัติการเขียนตัวเหงาของกระหนกสามตัว ตัวเหงาของกระจัง เขียนโครงร่างกระหนกสามตัว และเขียนลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่งานเขียน

2. ปฏิบัติการกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันลงบนชิ้นงานเขียนตัวเหงาของกระหนกสามตัว ตัวเหงาของกระจัง เขียนโครงร่างกระหนกสามตัว และเขียนลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยเลือกใช้พู่กันที่มีขนาดเหมาะสมกับงานและรักษาความสะอาดของผลงานสำเร็จ

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายรูปลักษณะลวดลายต้นกำเนิดกระหนกไทย

2. ระบุหรืออธิบายการกำหนดสัดส่วนของลวดลายกระหนกบนพื้นที่งานเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับลวดลายต้นกำเนิดกระหนกไทย ได้แก่ ตัวเหงาของ กระหนกสามตัว ตัวเหงาของกระจัง โครงร่างกระหนกสามตัวและลายพุ่มข้าวบิณฑ์

2. ความสมบูรณ์ของผลงานในการปฏิบัติการเขียนตัวเหงาของกระหนกสามตัว ตัวเหงาของกระจัง โครงร่างกระหนกสามตัวและลายพุ่มข้าวบิณฑ์

    (ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก)  คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของลวดลายไทยขั้นพื้นฐานประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ตัวเหงา ลายกระหนก ลายกระจัง ลายนาคหางหงส์ ลายกระหนกหางหงส์ ลายทรงช่อต่าง ๆ ในกลุ่มทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ได้แก่ ลายช่อหางโต ลายช่อเปลวหางโต ลายช่อหางไหล ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

2. สามารถกำหนดสัดส่วนของลวดลายไทย เพื่อร่างเส้นและเขียนลวดลายตามที่กำหนดได้

3. เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนเส้นลวดลายไทยด้วยดินสอและกระทบเส้นหมึกด้วยพู่กันได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะผลงาน

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ลายกระหนก คือ ลายพื้นฐานหรือแม่ลาย อยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม ใช้ผูกลวดลายแบบต่าง ๆ เกือบทุกประเภท  

    ตัวเหงา คือ กระหนกตัวล่างสุดหรือตัวแรกของกระหนกสามตัวที่มีลักษณะงอลง ใช้ประกอบหางหงส์เรียกเหงาหางหงส์ ใช้ประกอบระกาเรียกเหงาระกา ถ้าอยู่ที่กระจังเรียก เหงากระจัง เป็นต้น

    ลายกระหนกสามตัว คือ ลายที่อยู่ในโครงสร้างรูปสามเหลี่ยมประกอบด้วยตัวกระหนกสามตัวได้แก่ ตัวเหงา ตัวประกบ (เรียกว่า กาบ ก็มี) และตัวยอด เป็นโครงสร้างหลักที่สามารถแบ่งตัวลายให้ซับซ้อนงดงามยิ่งขึ้น ใช้ผูกหรือประกอบเป็นลายต่าง ๆ เช่น ลายก้านขด ลายก้านแย่ง ลานก้านไขว้ ลายประจำยามก้ามปู  

    ลายกระจัง คือ แม่ลายพื้นฐาน อยู่ในรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลายกระจังมีหลายชนิด เรียกชื่อต่าง ๆ ตามการออกแบบและตำแหน่งที่ลายประดับ 

    ลายนาคหางหงส์ คือ ลายที่เป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทย เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องลำยอง เดิมหางหงส์เป็นรูปหัวนาคซึ่งอยู่ในทรงกระหนก แล้วจึงคลีคลายมาเป็นหางหงส์

    ลายกระหนกหางหงส์ คือ ลายที่อยู่ในรูปทรงของกระหนกสามตัว ใช้ประกอบที่ส่วนหางของภาพตัวหงส์

    ลายช่อหางโต คือ ลายที่อยู่ในทรงกระหนกสามตัว ลักษณะเป็นอย่างหางโต ซึ่งลายหางโตมีโครงสร้างของลายอยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม ลักษณะคล้ายพู่หางของสิงโตที่เป็นสัตว์หิมพานต์ หางโตเป็นคำเรียกตัดคำมาจากหางสิงโต

    ลายช่อเปลวหางโต คือ ลายที่มีโครงสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยม แต่ลดรูปโดยเจียนส่วนหน้าของตัวเหงาออก เพื่อให้ตัวลายเพรียวสะบัดคล้ายเปลวไฟและอยู่ในทรงหางโต เมื่อผูกด้วยลายแบบใดก็มีชื่อเรียกตามลายนั้น 

    ลายช่อหางไหล คือ หางไหลคือส่วนที่แสดงความอ่อนช้อยและลีลาพลิ้วไหวของลวดลายกระหนก 

    ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ คือ ลวดลายต่าง ๆ ที่ผูกให้ลายซีกซ้ายและขวาเหมือนกันอยู่ในทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อาจผูกด้วยลายใบเทศ ลายดอกพุดตาน 

    กระทบเส้น คือ การร่างภาพและลวดลายเป็นเส้นประหรือเส้นบาง ๆ ก่อนการตัดเส้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ด้วยแบบทดสอบรูปภาพ

18.2 การสอบปฏิบัติ

18.3 การสอบสัมภาษณ์

18.4 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ