หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพอย่างเชี่ยวชาญ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-AQDN-300B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพอย่างเชี่ยวชาญ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ สามารถพัฒนาตนเองในด้านความรู้ การจัดการเรียนการสอน และภาษาไทยอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเข้าร่วมการอบรม การประชุมปฏิบัติการ การประชุมสัมมนา หรือกิจกรรมเพื่อการพัฒนาความรู้ตามจำนวนขั้นต่ำที่กำหนด หรือนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยจัดทำสื่อการสอนหรือสื่อที่สืบค้นจากแหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ทางวิชาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2353 ครูสอนภาษาอื่น ๆ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2353 ครูสอนภาษาอื่น ๆ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
302511 พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพ
PC70. เข้ารับการอบรม หรือร่วมการประชุมปฏิบัติการ หรือการประชุมสัมมนา หรือร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองด้านความรู้ภาษาไทยทักษะการสื่อสาร/ลักษณะ
ภาษาไทย/สังคม วัฒนธรรมไทย หรือ
การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย/ภาษา
ที่สอง/ภาษาต่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยง
การเรียนการสอน หรือจัดทำสื่อการสอน
หรือสื่อที่สืบค้นจากแหล่งการเรียนรู้ภาษาไทย หรือได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ทางวิชาชีพ 
302511.01 200568

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับกับการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน 

2. พัฒนาทักษะด้านการใช้ภาษาไทยของตน 

3. พัฒนาทักษะการสอน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

N/A

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบฟอร์มบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์

2. ใบผ่านการอบรม หรือเอกสารจากการอบรม หรือร่วมการประชุมปฏิบัติการ หรือการประชุมสัมมนา

    หรือร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองด้านความรู้ภาษาไทยทักษะการสื่อสาร หรือลักษณะภาษาไทย หรือ

    สังคม วัฒนธรรมไทย หรือการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย หรือภาษาที่สอง หรือภาษาต่างประเทศ

3. สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้

4. หนังสือเชิญให้เป็นวิทยากร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)    

1. ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์

2. ใบผ่านการอบรม หรือเอกสารจากการอบรม หรือร่วมการประชุมปฏิบัติการ หรือการประชุมสัมมนา หรือ

    ร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองด้านความรู้ภาษาไทยทักษะการสื่อสาร หรือลักษณะภาษาไทย หรือสังคม

    วัฒนธรรมไทย หรือการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย หรือภาษาที่สอง หรือภาษาต่างประเทศ

3. สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้

4. หนังสือเชิญให้เป็นวิทยากร

(ค) คำแนะนำในการประเมิน        

ไม่มี

(ง) วิธีการประเมิน

การประเมินผลความรู้และผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากการสัมภาษณ์ เอกสารการอบรมหรือสัมมนา ฯลฯ หรือสื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ หรือหนังสือเชิญให้เป็นวิทยากร

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

คำอธิบายรายละเอียดของหน่วยสมรรถนะ มีดังนี้

1. เข้าร่วมการอบรม การประชุมปฏิบัติการ การประชุมสัมมนา หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอนภาษา

   ไทย หรือภาษาที่สอง หรือภาษาต่างประเทศ โดยองค์กรหรือหน่วยงานที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของบุคคล

   ในวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมงต่อปี และไม่เกิน 3 ปีก่อนวันสมัครเข้ารับการประเมิน

2. จัดทำสื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ภาษาไทย อย่างน้อย 10 ชิ้นงาน

2.1 สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับบทเรียน มีคุณภาพตามเกณฑ์ และใช้ได้จริง อาจเป็น

     สื่อการสอนสำเร็จรูปที่ได้คัดเลือกอย่างมีหลักการ อาจมีการปรับปรุง ดัดแปลงหรือไม่ก็ได้ หรือเป็นสื่อ

     การสอนที่พัฒนาขึ้นเองโดยอิงหลักการผลิตสื่อการสอน

2.2 สื่อการสอนอาจเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ สื่อวัสดุ สื่อเทคโนโลยี ฯลฯ    

2.3 แหล่งการเรียนรู้ต้องมีความถูกต้องทางด้านเนื้อหา เหมาะสมกับบทเรียน และผู้เรียน หากมีการอ้างอิง 

     ต้องอ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักสากล ไม่มีการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือไม่มีเนื้อหาที่

     ล่อแหลมหรือขัดต่อศีลธรรม

3. ถ่ายทอดความรู้ทางวิชาชีพโดยการเป็นวิทยากร อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี และไม่เกิน 3 ปีก่อนวันสมัครเข้ารับการประเมิน    

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากการสัมภาษณ์ ด้วยแบบสัมภาษณ์ผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ คุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 5

2. ประเมินจากเอกสารการอบรมหรือสัมมนา ฯลฯ

3. ประเมินจากสื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ที่ผลิตเอง

4. ประเมินจากหนังสือเชิญให้เป็นวิทยากร

 



ยินดีต้อนรับ