หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างเชี่ยวชาญ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-VWNL-295B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างเชี่ยวชาญ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีระดับฝีมือในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติได้อย่าง       มืออาชีพ สามารถจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารแบบบูรณาการทักษะทางภาษาโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างผู้เรียน มีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดมุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้ลงมือฝึกปฏิบัติทักษะทางภาษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ทักษะการคิด มีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน และใช้ภาษาในสภาพจริง สามารถสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดการเรียนการสอนได้ ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี นำความรู้เนื้อหาวิชาด้านภาษาและวัฒนธรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยอิงหลักทางภาษาศาสตร์ ทฤษฎีทางภาษา และทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา มีการสอดแทรกเรื่องสังคมและวัฒนธรรมในการจัดการเรียนการสอน และสร้างความตระหนักทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ได้อย่างเชี่ยวชาญ มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้และทักษะที่ต้องการวัดและวัดผลด้วยการปฏิบัติจริงของผู้เรียน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2353 ครูสอนภาษาอื่น ๆ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2353 ครูสอนภาษาอื่น ๆ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202511 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC43. จัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาที่
กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนการสอน
202511.01 200536
202511 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC44. จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
202511.02 200537
202511 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC45. จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติทักษะทางภาษา
202511.03 200538
202511 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC46. จัดการเรียนการสอนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ทักษะการคิด
202511.04 200539
202511 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC47. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
202511.05 200540
202511 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC48. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน                
202511.06 200541
202511 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC49. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยหรือระดับภาษาของผู้เรียน
202511.07 200542
202512 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ PC50. สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ 202512.01 200543
202512 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ PC51. สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้ผ่อนคลาย 202512.02 200544
202512 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ PC52. จัดการชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 202512.03 200545
202512 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้
PC53. ชี้แนะหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม 
202512.04 200546
202513 ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
PC54. ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การ
เรียนรู้
202513.01 200547
202513 ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
PC55. ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ภาษาสมจริงตามวัยหรือระดับของผู้เรียน
202513.02 200548
202513 ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
PC56. ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยหรือระดับภาษาของ
ผู้เรียนเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว
202513.03 200549
202514 นำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน PC57. ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 202514.01 200550
202514 นำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
PC58. สอดแทรกวัฒนธรรมทางภาษาในการเรียนการสอน
202514.02 200551
202514 นำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
PC59. จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักในเรื่องวัฒนธรรมที่หลากหลาย (cultural diversity) 
202514.03 200552
202515 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
PC60. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
202515.01 200553
202515 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
PC61. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัยหรือระดับภาษาของผู้เรียน
202515.02 200554
202515 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
PC62. ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนระหว่างการเรียนรู้
202515.03 200555
202515 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
PC63. มีเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการ เรียนรู้ที่หลากหลาย 
202515.04 200556
202516 คิดไตร่ตรองการจัดการเรียนการสอนอย่างเชี่ยวชาญ
PC64. นำเสนอการวิเคราะห์ผลการจัดการเรียนการสอน
202516.01 200557
202516 คิดไตร่ตรองการจัดการเรียนการสอนอย่างเชี่ยวชาญ PC65. นำเสนอจุดแข็งในการจัดการเรียนการสอน  202516.02 200558
202516 คิดไตร่ตรองการจัดการเรียนการสอนอย่างเชี่ยวชาญ
PC66. นำเสนอจุดที่ควรปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอน 
202516.03 200559
202516 คิดไตร่ตรองการจัดการเรียนการสอนอย่างเชี่ยวชาญ
PC67. นำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไป
202516.04 200560

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ การอธิบายความ และการสื่อความ

2. ทักษะการตั้งคำถาม และตอบคำถาม

3. ทักษะการใช้หรือผลิตสื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้

4. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน 

5. ทักษะการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียน

6. ทักษะการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. หลักการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร

3. การเสริมต่อการเรียนรู้ (scaffolding)

4. หลักการพัฒนาทักษะการคิด

5. จิตวิทยาการเรียนรู้ เช่น การเสริมแรง การกระตุ้นความสนใจ

6. การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ลักษณะภาษาไทย หรือสังคม วัฒนธรรมไทย

7. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (cultural diversity)

8. หลักการ วิธี และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ภาษา และการแปรผลการวัด และการประเมินผลการเรียนรู้ภาษา

9. หลักสถิติต่าง ๆ ที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

10. การใช้กระบวนการเรียนรู้ภาษามาปรับใช้ในการสอน ได้แก่ องค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาแม่ 

    ภาษาที่สอง และภาษาต่างประเทศ วิธีการสอนภาษาต่างประเทศ จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. บันทึกภาพการสอน (50 นาที)

   2. บันทึกการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนอย่างเชี่ยวชาญ (คุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 5)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)    

ไม่มี

(ค) คำแนะนำในการประเมิน        

ไม่มี

        (ง) วิธีการประเมิน

  1. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากบันทึกการสอน (50 นาที)

  2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากบันทึกการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนอย่าง

   เชี่ยวชาญ (คุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 5)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

คำอธิบายรายละเอียดของหน่วยสมรรถนะ มีดังนี้    

1. จัดการเรียนการสอนโดยมีขั้นตอนสำคัญครบถ้วนตามหลักการการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การนำเข้าสู่บทเรียนหรือกระตุ้นความสนใจก่อนเริ่มบทเรียน ขั้นดำเนินการจัดการเรียนการสอน ขั้นสรุปบทเรียน เป็นต้น    

2. จัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เช่น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเสมอภาค    

3. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ครอบคลุมถึงความสนใจ ความถนัด พื้นฐานความรู้ ความต้องการ ลีลาการเรียนรู้ (learning ) ฯลฯ    

4. สื่อการสอนต้องเหมาะสมกับบทเรียน มีคุณภาพตามเกณฑ์ และใช้ได้จริง อาจเป็นสื่อการสอนสำเร็จรูปที่ได้คัดเลือกอย่างมีหลักการ อาจมีการปรับปรุง ดัดแปลงหรือไม่ก็ได้ หรือเป็นสื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นเองโดยอิงหลักการผลิตสื่อการสอน

5. สื่อการสอนอาจเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ สื่อวัสดุ สื่อบุคคล สื่อเทคโนโลยี ฯลฯ    

6. แหล่งการเรียนรู้ต้องมีความถูกต้องทางด้านเนื้อหา เหมาะสมกับบทเรียน และผู้เรียน หากมีการอ้างอิง    ต้องอ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักสากล ไม่มีการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือไม่มีเนื้อหาที่ล่อแหลมหรือขัดต่อศีลธรรม

7. จัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงวัฒนธรรมทางภาษา และการใช้ภาษาอันเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม เช่น ระดับภาษา การใช้ภาษาสุภาพ อวัจนภาษา สำนวนต่าง ๆ คำเรียกขาน    

8. เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่ใช้อาจมีได้หลากหลายรูปแบบ อาจเป็นแบบทางการหรือไม่เป็นทางการ แต่ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้    

9. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ ด้านทักษะ

10. ปรับใช้ความรู้ด้านกระบวนการเรียนรู้ภาษา ได้แก่ องค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาแม่ ภาษาที่สอง และภาษาต่างประเทศ รวมทั้งวิธีการสอนภาษาต่างประเทศ ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยตามเกณฑ์การปฏิบัติงานในข้อใดข้อหนึ่ง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสังเกตและประเมินการจัดการเรียนการสอนจากบันทึกการสอน (50 นาที)

2. ประเมินจากบันทึกการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนอย่างเชี่ยวชาญ (คุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 5)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมสมรรถนะย่อยที่กำหนด



ยินดีต้อนรับ