หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้ภาษาไทยสื่อสารในสถานการณ์ที่ซับซ้อน

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-WSKX-283B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้ภาษาไทยสื่อสารในสถานการณ์ที่ซับซ้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถในการฟังและอ่านสังเคราะห์สารเกี่ยวกับภาษาไทยเฉพาะกิจ     รู้หลักการพูดแสดงความคิดเห็นจากข่าว บทความทั่วไป สารคดี รวมทั้งเขียนวิจารณ์ตามหัวข้อที่กำหนด 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2353 ครูสอนภาษาอื่น ๆ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2353 ครูสอนภาษาอื่น ๆ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101511 สังเคราะห์สารจากการฟังภาษาไทยเฉพาะกิจ  PC1. สังเคราะห์สารในเรื่องเฉพาะกิจที่ฟัง 101511.01 199814
101511 สังเคราะห์สารจากการฟังภาษาไทยเฉพาะกิจ  PC2. ประเมินค่าสารในเรื่องเฉพาะกิจที่ฟัง 101511.02 199815
101512 สังเคราะห์สารจากการอ่านภาษาไทยเฉพาะกิจ  PC3. อ่านสังเคราะห์งานเขียนเฉพาะกิจ  101512.01 200047
101512 สังเคราะห์สารจากการอ่านภาษาไทยเฉพาะกิจ  PC4 อ่านประเมินค่างานเขียนเฉพาะกิจ  101512.02 200048
101513 พูดแสดงความคิดเห็น PC5. รู้หลักการพูดแสดงความคิดเห็น 101513.01 200049
101513 พูดแสดงความคิดเห็น PC6. แสดงความคิดเห็น 101513.02 200050
101514 เขียนวิจารณ์ PC7. เขียนวิจารณ์ประเด็นต่าง ๆ 101514.01 200051

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

สามารถสังเคราะห์สารสารจากการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความรู้เรื่องการสังเคราะห์สารจากการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ที่ซับซ้อน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

แบบฟอร์มบันทึกจากการปฏิบัติจากแบบทดสอบวัดความรู้ภาษาไทย 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบวัดความรู้ภาษาไทย 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง) วิธีการประเมิน

การประเมินผลความรู้และผลการปฏิบัติโดยประเมินจากผลการทดสอบวัดความรู้ภาษาไทย โดยทดสอบความรู้และความสามารถในการฟังด้วยข้อสอบข้อเขียน ทดสอบความรู้และความสามารถในการพูดด้วยข้อสอบข้อเขียนและการสอบปฏิบัติ ทดสอบความรู้และความสามารถในการอ่านด้วยข้อสอบข้อเขียน และทดสอบความรู้และความสามารถในการเขียนด้วยการสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

คำอธิบายรายละเอียดของหน่วยสมรรถนะ มีดังนี้

1. สังเคราะห์สารในเรื่องเฉพาะกิจที่ฟัง เช่น ภาษาไทยธุรกิจ ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว ภาษาไทยเชิงวิชาการ ฯลฯ

2. ประเมินค่าสารในเรื่องเฉพาะกิจที่ฟัง เช่น ภาษาไทยธุรกิจ ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว ภาษาไทยเชิงวิชาการ ฯลฯ

3. อ่านสังเคราะห์งานเขียนเฉพาะกิจ เช่น ภาษาไทยธุรกิจ ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว ภาษาไทยเชิงวิชาการ ฯลฯ

4. อ่านประเมินค่างานเขียนเฉพาะกิจ เช่น ภาษาไทยธุรกิจ ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว ภาษาไทยเชิงวิชาการ ฯลฯ

5. รู้หลักการพูดแสดงความคิดเห็นจากข่าวทั่วไป บทความทั่วไป สารคดี ฯลฯ

6. เขียนวิจารณ์ตามหัวข้อที่กำหนด ความยาว 25 บรรทัด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สมรรถนะย่อย 101511 สังเคราะห์สารจากการฟังภาษาไทยเฉพาะกิจ ประเมินด้วยข้อสอบปรนัยจากการฟังเรื่องเฉพาะกิจ 

2. สมรรถนะย่อย 101512 สังเคราะห์สารจากการอ่านภาษาไทยเฉพาะกิจ ประเมินด้วยข้อสอบปรนัยจากการอ่านเรื่องเฉพาะกิจ

3. สมรรถนะย่อย 101513 พูดแสดงความคิดเห็น เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน PC5 ประเมินด้วยข้อสอบปรนัย ให้อ่านข้อความแล้วตอบว่าผู้พูดมีเจตนาในการสื่อสารเรื่องอะไร น้ำเสียงแสดงความรู้สึกอย่างไร เช่น ประชดประชัน แนะนำ เสียดสี 

4. สมรรถนะย่อย 101513 พูดแสดงความคิดเห็น เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน PC6 ประเมินด้วยข้อสอบปฏิบัติการพูดจากหัวข้อที่กำหนดให้ ใช้เวลาพูด 2 – 3 นาที วิธีการประเมิน ได้แก่

4.1 การใช้ภาษา

     4.1.1 ถ้อยคำภาษาถูกต้อง

     4.1.2 เหมาะสมตามบริบท

     4.1.3 ใช้ถ้อยคำ-สำนวนชวนฟัง

     4.1.4 ใช้ภาษาเหมาะกับกาลเทศะ

4.2 เนื้อหา 

     4.2.1 เกริ่นนำ

     4.2.2 มีการลำดับความ

     4.2.3 มีหลักการเหตุผล

     4.2.4 มีสาระประโยชน์

     4.2.5 สรุป

4.3 ลีลาการพูด

     4.3.1 เสียงดังชัดเจน

     4.3.2 ออกเสียงอักขระถูกต้อง

     4.3.3 น้ำเสียงชวนฟัง

     4.3.4 วิธีพูดเป็นธรรมชาติ

4.4 การแสดงออก

      4.4.1 การประสานสายตา

      4.4.2 สีหน้าสื่อความหมาย

      4.4.3 มีกิริยาท่าทางประกอบเหมาะสมกับเนื้อหา

4.5 บุคลิกภาพ

     4.5.1 การแต่งกาย

     4.5.2 กิริยามารยาท

     4.5.3 ความมั่นใจ

     4.5.4 การยืนและการเคลื่อนไหว

5. สมรรถนะย่อย 101514 เขียนวิจารณ์ เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน PC7 ประเมินด้วยข้อสอบปฏิบัติการเขียนวิจารณ์ตามหัวข้อที่กำหนด ความยาว 25 บรรทัด วิธีการประเมิน ได้แก่

5.1 การใช้ภาษา

      5.1.1 มีระดับภาษาเหมาะสม

      5.1.2 ใช้คำถูกความหมาย

      5.1.3 สะกดคำถูกต้อง

      5.1.4 ใช้ประโยคถูกต้องตามลักษณะภาษาไทย

      5.1.5 ใช้ประโยคกระชับ

      5.1.6 ใช้สำนวนโวหารเหมาะสม

      5.1.7 ใช้ภาษาราบรื่น

5.2 เนื้อหา

     5.2.1 ตั้งชื่อเรื่อง

     5.2.2 ตรงประเด็น

     5.2.3 มีความนำ

     5.2.4 มีการลำดับความ

     5.2.5 มีเอกภาพ

     5.2.6 มีความคิดสร้างสรรค์

     5.2.7 ให้สาระประโยชน์

     5.2.8 มีบทสรุป

5.3 การเขียนย่อหน้า

      5.3.1 แบ่งย่อหน้าเหมาะสม

      5.3.2 มีการเชื่อมโยงระหว่างย่อหน้า

      5.3.3 มีการขยายความ

      5.3.4 มีตัวอย่างชัดเจน

      5.3.5 มีสาระสำคัญ

6. ผู้เข้ารับการประเมินทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต้องผ่านการทดสอบทักษะการสื่อสารภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้นทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

 



ยินดีต้อนรับ