หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างชำนาญการ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-CJXF-294B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างชำนาญการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างชำนาญการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการทักษะทางภาษา มุ่งให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง มีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน และส่งเสริมทักษะการคิด มีการใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจและบรรยากาศในการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สอดแทรกความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย รวมทั้งสามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้หลากหลาย ตรงตามวัตถุประสงค์ และเหมาะสมกับวัยหรือระดับภาษาของผู้เรียน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2353 ครูสอนภาษาอื่น ๆ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2353 ครูสอนภาษาอื่น ๆ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202411 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC37 จัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาที่
กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนการสอน
202411.01 200515
202411 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC38. จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
202411.02 200516
202411 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC39. จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติทักษะทางภาษา
202411.03 200517
202411 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC40. จัดการเรียนการสอนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ทักษะการคิด
202411.04 200518
202411 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC41. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
202411.05 200519
202411 จัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
PC43. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยหรือระดับภาษาของผู้เรียน
202411.06 200520
202412 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ PC44. สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ 202412.01 200521
202412 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ PC45. สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้ผ่อนคลาย 202412.02 200522
202412 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ PC46. จัดการชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 202412.03 200523
202412 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้
PC47. ชี้แนะหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม 
202412.04 200524
202413 ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
PC48. ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การ
เรียนรู้
202413.01 200525
202413 ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
PC49. ใช้สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ภาษาเหมาะสมกับสมัยหรือวัยหรือระดับของผู้เรียน
202413.02 200526
202414 นำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน PC50. ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 202414.01 200527
202414 นำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
PC51. สอดแทรกวัฒนธรรมทางภาษาในการเรียนการสอน
202414.02 200528
202415 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
PC52. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
202415.01 200529
202415 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
PC53. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัยหรือระดับภาษาของผู้เรียน
202415.02 200530
202415 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
PC54. มีเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย 
202415.03 200531
202416 คิดไตร่ตรองการจัดการเรียนการสอนอย่างชำนาญการ
PC55. นำเสนอการวิเคราะห์ผลการจัดการเรียนการสอน
202416.01 200532
202416 คิดไตร่ตรองการจัดการเรียนการสอนอย่างชำนาญการ
PC56. นำเสนอจุดแข็งในการจัดการเรียนการสอน 
202416.02 200533
202416 คิดไตร่ตรองการจัดการเรียนการสอนอย่างชำนาญการ
PC57. นำเสนอจุดที่ควรปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอน 
202416.03 200534
202416 คิดไตร่ตรองการจัดการเรียนการสอนอย่างชำนาญการ
PC58. นำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไป 
202416.04 200535

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ การอธิบายความ และการสื่อความ

2. ทักษะการตั้งคำถาม และตอบคำถาม

3. ทักษะการใช้หรือผลิตสื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้

4. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน 

5. ทักษะการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียน

6. ทักษะการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

2. หลักการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 

3. หลักการพัฒนาทักษะการคิด

4. จิตวิทยาการเรียนรู้ เช่น การเสริมแรง การกระตุ้นความสนใจ 

5. การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ลักษณะภาษาไทย หรือสังคม วัฒนธรรมไทย

6. หลักการ วิธี และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ภาษา และการแปรผลการวัด และการประเมินผลการเรียนรู้ภาษา 

7. หลักสถิติต่าง ๆ ที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

8. การใช้กระบวนการเรียนรู้ภาษามาปรับใช้ในการสอน ได้แก่ องค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาแม่ ภาษาที่สอง และภาษาต่างประเทศ วิธีการสอนภาษาต่างประเทศ จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. บันทึกการสอน (50 นาที)

2. บันทึกการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนอย่างชำนาญการ (คุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 4)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)    

ไม่มี

(ค) คำแนะนำในการประเมิน        

ไม่มี

(ง) วิธีการประเมิน

     1. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากบันทึกการสอน (50 นาที)

     2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากบันทึกการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนอย่าง

                     ชำนาญการ (คุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 4)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

คำอธิบายรายละเอียดของหน่วยสมรรถนะ มีดังนี้

     1. จัดการเรียนการสอนโดยมีขั้นตอนสำคัญครบถ้วนตามหลักการการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการ

         สื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การนำเข้าสู่บทเรียนหรือกระตุ้นความสนใจก่อนเริ่มบทเรียน ขั้นดำเนินการ

         จัดการเรียนการสอน ขั้นสรุปบทเรียน เป็นต้น

     2. จัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เช่น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ

         เรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเสมอภาค

     3. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ครอบคลุมถึงความสนใจ ความถนัด พื้นฐานความรู้ ความต้องการ ลีลา

         การเรียนรู้ (learning ) ฯลฯ

     4. สื่อการสอนต้องเหมาะสมกับบทเรียน มีคุณภาพตามเกณฑ์ และใช้ได้จริง อาจเป็นสื่อการสอนสำเร็จรูปที่ได้

         คัดเลือกอย่างมีหลักการ อาจมีการปรับปรุง ดัดแปลงหรือไม่ก็ได้ หรือเป็นสื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นเองโดยอิง

         หลักการผลิตสื่อการสอน 

     5. สื่อการสอนอาจเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ สื่อวัสดุ สื่อบุคคล สื่อเทคโนโลยี ฯลฯ 

     6. แหล่งการเรียนรู้ต้องมีความถูกต้องทางด้านเนื้อหา เหมาะสมกับบทเรียน และผู้เรียน หากมีการอ้างอิง ต้อง

        อ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักสากล ไม่มีการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือไม่มีเนื้อหาที่ล่อแหลมหรือขัดต่อ

        ศีลธรรม

     7. จัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงวัฒนธรรมทางภาษาและการใช้ภาษาอันเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม เช่น ระดับ

        ภาษา การใช้ภาษาสุภาพ อวัจนภาษา สำนวนต่าง ๆ คำเรียกขาน 

     8. เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่ใช้อาจมีได้หลากหลายรูปแบบ อาจเป็นแบบทางการหรือไม่เป็นทางการ แต่ต้องตรง

        ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้

     9. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ ด้านทักษะ                          

     10. ปรับใช้ความรู้ด้านกระบวนการเรียนรู้ภาษา ได้แก่ องค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาแม่ ภาษาที่สอง 

          และภาษาต่างประเทศ รวมทั้งวิธีการสอนภาษาต่างประเทศ ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยตามเกณฑ์

 การปฏิบัติงานในข้อใดข้อหนึ่ง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสังเกตและประเมินการจัดการเรียนการสอนจากบันทึกการสอน (50 นาที)

2. ประเมินจากบันทึกการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนอย่างชำนาญการ (คุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 4)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมสมรรถนะย่อยที่กำหนด 

 



ยินดีต้อนรับ