หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบเครื่องถมเงินถมทอง

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-UUUZ-376B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบเครื่องถมเงินถมทอง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO – 08 รหัสอาชีพ 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะในการออกแบบเครื่องถมเงินถมทอง โดยสามารถออกแบบชิ้นงาน เครื่องถมเงินถมทอง และออกแบบลวดลายเครื่องถมเงินถมทองได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04111

ออกแบบชิ้นงาน เครื่องถมเงินถมทอง

1. ร่างแบบเครื่องถมเงินถมทองได้อย่างถูกต้องตามแบบที่กำหนด

04111.01 200356
04111

ออกแบบชิ้นงาน เครื่องถมเงินถมทอง

2. เตรียมวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการออกแบบชิ้นงานได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน

04111.02 200357
04112

ออกแบบลวดลายเครื่องถมเงินถมทอง

1. สามารถออกแบบลวดลายเครื่องถมเงินถมทองได้ตรงตามแบบ

04112.01 200358
04112

ออกแบบลวดลายเครื่องถมเงินถมทอง

2. ลวดลายได้เขียนลงบนแบบชิ้นงาน เครื่องถมเงินถมทองได้ขนาด สัดส่วนถูกต้อง 

04112.02 200359
04112

ออกแบบลวดลายเครื่องถมเงินถมทอง

3. แบบชิ้นงานเครื่องถมเงินถมทองได้รับการตรวจสอบความสมบูรณ์ของลวดลายก่อนผลิตจริง

04112.03 200360

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการออกแบบชิ้นงานเครื่องถมเงินถมทอง

2. ปฏิบัติการออกแบบลวดลายเครื่องถมเงินถมทอง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ออกแบบชิ้นงาน 

2. การตรวจสอบ ดูแลรักษาวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ออกแบบชิ้นงาน

3. เส้นที่ใช้เขียนลวดลาย

4. รูปแบบลวดลายที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมเงินถมทอง

5. การออกแบบชิ้นงาน เครื่องถมเงินถมทอง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ 

2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบผ่านการอบรม ฝึกปฏิบัติการออกแบบ และผลิตเครื่องถมเงินถมทอง และ/หรือ  

2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากบุคลากร สถานประกอบการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องถมเงินถมทอง

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องออกแบบชิ้นงานเครื่องถมเงินถมทอง

2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องออกแบบลวดลายเครื่องถมเงินถมทอง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ออกแบบชิ้นงานรูปพรรณเครื่องถมเงินถมทอง

2. ออกแบบลวดลายไทยลงบนรูปพรรณเครื่องถมเงินถมทอง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ