หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน สำหรับงานอนุรักษ์

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-SJME-366B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน สำหรับงานอนุรักษ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO – 08 รหัสอาชีพ 7317 ช่างงานหัตถกรรมไม้ เครื่องจักสาน และวัสดุที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะในการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์ โดยสามารถตรวจสอบรูปร่าง รูปทรง สัดส่วนเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์ และตรวจสอบการสานลาย เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์ และตรวจสอบการประกอบ ส่วนต่างๆ ของเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03151

ตรวจสอบรูปร่าง รูปทรง สัดส่วนเครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

1. เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์ ตรวจสอบรูปร่าง รูปทรงตามกำหนดได้อย่างถูกต้อง

03151.01 200290
03151

ตรวจสอบรูปร่าง รูปทรง สัดส่วนเครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

2 เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์ ตรวจสอบสัดส่วนตามกำหนดได้อย่างถูกต้อง

03151.02 200291
03152

ตรวจสอบการสานลาย เครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

1. เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์ ตรวจสอบการสานลายตามที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง

03152.01 200292
03152

ตรวจสอบการสานลาย เครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

2. เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์ ตรวจสอบรายละเอียดความสมบูรณ์ของลายได้ถูกต้อง

03152.02 200293
03153

ตรวจสอบการประกอบ ส่วนต่างๆ ของเครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

1. เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์เลือกใช้ส่วนประกอบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง 

03153.01 200294
03153

ตรวจสอบการประกอบ ส่วนต่างๆ ของเครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

2. เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์ ตรวจสอบการประกอบได้อย่างถูกต้อง

03153.02 200295

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการตรวจสอบรูปร่าง รูปทรงสัดส่วนเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

2. ปฏิบัติการตรวจสอบการสานลายเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

3. ปฏิบัติการตรวจสอบการประกอบส่วนต่างๆ ของเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การตรวจสอบรูปร่าง รูปทรง สัดส่วนเครื่องจักสาน 

2. การตรวจสอบการสานลวดลาย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์ แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ 

2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบผ่านการอบรมเครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์ และ/หรือ  

2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากบุคลากร สถานประกอบการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบรูปร่าง รูปทรงสัดส่วนเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

2. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบการสานลายเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

3. ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบการประกอบส่วนต่างๆ ของเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. รูปร่าง รูปทรง สัดส่วนเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์ เป็นไปตามความต้องการใช้สอยในชีวิตประจำวัน 

2. การสานลวดลายเครื่องจักสานตามที่กำหนด 

3. ส่วนประกอบเครื่องจักสานเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความมั่นคง แข็งแรงทนทาน เช่น หู ขา ขอบ การนำส่วนประกอบมาประกอบกับเครื่องจักสานจะต้องพันหรือผูกติดกับชิ้นงาน วัสดุที่นำมาผูกหรือพันควรเลือกให้มีขนาดสัดส่วนเหมาะสม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ