หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตกแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-ZEWQ-365B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตกแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO – 08 รหัสอาชีพ 7317 ช่างงานหัตถกรรมไม้ เครื่องจักสาน และวัสดุที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะในการตกแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์ โดยสามารถผูก มัด ถัก พัน ตกแต่งส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์ และขัดแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03141

ผูก มัด ถัก พัน ตกแต่งส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

1. ผูก มัด ถัก พัน ตกแต่งส่วนประกอบเครื่องจักสานได้อย่างถูกต้อง

03141.01 200286
03141

ผูก มัด ถัก พัน ตกแต่งส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

2. ตรวจสอบการผูก มัด ถัก พัน ตกแต่งส่วนประกอบเครื่องจักสาน ได้อย่างถูกต้อง

03141.02 200287
03142

ขัดแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

1. ขัดตกแต่งผิวผลิตภัณฑ์จักสานได้อย่างประณีตเรียบสม่ำเสมอ

03142.01 200288
03142

ขัดแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์

2. ตรวจสอบการขัดตกแต่งผิวผลิตภัณฑ์จักสานได้อย่างถูกต้อง

03142.02 200289

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการผูก มัด ถัก พัน ตกแต่งส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

2. ปฏิบัติการขัดแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การผูกหรือพันลวดลายต่าง ๆ

2 .เทคนิคการรมควัน

3. การเลือกวัสดุขัดแต่งผิว

4. การขัดแต่งผิวผลิตภัณฑ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์ หรือ แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ 

2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบผ่านการอบรมเครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์ และ/หรือ  

2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากบุคลากร สถานประกอบการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการตกแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องผูก มัด ถัก พัน ตกแต่งส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

2.ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องขัดแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การผูกหรือพันส่วนประกอบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์เป็นการทำให้เครื่อง

จักสานมีความแข็งแรงทนทานในการใช้สอยเพิ่มมากขึ้นและเป็นการตกแต่งให้เครื่องจักสานมีความสวยงามลายที่ใช้ เช่น การผูกลายหัวแมลงวันชั้นเดียว สองชั้น ลายสันปลาช่อน ลายแข้งสิงห์ กีบหมู เอวมดแดง

เป็นต้น 

2. การรมควันปฏิบัติโดยการจัดวางเครื่องจักสานไว้เหนือเตาไฟหรือกองไฟจุดไฟกากมะพร้าวหรือวัสดุอื่นที่มี ทำให้เกิดควันไฟรมเครื่องจักสาน การรมควันเป็นการถนอมรักษาเครื่องจักสานสำหรับการอนุรักษ์เพื่อป้องกันมอด แมลงและทำให้ไม้ไผ่มีสีเหลืองสวยงาม

3. การขัดผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานควรเลือกใช้วัสดุขัดตกแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานที่มีขนาดเบอร์ความละเอียดต่าง ๆ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ